มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว
ประเทศไทย และประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียและแปซิฟิก ได้สกัดน้ำมันมะพร้าวมาประกอบอาหารหวานคาว ใช้เป็นสมุนไพร และเครื่องสำอาง มาเป็นเวลาช้านาน จนได้ขนานนามว่ามะพร้าวเป็น “ ต้นไม้แห่งชีวิต ”


จนกระทั่งเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ( พ.ศ. 2484 – 88 ) กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศฟิลิปปินส์และหมู่เกาะต่างๆ ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิก ได้มีการตัดทางลำเลียงน้ำมันมะพร้าวไปสู่สหรัฐอเมริกา ทำให้ผู้ผลิตอาหารและร้านค้าอาหารจำเป็นต้องขวนขวายหาน้ำมันอื่นมาทดแทน

ได้มีการพัฒนาน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ ก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลต่อวงการอุตสาหกรรมน้ำมันพืชชนิดไม่อิ่มตัวของสหรัฐอเมริกา

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ได้มีการนำน้ำมันมะพร้าวกลับไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง ทำให้เกิดการแข่งขันกับน้ำมันพืชอิ่มตัวที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมา

ระหว่างปี ค.ศ. 1960 – 70 มีการรายงานผลวิจัยว่าน้ำมันอิ่มตัวบางประเภท ( เช่น น้ำมันจากสัตว์และน้ำมันมะพร้าวที่ถูกเติมไฮโดรเจน) ไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ

สมาคมถั่วเหลืองอเมริกา ถือโอกาสสรุปว่า น้ำมันอิ่มตัวทั้งหมดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีการรณรงค์ให้ประชาชนเลิกบริโภคน้ำมันอิ่มตัว ซึ่งรวมทั้งน้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม แล้วหันมาบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัวแทน โดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลือง

การรณรงค์ได้ผลดีเกินคาด คนที่กลัวเป็นโรคหัวใจ พากันเลิกบริโภคน้ำมันมะพร้าว แต่การณ์กลับมาเป็นตรงกันข้าม เพราะมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจเพิ่มขึ้น แทนที่จะลดลง เนื่องจากน้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันที่หากนำไปหุงต้มที่อุณหภูมิสูง จะเปลี่ยนเป็น
กรดไขมันทรานส์ที่เป็นอันตราต่อสุขภาพ

จากการวิจัยของแพทย์และนักโภชนาการในระยะหลังๆ พบว่า น้ำมันมะพร้าวไม่ได้เลวร้ายที่ถูกกล่าวกา แต่ กล่าวสรุปกลับเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด

ทั้งนี้เพราะน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยคุณสมบัติเด่นที่ไม่มีในน้ำมันพืชอื่นๆ อาทิ กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันขนาดกลาง กรดคลอริก วิตามินอีที่ทีประสิทธิภาพ

น้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลเพียง 14 ส่วนในล้าน ขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองมี 28 ส่วนในล้าน ส่วนน้ำมันหมูและเนยมีมากกว่า 3,000 ส่วนต่อล้าน มีผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยปรับระดับของคอเลสเตอรอล อีกทั้งช่วยเพิ่มปริมาณของ HDL คอเลสเตอรอลดีที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยลดปริมาณ LDL คลเลสเตอรอลเลว

โดย Hostmarketal ( 1980 ) ได้ทำการทดลองเรียบเทียบผลของอาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันมะพร้าว 10 % และน้ำมันทานตะวัน 10 % ในหนูทดลอง ปรากฎว่าอาหารที่มีน้ำมันมะพร้าวช่วยลดปริมาณ LDL และช่วยเพิ่มปริมาณ HDL อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารที่มีน้ำมันทานตะวันเป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณการสะสมคอเลสเตอรอลในเนื้อเยื่อในสัตว์ทดลองที่เลื้ยงด้วยน้ำมันดอกทานตะวันมากเป็น 6 เท่าของสัตว์ทดลองที่เลื้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว

นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่ประเทศฟิลิปปินส์ที่แสดงให้เห็นว่านอกจากจะไม่เพิ่มระดับคอเลสเตอรอลแล้ว น้ำมันมะพร้าวยังช่วยลดการเพิ่มขึ้นของคอเลสเตอรอลที่เกิดจากการบริโภคไขมันสัตว์อีกด้วย

และจากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่าชนชาติที่บริโภคน้ำมันมะพร้างเป็นประจำ มีคนเป็นโรคหัวใจต่ำกว่าชนชาติอื่นๆ ในประเทศปาปัวนิวกินี ผู้คนบริโภคน้ำมันมะพร้าวมาเป็นพันๆ ปี แต่เพิ่งมีคนตายด้วยโรคหัวใจในปี 2507 หลังจากเปลี่ยนมาบริโรคน้ำมันไม่อิ่มตัว แต่ในชนบทที่ยังบริโภคน้ำมันมะพร้าวอยู่ ไม่มีโรคหัวใจเลยแม้แต่ในคนชราที่มีอายุร่วม 100 ปี

“ ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจอย่างแน่นอน แต่กลับช่วยทำให้ไม่เกิดโรคหัวใจ หากคนไทยเปลี่ยนมาบริโภคน้ำมันมะพร้าวกันมากขึ้นปัญหาโรคหัวใจก็ลดน้อยลง ”


ขอบคุณ บทความโดย ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าวแห่งประเทศไทย กล่าวสรุป

ด้วยความปรารถนาดี kandanalike




Create Date : 26 เมษายน 2554
Last Update : 26 เมษายน 2554 18:30:13 น.
Counter : 2465 Pageviews.

5 comments
ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจที่โรงพยาบาล Mount Sinai ได้นำเสนอผลเบื้องต้นของ Sofiya ซึ่งเป็นผู้ช่วย..... newyorknurse
(25 มิ.ย. 2568 06:26:23 น.)
ข้อเข่าเสื่อม VS กระดูกพรุน ต่างกันอย่างไร? หนึ่งเสียงในกทม.
(16 มิ.ย. 2568 09:46:37 น.)
WRB10 Fighting Stroke สนามเจริญสุขมงคลจิต แมวเซาผู้น่าสงสาร
(14 มิ.ย. 2568 14:50:56 น.)
ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 378 : ฝันที่ไม่เคยเป็นจริง The Kop Civil
(10 มิ.ย. 2568 11:07:24 น.)
  
มะพร้าวประโยช์มันเยอะจริงๆๆ
โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:18:49:17 น.
  
ทานอยู่ค่ะ ช่วยเรื่องระบายได้ดีเลย
โดย: น้ำพันซ์ วันที่: 26 เมษายน 2554 เวลา:19:05:37 น.
  
เพิ่งรู้นี่แหละคะ ว่าน้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์จริงๆ
เมื่อก่อนก็รู้แต่ว่าจะทำให้อ้วนอย่างเดียว
ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่แล้วหล่ะ
โดย: annie IP: 166.129.169.7 วันที่: 19 กรกฎาคม 2554 เวลา:14:02:34 น.
  
หรือที่ผ่านมาเข้าใจผิดโดยตลอดว่านำมันมะพร้าวทำให้อ้วน ผมชอบกลิ่นน้ำมันมะพร้าว แล้วกะทิแตกต่างอย่างไรครับ
โดย: หนุ่ม IP: 110.49.241.216 วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:19:27:03 น.
  
แวะมาทักทาย ดูดไขมัน P-SHOT สมรรถภาพทางเพศ ฉีดฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องชาย Ultherapy Prime Profhilo ฉีดฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์น้องสาว เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์ขมับ เลเซอร์บิกินี่ Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Ultraformer III Ultraforme Ultraformer MPT Ultraformer ฉีดโบลดกราม โบลดกราม Radiesse ร้อยไหม เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน บราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์ขน ฟิลเลอร์หน้าผาก O-Shot Aviclear Aviclear Laser IV DRIP ดริปวิตามิน ฉีดโบรักแร้ โบรักแร้ ปลูกผม LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผม ผมบาง ปลูกผมเทคนิคแขนกล รักษาผมร่วง ผมร่วง Hair Restart ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก ยกกระชับ Ulthera อัลเทอร่า Thermage Thermage FLX ฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ปาก โบลดริ้วรอย ฉีดโบลดริ้วรอย สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite Coolsculpting Sculptra ฟิลเลอร์ ปลูกผม ปลูกผม FUE Pico Pico Majesty Pico Majesty Laser ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม Radiesse ฟิลเลอร์ โบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย Oligio เลเซอร์ขน วีเนียร์ AviClear Laser AviClear เลเซอร์รักษาสิว ปลูกผมเทคนิคแขนกล ปลูกผม เลเซอร์รักษาสิว Accure Laser Accure เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา Emface Skinvive Oligio เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน กำจัดขน ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ Reepot Laser Reepot Sculptra Hifu ยกกระชับ ยกกระชับหน้า Ulthera ยกกระชับ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse ให้ใจ สุขภาพ
โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา:17:01:07 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Kandanalikecoconutoil.BlogGang.com

kandanalike
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]

บทความทั้งหมด