จรรยาบรรณที่หายไปของบริษัทยา

นำมาฝากนะคะ


จรรยาบรรณที่หายไปของบริษัทยา


เมื่อไม่นานนี้มีข่าวคราวที่เกิดขึ้นกับบริษัทแกล็กโซสมิธไคลน์ (GSK) จำกัด บริษัทผลิตและจำหน่ายยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่ทำให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขตลอดจนผู้บริโภคยาในประเทศไทยต้องหันกลับ มาทบทวนเกี่ยวกับระบบสาธารณสุขในประเทศของเราจากการที่GSK ถูกศาลเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ มีคำสั่งปรับเป็นเงิน3,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 96,000 ล้านบาทโดยเป็นค่าปรับในคดีอาญา 1,000 ล้านดอลลาร์ และค่าปรับในคดีแพ่งอีก2,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อยุติคดีในข้อหาสำคัญหลายข้อหา ได้แก่ทำตลาดยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration : FDA) จากกรณีการใช้ยาไม่ตรงกับข้อบ่งใช้ที่ขึ้นทะเบียนไว้ปิดบังเกี่ยวกับอันตรายของยา ตลอดจนกล่าวอ้างในงานวิจัยว่ายามีความปลอดภัย

แต่ละข้อหาที่ GSK ถูกกล่าวหาดำเนินคดี ล้วนแต่เป็นข้อหาฉกาจฉกรรจ์ที่ส่งผลกระทบไปถึงผู้คนในวงกว้างจากการที่ GSK มีการส่งออกยาไปขายในหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย พฤติกรรมของ GSK ประการหนึ่งที่ทำให้ผู้สนใจติดตามข่าวนี้ต้องตกตะลึงก็คือการติดสินบนแพทย์ในสหรัฐอเมริกาเพื่อให้สั่งจ่ายยารักษาโรคเบาหวานยี่ห้อAvandia โดย GSK ได้ปกปิดงานวิจัย 3 ชิ้นที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาตัว นี้แต่กลับใช้งานวิจัยที่ได้ทำขึ้นใหม่เพื่ออ้างความปลอดภัยของยา  GSK ได้จ่ายสินบนให้แพทย์โดยจัดทัวร์ไปพักผ่อนที่ฮาวาย เงินสด รวมตั๋วคอนเสิร์ตราคาแพงของมาดอนนาเป็นต้น

นอกจากนี้ GSK ยังได้ทำการตลาดเพื่อจำหน่ายยารักษาโรคซึมเศร้ายี่ห้อPaxil และ Wellbutrin โดยไม่ผ่านการรับรองจากFDA ซึ่งการใช้ยาดังกล่าวก็ยังใช้ไม่ตรงกับที่บริษัทขออนุญาต และไม่ตรงกับที่ระบุในฉลากยา ไฟรเซอร์ บริษัทยาตลาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาที่มีรายได้มหาศาลจากการผลิตและขายยาไวอากร้าก็ได้ถูกศาลสหรัฐสั่งปรับเป็นเงิน 2,300 ล้านดอลลาร์มาแล้วจากคดีที่ขายยาแก้ปวดยี่ห้อ Bextra โดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกับกรณีบริษัทยายักษ์ใหญ่ดังกล่าวข้างต้น ทำให้สังคมไทยคงต้องหันกลับมามองดูว่าพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นกับแพทย์ในสหรัฐอเมริกาจะเกิดขึ้นกับแพทย์ในประเทศไทย ได้บ้างหรือไม่ซึ่งคนส่วนใหญ่เชื่อว่าพฤติการณ์เช่นเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้นกับแพทย์หรือ โรงพยาบาลในประเทศไทยได้เช่นกันทำให้คนไทยที่เจ็บไข้ได้ป่วยหรือมีความจำเป็นต้องใช้ยาอยู่บนความเสี่ยงใน การใช้ยา ซึ่งไม่รู้ที่มาที่ไปของการผลิตและประสิทธิภาพที่แท้จริงของยาที่ตนเองใช้ว่าจะรักษาอาการเจ็บป่วยได้ผลหรือไม่

ความเสี่ยงในการใช้ยาดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นกับยาใหม่ และยาจากคลินิกเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งปัจจุบันมีข้อสังเกตว่ายาที่คลินิกเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งจ่ายให้ แก่คนไข้ที่ไปใช้บริการจะไม่มีชื่อยาและไม่ระบุส่วนผสมซึ่งการไม่ระบุรายละเอียดหรือส่วนผสมของตัวยาดังกล่าว อาจเกิดจากเหตุสำคัญ 2ประการคือ ประการแรกเป็นยาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) กระทรวงสาธารณสุข ประการที่สองอาจจะเป็นตัวยาที่ผ่านการรับรองจาก อย. แต่คลินิกเอกชนและโรงพยาบาลเอกชนนั้นไม่ต้องการให้คนไข้หรือผู้บริโภคทราบชื่อยาดังกล่าว เพื่อให้คนไข้หรือผู้บริโภคต้องมาซื้อยาจากคลินิกเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนนั้นแต่เพียงผู้เดียว กรณีที่เกิดขึ้นถือเป็นเรื่องที่ อย. ควรจะเข้ามาดูแลกวดขันเข้มงวดกับบรรดาคลินิกเอกชนหรือโรงพยาบาลเอกชนทั้งหลายให้ทำการเปิดเผยชื่อยา ตลอดจนสูตรและส่วนผสมของยาให้มีความชัดเจนไม่ว่าจะที่เป็นยาใหม่ยาที่นำเข้าจากต่างประเทศและยาที่ผลิตในประเทศ เพื่อเป็นการคุ้มครองคนไข้และผู้บริโภคมิให้เกิดอันตรายจากการใช้ยา ปัญหาที่กล่าวมานี้ได้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้วแต่ก็ไม่เคยได้ข่าวว่า อย. ได้เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ทั้งที่ อย. ถือเป็นหน่วยงานหลักที่กฎหมายได้ให้อำนาจอย่างเต็มที่ในการดูแลความปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารและยาให้กับประชาชน

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทย และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนคนไทยจำนวนมากในอนาคตอีกด้วย หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลไม่ว่าจะเป็นอย. และกระทรวงสาธารณสุข ควรจะเข้ามาป้องกันและเตรียมการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรีบด่วนโดยเฉพาะในเรื่องระบบการเข้าถึงยาของคนไทย เพื่อให้ผู้บริโภคยาชาวไทยไม่ต้องยืนอยู่บนความเสี่ยงใช้ยาโดยไม่ทราบกระทั่งชื่อของยา และไม่ทราบว่ายาที่ตนเองใช้อยู่จะรักษาอาการป่วยไข้ได้ผลเพียงใด อีกทั้งจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นจากการใช้ยาหรือไม่ นอกจากนี้ ควรที่จะทำให้คนไทยทั่วไปสามารถเข้าถึงยาที่ดีและมีประสิทธิภาพในการรักษาได้ในราคาที่สมเหตุสมผลไม่แพงจนเกินไปอย่างที่เป็นอยู่ จากการที่บริษัทยาต่างชาติขูดรีดขายยาราคาแพงให้คนไทยใช้อยู่ในขณะนี้.


(ขอบคุณบทความ จรรยาบรรณที่หายไปของบริษัทยา จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ โดย รุจิระ บุนนาค)


ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี




Create Date : 28 กันยายน 2555
Last Update : 28 กันยายน 2555 17:05:04 น.
Counter : 1751 Pageviews.

1 comments
ถนนสายนี้มีตะพาบ ประจำหลักกิโลเมตรที่ 379 : เรื่องที่มักเข้าใจผิด The Kop Civil
(25 มิ.ย. 2568 15:27:14 น.)
Day..10 โฮมสเตย์ริมน้ำ
(16 มิ.ย. 2568 12:13:29 น.)
ข้อเข่าเสื่อม VS กระดูกพรุน ต่างกันอย่างไร? หนึ่งเสียงในกทม.
(16 มิ.ย. 2568 09:46:37 น.)
WRB10 Fighting Stroke สนามเจริญสุขมงคลจิต แมวเซาผู้น่าสงสาร
(14 มิ.ย. 2568 14:50:56 น.)
  
อ่านสนุกดีนะ สิวอุดตันหัวขาว รักษากระลึก Collagen รักษาฝ้า รักษาฝ้าแดด จุดด่างดำคือ รักษาฝ้ากระ สิวหัวดำ ฝ้าแดด จุดด่างดำ ฝ้ากระ หน้าเป็นฝ้า ฝ้า สิวไรผม สิวอุดตันไม่มีหัว สิวอุดตันเกิดจาก สิวฮอร์โมน คอลลาเจน สิวไขมัน สิวหัวแข็ง AviClear AviClear Laser สิวไต สิวเสี้ยน หน้าขาวใส หน้าแพ้สาร สิวข้าวสาร หน้าใสไร้สิว หน้าไหม้แดด สิวหัวขาว หน้าแห้ง อาการนอนกรน วิธีลดไขมันทั้งตัว ผิวขาว ผิวหน้า ผู้หญิงนอนกรน หน้ากระจ่างใส วิธีลดไขมันในร่างกาย หน้าเนียนใส หน้าเนียน หน้าหมองคล้ำเกิดจาก กดสิวใกล้ฉัน กดสิวเสี้ยน กดสิว หน้าใส สิวอุดตัน หน้าหมองคล้ำ สิวอักเสบ สิว สิวหัวช้าง หน้าขาว สิวขึ้นคาง สิวผด ครีมลดรอยสิว วิธีแก้การนอนกรนผู้ชาย แก้อาการนอนกรนผู้หญิง วิธีลดหน้าท้องเร่งด่วน Sculpsure ลดไขมันในร่างกาย วิธีลดไขมัน ลดไขมันต้นขา สลายไขมันหน้า ไตรกลีเซอไรด์ เซลลูไลท์ วิธีแก้นอนกรน ลดไขมัน Coolsculpting ทำกี่ครั้ง Sculpsure กับ Coolsculpting นอนกรนเกิดจาก Morpheus8 สลายไขมันหน้าท้อง วิธีลดพุงผู้หญิงเร่งด่วน 3 วัน Body Slim ลดไขมันทั้งตัว วิธีลดพุงผู้ชาย Morpheus8 กับ Ulthera ลดพุงเร่งด่วน วิธีลดไขมันต้นขา ลดพุง ดูดไขมัน วิธีลดหน้าท้อง สลายไขมันด้วยความเย็น คอเลสเตอรอล รมย์รวินท์คลินิก สาขา romrawin รมย์รวินท์
ฉีดใต้ตา ครีมทาใต้ตา ขอบตาดำ Sculptra ราคา ริ้วรอยใต้ตา เบ้าตาลึก ใต้ตาบวม ใต้ตาดำ Plinest Pico หลุมสิว เลเซอร์ฝ้า เลเซอร์ฝ้า กระ IV Weight Loss Thermage Body Pico Laser ราคา สิว กลืนบอลลูนราคา วิธีลดน้ำหนัก วิธีแก้อาการนอนกรน อาการนอนกรน บทความโปรแกรมรักษาอาการนอนกรน เลเซอร์รีแพร์ ดึงหน้าที่ไหนดี ผ่าตัดดึงหน้าราคา Thermage FLX ผ่าตัดดึงหน้า ดึงหน้าราคา ผ่าตัดดึงหน้าที่ไหนดี ดึงหน้า vs ร้อยไหม ศัลยกรรมดึงหน้าราคา เครื่องสลายไขมันด้วยความเย็น Ultraformer MPT ราคา ลดเซลลูไลท์ ฟิลเลอร์แก้มตอบราคา CoolSculpting vs Emsculpt ลดน้ำหนัก วิธีสลายไขมัน สลายไขมัน Alexandrite Laser Dynamic Tech Morpheus Pro สารเติมเต็ม ฟิลเลอร์แท้ ฟิลเลอร์ปลอม เลเซอร์ขนหน้าอก Coolsculpting vs Coolsculpting Elite Morpheus8 ราคา สลายไขมันด้วยความเย็นราคา สลายไขมันด้วยความเย็น ฟิลเลอร์ใต้ตาราคา ดึงหน้า Ultherapy Prime vs Ulthera SPT IPL เลเซอร์ขนแขน YAG Laser Diode Laser ไฮยาลูรอน ฟิลเลอร์น้องชายอันตรายไหม ฉีดสิว Emtone 1 week 1 Kilo ลดน้ำหนัก กลืนบอลลูน Exo Hair Reborn หลังฉีดฟิลเลอร์คาง ปลูกผมผู้ชาย ปลูกผมสำหรับผู้หญิง ปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ปลูกผม เลเซอร์รักแร้ขาว เลเซอร์ขน เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า เลเซอร์บิกินี่ เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา เลเซอร์รักแร้ กำจัดขนถาวร เลเซอร์ขน เลเซอร์รอยสิว Pico Laser Juvederm Volite Harmonyca Profhilo Skinvive Sculptra vs ฟิลเลอร์ Sculptra บทความฉีดหน้าใส UltraClear AviClear Laser AviClear Accure Laser Accure บทความโปรแกรมรักษาสิว ฟิลเลอร์ปรับรูปหน้า ฟิลเลอร์มือ ฟิลเลอร์หน้าใส ฟิลเลอร์ร่องแก้มราคา ฟิลเลอร์ยกหน้า ฟิลเลอร์หลุมสิว หลังฉีดฟิลเลอร์กี่วันหายบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ หลังฉีดฟิลเลอร์ปาก Apex ให้ใจ สุขภาพ
โดย: peepoobakub วันที่: 1 เมษายน 2568 เวลา:13:23:57 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Kandanalikecoconutoil.BlogGang.com

kandanalike
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 30 คน [?]

บทความทั้งหมด