ค่าแปลและการเสียภาษี

ค่าแปลและการเสียภาษี

สวัสดีจากออสเตรเลีย บล็อกนี้ตั้งใจจะเขียนนานแล้วแต่ยุ่งมากเนื่องจากเตรียมตัวมาเมลเบิร์น ณัชชาอรพาน้องชายมาเรียนภาษาอังกฤษ 3 เดือน ก็เลยมาอยู่เป็นเพื่อน

ช่วงนี้ได้เวลาเทศกาลภาษีคำนวณภาษีกันบ้างหรือยัง ณัชชาอรยื่นตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2556 แล้ว เหตุผลเพราะจะใช้ ภงด. 90ที่ยื่นเป็นหลักฐานว่ามีรายได้ในช่วงปีที่ผ่านมาเวลายื่นขอวีซ่าไปประเทศต่างๆ คือคิดไว้แล้วว่าต้องบินบ่อยแน่ๆจะส่งแค่สมุดบัญชีธนาคาร ก็กลัวสถานทูตจะไม่รู้ว่ามีรายได้ต่อปีเท่าไหร่ ช่วยเจ้าหน้าที่หน่อย ส่งหลักฐานให้ครบจะได้อนุมัติวีซ่าง่ายๆ

บล็อกนี้ไม่ได้จะสอนว่าต้องคำนวณภาษีเงินได้จากค่าแปลยังไง แค่จะมาเล่าให้ฟังว่าตัวเองทำยังไง

เดิมรายได้จากค่าแปลทั้งหมดเราจะเอาเข้าคณะบุคคลเพื่อการแปล xxx ที่จดไว้กับกรมสรรพากรตั้งแต่ปี2546 ผลคือ เงินได้จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน(1) ส่วนที่ยื่นเสียภาษีในชื่อตนเอง และ (2) ส่วนที่ยื่นเสียภาษีในชื่อคณะบุคคล ทำให้ฐานภาษีลดลง ภาษีที่ต้องจ่ายก็น้อยลงด้วย

จำได้ว่าช่วงปีแรกๆที่มีรายได้จากการแปลไม่คิดว่าจะได้รับการว่าจ้างหลายงานเลยไม่ได้เอาเข้าคณะบุคคลฯ ทุกอย่างเข้าชื่อตัวเองหมดรวมกันกับเงินได้จากงานประจำปรากฏสิ้นปีคำนวณภาษี ต้องจ่ายเพิ่มอีก 4x,xxx บาทโอ๊ย จะเป็นลม

ปีต่อมาแจ้งลูกค้าทุกรายว่าจะใช้คณะบุคคลฯ ในการรับงาน ลูกค้าเกือบทั้งหมดโอเคมีอยู่รายเดียวที่บอกว่าได้ แต่นั่นหมายความว่า ต้องมีการยื่นประมูลงานแปลใหม่เพราะถือว่าคณะบุคคลฯเป็นคนละคนกับชื่อเดิมที่อยู่ในฐานข้อมูลผู้ค้า

ทำไงดีอ่ะไม่อยากประมูลใหม่ กลัวคนอื่นได้งานไป สุดท้ายต้องยอมรับงานในชื่อตัวเอง

เรารับงานในชื่อคณะบุคคลฯมาเรื่อย จนถึงปี 2554 เราออกจากงานประจำในเดือนพฤศจิกายน(ถ้าเคยอ่านบล็อกเก่า จะจำเรื่องราวได้) ตอนนั้นคิดว่าปีหน้า 2555 อาจจะทำงานประจำอีกถ้างานแปลที่ได้ไม่เยอะพอเลี้ยงตัวก็เลยใช้ชื่อคณะบุคคลฯ รับงานต่อไป

ทว่าผิดคาดอย่างใหญ่หลวง งานแปลเข้ามาเหมือนทอร์นาโดมาจากทุกทิศทั้งในและนอกประเทศ ผ่านไปครึ่งปี คิดแล้วว่าไม่กลับไปทำงานออฟฟิสเหมือนเดิมแน่ๆ แต่มีแววจะเสียภาษีเยอะ มัวแต่บินไปโน่นไปนี่ กว่าจะแจ้งลูกค้าว่าขอยกเลิกการใช้ชื่อคณะบุคคลฯในการรับงาน ก็ปาเข้าไปจะหมดปีแล้ว รวมเงินได้ทั้งหมดของคณะบุคคลฯปี 2555 ต้องจ่ายภาษีเงินได้เพิ่มอีก 2x,xxx แล้วไหนจะ ภงด. ของตัวเองอีก

เอ้า ไม่เป็นไร 2556 เริ่มใหม่ ทุกอย่างใส่ชื่อตัวเองเพราะอย่างน้อยๆ ก็มีค่าประกันชีวิตค่าบริจาค ค่ากองทุนรวมฯ ให้ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีมาจากไหน

นักแปลในประเทศไทยส่วนใหญ่รับงานจากลูกค้าในประเทศไทย ของเรารายได้มากกว่าครึ่งมาจากลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ฮ่องกงสิงคโปร์

คำถามที่ตามมาคือ ค่าแปลที่ได้รับจากบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ต้องนำมาคำนวณภาษีมั้ย

คำตอบคือต้องนำมาคำนวณภาษีด้วยถ้า (ดูเว็บไซต์สรรพากรประกอบ www.rd.go.th)

(ก) เอาเงินนั้นเข้าประเทศไทย

ถ้าจะเลี่ยงก็ทำได้ให้ลูกค้าจ่ายเงินทาง Paypal หรือ Moneybookersเงินมันจะไปกองกันอยู่บนอินเตอร์เน็ต

ปัญหาคือเงินพวกนี้เอาไว้ช็อปปิ้งออนไลน์ได้ชำระค่าสินค้าได้แต่ระบบของร้านค้าในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่รับระบบเงินอินเตอร์เน็ต สุดท้ายก็ต้องโอนเงินจากบัญชีอินเตอร์เน็ตมาเข้าบัญชีธนาคารในประเทศไทย พอโอนปั๊บก็เข้าข่ายต้องเสียภาษีถ้าเข้าองค์ประกอบข้อ(ข) ด้านล่างคือ

(ข) ในปีภาษีนั้น นักแปลอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน

ตรงนี้เพื่อนที่ทำบัญชีบอกว่า“ไหนๆ แกก็บินออกนอกประเทศไป 5 เดือนแล้วแกไปอีกสักรอบดิให้มันครบ 180 วัน จะได้ไม่ต้องเสียภาษี” เอ่อ มันจะคุ้มเหรอเพื่อน ค่าตั๋วก็ 3x,xxxแล้ว ไหนจะค่าที่พัก ค่ากิน ค่ารถ etc ยอมเสียภาษีดีกว่านะ

ทีนี้มันมีข้อยกเว้นเรื่องอนุสัญญาภาษีซ้อนแปลว่าถ้าลูกค้าในต่างประเทศหักภาษีจากค่าแปลของเราไปแล้ว เราก็จะไม่โดนเก็บภาษีซ้ำในส่วนนั้น จากการสอบถาม hot line ของสรรพากรไทยหลักการเหมือนกันกับสรรพากรของออสเตรเลีย คือเอามาเป็นเครดิตภาษี

แต่...คิดดีๆ นะใครจะยอมโดนหักภาษีในออสเตรเลีย ที่นั่นเขามีระเบียบว่าผู้มีเงินได้ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เวลาหักภาษีจะโดนหักในอัตราสูงสุดคือร้อยละ 45 (ถ้าจำไม่ผิด) ถ้าโดนกันขนาดนี้ อย่ารับงานเลย เราเลือกเอาเงินได้มาเสียภาษีในไทยโดนภาษีแค่ร้อยละ 10 ไม่เกิน 20 (ถ้าเกินกว่านั้นก็จะเริ่มไม่คุ้มต้องหาอะไรมาลดหย่อน)


แล้วถ้าเอาเงินได้เข้าประเทศไทยแล้วจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากแหล่งอ้างอิงไหนในการคำนวณ

แรกๆ เราก็งงนะจะอ้างอิงธนาคารไหนดี จริงๆเราอ้างอิงธนาคารกรุงเทพก็ได้เพราะเราโอนเงินอินเตอร์เน็ตเข้าบัญชีนี้ แต่เราไม่รู้เขาค้นอัตราแลกเปลี่ยนย้อนหลังกันตรงไหน ของธนาคารแห่งประเทศไทยมันอยู่หน้าแรก หาง่ายก็เลยใช้อัตรานั้นแหละ ใจดี เอาอัตราสูงสุด (ช่องสุดท้ายทางขวาของสกุลเงินนั้น)มาคูณเลย เสียภาษีเพิ่มนิดหน่อยแต่รายได้ที่แสดงก็เยอะขึ้นด้วย

เราเคยถามเพื่อนว่าเราไม่แจ้งสรรพากรได้มั้ยว่าเรามีรายได้จากต่างประเทศ เพื่อนนักบัญชีก็บอกว่า ถ้าไม่แจ้ง สรรพากรก็ไม่รู้หรอก สรรพากรส่วนใหญ่จะไล่ตรวจแต่คนที่มีรายได้เป็นหลายๆล้าน รายได้จิ๊บๆแค่นี้เขาไม่มาหาเอกสารให้เมื่อย (เข้าใจว่าเขาใช้ระบบจับคู่เอกสาร ใบหักภาษี ณที่จ่ายที่มี จะต้องแสดงรายได้ตรงกันกับจำนวนที่แจ้งในใบ ภงด. ประจำปี ถ้าไม่ตรง ก็ต้องแก้ตัวเลขหรือไปหาหลักฐานมาเพิ่ม กรณีเงินได้ต่างประเทศบริษัทในต่างประเทศคงไม่ได้ส่งเอกสารอะไรให้สรรพากรไทยสรรพากรไทยก็จะไม่มีอะไรให้จับคู่ เลยไม่รู้ว่ามีรายได้จากต่างประเทศ)

ได้ยินอย่างนี้ก็มีเขวเหมือนกันนะ ใครๆ ก็ไม่อยากเสียภาษีเยอะ แต่เลี่ยงภาษีอย่างนี้มันไม่ถูก เรานั่งคิดอยู่หลายวันพยายามหาข้อดีของการยื่นแสดงรายได้ให้ครบว่ามีอะไรบ้าง (รู้แหละว่าต้องยื่นให้ครบแต่ต้องการเหตุผลเพื่อที่เวลายื่นจะได้ไม่รู้สึกเสียดายภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม) ก็ได้คำตอบ

(1)เราบินบ่อย ทั้งไปเที่ยว ไปเยี่ยมเพื่อน เยี่ยมแฟน etc หลักฐานว่ามีรายได้ที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งคือภงด. เพราะเป็นหลักฐานที่ออกโดยราชการไทย การแสดงรายได้ครบถ้วนจะทำให้ตัวเลขใน ภงด. สูง แสดงว่ามีรายได้ดีมีเงินไปต่างประเทศแน่นอน

ตอนเราขอวีซ่าไปญี่ปุ่น 1 เดือนเมื่อมีนาคม 2555 สถานทูตก็ขอหลักฐานแสดงรายได้เราบอกว่าเราไม่มีงานประจำ เงินที่ได้ก็ได้ไม่ประจำเขาก็ให้เขียนจดหมายอธิบายว่าปัจจุบันทำงานอะไรอยู่เงินได้ต่อเดือนเฉลี่ยแล้วเท่าไหร่ แล้วเราก็แนบ ภงด. ไปด้วย เป็นหลักฐานเดียวที่มี ส่วนสมุดบัญชีธนาคารก็แสดงว่ามีเงินเก็บอยู่เท่าไหร่ ใช้ประกอบได้ส่วนหนึ่ง

(2) เราวางแผนไว้ว่าเราจะมาอยู่ประเทศออสเตรเลียไม่ว่าจะด้วยวีซ่าอพยพหรือวีซ่าแต่งงาน (เรายื่นวีซ่าอพยพ skilled migrant independent ไปแล้วตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2552จ่ายค่าวีซ่าไป 6x,xxx บาท และถูกแช่แข็งตั้งแต่บัดนั้นเพราะกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและพลเมืองของออสเตรเลียเปลี่ยนระเบียบเรื่องความต้องการทางด้านวิชาชีพสำหรับคนที่ขอวีซ่าอพยพ ตอนนี้ออสเตรเลียไม่ต้องการนักแปลแล้ว เขาคัดแต่อาชีพยากๆ อย่างหมอ บัญชี ครูชำนาญการวิศวกร เข้าประเทศ ถ้าใครคุณสมบัติครบ จะถูกจับเข้ากลุ่มแรกได้รับการพิจารณาวีซ่าเข้าประเทศก่อนกลุ่มอื่น ส่วนอาชีพพ่อครัว คนทำขนมปังช่างเสริมสวยแต่ก่อนที่เขาต้องการ ตอนนี้เราไม่เห็นในรายชื่อแล้วนะ)

ถ้าถึงเวลาที่เราต้องขอวีซ่าแต่งงานเราไม่อยากให้สถานทูตเห็นว่าเราไม่มีรายได้อะไร อยากให้เขารู้ว่าเราเป็นประชากรมีคุณภาพ มีการศึกษา ไม่ขี้เกียจเข้าประเทศแล้วไม่เป็นภาระของเขาแน่นอน ฉะนั้นเราควรจะแสดงรายได้จากต่างประเทศรวมเข้าไว้ใน ภงด. ด้วย

แค่ 2 ข้อนี้ เราว่าเพียงพอแล้วที่เราจะทำอะไรให้ถูกต้อง แล้วมันก็ช่วยเรื่องวีซ่าเรามาตลอดทั้งตอนที่ขอวีซ่าไปอังกฤษ และมาออสเตรเลีย

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATINo. 67061 ออสเตรเลีย





Create Date : 06 มีนาคม 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 16:11:46 น.
Counter : 6199 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
8
9
10
11
12
15
16
17
18
19
20
21
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog