​​​​​​​เปิดซิง CAT Tools


เปิดซิง CAT Tool 

ตั้งใจพาดหัวให้ดึงดูด กรุณาอย่าคิดไปไกล

เดือนตุลาคมปีที่แล้ว (2555) บริษัทแปลแห่งหนึ่งในต่างประเทศติดต่อเราให้ตรวจงานแปลแบบทดสอบของผู้สมัคร 4 ราย เป็นฝรั่ง 2 คน เป็นคนไทย 2 คน เหตุผลคือเขาต้องการให้คนที่มีคุณวุฒิด้านการแปลหรือภาษาศาสตร์เป็นคนตรวจ (จริงๆ เราว่าใครตรวจก็ได้ถ้าคนนั้นรู้ภาษาไทยจริง ใช้ภาษาได้ถูกต้อง) 

พอได้ไฟล์มา เปิดแล้วผงะ มันเป็นงาน localization แปล user interface หรือรูปร่างหน้าตาของโปรแกรมส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน ณัชชาอรมึน ตั้งแต่ทำอาชีพแปลมา ไม่เคยเจองานลักษณะนี้ คงถึงเวลาแล้วสินะที่จะต้องตามเทรนด์มารับงานประเภทนี้  (localization คืองานแปลเนื้อหาของต่างประเทศเป็นภาษาปลายทาง มักจะพบในงานของบริษัทใหญ่ๆ ที่ขายสินค้าทั่วโลก อย่างไอโฟน ซัมซุง ดูรายละเอียดเพิ่มใน https://pantip.com/topic/37866979)

เกณฑ์ที่ใช้ในการตรวจตามที่ลูกค้าแจ้งมาคือ
(ก) คุณภาพในการใช้ภาษา (การสะกด ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน และวากยสัมพันธ์)  
(ข) ความถูกต้อง (มีคำที่ไม่แปล แปลไม่ครบ แปลเกิน แปลไม่เสมอต้นเสมอปลายแปลไม่ได้มาตรฐานการใช้ภาษา)
(ค)การใช้คำศัพท์ (ใช้คำศัพท์ตามที่กำหนดไว้สำหรับโปรเจ็กต์หรือเปล่า ใช้คำศัพท์เดียวกันสำหรับคำต้นทางตลอดทั้งงานแปลหรือเปล่า)
(ง) สไตล์เอกสาร (แปลโดยยึดสไตล์ที่กำหนดไว้สำหรับโปรเจ็กต์นั้นหรือเปล่า)
(จ) รูปแบบการแปล (ระดับภาษา ธรรมเนียมการเขียน การใช้สำนวนแบบเจ้าของภาษา)

งานแปลของฝรั่ง 2 คนเห็นชัดว่าใช้ภาษาไทยไม่เป็นธรรมชาติ มีการใช้ภาษาพูดในงานแปล และหลายๆ ประโยคเรียงคำผิด ทำให้ความหมายผิด  ส่วนนักแปลไทยอีก 2 คน แปลใช้ได้ดูตามเกณฑ์ ก็ให้คะแนนไปแล้วให้บริษัทแปลเลือกเองว่าจะจ้างใคร….โดยที่ไม่ได้รู้เลยว่า 2 คนหลังนี้จะเป็นคนที่แปลงานซึ่งเราต้องเป็นคนตรวจแก้ในงานจริง

ตรวจคำแปลแบบทดสอบไม่นานบริษัทแปลเจ้านั้นติดต่อมาอีก ให้ตรวจแก้งานแปลโปรเจ็กต์นี้เลย แต่ต้องใช้ MemoQ  นี่เป็นเครื่องมือช่วยแปลยี่ห้อที่เพิ่งเคยได้ยิน  ที่คุ้นหูมีแค่ Trados กับ Wordfast  เราตอบอีเมลไปว่า ไม่เคยใช้เครื่องมือช่วยแปลเพราะงานส่วนใหญ่ที่รับเป็นเอกสารศาล มีแบบฟอร์มศาล และลูกค้าประจำไม่ใช้เครื่องมือแปล ก็เลยไม่ซื้อมาใช้ แต่สำหรับโปรเจ็กต์นี้ จะเรียนรู้เพื่อทำงานและรบกวนขอรหัสผ่าน  

ทีนี้มาเรื่องค่าแปล ปกติค่าแปลคิดเท่าไหร่ ค่าตรวจจะคิดครึ่งหนึ่ง แต่งานนี้ผู้จัดการโปรเจ็กต์ให้ครึ่งของครึ่งนึง (25/100) เพราะใช้โปรแกรมช่วยแล้วจะทำให้แก้งานได้เร็วขึ้น

พอนักแปลส่งงานเข้าระบบเรียบร้อยเรามีหน้าที่เปิดไฟล์มาแก้ จำได้ว่าโปรเจ็กต์กำหนดว่าให้เนื้อหากระชับ หลายๆคำต้องแก้ให้สั้นลงแต่ใจความเดิม ตอนนั้นไม่รู้ว่า MemoQ ก็มีฟังก์ชั่น replace all เหมือน Word แก้คำเดียวแต่เปลี่ยนคำแปลในทุกไฟล์ได้ ถามผู้จัดการโปรเจ็กต์แล้วก็ไม่บอกว่ามีปล่อยให้เปิดแก้ทีละไฟล์จนครบ เป็นร้อยไฟล์เลย

ปัญหาคลาสสิกที่เจอคือ เนื่องจากใช้นักแปล 2คนประโยคเดียวกัน แปลมาคนละอย่าง มันก็โชว์ในความจำของระบบไว้ 2 แบบ นักแปลเวลาเลือกใช้คงจะงงอยู่ว่าตัวเองแปลไว้ยังไง คนตรวจแก้ต้องมาเปลี่ยนให้เป็นคำแปลเดียวกันทุกไฟล์

เราตรวจแก้เรื่องการใช้ภาษา ไม่ได้ตรวจว่าคำศัพท์คอมพิวเตอร์คำนี้ควรแปลหรือไม่ควรแปล ถ้านักแปลแปลไว้ ก็ตามใจนักแปลงานแปลเป็นผลงานของเขานี่ ตรวจแก้เสร็จ ผู้จัดการโปรเจ็กต์ส่งชุดที่ตรวจแล้วไปให้คนตรวจแก้จากภายนอกตรวจอีกรอบ ไฟล์กลับมาเหมือนผ่านสงคราม แดงเถือก คนนี้เขาคงเป็นผู้เชี่ยวชาญการแปลงานด้าน localization เขาอธิบายว่าคำนี้ ถ้ามาคู่กับคำนี้ ให้ใช้ภาษาอังกฤษไปเลย ไม่ต้องแปล คำนี้ถ้าอยู่ในบริบทนี้ให้จับมาไว้ตรงนี้ จะขยายความได้ถูกต้อง  เลยถึงบางอ้อ เป็นบทเรียนที่ดี จะได้นำไปใช้ในการตรวจแก้ครั้งต่อไป

จบชุดแรกแล้ว มีชุดที่สองต่อทำไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา (2556) โปรเจ็กต์เดียวกันแต่เป็นส่วนของคู่มือผู้ใช้ เจอปัญหาเดิมเลยประโยคเดียวกัน นักแปลคนละคน แปลไม่เหมือนกัน คำศัพท์คำนี้ ในความจำมีกำหนดไว้แต่มีข้อยกเว้นว่าถ้าพบกับอีกคำที่ระบุไว้จะต้องเก็บคำนั้นไว้เป็นภาษาอังกฤษ นักแปลคงลืมดูข้อยกเว้นเลยแปลทุกอัน เราก็ต้องมานั่งแก้กลับเป็นภาษาอังกฤษ

ความน่ารำคาญอย่างหนึ่งที่เจอคือ QA Tool ในระบบ มันตรวจการเว้นวรรค ตรงไหนที่เว้น 2 เคาะมันจะโชว์ ให้แก้เป็นเคาะเดียว  

สรุปเราไม่ชอบเครื่องมือแปลเพราะโปรแกรมหลายตังค์ พอใช้แล้ว ค่าแรงถูกลง (แต่มันก็ชดเชยไปกับปริมาณงานที่ทำได้มากขึ้นเยอะ) แต่ละโปรแกรม จะมีวิธีใช้งานคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว คนที่ไม่ชอบเทคโนโลยีจะรู้สึกว่ายุ่งยาก (ทั้งที่จริงอาจจะเรียนครั้งเดียวแล้วเรียนเพิ่มนิดหน่อยเมื่อต้องใช้โปรแกรมตัวอื่น) อีกอย่างคือ ลูกค้าแต่ละรายอาจจะให้ใช้โปรแกรมคนละตัวซึ่งนักแปลไล่ซื้อทุกครั้งไม่น่าจะคุ้ม

************
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 09 มิถุนายน 2563

 




Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 9 มิถุนายน 2563 10:39:41 น.
Counter : 11063 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
12
13
14
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
15 กุมภาพันธ์ 2556
All Blog