พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ (อีกครั้ง)
พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ (อีกครั้ง)
 
เชื่อว่าหลายคนเป็นแฟนเจมส์ บอนด์ วันนี้มีจะเล่าเกี่ยวกับการแปลนิยายของ เอียน เฟลมมิ่ง จากบทความของ อนิกา คลือเวอร์ เรื่อง Mr. Bond Lives Another Day จากวารสาร The Linguist 52.2 มาให้อ่านกัน
 
สำหรับแฟนๆ ทั่วโลก เจมส์ บอนด์ คือหนุ่มเจ้าสเสน่ห์และอวดเก่งตามแบบฉบับอังกฤษ ถึงตอนนี้นิยายเกี่ยวกับสายลับ 007 ของ เอียน เฟลมมิ่ง ออกจำหน่ายไปแล้วทั่วโลกจำนวนกว่า 100 ล้านเล่ม และมีฉบับแปลจัดทำมากหมายหลายภาษา
 
ในส่วนของการแปล อย่างแรกเลย จำเป็นต้องแปลน้ำเสียงให้ถูกต้อง เฟลมมิ่งชอบใช้ประโยคสั้นมาก มีหลายส่วนที่เขียนเป็นโคลง และส่วนอื่นๆ เป็นการการพรรณนาความจริงอย่างสุขุมและเย็นชา หลายครั้งก็ย่อวลีและคำศัพท์ให้สั้นลง อย่างเรื่อง 007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ (Moonraker; 2498) ที่เริ่มต้นว่า ‘The two thirty-eights roared simultaneously.’ ตรงนี้หมายถึงปืนรีวอลเวอร์ .38 สองกระบอกที่บอนด์และครูสอนยิงปืนกำลังใช้อยู่ ซึ่งเป็นการยากที่จะถ่ายทอดประโยคที่กระชับและเยือกเย็นเหล่านี้ให้ถูกหลักไวยากรณ์ภาษาเยอรมันในขณะเดียวกันก็ต้องอธิบายรายละเอียดบางอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้  แต่เมื่อใดที่ผู้เขียนใช้ประโยคยาวมากๆ เวลาแปลเป็นภาษาเยอรมันแล้ว มีแนวโน้มที่จะยาวยิ่งกว่า ซึ่งยิ่งทำให้อ่านแล้วสับสนมากขึ้น นักแปลจึงต้องเลือกว่าจะปล่อยประโยคยาวๆ นั้นไว้แม้ว่ามันจะฟังดูแปลก หรือจะแตกประโยคยาวออกเป็นหลายประโยคย่อยซึ่งกระทบต่อผลด้านการรับรู้ของผู้อ่าน
 
แม้ว่านิยาย 007 จะเขียนขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 แต่ไม่น่าเชื่อว่าภาษายังทันสมัย  เฟลมมิ่งใช้ตราสินค้ามากมายที่รู้จักกันดีในบริเทนในสมัยนั้น เช่น มีฉากหนึ่งในหนังสือเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr No; 2501) ซึ่งมีชื่อตราสินค้าถึง 7 ชื่อปรากฏอยู่ในย่อหน้าสั้นๆ ย่อหน้าหนึ่ง รวมทั้ง Steradent, Aspirin และ Guerlain ซึ่งชวนให้ผู้อ่านรำลึกถึงภาพเหตุการณ์ต่างๆ ในเวลานั้น โชคร้ายที่ฉบับแปลเป็นภาษาเยอรมันมักจะไม่มีรายละเอียดดังกล่าว อย่างในหนังสือ เพชฌฆาต 007 (From Russia, with Love; 2500) ผู้เขียนบรรยายอาหารเช้าของบอนด์ไว้ว่า ‘Then there were two thick slices of whole wheat toast, a large pat of deep yellow Jersey butter and three squat glass jars containing Tiptree ‘Little Scarlet’ strawberry jam; Cooper’s Vintage Oxford marmalade and Norwegian Heather Honey from Fortnum’s.’  แต่ฉบับแปลปี 1966 ท่อนนี้ถูกตัดเหลือเพียง ‘Erdbeermarmelade, Orangenmarmelade und norwegischer Honig’
 
นิยาย 007 ฉบับแปลเก่าข้ามไปไม่แปลอยู่หลายที่ ซึ่งเมื่อมีการจัดทำฉบับแปลใหม่ บางครั้งที่ผู้แปลไม่แน่ใจในประโยค คำ หรือข้อเท็จจริงไหน และเปิดดูฉบับแปลเก่า ก็พบว่าไม่มีประโยคนั้น คำนั้น หรือข้อเท็จจริงนั้นในฉบับแปลเก่า  อย่างใน 007 เพชรพยัคฆราช (Diamonds are Forever; 2499) นั้น สเตฟานีและคู่หูนักแปลซี่งเป็นผู้แปลฉบับแปลใหม่ค้นคำที่เท่ากับคำว่า ‘ringer’ แต่ก็ไม่มีคำนั้นปรากฏอยู่ในฉบับแปลเก่า ผู้แปลฉบับแปลใหม่จึงตัดสินใจใช้คำว่า Doppelgänger
 
ในทำนองเดียวกัน รายละเอียดส่วนมากของการเล่นไพ่บาคาร่าตอนเริ่มเรื่อง 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (2496) ก็ถูกละเว้นไม่แปล ทำให้ผู้แปลฉบับแปลใหม่ต้องค้นคว้าอย่างละเอียด ต้องค้นดูทุกกฎการเล่น เกมนี้เล่นไม่ยาก แต่มีคนไม่มากที่รู้จักไพ่บาคาร่า ซึ่งบางทีอาจจะเป็นสาเหตุว่าทำไมเกมนี้จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นเล่นไพ่โป๊กเกอร์แทนในภาพยนตร์ปี 1996 ที่แสดงโดย แดเนียล เครก
 
นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงด้านวัฒนธรรมหลายอย่างที่ต้องค้นคว้า  อย่างในเรื่อง พยัคฆ์มฤตยู 007 (Live and Let Die; 2497) เมื่อคนของ มิสเตอร์บิ๊ก กล่าวถึงบอนด์ว่าเป็น ‘Limey’ ซึ่งเป็นแสลงที่ใช้เรียกคนที่อยู่บนเกาะอังกฤษ ผู้แปลฉบับแปลใหม่แปลคำนี้ว่า Inselaffe (ซึ่งแปลตามตัวอักษรได้ว่า ‘island monkey’) อันเป็นทั้งคำดูถูก (แม้ว่าจะใช้บ่อยในแง่ตลกขบขันก็ตาม) และเป็นคำที่กล่าวถึงผู้คนที่มาจากประเทศอังกฤษ
 
ชื่อตัวละครมากมายโดยตัวมันเองแล้วเป็นการเล่นคำ หรือไม่ก็มีความหมายในแง่หนึ่ง เช่น ชื่อ Honeychile Rider (ในหนังสือเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007) และ Shady Tree (เรื่อง 007 เพชรพยัคฆราช) และ Tee Hee (เรื่อง พยัคฆ์มฤตยู 007)  เนื่องจากคนเยอรมันรู้จักตัวละครเหล่านี้ในชื่อภาษาอังกฤษจากภาพยนตร์ ผู้แปลจึงคงชื่อเหล่านี้ไว้ในภาษาอังกฤษ ยกเว้นแต่มือสังหารในเรื่อง เพชฌฆาต 007 ที่หนังสือพิมพ์พรรณนาไว้ว่าเป็น ‘the moonkiller’ เพราะมือสังหารนายนี้มีแรงกระตุ้นที่จะสังหารเมื่อพระจันทร์เต็มดวง ผู้แปลจึงเรียกเขาว่า Mondscheinmörder (‘moonshine murderer’) ซึ่งดูเป็นกวีมากกว่าคำ Mondmörder อันเป็นความหมายตามตัวอักษร และฟังดูคล้ายชื่อหนึ่งที่หนังสือพิมพ์อาจใช้
 
การปรากฏของตัวละครเยอรมันในนิยายเล่มที่สามในชุดบอนด์นั้นสร้างปัญหามากมาย สมุนของแดร็กซ์ที่ชื่อ วิลลี่ เคร็บส์ พูดติดสำเนียงเยอรมันเล็กน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้แปลไม่สามารถแปลออกเป็นภาษาเยอรมันได้ เช่น ทำให้ตัวละครตัวนี้พูดติดสำเนียงบาวาเรียน เพราะจะทำให้กลายเป็นตัวตลกและก็เปลี่ยนบุคลิกไปเลย
 
เฟลมมิ่งเขียนหนังสือในชุดบอนด์ถึง 14 เรื่อง และผู้แปลแปลไปแล้ว 6 เรื่องและกำลังแปลเรื่องที่เจ็ด นั่นคือเรื่อง จอมมฤตยู 007 (Goldfinger; 2502) ดังนั้นต้องแน่ใจว่าหนังสือทุกเล่มในชุดนี้สอดคล้องกัน ตั้งแต่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือน เช่น Chief of Staff (Stabschef) และ Paymaster (Zahlmeister) ซึ่งแปลง่ายแต่ก็ต้องเหมือนกันในหนังสือทุกเล่ม ไปจนถึงคำศัพท์ที่ซับซ้อนมากกว่า เช่นคำว่า ‘skeleton grip’ บนปืนของบอนด์  อย่างในตอนแรก เฟลมมิ่งบรรยายอาวุธนี้ว่า ‘a very flat .25 Beretta automatic with a skeleton grip’ แทนที่จะแปลตามตัวอักษร ผู้แปลเลือกบรรยายอย่างกระชับสั้นที่สามารถนำไปใช้ได้อีกในหนังสือเล่มต่อไป นั่นคือ ‘eine sehr flache .25 Beretta Automatic […], deren Griffabdeckung entfernt worden war.’ ในวิธีนี้ ‘with a skeleton grip’ จึงกลายเป็น ‘the handle cover had been removed’
 
ผู้แปลแปลเล่มแรกเมื่อ 2-3 เดือนก่อนวันตีพิมพ์ และแปลงานถึงวันละ 5,000 คำ ตอนนี้มีคำศัพท์มากมายที่ไม่ต้องค้นอีกต่อไปเพราะเจอบ่อย เช่น the Beretta with the skeleton grip แต่ถึงอย่างนั้น พยัคฆ์ร้าย 007  มักจะได้อาวุธใหม่มาให้ได้ทำความรู้จักเสมอ อย่าง Walther PPK ปืนคู่ใจเพราะ เอ็ม. และ ผู้ผลิตอาวุธคิดว่า เบเร็ตต้า ที่บอนด์เคยใช้นั้น ‘ปืนสำหรับผู้หญิง’
 
**************
ปรับปรุงเมื่อวันที่ 06 มิถุนายน 2563

 




Create Date : 06 กันยายน 2556
Last Update : 6 มิถุนายน 2563 18:00:57 น.
Counter : 3996 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กันยายน 2556

1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog