การแปลเอกสารทางการแพทย์
การแปลเอกสารทางการแพทย์

หัวข้อนี้ Snips, Stitches and Fixes: Moving intoMedical Translation นี้ เราเข้าอบรมตั้งแต่วันศุกร์ที่ 31 ต.ค. แล้ว แต่มัวไปเที่ยว เลยเพิ่งจะเขียนวันนี้

วัตถุประสงค์ของการอบรมคือ อธิบายอย่างกว้างๆ เกี่ยวกับเนื้องานในเอกสารทางการแพทย์เผื่อนักแปลที่สนใจจะได้พิจารณาได้ว่าเหมาะสมหรืออยากย้ายสาขางานที่แปลอยู่มั้ย

วิทยากรท่านแรกคือคุณ Cynthia Stephens นักแปลเอกสารทางการแพทย์ (อายุเยอะแล้วแหละ น่าจะ 50+) ท่านเล่าว่าเอกสารทางการแพทย์ที่มีการจ้างแปล เช่น

- hospital discharge report เช่น accident report, gynecology, post ICU report

- labreport เช่น blood test

-pharmaceutical market research เช่น therapeutic options,interview with doctors

- nursing circular

- patient consent form (อันนี้จะออกแนวๆ legal translation)

- medical articles

วิทยากรท่านแรก แปลงานเทคนิคมากๆ เลยนะเราว่า ศัพท์แต่ละคำ เราไม่เคยได้ยินมาก่อน เช่น oligohydramnic pregnancies ,pharmaecogenics, hysterectomy procedure เรานั่งฟังได้ครึ่งชั่วโมง ก็คิดแล้วว่า จะไม่เปลี่ยนไปแปลงานสาขานี้แน่นอน

ลืมเกริ่นสหภาพยุโรปมีการติดต่อค้าขายกันในระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกซึ่งก็รวมถึงสินค้าต่างๆ และยา เลยต้องมีการแปลเอกสารทางการแพทย์สำหรับใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิก เท่าที่สังเกต นักแปลในประเทศอังกฤษที่ทำงานเอกสารสำหรับกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่จะทำงานในคู่ภาษาอังกฤษ-ฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ-อิตาเลียน ภาษาอังกฤษ-สเปน และภาษาอังกฤษ-เยอรมัน ภาษาอื่นก็มีแต่ไม่เยอะน่าจะเป็นเพราะ scale การค้ากับประเทศอังกฤษไม่มากพอ

ข้อจำกัดในการแปลงานทางการแพทย์ คือ

- ลายมือหมอ อ่านยาก ปกติถ้าได้มาแล้วอาจต้องส่ง transcribe ก่อนถึงนำมาแปลได้

- ตัวย่อเยอะ เหมือนข้างบนคืออาจจต้องส่งไปถอดรหัสก่อน แล้วค่อยส่งแปล

- ต้นฉบับมักจะแสกนมาไม่ชัด อ่านไม่ออก

- กำหนดส่งงานด่วน

- ศัพท์เทคนิคเยอะ

วิทยากรท่านที่สองคือ คุณ Craig โปรเจ็กต์เมเนเจอร์จากDora Wirth Languages (//www.dwlanguages.com/) บริษัทนี้แปลงาน Life Science เป็นหลัก เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 1962แน้ทแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างๆ ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (แปลออก) มีแปลจากภาษาในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเป็นภาษาอังกฤษ (แปลเข้า) บ้าง อย่างกรณี adverse eventreport ส่วนแปลจากภาษาต่างๆ ในทวีปเอเชียเป็นภาษาอังกฤษ ก็มีบ้างกรณีที่บริษัทยาต้องการรู้ว่าอุตสาหกรรมยาและการแพทย์ในเอเชียก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว

ลูกค้าของบริษัท ได้แก่ ผู้ผลิตยา บริษัทวิจัยทางการแพทย์บริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ รายงานการวิจัยทางคลินิกสำนักพิมพ์หนังสือทางการแพทย์

DWL จ้างนักแปล freelance โดยคุณสมบัติของนักแปลคือ

- เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์แล็บเภสัชกร นักกายภาพบำบัด สัตว์แพทย์ หรือ

- เป็นนักภาษาศาสตร์แต่มีเงื่อนไขว่าต้องมีประสบการณ์ในการแปลเอกสารทางการแพทย์มายาวนาน

- ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยมาตรฐานด้านการแปล EN15038 ของสหภาพยุโรป (ดูเพิ่มเติมที่ //qualitystandard.bs.en-15038.com/)

สำหรับกระบวนการแปล เมื่อนักแปลทำงานเสร็จแล้ว PM จะส่งให้editor ตรวจ ซึ่ง editorก็คือแพทย์ ในบางกรณี คนตรวจคือหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลงานสาธารณสุขหรือการแพทย์ของประเทศที่เกี่ยวข้องถ้ามีแก้ไข ก็จะส่งกลับมาให้นักแปลดูว่า accept หรือ reject มีคนถามว่าใช้ back-translationตรวจมั้ย บริษัทตอบว่าไม่ใช้เพราะว่าวิธีนี้จะเพิ่มเวลาทำงานมากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้ factor ไว้ พอ edit เสร็จแล้ว PM จะตรวจความเรียบร้อยขั้นสุดท้าย เช่นตรวจตัวเลข เครื่องหมายวรรคตอน

และมีการตรวจสอบข้อกำหนดเรื่อง Quality ReviewDocuments (QRD) ของ European Medicines Agency (//www.ema.europa.eu/)

มีการตรวจสอบศัพท์บัญญัติกับ European Directoratefor the Quality of Medicines & Healthcare (https://www.edqm.eu/en/edqm-homepage-628.html) และ MedicalDictionary for Regulatory Activities (MEDRA) (www.meddra.org)

ที่ DWL นี้ นักแปลต้องทำแบบทดสอบ ถ้าผ่าน จะได้ทำงานแปลจริง แต่ 3 งานแรกจะถือว่าเป็นนักแปลที่มี potential หลังจากนั้นจึงจะถือว่าเป็นนักแปลในสังกัดจริงๆ

โปรแกรมที่บริษัทใช้อยู่คือ Memo Q กับTrados แต่เท่าที่ฟัง เหมือนบริษัทนี้จะชอบ Memo Q มากกว่า

วิทยากรบอกว่า ในอนาคต ตลาด emerging market จะมีบทบาททางการแพทย์มากขึ้น

วิทยากรท่านสุดท้ายที่มาบรรยายช่วงบ่ายคือ Dr. Ed Zanders จาก Pharmaguide ท่านมาเล่าถึงกระบวนการพัฒนายา Denosumabยาตัวนี้ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน คร่าวๆ คือ ระหว่างขั้นตอนศึกษาองค์ประกอบปรากฏว่าที่ญี่ปุ่นก็มีการศึกษาโมเลกุลเดียวกันโดยใช้ชื่อ Snow Brand คุณหมอเล่าละเอียด แต่มันยากจนเรางง ฟังแล้วก็หายไปเลย ไม่ได้จำ เลยขอไม่เล่าต่อนะ

สำหรับคนที่สนใจจะหันมารับงานด้าน life science แนะนำให้ดาวน์โหลดแหล่งทรัพยากรข้อมูล Alain Cote: Tool box forthe medical translator) ที่นี่ //www.groupetraduction.ca/documents/ToolBox.pdf




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2557
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2557 0:50:27 น.
Counter : 5030 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2557

 
 
 
 
 
 
1
2
4
5
6
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog