Diploma in Translation

หลายคืนก่อนกำลังหาคอร์สอบรมหรือสัมนาการแปลในประเทศอังกฤษเพราะว่าจะบินไปยุโรปเดือนมิถุนายนเลยจะวนเข้าอังกฤษไปเก็บ CPD ซะหน่อย

ปรากฏว่าดันไปจิ้มเจอเรื่องการเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจสอบเพื่อขอรับวุฒิบัตรด้านการแปล (Diploma in Translation) ของ Chartered Institute of Linguists(CIOL) ประเทศอังกฤษ เห็นว่าน่าสนใจ เลยอยากเล่าให้ฟัง

เงื่อนไขของผู้สมัครไม่ได้กำหนดเรื่องวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ (หรือเราหาไม่เจอเอง)แต่กำหนดอายุขั้นต่ำไว้ที่ 19 ปีขึ้นไป ส่วนค่าธรรมเนียมสอบราคาเต็มอยู่ที่ GBP 580 (ประมาณ 28,000 บาท)

สิ่งที่อยากรู้ก่อนสอบคือสอบผ่านแล้วได้อะไร

CIOL บอกไว้ว่า หากสอบผ่านจะสามารถสมัครเป็นสมาชิกในระดับต่างๆ ได้ ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมฯกำหนดให้สมาชิกต้องจบในสายภาษาเท่านั้นและต้องมีประสบการณ์ในการแปลอย่างน้อย 1ปี

หากสอบได้ร้อยละ60 จะถือว่าสอบผ่าน โดยจะประเมินจาก 3 ส่วนคือ (1)ความรู้ความเข้าใจในต้นฉบับ แปลและใช้ระดับภาษาได้ถูกต้อง (2) ไวยากรณ์ (หน่วยคำ วากยสัมพันธ์ เป็นต้น) ความเชื่อมโยง และ (3) องค์ประกอบทางเทคนิค ได้แก่ เครื่องหมายวรรคตอน การสะกด การถ่ายเสียงชื่อวันที่ ตัวเลข เป็นต้น

ทีนี้ลองมาดูรายละเอียดของการสอบขอรับคุณวุฒินี้

1. การเตรียมตัวสอบรับวุฒิบัตร Diploma in Translation

ปัจจัย2 ประการเพื่อประเมินความพร้อมก่อนสอบคือ (1) ความรู้ในเรื่องที่แปลและประสบการณ์ด้านการแปลตามมาตรฐานวิชาชีพและ (2) ปริมาณงานที่เคยทำพร้อมคำติชมที่ผู้สอบได้รับก่อนสอบ

2. ความสำคัญของทฤษฎีการแปล

ผู้สอบควรมีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการแปลคือ วิเคราะห์วาทกรรมเป็น (เช่น ใครเป็นผู้ส่งสาร ผู้รับสาร รูปแบบการใช้คำน้ำเสียง) สามารถหาคำแปลที่มีระดับเทียบเคียงกับต้นฉบับได้และใช้โครงสร้างไวยากรณ์ที่เหมาะสมมีความรู้ด้านคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในภาษาต้นทางและภาษาปลายทาง รู้ว่าปัญหาในการแปลงานชิ้นนั้นๆคืออะไรและจะแก้ปัญหาได้อย่างไร (เช่น การแปลชื่อเฉพาะ ตัวย่อการแปลงหน่วยวัดต่างๆ) เป็นต้น

3. เทคนิคที่ใช้ในการแปล

ผู้สอบควรรู้จักวิธีต่างๆที่ช่วยให้แปลได้ซื่อตรงกับต้นฉบับ โดยอาจพิจารณาใช้เทคนิคดังต่อไปนี้

• Direct Translation ได้แก่ การใช้คำยืม (เช่น คำว่า baguette คำว่า glasnost) การใช้คำยืมแบบแปล (เช่น คำว่า marché aux puces ยืมมาแต่แปลเป็น ‘flea market’)

• Indirect(oblique) translation ได้แก่ การแปลแบบเปลี่ยนหน้าที่ของคำ (เช่น คำในต้นฉบับเป็นคำนามฉบับแปลอาจต้องเปลี่ยนเป็นคำกริยาเพื่อให้ฉบับแปลเป็นธรรมชาติ) การแทนที่วลีในต้นฉบับด้วยวลีที่เทียบเคียงกันในฉบับแปล(เช่น ภาษาฝรั่งเศสคำว่า dernier étage แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า ‘top floor’) การแปลโดยใช้คำเทียบเคียงซึ่งไม่เหมือนต้นฉบับเลยเช่นในกรณีของการแปลสำนวนหรือสุภาษิต การดัดแปลง (เช่น การถอดความคือคงความหมายเดิมแต่สื่อด้วยคำใหม่) การแปลชดเชย โดยการเพิ่มคำแปลในส่วนอื่นของเนื้อหาในกรณีที่แปลตรงตัวแล้วอาจได้ความไม่ครบ(เช่น Quai D’Orsay แปลว่า ‘the French Foreign Ministry’)

4. ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย

แปลผิดเช่น ไม่เข้าใจความหมายโดยรวมของต้นฉบับทำให้ผู้สอบแปลเนื้อหาแบบตรงตัว(อ่านไม่รู้เรื่อง) เดาความหมายแทนที่จะเปิดพจนานุกรมตีความต้นฉบับผิดทั้งในระดับคำ ความ สำนวน หรือคำศัพท์เฉพาะ แปลตก(ถ้าแปลตกเกินร้อยละ 5 จะถือว่าสอบตก ไม่ว่าส่วนที่เหลือในฉบับแปลจะแปลได้ดีแค่ไหนก็ตาม)(โหดเนอะ)

5. คำแนะนำอื่นๆ

ผู้สอบควรตรวจความเรียบร้อยของคำแปลทั้งหมดก่อนส่ง หลักๆคือ อ่านฉบับแปลแล้วควรจะรู้สึกเหมือนงานชิ้นนั้นเขียนด้วยภาษาปลายทาง (ลื่นไหลไม่สะดุด) และตรวจสอบรายละเอียดต่างๆทั้งวันที่ ชื่อ ตัวเลข ทศนิยม เครื่องหมายวรรคตอน

6. การสอบการแปลเฉพาะทาง

สอบแปล 6 สาขา เลือกจากสาขาต่างๆ ดังนี้ เทคโนโลยี ธุรกิจ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ สังคม และกฎหมาย(แต่ละสาขาจะมีสาขาย่อย ซึ่งดูได้จากเว็บ CIOL)

**************************************

ผู้ที่สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือการสอบขอรับวุฒิบัตรการแปล //www.ciol.org.uk/images/Qualifications/DipTrans/DipTransHandbook.pdf

รายชื่อหนังสือสำหรับอ่านเตรียมสอบ

In Other Words. A Coursebook on Translation. Mona Baker (Routledge 1992)

A Textbook of Translation. Peter Newmark (Prentice Hall 1988)

Paragraphs on Translation/ More Paragraphs on Translation. Peter Newmark (Multilingual DipTrans Handbook-201422 Matters 1993/1998)

**************************************

ความเห็นส่วนตัวนะ แนวทางในการทำข้อสอบก็มาจากหลักการแปลที่สอนในหลักสูตรการแปลในมหาวิทยาลัยต่างๆ รายชื่อหนังสืออ่านเพื่อเตรียมสอบก็เป็นหนังสือเรียนที่ใช้เรียนในหลักสูตรฯฉะนั้นการสอบรับวุฒิบัตรใบนี้ เหมือนเป็นทางลัด ไม่ต้องเรียนปริญญาโทการแปล 2 ปี แต่… จากเกณฑ์การให้คะแนนที่ละเอียดยิบย่อยแล้วเราคิดว่า ไม่น่าจะสอบผ่านได้ง่ายๆ 




Create Date : 24 มีนาคม 2558
Last Update : 24 มีนาคม 2558 7:29:31 น.
Counter : 3982 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มีนาคม 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
17
18
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
31
 
 
24 มีนาคม 2558
All Blog