ประชุมสมาคม CIOL
ประชุมสมาคม CIOL

ห่างหายจากการเขียนบล็อกไปหลายวันเนื่องจากเคลียร์งานก่อนกลับไทยอยู่ไทยแค่ 4 วัน ก็บินมาอังกฤษ ทริปนี้มาเที่ยวกับเพื่อนแล้วจะเลยไปฝรั่งเศสแต่บังเอิญสมาคมนักภาษาศาสตร์ประเทศอังกฤษ (CIOL) เชิญสมาชิกเข้าประชุมประจำปีช่วงที่เราไปอังกฤษพอดีเราเลยตอบตกลงเข้าร่วม หลังจากตอบรับไม่กี่วัน มีอีเมลอีกฉบับตามมา CIOL ขอให้เราเขียนบทความเกี่ยวกับการประชุมในครั้งนี้เพราะเราเป็นสมาชิกที่อยู่นอกประเทศอังกฤษซึ่งมาเข้าร่วมประชุม อ่ะ จัดไป ไม่มีปัญหา (เดือนที่แล้วสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยก็อีเมลมาขออนุญาตตีพิมพ์บทความที่เราเขียนในบล็อกทั้งหมด 10 เรื่องในหนังสือที่ระลึกแจกผู้เข้าร่วมประชุมสมาคมประจำปี ซึ่งเราก็อนุญาตไม่หวงความรู้อยู่แล้ว)


รูปนี้ถ่ายกับคุณแอนน์ กรรมการสถาบัน CIOL  รู้สึกเจ้าหน้าที่จะบอกว่าคุณแอนน์เป็นคนตรวจเอกสารเราและอ่าน reference ทั้งหมดเพื่อพิจารณาอนุมัติรับเข้าเป็นสมาชิก

การประชุมครั้งนี้จัด BMA Houseที่ลอนดอน อยู่ใกล้กับ St. Pancras ที่เราจะนั่งยูโรสตาร์ไปฝรั่งเศสตอนเย็นวันเดียวกันก็สะดวกดีนะ

ช่วงเช้ามีสัมนาให้เลือกเข้าฟัง4 หัวข้อ เราเลือกฟังหัวข้อ Howtranslators can use the CIOL Code of Processional Conduct to resolve ethicaland business dilemmas เก็บ CPD หัวข้อ ethicsสำหรับการต่ออายุ NAATI ครั้งต่อไปในอีก 3ปีหน้า

วิทยากรอธิบายว่า “A code ofconduct provides visible guideline and support day-to-day decisionmaking.” อีกประโยคที่เราชอบคือ“An occupation becomes a profession when members follow specialstandards for carrying out their occupational work (professed member). (จดมาไม่เป๊ะ แต่ทำนองนี้)

เนื้อหาค่อนข้างคล้ายกับการอบรมonline ของ NAATI วิทยากรยกตัวอย่าง 3 ตัวอย่างซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงที่มีคนมาโพสต์ไว้ใน transnet,ITI forum

เรื่องแรก ใบเกิดสะกดสถานที่เกิดผิดจากคำว่า New Eltham เป็น New Eltan คำถามคือ จะแปลตามที่สะกดมาหรือจะแก้เป็นคำที่ถูกในฉบับแปล

คำถามนี้ปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดแล้วมีคนมาตอบ บางคนตอบว่าแปลไปทั้งที่สะกดผิดและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของลูกค้าในการหาหลักฐานประกอบว่าต้นฉบับสะกดผิดอีกคนบอกว่า ปฏิเสธงานนี้ไปซะ หรืออีกคนบอกว่าให้แจ้งลูกค้าว่าสะกดผิดแล้วสะกดให้ใหม่ Code ofConduct มีคำตอบ คือ ข้อ 3.6, 5.4 และ 5.5รวมๆ คือ ห้ามแก้ไขเอกสาร ไม่งั้นจะถือเป็นการปลอมแปลงนักแปลจะมีความผิดตามกฎหมายซึ่งหมายถึงการฝ่าฝืน Code of Conduct ด้วย

ปัญหาข้อที่ 2 นักแปลคนหนึ่งทำงานแปลจดหมายข่าวของลูกค้ารายหนึ่งให้กับบริษัทแปลมา 7ปี อยู่ดีๆ งานนี้ก็หยุดหายไป นักแปลเชื่อว่าบริษัทแปลเสียลูกค้ารายนี้ไปแล้ว และนักแปลจำได้ว่าอีเมลของคนเขียนจดหมายข่าวปรากฏอยู่ในจดหมายข่าวก็เลยคิดว่าจะติดต่อคนเขียนจดหมายข่าวโดยตรงเพื่อเสนอบริการ คำถามคือนักแปลควรติดต่อลูกค้าโดยตรงหรือไม่

เรารู้คำตอบอยู่แล้วเพราะเราเรียนวิชาCode ofEthics ของ NAATI มาก่อน แต่ถึงไม่ได้เรียนมา commonsense ใช้ได้ในหลายๆ กรณี สิ่งแรกที่นักแปลควรถามตัวเองคือ ถ้ามีคนทำอย่างนี้กับเรา เราจะรู้สึกยังไง คือ ถ้าเราเป็นบริษัทแปลแล้วนักแปลในสังกัดแอบติดต่อลูกค้าของเรา เราจะรู้สึกยังไง

Code of Conduct ของ CIOL ที่บังคับใช้คือ ข้อ 3.11, 5.6,3.1, 3.13 หนึ่งในนี้เป็นเรื่อง confidentiality แต่ผู้มาประชุมก็แย้งว่า ลับตรงไหนในเมื่อเป็นจดหมายข่าวที่มีการตีพิมพ์ในพื้นที่สาธารณะ

เจ้าของปัญหานี้วิเคราะห์แล้วตอบไว้ในเว็บบอร์ดว่า สุดท้ายไม่ได้ติดต่อลูกค้าโดยตรงเพราะลองชั่งน้ำหนักดูแล้วลูกค้ารายนี้จุกจิก เสนองานไป ก็อาจจะไม่ได้งาน แต่ถ้าได้งานมาก็จะเป็นงานจุกจิกทำให้ปวดหัวเหมือนเดิมรวมทั้งอาจทำให้เสียลูกค้าที่เป็นบริษัทแปลไปด้วย เสียหลายทางเลย ไม่ทำดีกว่า

ปัญหาที่ 3 เป็นเรื่องการเปิดเผยความลับ KatharineGun ซึ่งเป็นนักแปลภาษาจีนเป็นภาษาอังกฤษของศูนย์การสื่อสารรัฐบาล (GCHQ) เผยแพร่อีเมลในปี 2003 เรื่องการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีแผนจะดักฟังการสนทนาของสำนักงานUN ใน 6 ประเทศ ว่า UN อนุมัติให้โจมตีอิรักหรือไม่ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนอนุสัญญาเวียนนา ผลคือเธอถูกจับและส่งฟ้องศาลข้อหากระทำความผิดตามมาตราในOfficial Secrets Act (แต่พอขึ้นศาลแล้ว ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่สามารถส่งหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าการทำสงครามนั้นถูกกฎหมาย คือถ้ายิ่งส่งหลักฐาน ประชาชนก็จะเพ่งเล็งมากยิ่งขึ้น)

แล้วก็มีผู้เข้าประชุมท่านหนึ่ง(อายุมากแล้ว น่าจะ 60 ได้มั้ง) บอกว่า เคยล่ามในศาลขณะล่าม รู้ว่าคนพูดโกหก ล่ามกระอักกระอ่วนใจ คำถามคือ จะล่ามต่อดีมั้ยหรือจะบอกศาลว่าคนพูดโกหก ถ้าล่ามต่อ แล้วล่ามจะถือเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดด้วยหรือไม่

ข้อนี้เราเคยสอบถามแนวทางจากผู้บริหารของNAATI แล้ว ตอนที่เราแปลทรานสคริปต์แล้วสงสัยว่าฉบับที่เราได้รับมานั้นเป็นเอกสารปลอม ที่สงสัยเพราะเราเปิดฟอร์ม excelของลูกค้ารายอื่นมาใช้เป็นแบบแล้วแก้รหัสวิชา ชื่อวิชารายละเอียดอื่นๆ (จะได้ไม่ต้องตีตารางใหม่) ปรากฏว่า รหัสวิชา ชื่อวิชา เหมือนกันทุกวิชา เท่านั้นไม่พอเกรดรายวิชายังเหมือนกันอีกด้วย เหมือนกันทุกตัว เฮ้ย อะไรจะบังเอิญขนาดนั้นเชียว ว่าแล้วก็เสียวๆ ต้องอีเมลขอแนวทางหน่อย ซึ่ง NAATI ตอบมาว่านักแปลไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเนื้อหาของต้นฉบับหน่วยงานที่นำเอกสารไปใช้คือผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบความแท้จริงของเอกสาร

ดังนั้นคำตอบเรื่องล่ามในกรณีที่สงสัยว่าผู้ที่ให้ถ้อยคำโกหกคือ ล่ามไปอย่างนั้นเลย มีหน้าที่เป็นคนกลางในการสื่อสาร ก็ทำหน้าที่แค่นั้น

แต่นั่นคือคนละกรณีกับเหตุสงสัยว่ามีการกระทำผิดหรือทำให้เกิดความเสียหายซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องแจ้งให้หน่วยงานที่มีอำนาจทราบ เช่นผู้เข้าประชุมรายหนึ่งบอกว่า เธอล่ามให้ลูกค้าบุคคลซึ่งเป็นผู้ขอรับสวัสดิการ ผู้ขอสวัสดิการบอกเธอว่า ไม่มีลูกแต่ตอนที่เธอไปเข้าห้องน้ำชั้นบน เธอเห็นเด็กนั่งอยู่ตรงบันได เท่ากับว่าผู้ขอรับสวัสดิการโกหก เธอคิดอยู่นานว่าจะทำยังไงแต่สุดท้ายเล่าให้นักสังคมสงเคราะห์ฟัง นักสังคมฯ บอกว่า ไม่เป็นไร เดี๋ยวจัดการเองวันหลังจะไปตรวจเยี่ยมบ้านอีกรอบโดยไม่ให้ล่ามไปด้วย แต่เธอบอกว่าเธอเสียลูกค้ารายนี้ไปเลย

เราบอกที่ประชุมคร่าวๆว่า ของ NAATI มีเงื่อนไขเรื่องการอบรมจรรยาบรรณนักแปลด้วยหากต้องการต่อใบรับรองคุณวุฒิ ตอนที่เราต่อเราหาอบรมไม่ได้เลยเรียนออนไลน์ของ NAATI ประมาณ 20 ชั่วโมง ในขณะที่ CIOL ยังไม่มี สมาชิกในที่ประชุมก็บอกว่า CIOL ต้องกำหนดส่วนนี้ให้เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการต่อใบรับรองได้แล้ว

ปิดท้ายสัมนา CIOL Codeof Conduct มีแยกย่อยอีก 5 ชุด สำหรับ ล่ามนักแปล ผู้ทำงานให้หน่วยงานบริการของรัฐ ครูหรืออาจารย์ และผู้ปฏิบัติงาน

หากต้องการดูเนื้อหาของ Code ofConduct ทั้งหมด ให้ไปที่ //www.ciol.org.uk/images/Membership/CPC.pdf

**************

หัวข้อที่สองที่เราเข้าฟังคือFor youreyes only: the interesting world of the GCHQ linguist

อังกฤษมีหน่วยงานราชการลับอยู่3 หน่วยคือ MI5 (Security Service) MI6 (JamesBond) และ GCHQ

GCHQ คือศูนย์สื่อสารของรัฐบาลอังกฤษนักภาษาศาสตร์ของ GCHQ หรือ Signal Intelligence มีหน้าที่รับสารหรือสัญญาณเป็นภาษาต่างประเทศ กรอง กลั่น ถอดเสียง แปลวิเคราะห์ นำส่งข่าวกรองให้ลูกค้านั่นเอง

นักภาษาศาสตร์ของ GCHQ ต้องมีทักษะทางภาษาที่ดีมีความรู้ด้านวัฒนธรรมและติดตามข่าวสารปัจจุบันเสมอ และต้องรู้ด้วยว่าอะไรที่วิเคราะห์และรายงานได้โดยไม่ผิดกฎหมาย

ตอนนี้ GCHQ ต้องการผู้สมัครที่มีความรู้ภาษาโซมาเลีย ปัญจาบ เปอร์เซีย รัสเซียอูร์ดู เกาหลี และภาษาจีน แต่จากการสำรวจ GCHQพบว่าจำนวนนักเรียนที่เลือกเรียนสายภาษานั้นลดลงมากถึงระดับที่กระทบต่อการจ้างงาน ขาดนักภาษาศาสตร์เก่งๆ ว่างั้น เพราะนักเรียนไม่รู้ว่าเรียนภาษาศาสตร์แล้วนอกจากเป็นครูสอนภาษาแล้วจะทำงานอะไรได้อีก

ข้อเสียของการทำงานเป็นนักภาษาศาสตร์ของGCHQ คือคุยกับใครไม่ได้เนื่องจากงานที่ทำต้องเก็บเป็นความลับแม้ตอนหลังจะออกไปทำงานอื่นแล้วก็ตาม

***********

โปรดติดตามตอนต่อไป




Create Date : 12 ตุลาคม 2557
Last Update : 21 ตุลาคม 2557 13:46:48 น.
Counter : 1525 Pageviews.

1 comments
  
โดย: Rai (Re-Rai ) วันที่: 12 ตุลาคม 2557 เวลา:9:38:43 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog