คุณวุฒิของนักแปล

คุณวุฒิขั้นต่ำของนักแปล

สืบเนื่องจากได้อ่านข่าว“หนักเอาเบาสู้ : พ่อเฒ่านักแปลป.4”ที่มีลิงค์อยู่ในหน้า FB ของ TIAT ลงวันที่ 7 เม.ย. 56 (//www.komchadluek.net/detail/20130406/155390/หนักเอาเบาสู้:พ่อเฒ่านักแปลป.4.html)เนื้อข่าวสรุปสั้นๆ ได้ว่า คุณลุงวัย 75 ปีมีรายได้เลี้ยงชีพจากการแปลภาษาอังกฤษให้คนในพื้นที่ ผู้ที่สนใจ นักวิชาการรวมถึงชาวต่างชาติ เดิมลุงทำนาแต่หลังจากเริ่มเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเองและฝึกสนทนากับฝรั่งหลายๆ คนทำให้ลุงสามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องทั้งการอ่านและการเขียน มีคนใช้บริการการแปลภาษาและแปลหนังสือ

ข่าวนี้มีประเด็นที่น่าพูดถึงหลายข้อ

(ก) “ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องทั้งการอ่านและการเขียน”นี้ ใช้เกณฑ์ไหนวัด ถ้าเป็นเกณฑ์ชาวบ้านในละแวกก็อาจจะถือว่าดีเยี่ยมเพราะคนส่วนใหญ่อาจจะสื่อสารภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แต่อย่างที่เรารู้กันคือเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้วัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่ได้มาตรฐานจริงๆ คือ TOEFL หรือ IELTS หรือ TOEIC คะแนนที่ได้จากการวัดผลด้วยระบบเหล่านี้ถือไปที่ไหนในโลกก็มีคนรับเพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือถ้าจะใช้เกณฑ์ภายในประเทศ ก็อาจจะอิงการสอบCU-TEP หรือ TU-GET ถ้าสอบได้ตามเกณฑ์ก็แสดงว่ามีสิทธิเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้(หากคุณสมบัติอื่นครบถ้วนด้วย)

(ข) “มีคนใช้บริการการแปลภาษาและแปลหนังสือ” เนื่องจากเนื้อข่าวไม่ชัดเจน ไม่แน่ใจว่าหนังสือเป็นเล่มๆ ของสำนักพิมพ์หรือหนังสือในความหมายของคำว่า หนังสือราชการ จากรูปประกอบที่ลุงถือเอกสารมีหัวจดหมายของหน่วยงานคิดว่าน่าจะเป็น หนังสือราชการ อย่างนี้ก็ไม่น่าแปลกใจถ้าลุงจะเป็นคนรับหน้าที่แปลเอกสารประกอบการขอวีซ่าเพราะกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศของไทย ไม่ได้กำหนดเรื่องคุณวุฒิของนักแปลไว้ ใครแปลก็ได้ ขอให้ถูกต้อง นักการทูตตรวจแล้วผ่านก็จะประทับตรานิติกรณ์ให้นำเอกสารไปใช้ที่ต่างประเทศได้

(ค) “ผู้ที่สนใจ นักวิชาการ รวมถึงชาวต่างชาติ” ตรงนี้บอกกลุ่มลูกค้าของลุงว่าน่าจะเป็นคนที่มาทำธุระในพื้นที่ ส่วนลูกค้ากลุ่มนักวิชาการอันนี้ยิ่งน่าสนใจ นักวิชาการส่วนใหญ่จะมีวุฒิปริญญาโทหรือปริญญาเอกซึ่งวุฒิเหล่านี้จะบังคับให้ต้องอ่านตำราและงานวิจัยมากมายของไทยและของต่างประเทศ คำถามคือ นักวิชาการใช้บริการของคุณลุงในด้านไหนและระดับไหน เช่นนักวิชาการต่างชาติต้องการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่แต่พูดภาษาท้องถิ่นไม่ได้ลุงเลยได้รับขอร้องให้ช่วยเป็นล่าม การทำหน้าที่ระดับนี้ คิดว่าเกณฑ์ของ NAATI คือ paraprofessional ทำหน้าที่ล่ามได้แต่ใช้วุฒินี้ในเชิงพาณิชย์ไม่ได้ (ไม่เหมือน professional level)

(ง) สิ่งหนึ่งที่ไม่ได้ระบุคือทักษะในการแปล สำหรับคุณลุงแล้วถือว่าคุณลุงได้ทักษะในการแปลจากประสบการณ์ในการประกอบอาชีพนี้ เรียนรู้ถูกผิดจากงานที่ทำ ในทางปฏิบัติสำหรับนักแปลวิชาชีพ ต้องบอกว่า There’s no room for error. จะมาเรียนรู้จากการแปลถูกผิดโดยไม่มีการตรวจแก้ที่ถูกต้องก่อนส่งงานให้ลูกค้าไม่ได้ ไม่ต่างกับอาชีพ หมอ ทนาย บัญชี เช่น แปลใบสั่งยาลายมือหมอ (แกะยากมาก ไม่รู้จะรีบเขียนไปไหน)นักแปลอาจต้องอ่านประวัติการรักษาประกอบเพื่อตรวจสอบว่าชื่อยาที่ตัวเองแปลมานั้นใช้สำหรับอาการนั้นจริง หรือแปลเอกสารกฎหมาย หลายๆทีคู่ความเขียนคำฟ้องมาแล้วเรียบเรียงไม่ดี เช่น ฟ้องกันเรื่องค่าส่วนกลาง เอ๊ะค่าส่วนกลางเท่านี้ก็ถูกแล้ว ทำไมโจทก์ยังจะฟ้องจำเลยอีก ต้องไปไล่อ่านใหม่ดูวรรคตอนในประโยคให้ดี อาจต้องคำนวณค่าส่วนกลางต่อปี ตรวจทานดีๆ ก็รู้ว่าคำฟ้องเขียนผิดไปคำนึง

(ฉ) จากเนื้อข่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่าคนเราไม่ต้องเรียนสูงก็สามารถประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการได้ แต่ต้องมานิยามกันต่อว่า ประสบความสำเร็จนี้หมายถึงระดับไหน ระดับท้องถิ่นระดับจังหวัด ระดับประเทศ หรือระดับนานาชาติ หรือนิยามว่า ประสบความสำเร็จในด้านไหนด้านการหาเงินเลี้ยงชีพ ด้านการเพิ่มพูนความรู้ ด้านการพัฒนาท้องถิ่น อันหลังนี้ลุงทำสำเร็จไปแล้ว อันหน้านี้ยังไม่ใช่ดีเดียวแต่นั่นอาจจะไม่ใช่เป้าหมายของคุณลุง

ข่าวนี้มีมีคนคอมเมนท์ว่าน่าสนใจ แต่ก็สงสัยว่าคุณลุงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้อัตราค่าแปลในประเทศไทยลดลงเรื่อยๆหรือเปล่า

ตอนอ่านข่าวเราก็งงๆ เราอยู่ในกลุ่มวิชาชีพควบคุม (ตามมาตฐานออสเตรเลีย) ถึงจะเห็นคนทำงานนี้โดยไม่มีหน่วยงานควบคุมก็พูดอะไรไม่ได้เพราะเป็นการประกอบอาชีพแปลในประเทศไทยที่ไม่มีมาตรฐานกลางควบคุมอยู่แล้ว นักแปลมีวุฒหรือไม่มีวุฒิถ้าลูกค้าจะจ้างซะอย่าง ใครจะทำไม ของออสเตรเลีย ถ้านักแปลไม่มี NAATI จะไม่ค่อยได้รับความน่าเชื่อถือและจะได้งานจากนอกประเทศออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่อย่างงาน localisation (จ้างโดยบริษัทอเมริกาเพื่อใช้ในประเทศไทย)งานแผ่นพับโฆษณาของบริษัททั่วไป ส่วนงานแปลที่จ้างโดยภาครัฐงานใหญ่ๆเงินเยอะๆ ลืมไปได้เลย

เรื่องค่าแปลที่มีคนคอมเมนท์เป็นไปได้นะ วุฒิน้อย คิดค่าแปลน้อย มีคนอีเมลมาหาเราหลายทีว่ายอมลดค่าแปลเพราะประสบการณ์น้อย มันเป็นความคิดของคนส่วนใหญ่ ไม่ผิด เหมือนนักศึกษาเพิ่งจบ งานแรกที่เข้าทำเงินเดือนไม่สูงอยู่แล้วเพราะไม่มีประสบการณ์ แต่ต้องเตือนว่า ถึงจะรับค่าแปลที่น้อยลงเพื่อให้ลูกค้าเลือกที่จะจ้างเรา(แทนที่จะจ้างคนอื่นที่คิดราคาสูงกว่า)มาตรฐานงานแปลที่ได้ก็ต้องเป็นมาตรฐานสูงสุดหรือต้องแปลได้ตามความคาดหวังของลูกค้า ฉะนั้นก่อนรับงาน ถามลูกค้าด้วยว่าอยากได้งานแปลแบบไหน ถ้าลูกค้ามีความสามารถจ่ายแค่นี้จะได้นักแปลระดับมือสมัครเล่นแปลให้ ถ้ายอมจ่ายเพิ่มขึ้นอีก จะได้นักแปลที่มีประสบการณ์ทำให้ถ้าจ่ายเพิ่มขึ้นมาอีก ก็จะมีคนตรวจแก้งานแปลให้ด้วย ถ้าลูกอยากได้ฉบับแปลแบบผู้เชี่ยวชาญแปลโน่นเลย ใช้บริการศูนย์การแปลของมหาวิทยาลัยต่างๆไม่น่าจะผิดหวังเพราะผู้แปลก็เป็นอาจารย์ที่สอนอยู่ที่นั่น (แต่อาจจะโดนค่าหัวคิวเหมือนการจ้างผ่านบริษัทแปลทั่วไป)หรือเลือกใช้บริการนักแปลที่มีใบรับรองจากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานควบคุมวิชาชีพก็ได้

แต่การจะคิดค่าแปลในอัตราต่ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆก็ไม่ถูกต้อง นักแปลที่ดีต้องมีการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมเพิ่มเติมการสัมนา การสอบให้ได้คุณวุฒิอื่น การเรียนในระดับปริญญาที่สูงขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาคือจะสามารถเรียกค่าแปลได้สูงขึ้นด้วย ไม่ใช่อย่างที่ทำกันในตลาดดาษดื่นตัดราคากันทั้งที่คุณวุฒินักแปลแต่ละคนก็ไม่ได้ขี้เหร่เลย

ขอให้นึกถึงศัลยแพทย์เก่งๆถ้าอยากหายจากการเจ็บป่วยร้ายแรง ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ก็ต้องยอม ถ้าเงินไม่ถึง ก็อาจจะได้แพทย์ฝึกหัดไปทำแทน(เราเจอมาแล้ว ผ่าตัดซีสต์ที่รังไข่ข้างซ้ายเมื่อ 8 ปีก่อน หมอบอกว่า ถ้าเลือกไปผ่า รพ. แห่งหนึ่งของรัฐราคา 40k ถ้าไป รพ. เอกชน แถวหัวมุมสีลม ราคา 80k ถ้าไป รพ. เอกชนอีกแห่งหัวมุมสุขุมวิท ราคา 80k หมอคนเดียวกันนี่แหละ แต่เข้า 3 ที่ มีออพชั่น ถ้างบน้อยก็จะให้นักศึกษาแพทย์ผ่าโดยมีอาจารย์หมอเจ้าของไข้ควบคุม ควบคุมนี่ไม่รู้ดูเฉยๆเป็นครั้งคราวหรือเปล่า แต่สุดท้ายเรายอมจ่ายแพงเพราะอยากให้ผ่าทีเดียวผ่าน)

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอรชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 08 เมษายน 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 15:50:13 น.
Counter : 3863 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
เมษายน 2556

 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog