แปลตำราอาหาร อย่าคิดว่าง่าย

แปลตำราอาหารอย่าคิดว่าง่าย

ใครชอบทำอาหารบ้าง เราไม่ชอบนะ แต่ออสเตรเลียมันไม่มีร้านข้าวแกงหน้าปากซอย ร้านยิบย่อยริมถนนหรือร้านก๋วยเตี๋ยว 24 ชั่วโมงแบบบ้านเรา เลยต้องทำกับข้าวกินเองเสมอ เมนูก็หาเอาจากอินเตอร์เน็ต เว็บหนึ่งที่ชอบเข้าไปอ่านคือพันทิป ห้องก้นครัว

แล้วมันก็โยงมาถึงเรื่องการแปลจนได้สิน่า

เมื่อวานอ่านเจอกระทู้พาดหัวว่า“ความผิดหวังในผลงาน สำนักพิมพ์ MB” (ชื่อสำนักพิมพ์เป็นนามสมมติ) แต่สามารถดูเนื้อหาเต็มๆ ได้ที่ //pantip.com/topic/30366014ถ้ากระทู้ยังไม่โดนลบนะ

คร่าวๆคือ จขกท. (เจ้าของกระทู้) มีหนังสือเค้กโรลแฟนซีฉบับภาษาญี่ปุ่นแล้วแต่อ่านไม่ออก พอไปเจอฉบับภาษาไทยที่จัดทำโดยสำนักพิมพ์ไทยที่งานสัปดาห์หนังสือฯก็ซื้อมาอย่างเร็ว

พอมีโอกาสเปิดอ่านจขกท. ผิดหวังเพราะอ่านแล้วไม่ลื่นไหล โดยยกตัวอย่างไว้หลายคำ ดูรายการด้านล่างพร้อมความเห็นส่วนตัวของเรา

- “คุกกี้แฮนด์เมด” คำนี้เราว่าปกตินะ แฮนด์เมดนี้ใช้กันกับของอะไรก็ได้ที่ทำขึ้นมาด้วยมือ เราว่าไม่แปลก

- “โบว์ริบบิ้น”คำนี้สิแปลก จะเขียนทำไมให้ซ้ำซ้อน จะโบว์ก็โบว์ จะริบบิ้น ก็ริบบิ้น เลือกสักคำ

- “แต่งหน้าเค้กให้ดูเป็นทางการ” ดูรูปประกอบแล้วเป็นเค้กแต่งหน้าตัวการ์ตูนจิ๋ว มีสตรอว์เบอรี่วางข้างๆ และมีป้ายข้อความขนาดเล็กทำจากช็อกโกแล็ตปักอยู่ ปัญหาคือ “ดูเป็นทางการ” ในบริบทของการทำขนมมันแปลว่าอะไร ก่อนดูรูปแวบแรกนึกถึงเค้กงานแต่งงานที่ใช้ในพิธีเพราะน่าจะทำออกมาเป็นชั้นๆให้ดูเป็นทางการ สรุปว่าเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคำนี้ในหนังสือทำขนมเล่มนี้แปลว่าอะไร

- “ผงโกโก้ดำ”จขกท. สงสัยว่ามันมีผงโกโก้สีอื่นด้วยหรือ ถามผู้อ่านบล็อกว่า ในฐานะนักแปล สิ่งแรกที่นึกถึงคืออะไร….. เรานึกก่อนเลยว่า ต้นฉบับต้องเขียนไว้อย่างนี้แน่ๆคนแปลเลยแปลออกมาอย่างนี้ แล้วมันก็จริง เพราะมีคนตอบกระทู้ว่าผงโกโก้มันมี2 สี คือ สีน้ำตาล กับสีน้ำตาลเข้ม (ดำ)

(นึกถึงสมัยเรียนแปล คำว่า perishable goods แปลแบบมือใหม่ ใส่ไปว่า “อาหาร”เพราะของที่เน่าเสียเสื่อมคุณภาพและราคาง่าย น่าจะมีอย่างเดียวคืออาหาร ไม่น่าจะมีอย่างอื่น แต่มันผิดน่ะ ของที่เน่าเสียเสื่อมคุณภาพและราคาง่าย มีตั้งแต่ อาหาร ยา ดอกไม้ พืชผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์เกษตร ผัก ผลไม้ เป็นต้น ฉะนั้นจำไว้ว่า เวลาแปล อย่าเหมา)

- “น้ำมันสลัด” ต้นฉบับเขียนว่า ซาราดะออย แปลว่า น้ำมันสลัดหรือน้ำมันพืช จขกท. คิดว่าน่าจะหมายถึงน้ำมันพืช มากกว่า ในฐานะนักแปล ต้องไปสืบหาความแตกต่างด้านคุณสมบัติและการใช้งานของน้ำมัน2 ประเภท

น้ำมันพืชอย่างที่เรารู้กันมีสารพัดทั้งน้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลาน้ำมันอัลมอนด์ เป็นต้น แต่ละประเภทนี้ใช้งานไม่เหมือนกัน น้ำมันปาล์มเหมาะสำหรับทอดอาหารเพราะจุดเกิดควันสูงและคงตัวระหว่างทอดอาหาร ส่วนน้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา น้ำมันอัลมอนด์ ใช้สำหรับต้ม นึ่ง ผัด และทำน้ำสลัด (ข้อมูลจากสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย) บางตำราให้กินน้ำมันมะพร้าวเป็นช้อนเพื่อลดน้ำหนัก

น้ำมันสลัด หมายถึงน้ำมันพืชทุกประเภทที่เหมาะสำหรับทำน้ำสลัด ฉะนั้น น้ำมันปาล์มไม่น่าจะเข้าข่ายเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ใช้ทำน้ำมันสลัด น้ำมันงาก็ไม่น่าจะเหมาะเพราะกลิ่นแรงมาก เผลอๆจะกลบกลิ่นสตรอว์เบอรี่ด้วย ถ้าคนแปลแปลว่า“น้ำมันพืช” แล้วคนทำ ผ่าไปใช้น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันงาเค้กจะออกมาน่ารับประทานขนาดไหน (ประชดนะ) อีกอย่างคือ มีคนตอบ จขกท. พร้อมแนบรูปประกอบว่าในประเทศญี่ปุ่นมีน้ำมันสลัดวางขายในชื่อ “น้ำมันสลัด” เลย แสดงว่าคนเขียนต้องการให้ใช้น้ำมันสลัดไม่ใช่น้ำมันพืชแน่นอน

-“นำช็อกโกแล็ต[คำกริยาหายไปจากฉบับแปล]ในน้ำร้อน” นอกจากจะสอนทำขนมแล้ว ยังมีเกมส์ลับสมองให้เล่นด้วย คำกริยาที่หายไป น่าจะเป็นคำว่าอะไร ทายซิ ลวก ไม่ใช่แน่ ต้ม เออ อาจจะแต่ไม่ใช่หรอก มีคนเฉลยว่า มันคือการตุ๋นด้วยวิธีbain-marie เนื่องจากช็อกโกแล็ตกับน้ำรวมกันไม่ได้ ถ้าจะใช้ช็อกโกแล็ตทำขนมต้องเอาใส่หม้อแล้ววางบนภาชนะมีน้ำร้อนอีกทีนึง คนจนละลาย ถึงนำไปใช้ได้

จขกท.เขาติงไว้เท่านี้เพราะขี้เกียจอ่านส่วนที่เหลือ แบบว่าเสียอารมณ์

ความเห็นส่วนตัวเรานะ เรื่องคำแปล ผู้อ่านจะมองอย่างนึงถ้าคำแปลไม่ตรงกับที่คิด ก็มักจะคิดว่าผิดเสมอ ส่วนนักแปล (คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของงาน แต่เป็นนักแปลที่ผ่านการอบรมด้านการแปล)ถ้าเจอคำแปลไม่ตรงกับที่คิด ก็อาจจะนึกก่อนว่าต้นฉบับเขียนไว้อย่างนั้นใช่มั้ย จะไม่คิดไปก่อนว่าแปลผิด เพราะต้องค้นหาแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของคำแปลก่อนจะฟันธงว่าแปลผิดหรือไม่

ในมุมของการแปลเราว่าผู้แปลวิเคราะห์บริบทออกมาได้ไม่ครบถ้วน เช่น ผู้อ่านเป็นใครถ้าเป็นคนที่ไม่เคยทำอาหารมาก่อน บทแปลน่าจะมีการแทรกเนื้อหาเพื่อเสริมความเข้าใจหรืออาจจะทำเชิงอรรถท้ายเล่ม วัฒนธรรมปลายทางเป็นอย่างไรเหมือนน้ำมันสลัดข้างบนนี้ ถ้าผู้แปลสำรวจตลาดในไทยแล้วไม่ค่อยเจอว่ามีที่ไหนขายน้ำมันสลัดเป็นขวดๆ ก็น่าจะต้องอธิบายความแตกต่างให้ผู้อ่านแยกแยะได้ด้วยแต่...ถ้าจำไม่ผิด หนังสือแปลจากญี่ปุ่น ข้อจำกัดจะค่อนข้างเยอะเคร่งครัดมากๆ เลยไม่แน่ใจว่ามีการบังคับรูปแบบการแปลว่าห้ามต่อเติมเพิ่มขยายหรือเปล่า

เรานึกถึงหนังสือเย็บผ้าที่แปลมาจากภาษาญี่ปุ่น(คนละสำนักพิมพ์กับที่แปลตำราอาหารในบล็อกนี้นะ) ผ้ากุ๊น คือ ผ้าที่วางแนวเฉียง 45 องศาจากเกรนผ้าเพื่อให้ได้ผ้าที่โค้งได้ยืดได้ บิดได้ ในหนังสือแปลไว้ว่า ผ้าเฉียง ตอนอ่านก็เข้าใจเพราะมีภาพประกอบ แต่งงว่าทำไมไม่ใช้ศัพท์ของมัน ศัพท์เย็บผ้าเขาเรียก ผ้าเฉลียง อันนี้เรารู้เพราะเราเรียนเย็บผ้าทุกสัปดาห์ติดต่อกัน2 ปี ที่โรงเรียน ครูเรียกผ้าแบบนี้ว่า ผ้าเฉลียง สันนิษฐานว่าคนแปลไม่ใช่คนที่ชอบเย็บผ้าหรืออาจจะไม่เคยเรียนเย็บผ้า

สนใจเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATINo. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 18 เมษายน 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 15:43:09 น.
Counter : 4089 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
เมษายน 2556

 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog