งานแปลวิชาการกับตลาดหนังสือแปล

โน้ตจากการสัมนาหัวข้อ “งานแปลด้านวิชาการกับตลาดหนังสือแปล”

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

วันที่ 26 พ.ย. 2555

คุณเพชรา สังขะวร ผอ. ข้อมูลวิจัย วช.

- บุคคลภายนอกสามารถเสนอหนังสือเพื่อแปลกับวช. ได้ โดยคุณเพชราแนะนำให้เลือกหนังสือเผื่ออนาคตสัก 1-2 ปี เช่นหลายปีมาแล้วมีหนังสืออัญมณีแต่หนังสือเล่มหนึ่งที่แตกต่างคือ เพชรเพื่อการลงทุนซึ่งอธิบายถึงเศรษฐศาสตร์เพชรและต่อมาหนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสืออ้างอิงของสถาบันอัญมณีหลายแห่ง

- อาจเลือกหนังสือมาเสนอโดยดูบริบทของสังคม มีอยู่ช่วงหนึ่งที่สังคมกำลังมีกระแสเรื่องลี้ลับ วช. ก็จัดทำหนังสือ Science &Supernatural หรือ “วิทยาศาสตร์และสิ่งเหนือธรรมชาติ” ตรวจแก้งานแปลโดย ดร. องอาจชุมสายฯ หนังสือเล่มนี้อธิบายว่าแม้หลายๆเรื่องจะดูเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติทว่าแท้จริงแล้วก็สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์

คุณสริดา สาระจันทร์ บก. บมจ. ซีเอ็ดยูเคชั่น

- หนังสือคงคลังก็เหมือนเสื้อผ้าเก่าต้องหาทางระบายออก

- ผู้ซื้อมากกว่าครึ่งจะดูที่ปก ถ้าถูกใจถึงจะเปิดหนังสือดังนั้นต้องทำปกให้ดึงดูดและต้องใช้ชื่อเรื่องที่น่าสนใจ เช่น คนนี้ใช่เลย(หนังสือเกี่ยวกับการจ้างงาน) อีคิวดีชีวีสดใส (เทคนิคการควบคุมอารมณ์)

- งานแปลที่ใช้นักแปลมากกว่า2 คนมักจะได้งานที่คุณภาพไม่เสมอกัน

คุณพิมลพร ยุติศรี กรรมการ ผจก. บริษัท Tuttle-Mori Agency จำกัด

- หนังสือวิชาการมีมานานมากแล้ว สมัยก่อนเป็นหนังสือการบริหารของ PeterDrucker หรือหนังสือการตลาดของ Philip Kotler ปัจจุบันหนังสือวิชาการพัฒนามาเป็นวิชาการเนื้อหาเบาๆเช่น Fish ของสำนักพิมพ์ AR

- สำหรับการแปลหนังสือไทยเพื่อขายต่างประเทศบางเล่มก็มีศักยภาพ เช่น หนังสือสอนทำนาของ อุ้ม สิริยากร เพราะให้ความรู้อ่านเข้าใจง่าย และขายได้

- หากต้องการแปลหนังสือไทยเพื่อขายต่างประเทศเนื่องจากเรากำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน น่าจะลองขายประเทศเพื่อนบ้านก่อน เช่นถ้าขายประเทศจีนได้ ก็จะพ่วงประเทศไต้หวันเข้ามาด้วย หรือถ้าประเทศอินโดนีเซียสนใจก็จะขายให้ประเทศมาเลเซียได้ด้วย ถ้าจะให้ดีควรจะแปลเป็นภาษาอังกฤษเพราะต่อไปจะได้ขายประเทศอเมริกาได้ด้วย

คุณองอาจ จิระอร ผู้ช่วยกรรมการ ผจก. บมจ. อมรินทร์พริ้นติ้ง

- ก่อนทำตลาดหนังสือควรทำตลาดตัวเองก่อน (สำนักพิมพ์) ทำให้ผู้อ่านเชื่อใจในคุณภาพของสำนักพิมพ์แล้วหนังสือจะขายได้

- งานแปลวิชาการไม่ได้หมายความถึงแค่ตำราเรียนความรู้ทั่วไปก็นับเป็นวิชาการ เช่น ตำราอาหาร เอกสารทะเบียนราษฎร์หนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรม หนังสือพุทธศาสนา เป็นต้น

- วช.อาจหาพันธมิตรร่วมทำหนังสือ เช่น วช. แปล ให้สำนักพิมพ์เอกชนพิมพ์

- วช.อาจแบ่งสัดส่วนเพื่อให้ดำเนินงานได้ต่อเนื่อง เช่น สัดส่วนหนังสือที่ควรทำ (ขายได้อ่านง่าย) กับหนังสือที่ต้องทำ (วิชาการล้วนๆ) อาจจะอยู่ที่ 3 : 2 เล่ม แล้วนำเงินที่ได้จากการขายหนังสือหมวดแรกมาต่อยอดหมวดที่สอง

- หนังสือประสบความสำเร็จหรือไม่ไม่ได้อยู่ที่กำไร แต่อยู่ที่ว่ามีคนซื้อมากแค่ไหน

- สำหรับการขายวิชาการของไทยให้ต่างประเทศต้องถามตัวเองก่อนว่ามีวิชาการอะไรให้ขาย เช่น ขาย “แรงเงา”ก็ได้เพราะสื่อวัฒนธรรมไทย นวดแผนไทยสมุนไพรไทย มวยไทย พระเครื่อง

- ในส่วนของบทความตีพิมพ์ในนิตยสารหากจะนำมารวมเล่ม บก. ต้องดูก่อนว่าเนื้อหาแต่ละตอนต่อเนื่องกันหรือไม่ ตอนไหนที่เขียนถึงเหตุเฉพาะกาลก็อาจไม่เหมาะเอามารวมเล่ม เช่นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว (2554)

- หนังสือวิชาการบางเล่มก็มาในรูปของนิยายเช่น ลูกสยามในนามพระเจ้า (พระนารายณ์มหาราชกับฟอลคอน)

- นักแปลที่สำนักพิมพ์ต้องการคือนักแปลที่มีวินัยคุณกิ่งฉัตร คุณชาติ กอบจิตติ ล้วนมีวินัยเพื่อให้ส่งงานแปลได้ตรงเวลา ตรงนี้ อมรินทร์แก้ปัญหาด้วยการปรับกรณีนักแปลส่งงานแปลช้า (เราเห็นด้วยบริหารให้เหมือนงานก่อสร้างอาคารไปเลย ถ้าตกคิวซีก็ทำใหม่จนกว่าลูกค้าจะพอใจ ถ้าไม่ดีจริงๆ ก็ตัดค่าแรง)

- หนังสือเด็กทำยากกว่าหนังสือประเภทอื่นบางครั้งต้องเปลี่ยนเพลทเลยเพื่อให้สีตรงกับต้นฉบับ (อย่างที่คุณเอก อัคคี แห่งสยามอินเตอร์บุ๊คส์บอกว่า สีของอึ ในหนังสือเรื่อง อึ นั้นทำให้เหมือนได้ยากมาก ถ้าสีไม่เหมือนต้นฉบับเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ญี่ปุ่นจะไม่ให้ตีพิมพ์)

คุณพรกวินท์ แสงสินชัย บก. นานมีบุ๊คส์

- น้องปอเปี๊ยะเขียนหนังสือต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ปัญหาคือถ้าตีพิมพ์ในประเทศไทยจะขายผ่านใคร ถ้าวางที่เอเชียบุ๊คส์ก็จะขายได้น้อย สำนักพิมพ์แก้ปัญหาด้วยกันทำเป็น 2 ภาษาเพื่อให้ขายในประเทศไทยและในต่างประเทศควบคู่กัน

- ในส่วนของสำนักพิมพ์หากหนังสือที่จะเลือกมาแปลเป็นหัวข้อที่ติดตลาดตลอดกาล ก็สามารถนำมาเสนอแปลได้เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับไดโนเสาร์ แต่การพิมพ์อาจมีล่าช้าถ้ามีหนังสือกระแสเพราะต้องพิมพ์ก่อนที่กระแสความนิยมจะลดลง

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 26 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 22:30:44 น.
Counter : 4107 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
23
25
28
29
 
 
All Blog