งานแปลและล่ามวันนี้และทศวรรษหน้า

ประชุมสามัญใหญ่ประจำปี 2555 ของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2555 มีคุณผ่องศรีลือพร้อมขัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ส่วนวิทยากรที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความคิดเห็นสำหรับหัวข้อ “งานแปลและล่ามวันนี้และทศวรรษหน้า”ได้แก่ คุณกนก สุวรรณ สิทธิ์ ล่ามและกรรมการบริหารสมาคมฯ คุณเอก อัคคี หรือ Mr. QC จาก บมจ. สยามอินเตอร์มัลติมีเดีย คุณนัยนา รัตคอลัมนิสต์ด้านธุรกิจหนังสือนักเขียน และเป็น บรรณาธิการด้วย คุณนัยนารัตนวรรณ บ.ก. จากสำนักพิมพ์สันสกฤติ คุณสมาพร แลคโซ นักแปลอิสระ และคุณนงค์ลักษณ์เหล่าวอ คอลัมนิสต์ด้านนักเขียนนานาชาติและเป็นนักแปลด้วย

คุณกนกเล่าให้ฟังถึงประสบการณ์การเป็นล่ามว่าล่ามต้องคุ้นกับเครื่องมือต่างๆ เช่นตู้พร้อมอุปกรณ์ที่ล่ามต้องเข้าไปนั่งทำงาน ล่ามต้องสื่อสารเป็น ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ภาษาดีสามารถเป็นล่ามได้เนื่องจากต้องมีการฝึกฝน คุณกนกเคยเป็นล่ามที่ประชุมซึ่งปรากฎว่ามีผู้ประชุมพูดภาษาลาวด้วยและในคราวนั้นผู้จัดประชุมจะขอให้คุณกนกทำหน้าที่ล่ามเผื่อล่ามลาว ตรงนี้คุณกนกไม่เห็นด้วยเพราะผู้พูดน่าจะคุ้นเคยกับล่ามลาวมากกว่า สำหรับอนาคตงานล่ามนั้นคุณกนกเห็นว่าอาชีพนี้จะยังอยู่ได้อีก 10 ปีส่วนหนึ่งเพราะการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ดังจะเห็นได้จากประชาคมยุโรปที่ทุกครั้งทีจัดประชุมจะมีล่ามสำหรับผู้นำเกือบทุกประเทศมาทำหน้าที่คนกลางในการสื่อสาร

คุณกนกผ่านการอบรมการเป็นล่าม 400 ชั่วโมงซึ่งจัดโดยสมาคมฯโดยในระหว่างอบรม ผู้เรียนได้ทำงานล่ามให้กับผู้บรรยายจากหลายสาขาอาชีพ คุณกนกอยากให้ประเทศไทยมีหน่วยงานรับรองคุณวุฒิล่าม(accreditation) เพื่อเป็นบรรทัดฐานของผู้ประกอบวิชาชีพนี้ (จากการคุยหลังไมค์เราบอกคุณกนกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำลังจะจัดให้มีโครงการรับรองคุณวุฒิล่าม ผู้สนใจสามารถสอบถามที่จุฬาฯได้ คุณกนกบอกว่ารู้ว่าที่ประเทศออสเตรเลียกำลังส่งเสริมการเรียนด้านการแปลและล่ามเพราะจะเห็นได้จากโฆษณาทางyoutube เราแจ้งเพิ่มว่ามหาวิทยาลัยเดียวที่มีสอนการแปลและล่ามภาษาไทยคือRMIT เท่านั้น ค่าเรียนครึ่งปีอยู่ที่ราวๆ 6 แสนบาท)

คุณสมาพร แลคโซ ผู้แปลประวัติเนลสัน แมนดาลาโดยทุนของ สกว. เดิมประกอบอาชีพรับราชการ ภายหลังตัดสินใจลองแปลข่าว ทำได้ 2 ปีคุณสมาพรแต่งงานกับชาวแต่งชาติและต้องการหาอาชีพี่สามารถทำที่ไหนก็ได้ในโลก งานแปลจึงเป็นอาชีพที่เหมาะสม

คุณสมาพรพูดถึงอนาคตของงานแปลว่า หนังสือฉบับพูด (audio) จะเป็นประโยชน์กับนักแปลมาในเรื่องของการออกเสียงชื่อเมืองชื่อตัวละคร โดยคุณเอได้ยกตัวอย่างกรณีแฮรี่ พอตเตอร์ว่า เจ้าของเรื่องมีการกำกับการออกเสียงตัวละครไว้ในเล่มที่4 เนื่องจาก 3 เล่มที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าตัวละครในเรื่องเมื่อแปลเป็นภาษาต่างๆแล้ว นักแปลถ่ายเสียงชื่อตัวละครไม่เหมือนต้นฉบับ อีกจุดในส่วนของหนังสือฉบับพูดนี้คือค่าตอบแทนสำหรับนักแปล นักแปลต้องตกลงกับสำนักพิมพ์ให้แน่นอนว่าจะได้ค่าแปลเฉพาะฉบับตีพิม์เป็นเล่มหรือได้ค่าแปลสำหรับฉบับอีบุ๊ค และฉบับพูดด้วย

วิทยากรคนที่สามคือคุณเอก อัคคี หรือ Mr. QC ผู้เขียนคอลัมณ์ในจุดประกายได้ให้ความรู้เกี่ยวกับงานแปลและสำนักพิมพ์ว่า “นักแปลที่ดีหายาก แต่นักอยากแปลมีเยอะมาก”ทั้งนี้จากประสบการณ์ของคุณเอกเอง นักแปลต้องมีวินัย หากถึงกำหนดแล้วนักแปลไม่ส่งงานผลกระทบที่ตามมาคือฝ่ายอื่นที่รอดำเนินกระบวนการพิมพ์ก็ต้องล่าช้าไปด้วยรวมถึงวันวางจำหน่าย ส่วนนี้ยังโยงไปถึงลิขสิทธิ์ทื่ซื้อมาจากต่างประเทศ หากขายหนังสือช้า สำนักพิมพ์ก็จะมีเวลาทำกำไรได้น้อยลง คุณเอกยกตัวอย่าง คุณ น. นพรัตน์นักแปลนิยายจีนชื่อดังของกิมย้ง หวงอี้ และนักเขียนจีนหลายราย คุณ น.นพรัตน์แปลหนังสือวันละ 20 หน้ากระดาษฟุลสแก็ปเป็นนักแปลที่ตรงเวลาและสามารถกำหนดวันวางจำหน่ายได้

สยามอินเตอร์มีกิจการหลายเครือข่ายโดยหลักๆจะเน้นนิยายจีน กีฬา และการ์ตูน ในส่วนของนิยายจีนเนื่องจากคุณเอกคลุกคลีอยู่ในวงการงานพิมพ์งานเขียนมานานทำให้มีเครือข่ายธุรกิจกว้าง อย่างที่รู้กันว่า ช่อง 3 นำซีรีส์จีนมาฉายตรงนี้คุณเอกก็สอบถามกับเครือข่ายคนรู้จักในช่อง 3 (ใช้กำลังภายใน)ว่าจะนำซีรีส์เรื่องไหนมาฉาย รู้แล้วก็จะรีบไปซื้อลิขสิทธิ์งานนั้นมาแปลเพื่อให้ทันจำหน่ายก่อนซีรี่ส์ฉาย1 สัปดาห์

(นอกรอบ เราคุยกับคุณเอกหลังไมค์คุณเอกบอกว่าโดยทั่วไปต้นทุนกอง บ.ก. ไม่ควรจะเกิน 10% หรือมากสุด 12% และส่วนใหญ่แล้วค่ะลิขสิทธิ์จะอยู่ที่ 7% ฉะนั้นจะเหลือค่าแปลให้นักแปลเพียง3% ทำให้นักแปลหลายคนมองว่าเงินน้อยได้เงินเล่มละ 20,000 หรือ 30,000 บาท แต่คุณเอกให้ความเห็นว่าถ้านักแปลมีวินัยทำงานดี สม่ำเสมอ จะมีงานป้อนเข้ามา ทำให้มีรายได้ที่ต่อเนื่องแน่นอน ส่วนค่าแปลในกรณีที่หนังสือพิมพ์ซ้ำ คุณเอกเห็นว่าสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะยอมให้เพราะต้นทุนโรงพิมพ์เกิดขึ้นทุกครั้งที่พิมพ์ในขณะที่นักแปลทำงานแค่ครั้งเดียว อันนี้ต้องตกลงกันให้ดี)

คุณนัยนา บ.ก. และผู้บริหารเล่าถึงสำนักพิมพ์สันสกฤตว่า ใครๆ ก็บอกว่า “ถ้าชีวิตยังเศร้าไม่พอมาอ่านหนังสือของสำนักพิมพ์สันสกฤติสิ” คุณนัยนาเลือกหนังสือที่ชอบมาแปล(หรือจ้างแปล) ชอบเล่มไหน จะต้องมีเล่มนั้นแปล และที่เป็นหนังสือแนวนี้ (หนัก เศร้า เคล้าน้ำตา ฝ่าฟัน) ก็เพราะปัจจุบันหนังสือแนวนี้แทบจะตายไปจากตลาดในประเทศไทยแล้วแต่เดิมแฟนหนังสือจะเป็นผู้ใหญ่วัย 40 ขึ้นไปและเป็นผู้หญิงแต่เมื่อเร็วๆ นี้คุณนัยนาดูข้อมูลสมาชิกสำนักพิมพ์แล้ว ทำให้รู้ว่ามีนักอ่านในวัย30 มากขึ้น หรือบางครั้งที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติก็จะเห็นนักเรียนมัธยมซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์แจ่มใสแล้วมาซื้อหนังสือของสำนักพิมพ์สันสกฤตต่อ ทำให้คุณนัยนามีกำลังที่อยากจะทำหนังสือมากขึ้น

ท่านสุดท้ายคือคุณนงค์ลักษณ์ ปัจจุบันเขียนแนะนำหนังสือต่างประเทศวิธีเขียนคือหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตอย่างน้อย 5-6 แหล่งและอ่านความเห็นของผู้เขียนเอง และนำมาเรียบเรียง แต่จากที่เคยสนุกกับงานนี้คุณนงลักษณ์บอกว่าเริ่มไม่สนุกเพราะเนื้อที่ถูกทอนลงและแทนที่ด้วยภาพ

ส่งท้าย คุณกนกแจ้งว่าสมาคมฯจะจัดอบรมล่าม 400ชั่วโมงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2556 ถึงเดือนกรกฎาคม2556 ผู้ที่สนใจ โปรดติตามข่าวสารของสมาคมฯ ทางเว็บไซต์

คุณเอกจะมาบรรยายหัวข้อ “แปลอย่างไรให้รวย”ในเดือนมกราคม 2556ผู้ที่สนใจ โปรดติตามข่าวสารของสมาคมฯ ทางเว็บไซต์ เช่นกัน

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 05 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 22:57:38 น.
Counter : 4423 Pageviews.

2 comments
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคับ
โดย: จิ้งจอกฟ้า วันที่: 2 มกราคม 2556 เวลา:11:26:14 น.
  
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเช่นกันครับ อุตส่าห์สละเวลานั่งพิมพ์เป็นวิทยาทาน ขอบคุณครับ
โดย: ชรินเลขะ วันที่: 18 สิงหาคม 2556 เวลา:22:22:01 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
พฤศจิกายน 2555

 
 
 
 
1
2
3
4
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
19
20
22
23
25
28
29
 
 
All Blog