ความรับผิดของนักแปล ตอนที่ 2

ความรับผิดของนักแปลตอนที่ 2

กำลังติดลมเลยเขียนบล็อกหัวข้อนี้ ต่อด้วยเรื่อง ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพสำหรับนักแปล

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) พูดถึง “การประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ” (Professional Liability Insurance) ไว้ดังนี้

“การประกันภัยที่มีความสำคัญมากสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพแทบทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะถูกเรียกร้องหรือฟ้องร้องดำเนินคดีให้รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการประกอบวิชาชีพของบุคคลนั้น ๆ

ในอดีตการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพให้ความคุ้มครองจำกัดอยู่เพียงอาชีพที่ยอมรับกันว่าเป็นวิชาชีพเท่านั้นเช่น นักกฎหมาย แพทย์ วิศวกร สถาปนิก และนักบัญชี เป็นต้น แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายความคุ้มครองออกไปยังอาชีพอื่นๆ ด้วย โดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นวิชาชีพเฉพาะเท่าที่เคยยอมรับกันมา เช่น การประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ของบริษัท”//www.oic.or.th/th/n/n14.php

ทีนี้มาดูส่วนที่บอกว่าไม่จำเป็นต้องเป็นวิชาชีพเฉพาะเหมือนที่เคยยอมรับกันมา

อาชีพนักแปลถือเป็นอาชีพอิสระและปัจจุบันบริษัทประกันหลายแบรนด์เช่น Chartis (สาขาฮ่องกง)ระบุอาชีพนี้ไว้ว่าสามารถทำประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพได้

ก่อนจะดูว่าประกันฯครอบคลุมอะไรบ้าง เรามาดูหน้าที่นักแปลที่บริษัทประกันระบุไว้

“นักแปลและล่ามมีหน้าที่แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง บริการนี้เป็นการแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างภาษาและวัฒนธรรม

หน้าที่โดยทั่วไปของนักแปลและล่าม ได้แก่

- สื่อสารถ้อยคำที่พูดออกมาจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง
- แปลเอกสาร การโต้ตอบ แบบฟอร์มและเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร จากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง
- เขียนต้นฉบับใหม่จากภาษาเดิมเป็นอีกภาษาหนึ่ง
- ทำบันทึกเอกสารที่แปลและเก็บรักษารายชื่อผู้ติดต่อขอบริการล่าม
- ตรวจสอบงานแปลในส่วนคำศัพท์เทคนิคและคำศัพท์เฉพาะทางว่าถูกต้องหรือไม่และใช้คำศัพท์ไปในทางเดียวกันตลอดทั้งฉบับหรือไม่
- จัดทำรายการคำศัพท์เฉพาะทางและข้อมูลที่ต้องใช้ในงานแปล
- หารือข้อกำหนดด้านการแปลกับลูกค้าและกำหนดค่าธรรมเนียมการบริการ
- ฟังถ้อยคำของผู้พูดเพื่อระบุความหมายและเพื่อเตรียมแปลโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ถ้าจำเป็น
- พิสูจน์อักษร ตรวจแก้ และแก้ไขงานแปล
- ตรวจสอบกับแหล่งอ้างอิงต่างๆ เช่น พจนานุกรม คลังศัพท์เฉพาะสารานุกรม และธนาคารคำศัพท์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้แน่ใจว่างานแปลถูกต้องครบถ้วน

(//www.expressinsurance.com.au/professional-indemnity-insurance-allianz/interpreter-translator-insurance.php)

ในการทำหน้าที่ต่างๆ ที่ระบุไว้ข้างบน นักแปลหรือล่ามอาจทำงานพลาดได้ เช่น

- แปลไม่ครบ (ชุดแรกแปลครบแล้ว ลูกค้าเอาไปแก้แล้วส่งมาให้อัพเดท อัพกันจนงงก็มีนะ เราก็กลัวเหมือนกัน ยิ่งงานไหนตรวจแก้กันหลายรอบแล้วเราไม่ไว้ใจฝีมือคนตรวจก็ต้องเก็บอีเมลที่ส่งลูกค้าดีๆ เลย จะได้มีหลักฐานว่าตอนคนตรวจแก้มาเราแย้งไปแล้วว่าไม่ควรเพราะแหล่งอ้างอิงนี้ให้ใช้อย่างนี้)

- พิสูจน์อักษรพลาด (เหมือนบล็อกตอนที่ 1 เรื่องเลข 6 สลับกับเลข 8)

- ไม่ใส่แหล่งอ้างอิงสำหรับคำศัพท์ที่ใช้ในการแปล (เราเองเวลาเจอศัพท์ง่ายๆยังต้องเปิดเลยเพราะแปลเอกสารกฎหมาย เอาชัวร์ไว้ก่อน)

- แปลผิด(เราว่างานล่ามนี่เสี่ยงกว่าเพื่อนเลยเพราะไม่มีเวลาเปิดพจนานุกรม ต้องแปลสดหรือกรณีงานแปล แปลความสามารถของอุปกรณ์ผิดลูกค้าอ่านแล้วเข้าใจว่ามันผลิตได้แค่นี้ เลยสั่งมาซะหลายตัวปรากฎว่ามันทำงานได้มากกว่านั้นเครื่องจักรมูลค่าร้อยล้านสั่งซื้อมาเกินความจำเป็นเดาซิว่าลูกค้าจะไปไล่เบี้ยกับใคร)

- เปิดเผยข้อมูลของลูกค้าโดยไม่ได้ตั้งใจ(นักแปลบางคนเอาวลีในงานลูกค้าไปหาความหมายจาก google translate เงี้ย มันไปอยู่ในเมมโมรี่สาธารณะตลอดกาล ถ้าลูกค้าเจอแล้วจะเอาเรื่อง นักแปลไม่น่าจะรอด)

- ส่งงานไม่ทันกำหนด(สมมติแปลเอกสารประมูลโครงการพันล้าน รับปากลูกค้าไปแล้วแต่ดันแปลไม่ทันกำหนดส่ง พวกงกรับงานมาก่อนโดยไม่ดูว่าความสามารถของตัวเอง ลูกค้าพลาดประมูลนอกจากลูกค้าซวยแล้วใครซวยอีก หรืออาจจะแปลทัน ครบถ้วน เรียบร้อย แต่คนจะซวยช่วยไม่ได้คอมพิวเตอร์ดันพังซะงั้น ไม่ได้แบ็กอัพไว้อีกต่างหาก เราเคยเป็นนะ วินาทีนั้นอยากผูกคอตายหนีปัญหาไปเลย)

- แปลงานที่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา(เป็นไปได้นะ สำนักพิมพ์บอกว่าได้ลิขสิทธิ์มาแล้ว แต่ทำท่าไหนไม่รู้โดนฟ้องจากเจ้าของหนังสือ นักแปลอาจจะโดนหางเลขไปด้วยเพราะเป็นคนแปล ข้อนี้เป็นข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างแปลระหว่างสำนักพิมพ์และนักแปลดูได้ที่เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา //www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com_content&task=category§ionid=21&id=481&Itemid=571)

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ผลที่อาจตามมาคือการเรียกร้องให้ชดใช้ค่าเสียหาย

ประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ(เรียกอีกอย่างว่า Professional Indemnity Insurance) จะช่วยแบ่งเบาค่าธรรมเนียมด้านกฎหมายที่นักแปลหรือล่ามต้องจ่ายเพื่อโต้แย้งการเรียกร้องรวมทั้งช่วยแบ่งเบาค่าเสียหายได้ด้วย ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันฯ เช่นความรับผิดทางแพ่ง การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา หมิ่นประมาทโดยไม่เจตนา การฝ่าฝืนกฎหมายเรื่องความเป็นส่วนตัวกรณีเอกสารได้รับความเสียหาย ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลถูกเจาะข้อมูล พนักงาน(กรณีบริษัทแปล) ฉ้อฉลหรือกระทำการไม่ซื่อสัตย์ ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี

เออ น่าสนใจ(แต่เห็นเบี้ยแล้วอาจจะหมดความสนใจขึ้นมาทันที หรือเปล่า)

ค้นหาข้อมูลคร่าวๆจากเว็บไซต์บริษัทประกันในประเทศไทยแล้วยังไม่เจอบริการรับประกันสำหรับอาชีพนักแปล เดี๋ยวจะโทรสอบถามสัก 2-3รายแล้วจะมาอัพเดท

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 22:03:08 น.
Counter : 5141 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
10
12
13
14
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog