ภาษาชนพื้นถิ่นและการสื่อสารในบริบทของกฎหมาย


ภาษาชนพื้นถิ่นและการสื่อสารในบริบทของกฎหมาย

เมื่อวานตอนเย็น เราไปฟังบรรยายหัวข้อ Indigenous Language and Communication Matters in Law ที่ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ผู้บรรยายคือ อาจารย์ ไดอานา เอ็ดส์ จากมหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์

ต้องบอกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นก 2ตัวเพราะนอกจากจะไปเก็บ CPD สำหรับต่ออายุบัตร NAATI แล้ว ยังได้ความรู้ทั้งด้านกฎหมายและด้านภาษาศาสตร์

การบรรยายครั้งนี้เป็นการนำคดีที่เกิดขึ้นจริงในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียมาวิเคราะห์ให้ฟัง Western Australia v. Gibson 2014 (ขอแทรกหน่อยรัฐนี้ เวลาแปล ให้ถ่ายเสียงออกมาเหมือนที่ราชบัณฑิตกำหนด ไม่ต้องไปแปลว่ารัฐออสเตรเลียตะวันตกนะ)

เนื้อหาโดยย่อของคดีนี้คือ มีชายหนุ่มถูกฆ่าตายที่เมืองบรูมในปี 2010 แล้วตำรวจหาตัวผู้ต้องสงสัยได้ในปี 2012 ตำรวจก็ทำตามขั้นตอนคือ บอกกล่าวให้ทราบถึงสิทธิ์ของตนว่าจะไม่ตอบคำถามก็ได้ แต่ถ้าพูด ก็จะถูกใช้เป็นหลักฐาน เหมือนกับที่เราได้ยินในทีวีกันตอนตำรวจฮอลลีวูดท่อง Miranda Rights ให้ผู้ต้องหาฟังก่อนผลักขึ้นรถ แล้วก็มีการสัมภาษณ์ ซึ่งระหว่างนั้นผู้ต้องหาสารภาพ ตำรวจเลยส่งฟ้อง

ปรากฏว่า ผู้ต้องหาสู้คดีว่าพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ เพราะตนไม่ได้ให้การโดยสมัครใจ และเพราะตำรวจทำผิดพระราชบัญญัติการสอบสวนทางอาญา ค.ศ. 2006 (Criminal Investigation Act 2006)

คดีนี้ศาลเรียกพยานผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ 4 คนขึ้นให้การซึ่งอาจารย์ไดอานาก็เป็นหนึ่งในนั้น

อาจารย์ไดอานาฟังเทปการสัมภาษณ์ซ้ำหลายรอบแล้ววิเคราะห์ว่า คดีนี้มีปัญหาเรื่องการสื่อสารในหลายด้าน คือ Pragmatic issues (what do words mean in the context?), Semantics (meaning of words and phrases), complex grammar (i.e. you don’t have to talk to the police unless you want to) และยังมีปัญหาเรื่อง idiomatic, colloquial, lexical items etc.

ลองมองย้อนถึงประวัติของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาเป็นชาวอะบอริจินภาษาแม่ของผู้ต้องหาคือ ภาษา Pintupi (เกิดมาเราก็เพิ่งเคยได้ยิน) ส่วนภาษาอังกฤษนั้น ผู้ต้องหาได้เรียนตอนโตแต่ก็แค่ไม่กี่ปี

ในคดีนี้ ตำรวจซักถามแล้วเห็นว่าผู้ต้องหาสื่อสารภาษาอังกฤษได้เลยตัดสินใจเองว่า ไม่จำเป็นต้องใช้ล่ามแต่ก็อนุญาตให้มีเพื่อนมาอยู่ด้วยเพื่อช่วยสื่อสารและเพื่อให้กำลังใจผู้ต้องหา

เหมือนทุกอย่างจะเป็นไปตามขั้นต่อ แต่ลองดูตัวอย่างบทสนทนา
ตำรวจ:   ...Now, I, I need to let you know that at this stage, you've been arrested
ผู้ต้องหา:(พยักหน้า)
ตำรวจ: … for suspicion of murder. Okay. And that you've got some rights.
ผู้ต้องหา:(พยักหน้า)
ตำรวจ: … Now that, the first right is that you don't have to talk to the police unless you want to. 
ผู้ต้องหา: (พยักหน้า)
ตำรวจ: … Okay. But if you do talk to us, it's gonna be recorded by that video camera, and we can use it as evidence.
เพื่อน: [ล่ามภาษา Pintupi] If he asks you a question you talk to him.

รู้ไหมข้างบนนี้ผิดตรงไหน  ผิดตรงที่ตำรวจให้คำแนะนำและเตือน (advice + warning) ว่า ถ้าจะพูดอะไรคำพูดเหล่านั้นจะเป็นหลักฐาน แต่เพื่อนล่ามในลักษณะคำสั่ง (directive) คือ ถ้าตำรวจถาม ให้พูด ซึ่งมันเป็นการแปลงเจตนาของผู้พูด ถ้าเข้าลักษณะสั่ง นี่คือการบังคับ ผู้ต้องหาไม่ได้สมัครใจตอบ
 
บทสนทนาต่อมา
 
ตำรวจ: Now that, the first right is that you don't have to talk to the police unless you want to. Okay. But if you do talk to us, it's gonna be recorded by that video camera, and we can use it as evidence.
 
เพื่อน:[ล่ามภาษา Pintupi] 'You gotta tell them the truth. They're taking a video of you. Keep telling them the truth. Keep telling them the truth'
 
นี่ก็ล่ามผิดอีกเพื่อนย้ำกับผู้ต้องหา 3 รอบว่าให้พูดความจริงนะ
 
พอพิจารณาความสัมพันธ์ของเพื่อนกับผู้ต้องหา ปรากฏว่าเพื่อนคนนี้เป็นญาติผู้ใหญ่ของผู้ต้องหา วัฒนธรรมเรื่องญาติจะคล้ายๆ กับของไทยคือ มีระบบผู้อาวุโสและที่ล่ามไปอย่างนั้นอาจจะเป็นเพราะห่วงหลาน (นี่คือสาเหตุนึงที่ล่ามควรปฏิเสธงานที่ว่าจ้างถ้าเป็นงานของคนรู้จักหรือมีส่วนได้ส่วนเสียเนื่องจากจะกระทบต่อความเป็นกลาง) หรืออาจจะรู้ว่าเหตุการณ์จริงเป็นยังไง หรือล่ามไปอย่างนั้นเพราะตัวเองก็ไม่เข้าใจที่ตำรวจบอกเหมือนกัน
 
เพื่อให้แน่ใจตำรวจถามทวน
 
ตำรวจ: If I ask you a question, do you have to talk to me?
ผู้ต้องหา: Yeah. (พยักหน้า)
ตำรวจ: No. You don't have to talk to me.
ผู้ต้องหา: Yeah. (พยักหน้า)
 
จากบทสนทนาด้านบนสันนิษฐานได้หลายอย่าง เช่น ผู้ต้องหาไม่เข้าใจสิ่งที่ตำรวจพูดจริงๆ หรือเข้าใจผิดเลยตอบไปอย่างนั้น (ในคำพิพากษา ระบุว่า “…answers given always reflect an understanding of the questions asked”) หรือการตอบ Yeah ในบทสนทนานี้อาจจะเป็น gratuitous concurrence คือการเออออกับผู้พูดแม้จะไม่ได้เห็นด้วยก็ตาม อย่าลืมว่า ตำรวจมีอำนาจอยู่แล้วตาสีตาสาที่ไม่รู้เรื่องอะไร ส่วนใหญ่จะกลัวกันไว้ก่อน อาจจะเหมือนคนไทย อะไรก็ “ครับ” “ครับ” “ครับ”แต่ไม่ได้เข้าใจหรือมีความหมายอะไร
 
ตำรวจเจออย่างนี้ก็ยังไม่คิดจะหาล่ามที่มีใบรับรอง (ตอนหลังมีคนถามคำถามว่า เป็นไปได้มั้ยว่ามันหาไม่ได้ในเวลานั้นเพราะตำรวจก็อยากจะปิดคดีและเป็นภาษาถิ่นที่น่าจะหาล่ามกฎหมายได้ยาก แต่อาจารย์ไดอานาบอกว่า ตอนขึ้นศาล ศาลหาล่ามได้ตั้ง 3 คน เป็นล่ามที่ Kimberly Interpreting Service หรือ KIS (ปัจจุบันชื่อ Aboriginal Interpreting WA หรือ AIWA) จัดหามาให้ เราค้น NAATI directoryแล้ว ไม่มีใครได้ accreditation ภาษานี้)
 
นอกจากนี้ยังต้องพิสูจน์อีกว่าผู้ต้องหาภาษาอังกฤษไม่ดีพอที่จะเข้าใจกระบวนการของตำรวจจริงหรือเปล่า โดยให้ผู้ต้องหารับการทดสอบ International Second Language Proficiency Ratings test (ISLPR) ของ Dr David Ingram ซึ่งคิดค้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
 
ผลคือผู้ต้องหามีความสามารถด้านภาษาอังกฤษในระดับ 1- (หนึ่งลบ) โดยพิจารณาจากรูปแบบการตอบคำถามด้วยคำสั้นๆ 1-2 พยางค์ ไม่ต่อเนื่อง และผิดไวยากรณ์  ตอบคำถามสั้นมากจนทำให้ต้องถามคำถามต่อ และไม่สามารถอธิบายขยายความได้ถ้าไม่ถูกถาม
 
ชาวอะบอริจินถึงแม้จะพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ก็ไม่ได้เข้าใจภาษาที่ตำรวจใช้ ส่วนนี้ในคำพิพากษาอธิบายว่า “They also need to consider whether the person has the ability to express themselves in English such that they are able to fairly and accurately give their own account if they wish to do so.”

แน่นอนว่า ผู้ต้องหาที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับ 1- (หนึ่งลบ) ไม่มีทางเข้าใจการใช้ประโยคความรวมความซ้อนของตำรวจได้เลย ซึ่งตาม พรบ. การสอบสวนทางอาญา ของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย บัญญัติไว้ว่า หากเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องใดและบุคคลนั้นไม่สามารถเข้าใจหรือสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับที่เพียงพอไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ล่ามหรือผู้ที่มีคุณสมบัติเพื่อธิบายเรื่องนั้นให้ผู้ต้องหาทราบ

แต่ในคดีนี้ ตำรวจจัดหาเพียงเพื่อน (interpreter friend) ให้ผู้ต้องหา โดยบุคคลนั้นก็ไม่ใช่ qualified personที่จะทำหน้าที่ล่ามและไม่ใช่คนที่ผู้ต้องหาเลือกอีกต่างหาก
จากพยานและหลักฐานในคดี ศาลเห็นว่า “เนื่องจากผู้ต้องหาไม่ทราบว่าตัวเองมีสิทธิ์จะไม่ตอบคำถามตำรวจก็ได้  ผู้ต้องหาถูกกดดันจากเพื่อน (ที่เป็นผู้ใหญ่) ที่สั่งให้ตอบคำถามตำรวจ  ผู้ต้องหาไม่มีล่ามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีนี้เป็นคดีร้ายแรง(ฆ่าคนตาย)  ผู้ต้องหามีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่จำกัดมากซึ่งทำให้น่าสงสัยว่าคำตอบของผู้ต้องหานั้นเชื่อถือได้หรือไม่ …” และพิพากษาว่า “For these reasons the interviews between the accused and the police on 16 and 17 August 2012 are not admissible. Those interviews were not voluntary, were obtained in breach of the CIA and to admit them would, in any event, be unfair to the accused.”

อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่นี่ https://thrushlike3.rssing.com/browser.php?indx=1887304&item=2187

ก่อนหน้านี้ก็มีคดีตัวอย่างมาแล้ว ในปี1976 ของผู้พิพากษา Forster J ในคดี R v Anunga (1976) 11 ALR 412 ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการกำหนด Anunga Guideline ขึ้นมา ระเบียบนี้ไม่ผูกพันตามกฎหมายแต่ถ้าตำรวจไม่ปฏิบัติตาม ศาลบอกว่า "police officers who depart from [the Anunga guidelines] without reason may find statements are excluded."

หลังบรรยายเราฟังอาจารย์ไดอานาพูดเรื่องล่ามว่า ค่าแรงไม่ได้เยอะแต่ความกดดันสูง เราเลยค้นดูอัตรา ของ KIS ในเว็บบอกว่า 2 ชั่วโมงแรก $160 หลังจากนั้น ชั่วโมงละ $ 80 อันนี้คือ KIS คิดลูกค้า แต่ล่ามได้จาก KIS น้อยกว่านั้น ถ้าให้ล่ามหลังเวลาทำการ คิดเพิ่ม 1.5 เท่า เสาร์อาทิตย์และวันหยุด คิด 2 เท่า (เหมือนเรทโอที)

เราทำงานแปลเอกสารกฎหมายนี่ก็เครียดอยู่แล้ว ทำงานล่ามเราว่าเครียดยิ่งกว่าเพราะเนื้อหาก็ยากแล้วยังต้องเจอกับสีหน้าท่าทางอารมณ์ของโจทก์และจำเลยในศาลอีกทั้งยังมีปัจจัยเรื่องเวลา ล่ามมีโอกาสสื่อสารผิดได้มากกว่านักแปล

ฉะนั้น คิดผิดคิดใหม่ เพราะไม่ใช่ใครก็เป็นล่ามได้ 
​​​​​​​
ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2563
 




Create Date : 07 สิงหาคม 2558
Last Update : 28 พฤษภาคม 2563 8:12:20 น.
Counter : 2395 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog