มาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทย (ตอนที่ 3)
มาตรฐานอาชีพนักแปลในประเทศไทย (ตอนที่ 3)

ต่อจากตอนที่ 2

ลองมาดูคุณวุฒิวิชาชีพสาขาธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ อาชีพนักแปลเชี่ยวชาญขั้นต้น ชั้น 4 (อย่าถามว่าชั้น 1-3 หายไป เพราะเราก็ไม่รู้เหมือนกัน)

คุณลักษณะของผลการเรียนรู้

สามารถปฏิบัติงานด้านการแปลได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การรับความต้องการผลิตงานแปล บริการจัดการงานแปล ผลิตงานแปลและตรวจแก้งานแปล จนถึงขั้นส่งมอบงานแปล ผู้ผ่านการประเมินคุณวุฒิวิชาชีพนักแปลเชี่ยวชาญระดับต้น(TPQ4) จะต้องผ่านการประเมินทั้ง11 หน่วยสมรรถนะ ได้แก่พิจารณาเนื้อหางานแปล พิจารณาเงื่อนไขรับงานแปล วางแผนงานการแปลนำเสนอแผนงานการแปล ทบทวนแผนงานการแปล เตรียมการแปลงาน แปลงานตรวจสอบงานแปลเป็นช่วงๆ ตรวจงานแปลทั้งฉบับ ปรับแก้งานแปล ส่งงานแปลโดยในหน่วยสมรรถนะแปลงานนั้น นักแปลเชี่ยวชาญระดับต้นจะต้องสามารถแปลสารคดี (Non-fiction) และ/หรือบันเทิงคดี (Fiction) ที่มีเนื้อหาทั่วไปได้มีความประณีตละเอียดลออในการทำงานแปล เช่น ตัวสะกดคำภาษาไทยความสละสลวยในการเลือกคำให้ตรงกับความหมาย การสะกดคำ อาจมีข้อผิดพลาดบ้างเพียงเล็กน้อย

ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมมีวินัย ทำงานตรงต่อเวลา ยอมรับความคิดเห็นจากผู้อื่น มีจริยธรรมรักษาความลับของงาน ยอมรับข้อบกพร่องและปรับปรุงแก้ไขผู้ที่จะผ่านคุณวุฒิวิชาชีพนักแปลเชี่ยวชาญระดับต้นยังต้องเป็นผู้ที่มีทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมการเรียนรู้และปรับปรุงคุณภาพการทำงาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตลอดจนมีอุปนิสัยการค้นคว้าข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

การเลื่อนระดับคุณวุฒิวิชาชีพ

หากต้องการเขาสู่คุณวุฒิวิชาชีพนักแปลเชี่ยวชาญขั้นต้นชั้น 4 ผู้ที่จะเข้าสู่การทดสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีวุฒิการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาและผ่านการอบรมที่มีเนื้อหาด้านการแปลอย่างน้อย 30 ชั่วโมง (ไม่นับรวมหลักสูตรการใช้เครื่องมือช่วยแปล)

2. กรณีที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ข้อ 1 หากต้องการเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพนักแปลเชี่ยวชาญขั้นต้นชั้น 4 ผู้ที่จะเข้าสู่การทดสอบต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ทำงานด้านการแปลทั่วไปอย่างน้อย3 ปีและผ่านการอบรมที่มีเนื้อหาด้านการแปลอย่างน้อย 30 ชั่วโมง (ไม่นับรวมหลักสูตรการใช้เครื่องมือช่วยแปล)หรือเป็นผู้มีผลงานแปลอย่างน้อย 625,000คำโดยนับคำจากหนังสือและสิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ (ประมาณ 5 เล่ม เล่มละประมาณ 250 หน้า) ซึ่งเป็นผลงานแปลก่อนการทำบรรณาธิการ)และผ่านการอบรมที่มีเนื้อหาด้านการแปลอย่างน้อย 30 ชั่วโมง (ไม่นับรวมหลักสูตรการใช้เครื่องมือช่วยแปล)

กลุ่มบุคคลในอาชีพ

ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมากและมีความสนใจด้านงานแปล

****************************************

คำถามจากผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์

1. ถ้าไม่สอบเทียบคุณวุฒิวิชาชีพ จะมีผลอะไรหรือไม่

ตอบ ไม่มี แต่จัดทำขึ้นตามนโยบายของรัฐเนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่AEC (ตรงนี้เราฟังไม่ทันว่าเกี่ยวข้องยังไงกับงานวรรณกรรม)

2. ถ้าสอบ จะนำไปใช้ปรับฐานเงินเดือนได้หรือไม่

ตอบ ได้ (ข้อนี้เราไม่ค่อยเข้าใจอาชีพนี้ปรับเงินเดือนเหมือนที่รัฐบาลกำหนดว่า จบ ป.ตรี เงินเดือนขั้นต่ำต้อง 15,000 บาท?)

3. เกณฑ์มาตรฐานนี้ ใครกำหนด

ตอบตัวแทนอาชีพร่วมกันจัดทำ (เราว่าตอบไม่เคลียร์ น่าจะบอกละเอียดกว่านี้ เช่นอ้างอิงจากหลักสูตรการแปลระดับบัณฑิตศึกษาหรือดูแนวทางการจัดทำมาตรฐานอาชีพของประเทศสหรัฐอเมริกา etc. คือเรามองว่าจะทำรายงานสักเล่ม ต้องทบทวนวรรณกรรม มีที่มาที่ไป ไม่ใช่คิด factor เอาเอง)

4. หากสอบไม่ผ่าน จะสอบใหม่ได้กี่ครั้ง

ตอบ สอบกี่ครั้งก็ได้แต่ก่อนสอบ คณะกรรมการจะตรวจคุณสมบัติก่อน หากไม่ครบ จะขอให้เตรียมให้ครบ จึงค่อยมาสมัครสอบ สอบภาคทฤษฎีแล้วจึงสอบปฏิบัติ ถ้าทฤษฎีไม่ผ่าน จะไม่ได้สอบปฏิบัติสัดส่วนคะแนนคือ 30:70

เรามีคำถามและความเห็นแต่ไม่ได้ถามเพราะเวลาให้ถามน้อย

1. หากประกาศให้ 6 สาขาอาชีพนี้มีมาตรฐานอาชีพโดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา อาชีพทั้ง 6 นี้จะถือเป็นวิชาชีพเหมือนวิชาชีพแพทย์พยาบาล นักบัญชี วิศวกร etc ที่มีหน่วยงานควบคุมซึ่งรวมถึงควบคุมการต่ออายุถอดถอนใบอนุญาตได้ ในทำนองเดียวกันหรือไม่ ถ้าใช่ ทั้ง 6 อาชีพนี้ควรจะได้ประโยชน์จากการหักค่าใช้จ่ายจากการประกอบวิชาชีพอิสระเช่น เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก 1) [โรคศิลป] หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30 (หลายปีก่อน เราเคยสอบถามสรรพากรแล้วอาชีพแปลหักไม่ได้เพราะไม่ใช่วิชาชีพที่กำหนดไว้)

2. มาตรฐานอาชีพนี้ ถ้าเป็นมาตรฐานทางเลือกคือขอเทียบหรือไม่เทียบก็ได้ มีแนวโน้มว่าคนอาจจะไม่เทียบ ยกเว้นจะเห็นประโยชน์จริงๆเช่น ถ้ามีใบรับรองคุณวุฒิแล้วสามารถเรียกค่าบริการได้สูงขึ้นหรือขอเพิ่มอัตราเงินเดือนได้ ก็จะจูงใจให้มีคนมาขอรับรองคุณวุฒิมากขึ้น แต่เนื่องจากมาตรฐานอาชีพนักแปลนั้นครอบคลุมเฉพาะการแปลหนังสือ คำถามต่อมาคือสำนักพิมพ์ให้ความสำคัญกับมาตรฐานอาชีพหรือไม่ เช่น ถ้าได้ TPQ4 จะได้ค่าแปลเพิ่มขึ้นอีกหน้าละ100 บาท ถ้าเป็นอย่างนี้ต้นทุนการทำหนังสือก็จะสูงขึ้นด้วย

3. ตอนที่ 1 และ 2 เราบอกไปแล้วว่าเนื้อหาในหน่วยสมรรถนะ ครอบคลุมวิชาต่างๆ ที่หลักสูตรอักษรศาสตร์การแปล ของจุฬาฯสอนอยู่ คำถามคือ ถ้าคนที่สนใจจบการแปลโดยตรงจะสามารถขอเทียบคุณวุฒิโดยไม่ต้องสอบวัดระดับได้หรือไม่

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ //www.tpqi.go.th/standard.php

************************

พักจากคุณวุฒิวิชาชีพแปลแล้ว มาดูว่าคนอื่นๆมีความเห็นอย่างไรกับบางวิชาชีพอื่น

//pantip.com/topic/32470776 มีคนคอมเมนท์เรื่องวิชาชีพช่างภาพ เราคัดมาให้อ่านแค่บางส่วน

“แฟ้ม portมันเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้หรือถึงต้องมีคะแนนมาประกอบเหมือนใบเกรดทั้งๆที่ port เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด ลองดูง่ายๆว่า นศ ที่จบมาด้วยเกรดสวยหรูก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำงานได้ดี ต่อมาศิลป ความชอบส่วนบุคคล มากำหนดราคากลางผมว่ามันแปลกๆ ยิ่งไม่ต้องเอาไปเปรียบเทียบกับสาขาวิชาชีพอื่นเช่นหมอ วิศวกร ที่หากมีความผิดพลาดจะเกิดความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ อย่างวิศวกรบางสาขาก็ไม่มีกว”

“อารมณ์เหมือนจะมีคล้ายๆกับสภาวิศวกรที่เข้ามากำกับคุณภาพของวิศวกร โดย "อาจารย์"ซึ่งตลอดชีวิตไม่เคยได้ทำงานจริงเลย เอามาวัดผล ไอ้คนที่ได้ไปแล้วก็ดีใจมีคนตกเยอะ ไอ้คนที่ตกก็ทำงานในสายไม่ได้ ต้องเถื่อนหรือไม่ก็ไปทำอย่างอื่นที่ไม่ต้องใช้ใบประกอบ”

“คุณนึกภาพกองถ่ายจากต่างประเทศมาทำงานในเมืองไทยอยากหาช่างภาพผู้ช่วยสักสองคนต้องการคนที่มีใบรับรองมาตราฐานอาชีพ คุณคิดว่ามันสำคัญไหมละต่างประเทศเขามีใบแบบนี้กัน ไม่ได้พูดถึงเรื่ิองถ่ายสวยไม่สวยแต่คุณสามารถทำงานมาตราฐานเดียวกับเขาได้ ทุกวันนี้ถ้าคุณยังถ่ายภาพสวยคุยกับคนที่จบทางด้านถ่ายภาพรู้เรื่อง คุณยังหากินได้จากการถ่ายภาพก็ยังไม่จำเป็นต้องมีใบนี้”

“อาชีพที่ต้องกำหนดให้ใช้ประกาศณียบัตรอาชีพพิเศษมันต้องเป็นอาชีพประเภทที่ ทำงานเกี่ยวข้องกับมาตรฐานความปลอดภัย เกี่ยวกับสุขภาพของสิ่งมีชีวิตหรืออะไรที่ต้องใช้มาตรฐานขั้นสูงเกี่ยวข้องกับคนจำนวนมากๆ
แม้กระทั่งในบางสายอาชีพเช่นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ผมยังไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ที่จะต้องบังคับให้มีใบประกอบวิชาชีพเฉพาะ(คนที่ไม่มีพูดมากๆแล้วเสี่ยงต่อการผิดกฏหมาย)”

“ถ้าแค่จะตั้งองค์กรเพื่อทำใบรับรองคุณภาพของทักษะก็ทำได้ไม่มีปัญหาอะไร แต่จะเน้นว่าให้ระวังเรื่อง
"การบังคับในทางกฏหมายให้คนที่มีเท่านั้น ถึงจะประกอบอาชีพนี้ได้" มันไม่ได้เหมาะสมกับทุกๆอาชีพหรอก(วิศวะในบางสาขายังคัดค้านการมี กว เลย)”

“ผมว่ามันจะคล้ายใบประกอบวิชาชีพครูมากกว่า พวกใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ถ้าไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ คุณเปิดบ้านเป็นคลินิกไม่ได้ แต่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูคุณยังเปิดบ้านรับสอนพิเศษได้ ในกรณีนี้ ผมมองว่ามันไม่น่าเป็นใบคุณวุฒิ หรือ qualification  แต่น่าจะเป็นใบรับรองหรือ certification มากกว่า คือ แม้ไม่ได้สอบคุณวุฒิตัวนี้ก็ยังสามารถทำงานรับถ่ายภาพได้ แต่ถ้ามีก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับตัวเราได้อีกทางหนึ่งแน่นอนว่าสามารถใช้อัพราคาได้ เหมือนคนที่ไปลงคอสเรียน TPWPA(Thai Professional Wedding Photographer Association)
ก็จะมีความน่าเชื่อถือในการสายอาชีพ คนจ้างก็มีความมั่นใจ และแน่นอนอัพราคาค่าตัวขึ้นได้เช่นกัน อีกตัวอย่าง เช่น Microsoftcertificate ที่เมื่อเราสอบผ่านก็ช่วยให้เรามีโอกาสมากขึ้นในการสมัครงาน”

“ทุกอาชีพควรมีสมาคมของตัวเอง เพื่อช่วยเหลือ ป้องกันยกตัวอย่างถ้าได้รับความไม่เป็นธรรมจะรวมตัวกันเพื่อเรียกร้อง ความถูกต้องยกตัวอย่างสมามเขียนบนหนังในอเมริกาเคยประท้วงหยุดงานจนทำให้สตูดิโอสร้างหนังไม่ได้มาแล้วและจะเอาคนที่ไม่มีใบรับรองมาทำงานไม่ได้ด้วย ผิดกฎหมายและถ้าการสอบใบมีมาตรฐานสูงคนว่าจ้างจะมันใจได้ว่าคุณมีฝีมือจริง นี่แหละข้อดีไม่รู้ว่าคนสวนใหญ่ที่ทำงานนี้กังวลอะไร”

“คนที่มีฝีมืออยู่แล้วจะกลัวอะไร บางคนชอบด้วยซ้ำ ที่ได้สอบนู่นนี่นั่นมีกิจกรรม มีทริป มีการเรียนรู้ใหม่ๆ ราคาส่วนใหญ่มาจากผลงานอยู่แล้ว งานตัวอย่างไม่ดี ไม่สวย ราคาแพงใครจะจ้าง คนส่วนใหญ่ที่ทำงานนี้กังวลอะไร น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ฝีมือไม่ถึง หรือไม่เก่งทฤษฎีมากกว่าที่กลัว เพราะหากการมี certificate ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย คนที่ไม่มีก็จะไม่เป็นตัวเลือกอีกต่อไป”




Create Date : 08 ธันวาคม 2557
Last Update : 8 ธันวาคม 2557 14:05:17 น.
Counter : 5133 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ธันวาคม 2557

 
2
3
4
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog