Edit v. Proofread

Edit v. Proofread

มันต่างกันยังไง

เวลาบริษัทแปลส่งงานมา บางเจ้าบอกว่าให้ proofread บางเจ้าบอกว่าให้ edit 2 คำนี้มันมีขอบเขตของงานต่างกันยังไง

ไปค้นมาเจอคำจำกัดความของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระบุไว้ว่า

“Editingis the first task that should be undertaken after finishing the first draft ofa piece of text. It involves checking the content of the text to ensure thatthe ideas are expressed clearly and logically, and form a coherent andmeaningful whole. “

“Proofreadinginvolves checking over the text in finer detail after the editing stage, todetect errors in spelling, punctuation, grammar andformat.”

(ที่มา //www.learning.ox.ac.uk/media/global/wwwadminoxacuk/localsites/oxfordlearninginstitute/documents/pdg/managingyourself/1_guide-to-editing-and-proofreading.pdf)

จากคำอธิบายด้านบน แสดงว่าหลังจากแปลเสร็จแล้ว ต้องมีการตรวจขั้นแรก (edit) แล้วตามด้วยการตรวจขั้นที่สอง(proofread)

Editing เป็นการตรวจงานขั้นแรกที่บ.ก. ตรวจไปก็ถามไปว่า

คำแปลไหลลื่นต่อเนื่องเป็นเนื้อเดียวกันมั้ย (ไม่ใช่อ่านๆ ไป เอ๊ะประโยคนี้มันโยงกับประโยคหน้าได้ยังไง)

การใช้คำศัพท์เสมอกันตลอดหรือไม่ (เช่น ถ้าแปล we เป็น บริษัทก็ต้อง บริษัท ทั้งฉบับ ไม่ใช่บางทีก็ใช้คำว่าเรา)

คำแปลทุกประโยค พออ่านรวมกันแล้วรู้เรื่องมั้ย (มีนะแปลได้ใจความทุกประโยค แต่พออ่านทั้งย่อหน้า ทำไมมันแปลกๆ นะ)

คำแปลสะท้อนความหมายที่ถูกต้องของต้นฉบับมั้ย(ข้อนี้สำคัญมากสำหรับการแปลเอกสาร ขอให้ดูข้อนี้ก่อนเป็นอันดับแรก)

คำแปลใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมมั้ย

คำแปลใช้ภาษาที่เหมาะกับผู้อ่านมั้ย (เช่น แปลเอกสารชี้ชวนซื้อกองทุนแต่ใช้ภาษากฎหมายมากๆ ทำให้คนทั่วไปอ่านเข้าใจได้ยาก แล้วใครจะอยากซื้อกองทุน)

คำแปลใช้ภาษาถูกต้องตามหลักของภาษาปลายทางมั้ย

คำแปลใช้ภาษาเฉพาะสำหรับงานเขียนลักษณะนั้นมั้ย (เช่นงบการเงินจะมีหลายๆ คำศัพท์อยู่แล้ว อย่างนี้นักแปลควรหาคำแปลมาตรฐานไม่ใช่แปลเอง)

จริงๆตรวจงานตามหลักวาทกรรมวิเคราะห์ (discourse analysis) ก็ได้นะ ไล่ไปทีละหัวข้อ audience, socio-culturalcontext, timeframe, author, tone, language norm etc. เดี๋ยวว่างๆจะไปรื้อรายงานที่เคยทำสมัยเรียนมาให้อ่านกัน

ส่วนค่าแรงในการตรวจแก้อาจจะคิดเป็นคำ หรือคิดเป็นชั่วโมงก็ได้ เข่นคำละ 0.50 บาท ชั่วโมงละ 500 บาท (ตัวเลขนี่สมมติเอานะ ถ้าอยากรู้ราคาตลาด กรุณา google)

ส่วน Proofread ใช้บ่อยเวลาบริษัทส่งงานแปลไปทำ DTP ใส่ภาพ จัดกรอบ ดีไซน์เตรียมพิมพ์ เสร็จแล้วจะส่งกลับมาให้นักแปล proofread ดูว่าสระอยู่ครบมั้ย (บางทีไม้หันอากาศโดยไม้ตรีทับ) เว้นบรรทัดโอเคมั้ย ตัดคำถูกต้องมั้ย(ไม่ใช่พยัญชนะไป 2 ตัว ที่เหลือลงมาอยู่อีกบรรทัด) ย่อหน้าวรรคตอน ตัวหนา ตัวใหญ่ตัวเอียงเหมือนต้นฉบับมั้ย etc.

ปีก่อนๆ เราเป็นมือแปลแล้วจะมีนักแปลอีกคนตรวจแก้ (บริษัทแปลเลือกเองว่าจะให้ใครตรวจ) ปีนี้เราเป็นมือแก้ แปลว่าได้เงินน้อยลงเพราะจะได้แค่ครึ่งเดียวของอัตราค่าแปลเข้าใจว่าส่วนหนึ่งเพราะเราขึ้นค่าแปลด้วย (ก็ประสบการณ์เยอะขึ้น จะให้คิดราคาเดิมได้ไง)อ่ะไม่เป็นไร ให้แก้ก็แก้

ปกตินักแปลจะทำรายการศัพท์มาให้ดูด้วยว่าใช้คำไหนใช้ภาษาไทยว่าอะไร เวลาตรวจก็สุ่มเช็ค ถ้าประโยคไหนอ่านแล้วไม่เป็นธรรมชาติก็จะเอาคำศัพท์ที่ทำให้ประโยคมันอ่านแล้วพิสดารไปค้นว่าเขาใช้คำนี้กันจริงหรือเปล่า หน่วยงานไหนที่ใช้กัน พยายามจะหาอ้างอิงกับหน่วยงานราชการเป็นหลัก

ถ้านักแปลไม่ทำรายการศัพท์มาให้คนตรวจจะเหนื่อยใจมากเพราะจะพบว่าคำเดียวกันนักแปลคนเดียวกันนี่แหละแต่แปลออกมาเป็นคนละคำ เพลีย

(ถ้าลูกค้าให้เอกสารมาเป็น Word ใช้ฟังก์ชั่น ctrl + replace เลย คำศัพท์หลักๆจะได้แปลเหมือนกันหมด)

บางคำค้นแล้วก็ปรากฏว่าแปลถูกนะหน่วยงานต่างๆ ก็ใช้กันอย่างที่แปลมา แต่อ่านแล้วทำไมมันยังติดๆ ไงไม่รู้ ไหนลองสลับคำหน่อยสิหรือแก้บางคำเป็นคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน แล้วอ่านดูว่ามันจะดีขึ้นมั้ย

หลายๆ ทีนักแปลแปลมาโดยสลับประโยค ก็เข้าใจนะเพราะบางประโยคมันก็ต้องสลับหน้าหลัง แต่ขอให้นึกว่าคนตรวจปกติจะตรวจเทียบเรียงคำไปเลย พอสลับประโยคหรือสลับคำปั๊บคนตรวจต้องหาแล้วว่าคำนี้มันหายไปไหน หรือมันไปอยู่ตรงไหน บางครั้งพอจับส่วนที่ถูกสลับไปกลับมาไว้ที่เดิมมันก็อ่านรู้เรื่องนะ แสดงว่าไม่จำเป็นต้องสลับส่วนประโยคเสมอไป

เราเองก็โดน บ.ก.(บังคับแก้) ท้วงบ้างว่าประโยคนี้แปลขาดไปส่วนหนึ่ง มันไม่ได้ขาดหรอกแต่ประโยคมันยาวแล้วมีการสลับบางส่วน บ.ก. เลยหาไม่เจอ

สำหรับการสะกดคำก็ต้องตรวจละเอียด เราแปลเองยังพลาดเองเลย อ่านแล้วก็ขำๆ

“ขยายฐานลูกค้า” พิมพ์ว่า “ขายฐานลูกค้า” แทนที่บริษัทจะรวยขึ้น ดันแปลออกมาเหมือนบริษัทเตรียมขายทรัพย์สินก่อนปิดกิจการซะงั้น

“การบริหารความเสี่ยง” พิมพ์เป็น “การบริหารความเสี่ยว” จากภาษาทางการกลายเป็นวัยรุ่นแซวกันเอง

“มหาวิทยาลัย” พิมพ์เป็น “หมาวิทยาลัย” คำคลาสสิค ผิดประจำมาคู่กับคำว่า หมอ/หมา

ศัพท์บัญญัติถ้าเป็นชื่อประเทศ ชื่อเมือง ให้อ้างอิงราชบัณฑิต บ.ก. ต้อง cross-check ด้วย เมือง Perth เราสะกดว่าเพิร์ธ อยู่ตั้งนาน ราชบัณฑิตสะกดว่าเพิร์ท Northern Territory เราสะกดแบบแยกคำ แต่ราชบัณฑิตสะกดติดกันหมดว่า นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (รเรือ จะเยอะไปไหน)

บางทีนักแปลก็ตาลายเลยแปลผิดเช่น represent เห็นเป็น present,regulation เห็นเป็น regulatory

ส่วนเรื่องความเหมาะสมของภาษาปลายทางมีบางครั้งความหมายถูกต้องแต่มีคำอื่นที่ให้ความหมายเดียวกันและเหมาะสมกับต้นฉบับนั้นๆ มากกว่าเช่น

“การเลี้ยงดูปูเสื่อ” (entertainment) พอเห็นคำว่าเสื่อ นึกถึงต่างจังหวัดที่มีการฆ่าวัวควายมาเลี้ยงเพื่อนบ้าน คำนี้ค้นแล้ว ใข้กันว่า “การเลี้ยงรับรอง” ฟังแล้วเหมาะสมกว่า

“อัพเดต” มีคนใช้ว่า ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน ปรับปรุง แก้ไขถ้าใช้คำในภาษาไทยได้ ก็น่าจะใช้นะ ไม่ควรทับศัพท์

“สมรรถนะ” (competency) เห็นแล้วนึกถึง รถ หรือม้า ก่อนเลย ใช้คำว่า ขีดความสามารถ หรือศักยภาพแทนได้มั้ยเพราะอ่านแล้วลื่นกว่า แต่พอไปค้นแล้วปรากฎว่าคำนี้ใช้กับคนได้ด้วย เออ งั้นไม่ต้องแก้คำแปล

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 06 มิถุนายน 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 15:13:26 น.
Counter : 5681 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
19
20
21
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
6 มิถุนายน 2556
All Blog