การรับรองมาตรฐานนักแปลในประเทศไทย

การรับรองมาตรฐานนักแปลในประเทศไทย

ช่วงสัปดาห์ก่อน ในหน้า FB ของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย มีการพูดคุยกันเรื่องการออกใบอนุญาตให้นักแปลและการรับรองมาตรฐานนักแปล ซึ่งมีนักแปลหลายท่านเข้ามาให้ความเห็นที่น่าสนใจ

ปัจจุบันในประเทศไทยมีหน่วยงานเดียวคือ ศาลยุติธรรม วัตถุประสงค์ของการขึ้นทะเบียนผู้เชี่ยวชาญศาลคือเพื่อช่วยงานศาล เช่นศาลต้องการพยานผู้เชี่ยวชาญให้ไปยืนยันคำแปลว่าผิดตามที่คู่ความอ้างจริง ไม่ใช่ให้ขึ้นทะเบียนเพื่อประโยชน์ทางการค้า (อย่างกรณีนักแปลโก่งราคาโดยอ้างทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ)

การหารือเพื่อให้มีการรับรองมาตรฐานนักแปลนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่เมื่อต้นปีนี้คุณสุรพันธ์ กรรมการสมาคมฯ เคยสอบถามมาทางอีเมลเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานเพราะคุณสุรพันธ์เป็นกรรมการคณะกรรมการรับรองมาตรฐานล่ามของจุฬาฯซึ่งกำลังประชุมและวางแนวทางกันอยู่ จำได้ว่าอธิบายให้คุณสุรพันธ์ทราบคร่าวๆ เกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานของ NAATI เอกสารที่เกี่ยวข้องก็ส่งให้อาจารย์ยุ้ยที่จุฬาฯไว้อ่านเป็นข้อมูลแล้ว

เราเองก็เคยเขียนจดหมายถึงสมาคมฯ เมื่อปี 2005 เรื่องการขอให้มีการรับรองมาตรฐานนักแปลในประเทศไทย แต่ไม่มีสัญญาณตอบรับมาจากสมาคมฯ เราคิดตั้งแต่ตอนเรียนจบการแปลจุฬาฯ ใหม่ๆแล้วว่ามันต้องมีหน่วยงานสักหน่วยที่มีอำนาจโดยตรงในวิชาชีพแปลเหมือนสภาวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่ดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทำนองนี้ และถ้าจะให้ดีต้องควบคุมกันแบบวิชาชีพเลย เช่น ถ้าไม่มีใบนี้ ประกอบอาชีพนี้ไม่ได้ (ยากเนอะขนาดหมอต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ก็ยังอุตส่าห์มีคลินิกเถื่อนเยอะแยะ)

เรื่องการรับรองมาตรฐานนี้คุณสุรพันธ์ให้ความเห็นว่า “อุปสรรคสำคัญอีกอย่างคือ คนไทยไม่ชอบอยู่ในกรอบ"  อันนี้เราเห็นด้วยนะ และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากมุมมองที่มีต่อการประกอบอาชีพแปลด้วย หลายรอบแล้วที่เราเจอคนอื่นถามว่า“จะแปลอะไรสักอย่างต้องใช้คุณวุฒิด้านการแปลด้วยเหรอ” อาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยบางท่านเองก็ยังคิดอยู่ว่าปริญญาด้านการแปลไม่มีความสำคัญและไม่จำเป็นสำหรับการทำงานแปล  เห็นได้ว่าสังคมบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของวิชาชีพแปลถ้าจัดให้มีการรับรองมาตรฐาน ก็ต้องปรับความเข้าใจส่วนนี้เพราะถ้าสังคมไม่ต้องการนักแปลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน (demand) นักแปลก็จะไม่เห็นความจำเป็นในการขอรับรองมาตรฐานทำให้ตลาดงานแปลในไทยขาดนักแปลที่มีคุณภาพ(supply)

ฉะนั้น เราว่านะ ถ้าอยากให้นักแปลเข้ารับการประเมินเพื่อรับรองมาตรฐานก็ต้องทำแบบภาคบังคับ แต่ถ้าจะทำภาคบังคับจริงๆรัฐบาลต้องให้หน่วยงานราชการมามีบทบาทด้วย ดูแล้วท่าจะยากเพราะในประเทศไทยมีคนทำงานแปลกันมายาวนานโดยไม่เคยต้องใช้มาตรฐานอะไรมากำกับเลย

ประเด็นอีกอย่างที่ต้องคำนึงถึงหากจะมีการรับรองมาตรฐานนักแปลคือในทางปฏิบัติ เอกสารราชการในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็ยังยึดใบรับรองของศาลยุติธรรมเป็นหลัก  นักแปลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานของสมาคมฯ จะไม่ได้ประโยชน์ในส่วนของการรับงานแปลที่เกี่ยวข้องกับราชการ  ถ้าจะให้นักแปลได้ประโยชน์จากการรับรองมาตรฐานของสมาคมฯ ก็ต้องมีการรณรงค์ให้ลูกค้าประเภทเอกชนเลือกใช้นักแปลที่ได้รับการรับรองด้วย

หากสมาคมฯ จัดให้มีการรับรองมาตรฐานนักแปลได้จริงเราคงไม่เข้าร่วมเพราะการขึ้นทะเบียนเป็นผู้เชี่ยวชาญศาลยุติธรรมมีน้ำหนักดีกว่า

เราเคยคุยกับน้องนักแปลคนนึงเขาให้ความเห็นว่า น่าจะมีการกำหนดราคากลางสำหรับงานแปล เหมือนงานก่อสร้างที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดราคากลาง จริงๆ เราว่า ทุกวันนี้ไม่ใช่มันไม่มีราคากลาง มันมี แต่อยู่ในรูปของวาจาและความเข้าใจเฉพาะกลุ่ม ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ให้คนทั่วไปรู้

ราคากลางที่ว่านี่ก็กำหนดกันเองนี่แหละ เช่นงานแปลโดยนิสิตปริญญาตรี หน้าละ 100-200 บาท งานแปลทั่วไปโดยผู้มีประสบการณ์แปล หน้าละ 400บาท งานแปลเฉพาะด้าน หน้าละ 600-1,000 บาท งานแปลพร้อมรับรองคำแปลเพื่อใช้ในศาล หน้าละ 1,500บาท เป็นต้น เวลาลูกค้าเช็คราคาค่าแปลส่วนใหญ่จะรู้ราคาอยู่แล้วเพราะไปเช็คบริษัทแปลเจ้าอื่นมาก่อนค่อยมาไล่โทรหานักแปลเพื่อต่อราคา นักแปลที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องต่อรองก็มักจะลดราคาเพื่อให้ได้งาน ส่วนนักแปลที่มีฝีมือ ก็อาจจะไม่ลดเพราะถือว่าคุณวุฒิต่างกัน ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีแรกซะมากกว่า ตัดราคากันอยู่นั่นแหละ โดยไม่ได้นึกถึงระยะยาว

ที่เราบอกมาในย่อหน้าแรกนี่เริ่มเห็นชัดแล้วนะ บริษัทแปลที่ใช้วิธีให้นักแปลเข้ามาประมูลงานแข่งกันเริ่มกำหนดราคาต่ำลงเรื่อยๆ เช้าวันนี้มีงาน 2,000 คำให้ค่าแปล 2,400 บาท เท่ากับได้ค่าแปลคำละ 1.2 บาท ช่วงก่อนๆ เราเคยคำนวณราคา บริษัทนี้มักจะให้คำละ1.5 บาท พอเราเห็นราคางานนี้แล้วส่ายหัว น้องคนนึงบอกเราว่า “บริษัทเขาฉลาดให้นักแปลห้ำหั่นกันเอง” เออ ใช่ งั้นเราถอยดีกว่าใครอยากได้งานราคาถูกก็เอาไป หลังๆนี่เราลบเมลแจ้งประมูลงานเป็นกิจวัตร ต่อให้รับงานมาเราก็เสียความรู้สึกเพราะรู้อยู่ว่าค่าแปลควรจะอยู่ในอัตราสูงกว่านี้ ทำไปช้ำใจอย่าทำดีกว่า

จังหวะตรงกับเมื่อไม่นานมานี้มีคนอีเมลมาถามเรื่องค่าแปล แล้วบ่นว่าต่างประเทศให้ค่าแปลคำละ USD 0.03 (0.90 บาท) เราตอบไปว่า ก็มันมี supply ในตลาด(นักแปลยอมรับงานในราคานี้) เดี๋ยว demand มันก็มาเอง ถ้านักแปลเลิกลดราคาอย่างไม่สมเหตุผลเมื่อไหร่ อัตราค่าแปลมันจะเพิ่มขึ้นเอง สมมติ บริษัทให้ค่าแปลคำละ USD 0.03 ถามนักแปลในสังกัด (หรือประกาศทางเว็บบอร์ด) แต่ไม่มีใครรับเลยบริษัทก็ต้องถามนักแปลว่า ต้องการค่าแปลเท่าไหร่หรือบริษัทอาจจะขึ้นค่าแปลให้อัตโนมัติเพื่อให้นักแปลรับงาน

---------------------------------------------

สนใจพูดคุยเรื่องการแปลอีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 09 ตุลาคม 2556
Last Update : 9 ตุลาคม 2556 11:05:24 น.
Counter : 8552 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
ตุลาคม 2556

 
 
1
3
4
5
6
7
8
10
11
12
13
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
All Blog