ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแปล

ความรู้เบื้องต้นเรื่องการแปล

ข้อมูลต่อไปนี้คัดมาเพื่อเสริมความรู้ในเรื่องของการแปล โดยสรุปมาจากตำราหลายๆ เล่มตามความเข้าใจของเราเอง

วาทกรรมวิเคราะห์สำคัญกับการแปลอย่างไร

วาทกรรมเป็นการกระทำที่เกิดจากวาทะโดยเป็นการกระทำในรูปของหน่วยภาษาวาทกรรมจึงเป็นเรื่องของรูปภาษาและหน้าที่ของการใช้ภาษา
วาทกรรมวิเคราะห์สำคัญต่อการแปลเพราะเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาษาและผลของการสื่อสารที่ใช้วัจนภาษา ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวจะแตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของต้นฉบับ 
ขอบเขตของวาทกรรมที่ผู้แปลต้องวิเคราะห์ก่อนแปลเสมอ คือ

ประเภทของต้นฉบับ – ต้องการบอกเล่าหรือให้ข้อมูลเช่น สารคดี คู่มือการใช้งาน หรือต้องการนำเสนอความคิด และอารมณ์ เช่น วรรณกรรมหรือต้องการชักจูง โน้มน้าว เช่น โฆษณา สื่อประชาสัมพันธ์

ผู้ส่งสาร – ใครพูด คนพูดทำงานอะไร บุคลิกอย่างไร มีความสัมพันธ์กับผู้ฟังอย่างไรฯ เช่น คนพูดเป็นกวี ลักษณะการพูดมักแสดงออกถึงบางสิ่งที่ล้ำลึก

ผู้รับสาร – ใครฟัง คนฟังทำงานอะไรบุคลิกอย่างไร มีความสัมพันธ์กับผู้พูดอย่างไร ฯ เช่น คนฟังเป็นคนใช้ที่ไม่มีการศึกษาฟังอะไรยากๆ ก็มักจะเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

จุดประสงค์ในการส่งสาร – คนพูดพูดไปเพื่ออะไร พูดเพื่อประกาศให้รับรู้เพื่อขอความเห็นใจ เพื่อประชด ฯ บางประโยคเป็นประโยคคำถามแต่เจตนาจะแดกดัน เช่น ในกลุ่มนักภาษาศาสตร์มีการประกาศข้อห้ามไว้ว่าห้ามถามคำถามหากคนถามไม่ได้ลองค้นคำตอบเองก่อนแล้วปรากฏว่ามีคนไม่ทำตาม ผู้ดูแลกลุ่มก็ส่งอีเมลตอบคำถามของคนถามพร้อมกับก็อปปี้ให้คนทั้งกลุ่มได้อ่านว่า “Can you read?”

ฉาก – เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน เวลาไหน ประเทศไหน ภูมิภาคไหน ฤดูไหน ฯ  (สิ่งเหล่านี้คือข้อมูลตีกรอบ หรือ framing information) เช่น คำว่า “ประมาณนั้น” คนมีอายุแล้วจะไม่ใช้คำว่า “ประมาณ” เพราะคำนี้เป็นคำใหม่ที่รุ่นลูกใช้กันแต่จะใช้คำว่า “ทำนองนั้น”

ระดับภาษา – ตัวละครใช้ภาษาระดับไหนใช้ภาษาทางการอย่างที่คนเป็นทูตพูด หรือใช้ภาษากึ่งทางการ หรือใช้ภาษาผิดไวยากรณ์อย่างคนไม่มีการศึกษา

จุดประสงค์ในการแปล – แปลไปทำอะไร ถ้าแปลฉลากยาเพื่อให้คนใช้ยาอ่านแล้วรู้ว่าต้องใช้ยายังไง ผู้แปลต้องห่วงเรื่องความหมายเป็นหลักไม่งั้นแปลออกมาภาษาสวยแต่บทแปลอ่านไม่รู้เรื่อง ยาดีอาจกลายเป็นยาพิษได้

เป้าหมายผู้อ่าน – ใครคือผู้อ่านบทแปล ถ้าแปลวรรณกรรมคลาสสิกให้เด็กอ่านผู้แปลอาจต้องปรับภาษาให้ง่ายเพื่อให้เด็กเข้าใจได้

บริบทสำคัญต่อการแปลอย่างไร

บริบทสำคัญต่อการแปลตรงที่บริบทช่วยให้ผู้แปลเข้าใจความหมายของคำที่ยังไม่รู้ความหมายได้ประโยคหนึ่งประโยคแปลได้สารพัดขึ้นอยู่กับบริบท เช่น I don’t know you.  แปลว่า ฉันไม่รู้จักคุณ แต่ในบางกรณีอาจแปลได้ว่า ฉันไม่อยากคบคุณอีกต่อไปแล้วหากผู้พูดรังเกียจการกระทำของอีกฝ่าย  หรือ คำว่า bank ถ้ามาโดดๆคงไม่มีใครรู้ว่าแปลว่าอะไร แต่ถ้ามีคำว่า steep หรือ overgrown นำหน้า ผู้แปลจะรู้ว่าคำนี้แปลว่า ตลิ่ง แต่ถ้าประโยคนั้นบอกว่า go to the bank to cash a check คำนี้จะแปลว่า ธนาคาร

ความหมายแฝงคืออะไร

ความหมายแฝงคือความหมายอีกความหมายหนึ่งที่ติดมากับคำแต่การรับรู้ความหมายนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่บุคคลเช่น คำว่า หมู ความหมายประจำคำที่ทุกคนรู้จักคือ สัตว์สี่เท้า ตัวอ้วน อยู่ในเล้าแต่ความหมายแฝงนั้นอาจแตกต่างกันไป คนหนึ่งอาจจะมองว่า หมู บอกถึงบางสิ่งที่อ้วน กลมเป็นสีชมพู ดูแล้วน่ารัก ในขณะที่อีกคนหนึ่งอาจจะมองว่า หมู หมายถึง ความสกปรก เลอะเทอะ

นัยพาดพิงที่ปรากฏในการแปลมีอะไรบ้าง

นัยพาดพิงหรือการอ้างถึง คือ การอ้างบุคคล สถานที่หรือเหตุการณ์ที่คนในสังคมนั้นรู้จักกันดี นัยพาดพิงแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ การอ้างถึงเนื้อหาในพระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ การอ้างถึงตำนาน เช่น การอ้างถึงตัวละครในเทพนิยายกรีก การอ้างถึงวรรณกรรมเรื่องอื่น และการอ้างถึงวัฒนธรรมอื่น เช่น เด็ดขาดเหมือนคิสซิงเจอร์

ผู้แปลจะพบนัยพาดพิงดังกล่าวได้บ่อย ผู้แปลจึงมีหน้าที่สื่อความเข้าใจให้ผู้อ่านด้วยเพราะผู้อ่านอาจไม่รู้จักสิ่งที่ผู้แต่งอ้างถึง  การเลือกว่าจะช่วยผู้อ่านเรื่องความเข้าใจหรือไม่นี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้แปล  บางอย่างผู้แปลก็ไม่จำเป็นต้องขยายความ เช่น การอ้างถึงจูเลีย โรเบิร์ต ผู้แปลไม่ต้องอ้างเพราะจูเลีย โรเบิร์ต เป็นดาราที่คนทั้งโลกรู้จัก แต่ถ้าอ้างถึงเคอร์ท โคเบน ผู้แปลอาจต้องอธิบายว่าเป็นนักร้องวงนิร์วาน่าที่ตายเพราะยาเสพติด

ขนบการใช้ภาษามีผลต่อการแปลอย่างไร

ขนบการใช้ภาษาสำคัญในแง่การกำหนดภาษาของบทแปล เช่น ภาษาไทยไม่นิยมภาษาเขียนที่เป็นคำหยาบ คำที่หยาบจึงมีการลดระดับความหยาบลงมา เช่น เหี้ย เป็น ห่า หรือ เย็ดแม่ง เหลือแค่ แม่ง เหตุผลอย่างหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่าผู้อ่านมักจะคิดเสมอว่าวรรณกรรมจะต้องใช้ภาษาสวยแล้วรวมคำว่าสวยว่าหมายถึงการใช้คำสุภาพทั้งที่การใช้คำหยาบให้เสมอกับต้นฉบับนั้นไม่ถือว่าภาษาไม่สวย  ตัวอย่างที่นักแปลท่านหนึ่งเคยยกมาอธิบายคือ ฉากที่โจรสองคนถูกจับได้ว่าทำผิดและรู้ว่าโทษของตัวเองคือประหารคำแปลว่า “แกนั่นแหละต้นคิด” ย่อมไม่เหมาะเท่ากับ“มึงนั่นแหละต้นคิด”

มีข้อสังเกตอยู่ว่าปัจจุบันไม่มีวรรณกรรมที่หยาบเสมอต้นเสมอปลายทั้งเล่มตีพิมพ์ขายแต่ก็อาจจะเป็นแค่ ณ เวลานี้เท่านั้น หากในอนาคต แนวทางการอ่านเปิดกว้างมากขึ้น ถึงเวลานั้นอาจมีการตีพิมพ์งานแปลประเภทนี้ออกมามากขึ้น
 
ปรับปรุงเนื้อหาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 

 




Create Date : 28 กันยายน 2554
Last Update : 27 พฤษภาคม 2563 15:19:53 น.
Counter : 3769 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ให้นักแปลหน้าใหม่ค่ะ
โดย: unchalindp IP: 122.154.22.40 วันที่: 29 กันยายน 2557 เวลา:9:46:22 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog