Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 

จุดพลังชีวิตให้เบิกบานด้วยตัวเอง



การสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง หรือ Self Motivation ความหมายบ่งบอกอยู่แล้วว่า
เป็นสิ่งที่ต้องสร้างด้วยตัวเอง ใครช่วยจุดไฟให้ใครไม่ได้หรอก
บทสนทนาในหมู่พนักงานในช่วงเดือนธันวาคมเดือนสุดท้ายของปี อาจจะได้ยินพนักงานบางกลุ่มคุยกันว่า
นี่มันเข้าเดือนที่ 12 แล้ว แทนที่งานจะลดๆ ลงไปบ้าง กลับยิ่งมากขึ้น ทำเท่าไหร่ก็ไม่หมดซักที
ฉันไม่มีเวลาทำอะไรให้กับชีวิตตัวเองเลย
แต่อาจจะมีพนักงานอีกกลุ่ม ซึ่งก็อยู่ในองค์กรเดียวกัน ลักษณะงานคล้ายๆ กัน พูดว่า อะไรนี่มันปลายปีแล้วเหรอ
เร็วจัง ยังสนุกกับโครงการนี้อยู่เลย และมีอะไรอีกหลายอย่างยังไม่ได้ลองทำ สงสัยตกยกยอดไปทำต่อปีหน้า

จะเห็นได้ว่าการทำงานตลอดทั้งปีที่ผ่านมานั้น อาจจะมีทั้งกลุ่มคนที่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยกว่าเวลาแต่ละวันจะผ่านพ้นไป
และมีอีกกลุ่มหนึ่งที่เพลิดเพลินจนลืมเวลา สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนทำงานมีความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างดังกล่าวนั้น
มาจากการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง (Self Motivation) แตกต่างกันและไม่เท่ากัน

มีคนกล่าวว่า การสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง หรือ Self Motivation นั้น โดย คำศัพท์ของมันก็
บ่งบอกเป็นนัยอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งที่ต้องสร้างแรงจูงใจนั้นด้วยตัวเอง ใครช่วยจุดไฟให้ใครไม่ได้หรอก
ผู้เขียนเห็นด้วยครึ่งหนึ่ง เพราะเป็นความจริงที่แรงจูงใจหรือแรงปรารถนานั้น เป็นเรื่องปัจเจกบุคคล
ตัวเองจะรู้ใจและความต้องการอย่างแรงกล้าของตนเองได้ดีที่สุด แต่อีกครึ่งหนึ่ง เชื่อว่าคนรอบข้างก็สามารถช่วย
ส่งเสริมเติมเชื้อให้ไฟแห่งความมุ่งมาดปรารถนาของคนคนนั้นลุกโชนอยู่ได้
และสำหรับคนทำงาน คนรอบข้างที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการสร้างแรงจูงใจให้รู้สึกภูมิใจตัวเอง
เห็นคุณค่าและความหมายของงานที่ทำอยู่ ก็คือหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชานั่นเอง

การสร้างแรงจูงใจให้ตนเองรู้สึกว่า ชีวิตมีพลังและมีไฟในการทำงานนั้นทำได้อย่างไร


ขั้นตอนแรก
ต้องตั้งเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน โดยค้นหาค่านิยมของตนเองหรือสำรวจ Value ของตนเองว่า
เราให้คุณค่าความสำคัญที่สุดในชีวิตเรื่องใด เช่น การได้ทำงานที่ท้าทาย การมีอิสระในการทำงาน
การได้รับความชื่นชมยกย่องในวงการอาชีพ การได้ทำงานที่มีความมั่นคงและปลอดภัย ฯลฯ

จากนั้น ลองฟังเสียงภายในตัวเองว่ามีความปรารถนาอื่นใดเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เช่น การมีชีวิตที่เรียบง่าย สงบสุข
การได้ดูแลครอบครัว การได้ทำงานเสียสละเพื่อสังคม
หากเราสำรวจตัวเองอย่างจริงจังว่าเราให้ความสำคัญและคุณค่าเรื่องใด ซึ่งอาจจะมีมากกว่าหนึ่งหรือสองด้าน
ลองตรองดูว่าสองด้านนั้นมันไปกันได้มั้ยเช่น ต้องการทำงานที่ท้าทาย แต่ก็อยากมีเวลาให้กับครอบครัวอย่างเต็มที่
ซึ่งอาจจะขัดแย้งกันได้ หรืออาจจะต้องมาจัดการอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อให้ได้ตามที่ต้องการทั้งสองด้านอย่างสมดุล
แต่หากสิ่งที่เราให้คุณค่าเหล่านั้น มันไปกันได้อย่างสอดคล้องกัน เช่น ฉันจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง HR และ
เป็นคุณแม่ที่ลูกภูมิใจ การตั้งเป้าหมายในชีวิตของเราก็จะมีความชัดเจนและมีแรงปรารถนาเป็นองค์ประกอบใน
การขับเคลื่อนที่สำคัญ อีกทั้งมีโอกาสสูงที่จะสำเร็จได้


ขั้นตอนที่สอง
สอบทานดูว่า สิ่งที่เราตั้งเป้าหมายในชีวิตนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
มันเป็นความคิดฝันที่เกินจริงไปหรือเปล่า หรือเป็นเป้าหมายที่ขาดพลัง ไม่เร้าใจเพียงพอ
ข้อมูลที่เราจะใช้ตรวจสอบเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
อาจได้มาจากการประมวลภาพชีวิตตนเองและการจัดทำการวิเคราะห์ S.W.O.T. ตนเอง

วิเคราะห์จุดแข็ง (Strength) ว่าเรามีความโดดเด่นหรือข้อดีด้านใดบ้าง เริ่มตั้งแต่
ด้านความรู้ความสามารถ บุคลิกภาพ คุณลักษณะเฉพาะตน นิสัยใจคอ เช่น
ตนเองเก่งภาษา มีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นต้น

วิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness)ข้อบกพร่องที่ยังต้องปรับปรุงหรือเคยได้รับ feedback จากคนอื่น
เช่น ใจร้อน พูดจาไม่ไว้หน้าใคร เป็นต้น

วิเคราะห์อุปสรรค (Threat) ที่เกิดขึ้นหรือน่าจะเกิดขึ้น เช่นมีคนเริ่มไม่ยอมรับ ไม่อยากทำงานด้วย
มีคนอื่นที่เก่งกว่า ดีกว่า มีคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานมากขึ้น และดูเหมือนค่าใช้จ่ายและภาษีสังคมสูงขึ้น เป็นต้น

วิเคราะห์โอกาส (Opportunity)พิจารณาดูโอกาสภายนอกว่ามีโอกาสอะไรดีๆ รออยู่หรือน่าไขว่คว้า
ตัวเราเป็นที่รู้จักเป็นที่ยอมรับจากภายนอกแค่ไหน เป็นต้น


ขั้นตอนที่สาม
กำหนดแผนการเดินทางที่มุ่งมั่นนั้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ว่าเราจะพัฒนาจุดแข็งให้โดดเด่นยิ่งขึ้นได้อย่างไร
จุดอ่อนที่มีอยู่นั้นจะไม่ให้เป็นปัญหาได้อย่างไร เราต้องทำอะไรบ้าง เราจะลดทอนปัญหาอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างไร
จะหาใครมาช่วยเราได้บ้าง และจะสร้างโอกาสที่มีอยู่ให้เป็นโอกาสทองของเราได้อย่างไรและด้วยวิธีใด
แผนทุกขั้นตอนต้องมีการกำหนดเวลาที่จะต้องดำเนินการไว้อย่างชัดเจนด้วย


ขั้นตอนที่สี่
คือการลงมือทำ Do it now! สามคำนี้ฟังดูง่ายแต่ทำยากเพราะต้องอาศัยพลังใจและความมีวินัยสูง
แน่นอนว่าไม่มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่จะได้มาโดยง่าย
ขณะที่เดินทางไปสู่เป้าหมายนั้นอาจจะพบอุปสรรคที่บั่นทอนแรงบันดาลใจได้
แต่ต้องรู้จักวิธีในการรักษาความมุ่งมั่นนั้นไว้ ด้วยวิธีง่ายๆ ดังนี้

1) ต้องเตือนใจตัวเอง พูดกับตัวเองสม่ำเสมอ จินตนาการเป็นภาพของเป้าหมายในชีวิตที่ตัวเองต้องการบ่อยๆ

2) การขจัดความเชื่อผิดๆ หรือข้อจำกัดออกไป (Clear Limiting Belief) เช่น
เชื่อว่าเราคงค้าขายไม่เป็น คิดว่าเราเป็นคนไม่กล้าพูดหรือไม่กล้าแสดงออก เราไม่ใช่คนเก่งคำนวณหรือเก่งภาษา
ความเชื่อที่เป็นข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้มันอาจจะตามมาราวีเราในระหว่างทางได้
ต้องคิดในทางบวกและมุมมองที่เป็นธรรมกับตัวเองโดยท้าทายกลับไปว่า มันจริงอย่างนั้นเสมอไปหรือ?
เราเคยทำอะไรสำเร็จได้ตั้งหลายครั้ง และครั้งนี้เราก็น่าจะทำได้
สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างกำลังใจและลบล้างข้อจำกัดของตนเอง

นอกจากเราจะจุดพลังชีวิต ให้ตนเองด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้ว
หัวหน้างานก็สามารถช่วยส่งเสริมเพิ่มเติมให้แก่พนักงานได้ โดยหมั่นพูดคุยเพื่อรับทราบ Value ของลูกน้อง
เป้าหมายในชีวิตของเขา และส่งเสริมสนับสนุนทั้งการทำงานและกำลังใจ
ก็ย่อมจะช่วยรักษาพลังใจในการทำงานให้พนักงานเบิกบานใจไปได้อีกหลายๆ ปีทีเดียว

โดย จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 14 มีนาคม 2552
1 comments
Last Update : 14 มีนาคม 2552 11:06:08 น.
Counter : 936 Pageviews.

 

เราเคยเจอความท้อแท้มากมาย แต่ได้มาเจอสิ่งนึงทำให้เรากำหนดเป้าหมายใหม่ของชีวิตได้ ไม่ใช่เพื่อตัวเราอย่างเดียว แต่ยังเผื่อแผ่สังคมได้อีก ให้คำแนะนำได้นะ อยากให้กำลังใจทุกคนที่ท้ออออ... ลองคุยกันttp_skw@hotmail.com หรือ 0819108557

 

โดย: ยิ้มสู้ IP: 67.159.44.44 11 พฤษภาคม 2552 18:02:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.