ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

ลิ้น บอกโรค



คุณเคยรู้ไหมว่า ” ลิ้น ” อวัยวะที่นอกจากจะใช้ลิ้มรสอาหารแล้ว ยังสามารถบอกโรคต่างๆได้อีกด้วย

นั่นก็เพราะมีโรคหลายๆ ชนิดที่เมื่อเป็นแล้ว จะส่งผลให้ลิ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปรกติอย่างเห็นได้ชัด การตรวจดูลิ้นจึงสามารถบอกถึงสุขภาพภายในร่างกายได้ดังนี้

1. ลิ้นสีน้ำตาลหรือดำ
มักเป็นผลจากการรับประทานยาปฏิชีวนะ หรืออมยาฆ่าเชื้อที่มีผลทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคที่เรียบางชนิดที่สร้างสีดำออกมาเกาะลิ้น

2. ลิ้นสีเขียวหรือสีแดง
บ่งบอกว่าช่องท้องหรือตับ ของคุณทำงานผิดปรกติ

3.ลิ้นเป็นฝ้าขาวเป็นขลุยคล้ายคราบนม

เกิดจากกาารติดเชื้อรา หรือเชื้อยีสต์ส่วนมากมักพบในผู้ที่มีความต้านทานน้อยหรือเด็กทารก รวมทั้งผู้ที่รับประทานยาฆ่าเชื้อโรค และยากดภูมิต้านทาน เช่น สเตียรอยด์

4. ลิ้นเป็นฝ้าขาว มีจุดแดงๆ เป็นหย่อมๆ คล้ายผลสตอบอรี่รวมกับอาการไข้ และผื่นเต็มตัว
พบในโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ในระบบทางเดินหายใจส่วนต้นนอกจากนี้แล้วการขาดวิตมินก็สามารถทำให้ลิ้นของ คุณเปลี่ยนแปลงได้เช่นกันโดยสังเกตจาก

  • ขาดวิตมินบี 1 ทำให้ลิ้นแดง อักเสบและปวดแสบปวดร้อน
  • ขาดวิตมินบี 2 ทำให้มุมปากอักเสบเป็นปากนกกระจอก และทำให้ลิ้นเป็นแผ่นแดงๆม่วงๆแสบลิ้นง่าย
  • ขาดวิตมินบี 5 ทำให้ลิ้นอักเสบมากจนแดงก่ำมีแผลถลอกเลือดออกง่าย ลิ้นแตกเป็นร่อง


//variety.teenee.com/foodforbrain/52871.html




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2556 23:13:33 น.
Counter : 1381 Pageviews.  

รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?



รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

ปลาร้า หรือ ปลาแดก ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นภาคอีสาน ของไทย และ ลาว รวมถึง บางส่วนของเวียดนาม โดยมักทำจากปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เช่น ปลาสร้อยขาว ปลากระดี่มาหมักกับรำข้าวและเกลือ แล้วบรรจุใส่ไห โดยทั่วไปจะหมักไว้ 7-8 เดือน และนำมารับประทานได้ หรือ นำไปปรุงอาหารอย่างอื่น เช่น ส้มตำ เป็นต้น โดยส้มตำที่ใส่ปลาร้า นั้นจะเรียกว่า ส้มตำลาว หรือ ส้มตำ ปลาร้าโดยในบางที่มีค่านิยมว่า หมักให้เกิดหนอนจะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้นจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าปลาร้า  เป็นอาหารของวัฒนธรรมอีสานมานานกว่า4,000 ปีแล้ว โดยพบวัสดุที่คล้ายกับไหหมักปลาร้า

ปัจจุบัน การทำปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายเป็นน้ำหนักตามตลาดสดต่าง ๆ

"ปลาร้า"เป็นอาหารที่แพร่หลายในเอเชียอาคเนย์มีกินกันทุกแห่งในดินแดนที่วัฒนธรรมมอญ-เขมร ได้เคยผ่านเข้าไป เมื่อ 2,000 ปี หรือ 3,000 ปีมาแล้ว

ทำไมคนโบราณจึงเกิดทำปล้าร้ากินกันขึ้นมา?

ตอบว่า เพราะธรรมชาติในหลายประเทศในเอเชียอาคเนย์อำนวยหรือบังคับให้ทำปลาร้า

ภูมิภาคนี้ตกอยู่ในเขตมรสุม ในระหว่างต้นฝนก็มีน้ำมาก แต่พอเข้าต้นหน้าแล้ง น้ำก็เริ่มลด

ระยะนี้ เป็นเวลาที่ปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมากตมแก่งต่างๆ หรือตามแม่น้ำลำคลอง

คนก็จับปลาเอามากิน แต่ปลามันมากเกินกว่าที่จะกินหมดได้ทัน จะทิ้งก็เสียดาย จึงเอาใส่เกลือเก็บไว้กินได้ตลอดปีแต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังใส่เกลือไม่ทัน ปลาเริ่มจะขึ้นและมีกลิ่นถึงจะมีกลิ่น ก็ยังใส่เกลือเก็บไว้กินจนได้เลยอร่อยเพราะกลิ่นปลา ต่อมาจะเอาปลามาทำปลาร้าจึงปล่อยให้ปลาขึ้นและเริ่มมีกลิ่น แล้วจึงเอามาใส่เกลือทำปลาร้ากลายเป็นวิธีทำปลาร้าที่ถูกต้องไป

ที่ผมว่าปลาร้าเป็นเรื่องของวัฒนธรรมมอญ-เขมรนั้น พิสูจน์ได้ด้วยความจริง เพราะมอญ-เขมรทุกวันนี้ก็ยังกินปลาร้ากันอย่างเอกอุ คือเข้ากับข้าวเกือบทุกอย่างใช้กินเป็นประจำเหมือนคนไทยใช้น้ำปลายำแตงกวาเมืองเขมรเขายังใส่ปลาร้า นอกจากนั้นก็ยังใส่แกงใส่ผัดอื่นๆอีกมากในเมืองไทย แถวๆอำเภอชั้นนอกของสุพรรณบุรีและตามอำเภอของอยุธยาที่ใกล้กับสุพรรณ คนไทยก็ยังใช้ทำกับข้าวแบบนี้ คือเจือปนไปทั่ว เพราะสุพรรณนั้นได้ตกอยู่ใต้อิทธพลวัฒนธรรมของมอญ ที่เรียกว่าทวาราวดีนั้นมาก

แกงบอน
แกงบวน
แกงขี้เหล็ก

เป็นกับข้าวมอญ เพราะเข้ากับปลาร้าทั้งนั้น

ดินแดนอื่นๆ ที่เคยอยู่ใต้วัฒนธรรมมอญ-เขมร นั้นได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา andลาว
เวียดนามนั้นมีปลาร้า ถึงจะผสมสับประรดลงไปแบบเค็ม หมากนัสก็ยังเป็นปลาร้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้วลาวเรียกปลาร้าว่า"ปลาแดก" ทำไม?

ตอบว่า "แดก"นั้น เป็นกิริยาอย่างหนึ่งในภาษาไทยแปลว่า อัดหรือยัดอะไรเข้าไปในภาชนะ เช่น ไห จนแน่นที่สุดเท่าที่จะอัดเข้าไปได้ คนที่ใช้กิริยาอย่างนี้ในการกินอาหาร จึงเรียกในภาษไทยว่า แดก อีกเช่นเดียวกันพม่านั้นก็ยังมีมอญอยู่ จึงมีปลาร้ากินส่วนมาเลเซียนั้นวัฒนธรรมมอญ-เขมร เฉียดๆไป แต่ก็มีอะไรคล้ายๆปลาร้ากินเหมือนกันปลาร้านั้นมีกลิ่น เพราะทำด้วยปลาที่เริ่มเน่า ปลาร้าจึงมีชื่อว่า เหม็น

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคาคาก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง   นอกจากนั้น หากอะไรที่กลิ่นไม่ดี เราก็พูดกันว่า "มีกลิ่นทะแม่งๆ"

"ทะแม่ง" เป็นภาษามอญ แปลว่า ปลาร้าทางด้านโบราณคดี ปลาร้าจึงเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตของวัฒนธรรมมอญ-เขมรปลาร้าอยู่ที่ไหน วัฒนธรรมมอญ-เขมร เคยอยู่ที่นั่นและวัฒนธรรมมอญ-เขม่ร นั้น ยังมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงเหนือชีวิตของคนจำนวนมากในเอเซียอาคเนย์การกินหมากที่เคยแพร่หลายไปทั่ว ก็เนื่องอยู่ในวัฒนธรรมนี้ มีขนบธรรมเนียมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการกินหมากอยู่มากภาษาเวียดนามปัจุบัน ก็เป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมรและอื่นๆอีกมากอย่าไปดูถูกปลาร้า

ปลาร้ามีประโยชน์มากในทางโภชนาการ เพราะมีโปรตีนสูง เป็นประโยชน์แก่ผู้ยากไร้ หาแหล่งโปรตีนจากอื่น เช่น ทีโบนสเต็คไม่ได้

นอกจากนั้นก็ยังมีวิตามิน K ซึ่งได้จากปลาเน่าหรือเริ่มจะเน่า

//variety.teenee.com/foodforbrain/52879.html




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2556 23:12:53 น.
Counter : 1501 Pageviews.  

อยากรู้ไหม ถ้าของกินผ่าครึ่งซีกเราจะเห็นอะไร? ไปดูโปรเจ็คท์ภาพถ่ายนี่กันเถอะ

ภาพถ่ายอาหารทั่วๆไปเราคงเคยเห็นว่าน่ากินแค่ไหน แต่ถ้ามาดูผลงานภาพถ่ายอาหารครึ่งซีกนี้รับรองว่าเห็นแล้วต้องทึ่งแน่ๆ สำหรับภาพถ่ายชุดนี้เป็นผลงานของ Charlotte Omnes ฟู้ดสไตลิสต์ร่วมมือกับช่างภาพนามว่า Beth Galton ซึ่งแรงบันดาลใจจากผลงานเหล่านี้มาจากการที่ต้องทำงานถ่ายภาพอาหารซ้ำๆแต่ด้านหน้าสวยงาม เลยขอลองเอาอาหารมาผ่าครึ่งซีกให้เห็นว่าข้างในอาหารนั้นๆน่ากินแค่ไหน

สำหรับเทคนิคการถ่ายภาพอาหารครึ่งซีกนี้ เค้าบอกว่าใช้เจลาตินผสมลงไปในอาหารเพื่อให้ส่วนที่เป็นน้ำนั้นแข็งตัวและผ่าครึ่งออกมาได้ ที่เจ๋งๆก็คือถ้วยมาม่าที่โดนหั่นครึ่งนั่นแหละ น่ากินที่สุด!!!


ที่มา : Petapixel




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2556 22:54:46 น.
Counter : 1954 Pageviews.  

ศิลปะจากไอพ่นเครื่องบิน

สวยงามมากๆ q*062








































//board.postjung.com/679266.html




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2556 22:53:51 น.
Counter : 1945 Pageviews.  

ไก่ฟ้าสีทอง

    ไก่ฟ้าสีทอง (อังกฤษ: Golden pheasant, Red golden pheasant, Chinese pheasant; จีน: 红腹锦鸡; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysolophus pictus) เป็นสัตว์ป่าประเภทไก่ฟ้าที่นำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ได้รับความนิยมอย่างมาก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมบนภูเขาสูง พบมากทางภาคกลางและภาคตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงบางส่วนในปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา มีความสวยงามและทนทานต่ออากาศหนาวได้เป็นอย่างดี

เหลืองจริงๆ

ไก่ฟ้าสีทอง ตัวผู้จะ มีหลายสี (5 สี) แต่ถ้าเป็นสีทองส่วนของอกจะมีสีแดง ส่วนหลังมีสีเหลืองและปีกมีสีน้ำเงิน นัยน์ตาจะเป็นวงแหวนนสีน้ำเงิน สำหรับตัวเมียจะมีสีน้ำตาลพื้นธรรมดา นัยน์ตาไม่มีวงแหวน เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนักตัวประมาณ 500-700 กรัม มีรูปร่างป้อม และไม่มีหงอน

ไก่ฟ้าสีทองเพศผู้

ไก่ฟ้าสีทองเพศเมีย

ไก่ฟ้าสีทอง สามารถแยกแยะเพศออกได้เมื่อมีอายุ 3 เดือน ดูความแตกต่างที่วงแหวนของดวงตา ส่วนสีขนจะค่อย ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งตัวเต็มวัย เฉลี่ยประมาณ 1.5-2 ปี จึงจะมีสีเหมือนกับไก่ตัวเต็มวัย โตเต็มวัยเมื่อมีอายุได้ 2 ปี ออกลูกในช่วงฤดูร้อนเพียงปีละครั้ง ช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ออกไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง ใช้เวลาฟักประมาณ 21-23 วัน

ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นฟาร์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งสามารถเพาะเลี้ยงได้อย่างเสรี เนื่องจากไม่จัดว่าเป็นสัตว์ที่จะจัดอยู่ในสถานะคุ้มครองตามกฎหมายแต่ ประการใด โดยการเลี้ยงในแบบฟาร์ม สามารถทำให้ไก่ออกไข่ได้ตลอดทั้งปี เฉลี่ยแล้วปีละถึง 20-30 ฟอง มีอายุขัยในที่เลี้ยงประมาณ 15 ปี โดยมีราคาขายในฐานะสัตว์เลี้ยงสวยงามถึงราคาคู่ละ 6,000-7,000 บาท (อายุ 1.5 ปีขึ้นไป) ทั้งนี้ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับอายุของไก่ที่ขายและสายพันธุ์ โดยราคาสูงอาจไปถึงคู่ละ 400,000-500,000 บาท ในอดีตราว 20 ปีก่อน (นับจาก พ.ศ. 2555) ไก่ฟ้าสีทองมีราคาขายเพียงคู่ละไม่เกิน 1,000 บาท เท่านั้น


//board.postjung.com/679299.html




 

Create Date : 21 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 21 พฤษภาคม 2556 22:53:06 น.
Counter : 5656 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.