ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

มาทำความรู้จัก 'กฎอัยการศึก'

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา,กฏอัยการศึก

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

สำหรับการประกาศกฎอัยการศึก เป็นไปตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 ซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล โดยมีการกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ และเมื่อจะยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ใดจะต้องประกาศออกมาเป็นพระบรมราชโองการ

ผู้มีอำนาจประกาศกฎอัยการศึกนั้น พ.ร.บ.กฎอัยการศึกฯ มาตรา 4 ระบุว่า "เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใดให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด"

อำนาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ตามมาตรา 6 ระบุว่า "ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร"

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ ตามมาตรา 8 "เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่"

การตรวจค้น (มาตรา 9)

การตรวจค้นนั้น ให้มีอำนาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้

(1) ที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้อง เข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหะสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใด ๆ และไม่ว่าเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น

(2) ที่จะตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบ ห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก

(3) ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บทหรือคำประพันธ์

การเกณฑ์ (มาตรา 10)

การเกณฑ์นั้นให้มีอำนาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้

(1) ที่จะเกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการ ซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ

(2) ที่จะเกณฑ์ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, เสบียงอาหาร, เครื่องศาตราวุธ, และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จากบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง

การห้าม(มาตรา 11)

การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้

(1) ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน

(2) ที่จะห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคำประพันธ์

(3) ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์

(4) ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย

(5) ที่จะห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้

(6) ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด

(7) ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้นออกไปจากเขตนั้นภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด

(8) ที่จะห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

การยึด(มาตรา 12)

บรรดาสิ่งซึ่งกล่าวไว้ ในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ นั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็น จะยึดไว้ชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ก็มีอำนาจยึดได้

การเข้าอาศัย(มาตรา 13)

อำนาจการเข้าพักอาศัยนั้น คือ ที่อาศัยใด ๆ ซึ่งราชการทหารเห็นจำเป็นจะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหารแล้ว มีอำนาจอาศัยได้ทุกแห่ง

การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ (มาตรา 14)

การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ให้มีอำนาจกระทำได้ดังนี้

(1) ถ้าแม้การสงครามหรือรบสู้เป็นรองราชศัตรู มีอำนาจที่จะเผาบ้าน และสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรู เมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้ว หรือถ้าแม้ว่าสิ่งใด ๆ อยู่ในที่ซึ่งกีดกับการสู้รบก็ทำลายได้ทั้งสิ้น

(2) มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง

การขับไล่ (มาตรา 15)

ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราว เมื่อมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือจำเป็นแล้ว มีอำนาจที่จะขับไล่ผู้นั้นให้ออกไปจากเมืองหรือตำบลนั้นได้

มาตรา 15 ทวิ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรูหรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัวบุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า 7 วัน

ร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้ (มาตรา 16)

ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 8 และมาตรา 15 บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้ เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกำลังทหารให้ดำรงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองเป็นอิสรภาพ และสงบเรียบร้อยปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 8:43:08 น.
Counter : 888 Pageviews.  

พรบ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457

พระราชบัญญัติ
กฎอัยการศึก
พระพุทธศักราช ๒๔๕๗


พระราชปรารภ


มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่ากฎอัยการศึกซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๐ (ร.ศ. ๑๒๖) นั้น อำนาจเจ้าพนักงานฝ่ายทหารที่จะกระทำการใด ๆ ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันต้องการของความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอก หรือเกิดขึ้นภายในได้โดยสะดวกไม่ บัดนี้ สมควรแก้ไขกฎอัยการศึกและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะกับกาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๐ (ร.ศ. ๑๒๖) นั้นเสีย และให้ใช้กฎอัยการศึกซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้

นามพระราชบัญญัติ


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า “กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗”

ใช้พระราชบัญญัติที่ใดเมื่อใดต้องประกาศ


มาตรา ๒ เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตราหรือแต่บางมาตรา หรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขแห่งการใช้บทบัญญัตินั้นบังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรหรือตลอดทั่วราชอาณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายใด ๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับต้องระงับและใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน

ลักษณะประกาศ


มาตรา ๓ ถ้าไม่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วพระราชอาณาจักร ในประกาศนั้นจะได้แสดงให้ปรากฏว่า มณฑลใด ตำบลใด หรือเขตใดใช้กฎอัยการศึก

ผู้มีอำนาจใช้กฎอัยการศึก


มาตรา ๔ เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใดให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด

เมื่อเลิกต้องประกาศ


มาตรา ๕ การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น จะเป็นไปได้ต่อมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเสมอ

อำนาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก


มาตรา ๖ ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร

อำนาจศาลทหาร และอำนาจศาลพลเรือน เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก


มาตรา ๗ ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึกตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ทุกข้อ หรือแต่บางข้อและหรือบางส่วนของข้อใดข้อหนึ่งได้ ทั้งมีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกประกาศดังกล่าวนั้นด้วย
ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในวรรคแรก ให้มีผลบังคับเฉพาะคดีที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันเวลาที่ระบุไว้ในประกาศ วันเวลาที่ระบุนั้นจะเป็นวันเวลาที่ออกประกาศนั้นหรือภายหลังก็ได้ ประกาศเช่นว่านี้ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาด้วย
นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ถ้าคดีอาญาใดที่เกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมีเหตุพิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญานั้นในศาลทหารก็ได้

มาตรา ๗ ทวิ ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามความในมาตรา ๗ นั้น จะให้ศาลทหารในทุกท้องที่หรือแต่บางท้องที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามที่กล่าวในมาตรานั้นเท่ากันหรือมากน้อยกว่ากันก็ได้

มาตรา ๗ ตรี เมื่อได้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังคงค้างอยู่ในศาลนั้น และให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังมิได้ฟ้องร้องในระหว่างเวลาที่ใช้กฎอัยการศึกนั้นด้วย

เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจ


มาตรา ๘ เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่

การตรวจค้น


มาตรา ๙ การตรวจค้นนั้น ให้มีอำนาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้
(๑) ที่จะตรวจ ค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้อง เข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอำนาจที่จะตรวจค้นได้ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหะสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใด ๆ และไม่ว่าเวลาใด ๆ ทั้งสิ้น
(๒) ที่จะตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบ ห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก
(๓) ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บทหรือคำประพันธ์

การเกณฑ์


มาตรา ๑๐ การเกณฑ์นั้นให้มีอำนาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้
(๑) ที่จะเกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกำลังทหารในกิจการ ซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ
(๒) ที่จะเกณฑ์ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, เสบียงอาหาร, เครื่องศาตราวุธ, และเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ จากบุคคลหรือบริษัทใด ๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกำลังในเวลานั้นทุกอย่าง

การห้าม


มาตรา ๑๑ การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้
(๑) ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน
(๒) ที่จะห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคำประพันธ์
(๓) ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์
(๔) ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย
(๕) ที่จะห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้
(๖) ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด
(๗) ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้นออกไปจากเขตนั้นภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด
(๘) ที่จะห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก

การยึด


มาตรา ๑๒ บรรดาสิ่งซึ่งกล่าวไว้ ในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ นั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นเป็นการจำเป็น จะยึดไว้ชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ก็มีอำนาจยึดได้

การเข้าอาศัย


มาตรา ๑๓ อำนาจการเข้าพักอาศัยนั้น คือ ที่อาศัยใด ๆ ซึ่งราชการทหารเห็นจำเป็นจะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหารแล้ว มีอำนาจอาศัยได้ทุกแห่ง

การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่


มาตรา ๑๔ การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ให้มีอำนาจกระทำได้ดังนี้
(๑) ถ้าแม้การสงครามหรือรบสู้เป็นรองราชศัตรู มีอำนาจที่จะเผาบ้าน และสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกำลังแก่ราชศัตรู เมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้ว หรือถ้าแม้ว่าสิ่งใด ๆ อยู่ในที่ซึ่งกีดกับการสู้รบก็ทำลายได้ทั้งสิ้น
(๒) มีอำนาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้าน เมือง สำหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง

การขับไล่


มาตรา ๑๕ ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งไม่มีภูมิลำเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตำบลนั้นชั่วคราว เมื่อมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดหรือจำเป็นแล้ว มีอำนาจที่จะขับไล่ผู้นั้นให้ออกไปจากเมืองหรือตำบลนั้นได้

มาตรา ๑๕ ทวิ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรูหรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจกักตัวบุคคลนั้นไว้เพื่อการสอบถามหรือตามความจำเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า ๗ วัน

ร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้


มาตรา ๑๖ ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา ๘ และมาตรา ๑๕ บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้ เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกำลังทหารให้ดำรงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรืองเป็นอิสรภาพ และสงบเรียบร้อยปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน

มอบอำนาจให้เจ้ากระทรวง


มาตรา ๑๗ ในเวลาปรกติสงบศึก เจ้ากระทรวงซึ่งบังคับบัญชาทหาร มีอำนาจตรากฎเสนาบดีขึ้นสำหรับบรรยายข้อความ เพื่อให้มีความสะดวก และเรียบร้อยในเวลาที่จะใช้กฎอัยการศึกได้ตามสมควร ส่วนในเวลาสงครามหรือจลาจล แม่ทัพใหญ่หรือแม่ทัพรองมีอำนาจออกข้อบังคับบรรยายความเพิ่มเติมให้การดำเนินไปตามความประสงค์ของกฎอัยการศึกนี้ และเมื่อได้ประกาศกฎเสนาบดี หรือข้อบังคับของแม่ทัพในทางราชการแล้ว ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัตินี้

ประกาศมา ณ วันที่ ๒๗ สิงหาคม พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ๑๓๘๖ ในรัชกาลปัจจุบันนี้


บัญชีต่อท้าย
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๐๒


ก. คดีที่เกี่ยวกับตัวบุคคลบางจำพวก
๑. คดีที่ตำรวจกระทำความผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม
๒. คดีที่บุคคลพลเรือนสังกัดในราชการทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ไม่ว่าจะเกี่ยวกับหน้าที่ราชการหรือไม่ และไม่ว่าจะได้กระทำความผิดในที่ใด ๆ ในเขตที่ใช้กฎอัยการศึก
๓. คดีที่บุคคลใด ๆ เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร หรือร่วมกับบุคคลดังกล่าวใน ๑. หรือ ๒. ไม่ว่าจะเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุน
๔. คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร่วมกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารไม่ว่าจะเป็นตัวการหรือผู้สนับสนุน
ข. คดีที่เกี่ยวกับความผิดบางอย่าง
๑. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
๒. คดีที่มีข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สำหรับใช้ในราชการทหารแห่งกองทัพไทยหรือกองทัพพันธมิตรแห่งประเทศไทย หรือความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายทหารไทยหรือทหารพันธมิตรแห่งประเทศไทย ในขณะกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่กระทำการตามหน้าที่
๓. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังต่อไปนี้
(๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒
(๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘
(๓) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา๑๑๙ ถึงมาตรา ๑๒๙
(๔) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา ๑๓๕
(๕) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา ๑๓๗ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร มาตรา ๑๓๖ มาตรา ๑๓๘ ถึงมาตรา ๑๔๒ มาตรา ๑๔๕ และมาตรา ๑๔๖
(๖) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตั้งแต่มาตรา ๑๔๗ ถึงมาตรา ๑๕๔ มาตรา ๑๕๘ ถึงมาตรา ๑๖๕
(๗) ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามมาตรา ๑๗๒ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร มาตรา ๑๗๐ มาตรา ๑๗๑ มาตรา ๑๗๕ ถึงมาตรา ๑๘๕ มาตรา ๑๘๙ มาตรา ๑๙๓ มาตรา ๑๙๗ และมาตรา ๑๙๘ เฉพาะเมื่อศาลนั้นเป็นศาลทหาร
(๘) ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามมาตรา ๒๐๑ และมาตรา ๒๐๒
(๙) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตั้งแต่มาตรา ๒๐๙ ถึงมาตรา ๒๑๖
(๑๐) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่มาตรา ๒๑๗ ถึงมาตรา ๒๒๔ มาตรา ๒๒๖ มาตรา ๒๒๘ ถึงมาตรา ๒๓๒ มาตรา ๒๓๔ มาตรา ๒๓๕ มาตรา ๒๓๗ และมาตรา ๒๓๘
(๑๑) ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา แสตมป์ และตั๋ว ตั้งแต่มาตรา ๒๕๐ ถึงมาตรา ๒๕๓ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร
(๑๒) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตั้งแต่มาตรา ๒๖๕ ถึงมาตรา ๒๖๘ เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร
(๑๓) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามมาตรา ๓๓๖ มาตรา ๓๓๙ และมาตรา ๓๔๐
๔. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเกณฑ์พลเมืองอุดหนุนราชการทหาร
๕. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
๖. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบทหาร
๗. ความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ ตั้งแต่มาตรา ๔๕ ถึงมาตรา ๔๙
๘. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยฝิ่น
๙. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
๑๐. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์


พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ พุทธศักราช ๒๔๘๕

พระราชบัญญัติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ พุทธศักราช ๒๔๘๕

มาตรา ๓ สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาลงมติอนุมัติพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ พุทธศักราช ๒๔๘๕ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๕๒ เมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๘๕

พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๗

มาตรา ๘ บรรดาคดีอาญาที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลทหารในวันใช้พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาตามความในพระราชบัญญัตินี้แล้วนั้น ให้โอนมาให้ศาลพลเรือนพิจารณาพิพากษาต่อไป และให้พนักงานอัยการเข้าเป็นโจทก์ในคดีเหล่านั้น ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาใช้บังคับตั้งแต่วันที่โอนคดีมานั้น

พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช ๒๔๕๗ พุทธศักราช ๒๔๘๘

พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๐๒

มาตรา ๔ บรรดาอำนาจหน้าที่ของแม่ทัพใหญ่ตามความในมาตรา ๑๗ แห่ง กฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้บัญชาการทหารสูงสุด

มาตรา ๖ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระทั่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๒ ฉบับที่ ๑๕ ฉบับที่ ๑๖ ฉบับที่ ๒๐ ฉบับที่ ๓๐ และฉบับที่ ๔๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก ยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับบัญชีต่อท้ายกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกส่วนมากได้อ้างถึงความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งได้ถูกยกเลิกและใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทน จึงเป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึกเสียใหม่ให้เป็นการสอดคล้องต้องกันด้วย

ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๐๓ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕




 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 7:27:08 น.
Counter : 1323 Pageviews.  

"กฎอัยการศึก" คืออะไรและยังประกาศใช้ได้จริงหรือ ?

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

นักกฎหมายอิสระ

facebook.com/verapat


- กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายโบราณซึ่งกำลังจะมีอายุครบ 100 ปี โดยถูกตราเป็นพระราชบัญญัติครั้งสุดท้ายเมื่อพระพุทธศักราช 2457


- กฎอัยการศึกมุ่งหมายให้ใช้ได้ในพื้นที่จำกัดเท่าที่จำเป็น ในยามสงครามหรือจลาจลแต่ไม่ได้นิยามความหมายของยามสงครามหรือจลาจลไว้โดยชัด และไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายทหารว่าเป็นไปโดยสุจริตได้สัดส่วน และสมควรแก่เหตุหรือไม่


- กฎอัยการศึกให้อำนาจฝ่ายทหารประกาศได้เอง โดยเมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้นซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพันหรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด


- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อยและเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร


- เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตำบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจเต็มที่จะตรวจค้น,ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้ามการกระทำ,ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย,ที่จะทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่ ทั้งข้าศึกและประชาชน และหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจและเกิดความเสียหาย บุคคลหรือบริษัทใด ๆจะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย


- ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลของฝ่ายทหารมีอำนาจ กล่าวคือ ศาลพลเรือนคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ปกติเว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก


- ในเวลาสงครามหรือจลาจล แม่ทัพใหญ่หรือแม่ทัพรองมีอำนาจออกข้อบังคับเพิ่มเติมให้ดำเนินไปตามกฎอัยการศึกนี้และเมื่อได้ประกาศแล้ว ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติ


- การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น ต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเสมอ


- ที่ผ่านมา กฎอัยการศึกถูกประกาศใช้ในยามที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย อาทิ การประกาศใช้และแก้ไขหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติช่วงปี 2534 และการประกาศใช้ในช่วงหลังการรัฐประหาร 2549 มาถึงช่วงการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2550


ข้อสังเกต :


การจะพิจารณาวินิจฉัยในทางนิติศาสตร์ว่ากฎอัยการศึกถือเป็นกฎหมายที่มีผลให้นำมาบังคับใช้ภายใต้รัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้นจำเป็นต้องพิจารณาตามหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วน ภายใต้หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรมดังนี้


ในด้านความจำเป็น เห็นได้ว่า กฎอัยการศึกอาจเคยมีความจำเป็นในยุคสมัยโบราณที่การจัดการภัยคุกคามไม่อาจทำได้ทันท่วงทีและการสื่อสารสั่งการโดยรัฐบาลพลเรือนไปยังฝ่ายทหารมีข้อจำกัดในยามวิกฤติจึงต้องให้อำนาจฝ่ายทหารดำเนินการได้อย่างเต็มที่และทันท่วงที  อย่างไรก็ดี สภาพข้อเท็จจริงในปัจจุบันปรากฏชัดว่าเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือในด้านความมั่นคงมีความก้าวหน้าและมีการนำเงินภาษีประชาชนไปใช้จ่ายพัฒนาและบำรุงกองทัพอย่างมหาศาล และแม้คณะรัฐมนตรีจะอยู่ที่ใด ก็ยังบัญชาสั่งการฝ่ายทหารได้อย่างทันท่วงทีกฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความจำเป็นในทางรัฐธรรมนูญ


ในด้านความได้สัดส่วน กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติให้อำนาจฝ่าทหารประกาศใช้อำนาจได้เองโดยปราศจากนิยามหรือหลักเกณฑ์อีกทั้งให้อำนาจฝ่ายทหารในการตรวจค้น เกณฑ์กำลัง ที่จะห้ามการกระทำ ยึด เข้าอาศัย ทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ และที่ขับไล่ได้เต็มที่โดยปราศจากเงื่อนไขชัดเจน โดยเฉพาะการให้อำนาจฝ่ายทหารทำหน้าที่ทั้งด้านบริหารสถานการณ์ ออกข้อบังคับในทางนิติบัญญัติ และพิพากษาคดีทหารและอาญาศึกแทนตุลาการ โดยปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุลอันเป็นการละเมิดหลักนิติธรรมและนิติรัฐอย่างร้ายแรง กฎอัยการศึกจึงมีลักษณะไม่ชอบด้วยหลักความได้สัดส่วนในทางรัฐธรรมนูญ


นอกจากนี้ ในหลักกฎหมายขั้นพื้นฐาน เห็นได้ว่า ในปัจจุบันยังได้มีการตรากฎหมายที่สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในปัจจุบันมากขึ้นอาทิ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงและตราขึ้นในภายหลัง ย่อมถือได้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติและผู้แทนปวงชนได้ดำเนินการยกเลิกกฎอัยการศึกไปโดยปริยายแล้วกฎอัยการศึกจึงอยู่ในสภาพกฎหมายที่ถูกยกเลิกและไม่อาจนำมาประกาศหรือบังคับใช้ได้อีกต่อไป หรือหากจะยังตีความให้บังคับใช้ได้บางส่วนก็จะต้องเป็นกรณีที่มีข้าศึกจากทั้งภายในและภายนอกที่มีแสงยานุภาพขั้นสูงและได้เข้าจับกุมควบคุมตัวรัฐบาลพลเรือนจนรัฐบาลพลเรือนอยู่ในสภาพที่สั่งการบังคับบัญชาฝ่ายทหารไม่ได้เท่านั้น


ดังนั้น ในทางนิติศาสตร์ จึงเห็นได้ว่า กฎอัยการศึกมีบทบัญญัติที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในลักษณะที่ไม่มีความจำเป็นและไม่ได้สัดส่วน  ขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม อีกทั้งยังได้ถูกยกเลิกไปแล้วโดยปริยายทั้งหมดหรือบางส่วน ส่งผลให้นำมาบังคับใช้ดังในอดีตอีกไม่ได้ โดยตราบใดที่ยังมีรัฐบาลพลเรือนปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาการณ์อยู่ฝ่ายทหารย่อมไม่อาจนำกฎอัยการศึกมาอ้างใช้ในภาวะจลาจลหรือสงคราม และหากประกาศใช้ไปก็เท่ากับกระทำการละเมิดต่อหลักกฎหมาย หลักรัฐธรรมนูญ และหลักประชาธิปไตยเสียเอง รวมทั้งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจโดยไม่ชอบหรืออาจเข้าขั้นความผิดฐานกบฏ เป็นความผิดทางอาญารุนแรงอันมีอายุความติดตัวต่อไปอย่างยาวนานอีกด้วย

ที่สำคัญ ฝ่ายทหารพึงระลึกเสมอว่า กฎอัยการศึกถูกออกแบบมาใช้กับข้าศึกที่รุกรานประเทศชาติในลักษณะการสงคราม แต่หากกฎอัยการศึกถูกนำมาใช้ในยามที่บ้านเมืองมีความขัดแย้งทางการเมืองสูงและมีการชุมนุมทางการเมืองในพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง นอกจากจะเป็นการใช้อำนาจที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้ว ยังจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมวลชนต่อต้านอันจะนำไปสู่ความบาดเจ็บล้มตายที่ร้ายแรงขึ้นในที่สุด

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ฐานข้อมูลทางออกประเทศไทยโดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ //www.verapat.com/p/crisis.html





 

Create Date : 20 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 20 พฤษภาคม 2557 7:24:58 น.
Counter : 892 Pageviews.  

พบฟอสซิลไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่อาร์เจนตินา

นักวิทยา ศาสตร์เผยการค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์อายุประมาณ 100 ล้านปี ในเขตทะเลทรายของประเทศอาร์เจนตินา เชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยเดินอยู่บนโลก

วันเสาร์ 17 พฤษภาคม 2557 เวลา 19:16 น.

       รายงานในเว็บไซต์สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ระบุว่า คณะนักบรรพชีวินวิทยาเผยการค้นพบ ซากฟอสซิลโครงกระดูกไดโนเสาร์ ที่มีขนาดรูปร่างใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบทั่วโลก ดร.ดิเอโก โปล ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์ของอาร์เจนตินา เผยว่า คนงานของฟาร์มท้องถิ่นรายหนึ่ง เป็นผุ้ค้นพบซากฟอสซิลชุดนี้โดยบังเอิญ ในเขตทะเลทรายแถบชานเมืองลา ฟลีชา ประมาณ 250 กม. ทางตะวันตกของเมืองตรีลิว ภูมิภาคปาตาโกเนีย ซึ่งอยู่ปลายใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้ การขุดค้นจึงเริ่มขึ้นหลังเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง โดยคณะผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาเอกิดิโอ เฟรูกลิโอ นำโดย ดร.โฆเซ่ หลุยส์ คาร์บัลลิโด และ ดร.ดิเอโก โปล

      การขุดค้นพบซากฟอสซิลบางส่วนของกระดูกไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ 7 ตัว รวมกระดูกประมาณ 150 ชิ้น เป็นไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของ "ติโตโนซอร์" ซึ่งกินพืชเป็นอาหาร เชื่อว่าไดโนเสาร์ฝูงนี้อาศัยอยู่ในป่าของภูมิภาคปาตาโกเนีย ประมาณ 95 - 100 ล้านปีที่แล้ว โดยคำนวณจากอายุของชั้นหินที่ซากฟอสซิลเหล่านี้ฝังตัวอยู่

      ซากโครงกระดูกของไดโนเสาร์ 1 ใน 7 ตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คำนวนจากกระดูกส่วนต้นขา ขณะยังมีชีวิตไดโนเสาร์ตัวนี้มีสัดส่วนความยาวของลำตัว 40 เมตร สูง 20 เมตร เท่ากับความสูงของตึก 7 ชั้น น้ำหนักประมาณ 77 ตัน หรือหนักเท่ากับช้างแอฟริกา 14 ตัวรวมกัน และหนักกว่าไดโนเสาร์ "อาร์เจนติโนซอรัส" ที่ครองสถิติตัวใหญ่ที่สุดในโลกก่อนหน้านี้ 7 ตัน.

?พบฟอสซิลไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่อาร์เจนตินา?

ที่มา: เดลินิวส์ เว็บ




 

Create Date : 18 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 18 พฤษภาคม 2557 20:28:57 น.
Counter : 1169 Pageviews.  

ประโยชน์ ของถั่ว5ชนิด

เอ่ยคำว่า “ถั่ว” หลาย คนอาจมีความรู้สึกมันปากอยากเคี้ยวกันยกใหญ่ แต่ทราบหรือไม่ว่า ถั่วนอกจากจะเป็นของขบเคี้ยวให้ท่านสนุกปากยามว่างหรือดูภาพยนต์แล้ว ถั่วยังเป็นตัวกระตุ้นพลังภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงชั้นยอดอีกด้วย

1.ถั่วเหลือง เป็น พืชที่มีสารอาหารสูงที่สุดในบรรดาเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด และสามารถนำมารับประทานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นถั่วงอก เต้าหู้ เทมเป้ โยเกิร์ต แป้ง นม มิโซะ และซีอิ๊วขาว ถั่วเหลืองประกอบด้วยไฟโตเอสโตรเจนที่เรียกว่าโอโซฟลาโวน มีฤทธิ์เหมือนฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ช่วยควบคุมอาการที่เกี่ยวเนื่องกับการหมดประจำเดือนทั้งยังช่วยป้องกัน มะเร็ง ในถั่วเหลืองยังอุดมด้วยวิตามินอีคอยต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินบีที่มีบทบาทในการบำรุงระบบประสาทและช่วยร่างกายต่อสู้กับความ เครียด

2.ถั่วลันเตา  ถั่วมีมากด้วยปริมาณวิตามินบี ช่วยรักษาระดับพลังงานและสร้างเนื้อเยื่อประสาทและกล้ามเนื้อ ใยอาหารสูงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และการย่อยมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังมีวิตามินบี5 ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และวิตามินซีต้านอนุมูลอิสระ

3.เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็น แหล่งของวิตามินบี ที่ช่วยรักษาเส้นประสาทและเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของร่างกาย ตลอดจนเสริมความต้านทานต่อความเครียด และยังมีแร่ธาตุสำคัญสำหรับสุขภาพภูมิคุ้มกัน รวมทั้งสารต้านอนุมูลอิสระซีลีเนียมที่จำเป็นต่อการผลิตแอนติบอดี และสังกะสีซึ่งใช้ต่อสู้กับไวรัส ยับยั้งเซลล์มะเร็ง แถมยังช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย

4.อัลมอนด์ เป็น แหล่งที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยป้องกันมะเร็ง ในอัลมอนด์ 100 กรัม จะมีวิตามินอี 24 มิลลิกรัม และยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุแคลเซียมที่ป้องกันไวรัส อัลมอนด์ยังมีเลทริลที่เชื่อว่าเป็นสารประกอบที่ต่อสู้กับเนื้องอกได้อย่าง มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีสังกะสีสูง ช่วยสร้างความแข็งแรงให้ภูมิคุ้มกันและทำให้แผลหายเร็ว อัลมอนด์เต็มไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่ให้คุณค่าทางสารอาหาร จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้

5.เฮเซลนัต มี กรดไขมันโอเมก้า 9 ที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณสูงมาก และยังมีวิตามินอีต้ามอนุมูลอิสระในปริมาณสูงเช่นกัน จึงช่วยป้องกันร่างกายจากผลร้ายของมลพิษ และสารพิษต่างๆ แถมยังมีวิตามินบี6 ที่จำเป็นต่อการผลิตซิสทีอีนกรดอะมิโนที่สำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกัน ไม่เพียงเท่านั้นเฮเซลนัดยังเต็มไปด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ รวมทั้งธาตุเหล็ก แคลเซียม และโปรตีนที่จำเป็นด้วย

ที่มา : วารสารสุขภาพดี ประจำเดือน พฤศจิกายน 51

credit: //www.misterbuffet.com/article_superbean.asp




 

Create Date : 14 พฤษภาคม 2557    
Last Update : 14 พฤษภาคม 2557 16:28:50 น.
Counter : 3054 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.