ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 

6 โรค ควรระวังในฤดูฝน





ช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคมเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝนอากาศเริ่มเย็นและมีฝนตกอย่างต่อเนื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคได้หลายชนิดจึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบแนว ทางการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่

โรคไข้หวัดใหญ่
เกิดจากเชื้ออินฟลูเอ็นชาไวรัสติดต่อจากการไอ จามรดกัน ทำให้มีอาหารไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คอแห้ง เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลจามหรือมีเสมหะมาก ตาแดง ตาแฉะ ป้องกันรักษาได้โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอดูแลรักษาร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายสวมหน้ากากอนามัย

โรคปอดอักเสบ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสในสภาวะที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติอาจเกิดจากเชื้อรา และพยาธิ ติดต่อทางการไอจาม รดกัน อาการคือ มีไข้ไอ เสมหะมาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อยในเด็กเล็กสังเกตพบอาหารหายใจเร็วกว่าปกติ หากอาการรุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว จนเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยนอนพักผ่อนดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวบ่อยๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดยเฉพาะเมื่ออากาศเย็นจัด ชื้นจัด หากเด็กมีไข้ ไอ หายใจหอบ หรือหายใจลำบากควรรีบพาไปพบแพทย์

โรคอหิวาตกโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยอาการสำคัญคือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆอุจจาระเหลวสีคล้ายน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นคาวจัด อาจมีอาเจียนร่วมด้วยมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ อาจทำให้เกิดภาวะช็อก หมดสติรายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ป้องกันและรักษษได้โดยดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โอ อาร์ เอส เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนอาการคือมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลืองร่วมด้วยสามารถหายได้เองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันและรักษาโดยรับประทานอาหารสุก ดื่มน้ำสะอาดรักษาอนามัยพื้นฐาน และฉีดวัคซีนป้องกันโรค

โรคมือ เท้า ปาก
เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสพบมากในทารกและเด็กเล็ก ติดต่อโดยการได้รับเชื้อทางปากอาการเริ่มด้วยมีไข้อ่อนเพลีย เจ็บปาก เบื่ออาหาร มีแผลออักเสบ ที่ลิ้นเหงือก และกระพุ้งแก้ม อาจเกิดผื่นแดงไม่คันที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้นหรือหัวเข่า การป้องกันและรักษาทำได้โดย รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ล้างมือด้วยน้ำและสบู่เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพัก รักษาตัวที่บ้านประมาณ 1สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ

โรคเลปโตสไปโรซิส
ติดต่อจากสัตว์มาสู่คนเชื่อจะออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ และสุนัขแล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังชื้นแฉะผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฉี่หนู ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆเชื่อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือเยื่อบุอ่อนๆ ขณะที่แช่น้ำหรือรับประทานอาหาร ดื่มน้ำที่มีเชื้อ อาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา มีเยื่อบุตาแดง เจ็บคอเบื่ออาหาร ท้องเดิน ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึมสับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้ ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการแช่น้ำย้ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดซับให้แห้งโดยเร็วที่สุดควรสวมรองเท้าหรือรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสมดูแลที่พักให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู

ทั้งนี้วิธีป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงฤดูฝนที่ดีที่สุด คือดูแลสุขภาพให้แข็งแรงรักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวเย็นหรืออากาศเปลี่ยนแปลงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทไม่สะดวกไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือก็จะสามรถลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อต่างได้ๆนอกจากนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 หรือ สำนักโรคติดต่ดทั่วไป โทรใ 02 590 3183


ที่มา //likezara.blogspot.com/2016/09/6.html

ดูเรื่องเด็ดก่อนใครได้ที่ https://www.facebook.com/youlike18up




 

Create Date : 28 กันยายน 2559    
Last Update : 28 กันยายน 2559 9:02:43 น.
Counter : 10039 Pageviews.  

6 โรค ควรระวังในฤดูฝน





ช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคมเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝนอากาศเริ่มเย็นและมีฝนตกอย่างต่อเนื่องสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้เกิดโรคได้หลายชนิดจึงมีความจำเป็นที่ต้องทราบแนว ทางการป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญ ได้แก่

โรคไข้หวัดใหญ่
เกิดจากเชื้ออินฟลูเอ็นชาไวรัสติดต่อจากการไอ จามรดกัน ทำให้มีอาหารไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คอแห้ง เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหลจามหรือมีเสมหะมาก ตาแดง ตาแฉะ ป้องกันรักษาได้โดยนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอดูแลรักษาร่างกายให้อบอุ่น ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายสวมหน้ากากอนามัย

โรคปอดอักเสบ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสในสภาวะที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติอาจเกิดจากเชื้อรา และพยาธิ ติดต่อทางการไอจาม รดกัน อาการคือ มีไข้ไอ เสมหะมาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อยในเด็กเล็กสังเกตพบอาหารหายใจเร็วกว่าปกติ หากอาการรุนแรงอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว จนเกิดภาวะขาดออกซิเจนหรือติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยนอนพักผ่อนดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวบ่อยๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่น โดยเฉพาะเมื่ออากาศเย็นจัด ชื้นจัด หากเด็กมีไข้ ไอ หายใจหอบ หรือหายใจลำบากควรรีบพาไปพบแพทย์

โรคอหิวาตกโรค
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถติดต่อจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยอาการสำคัญคือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำครั้งละมากๆอุจจาระเหลวสีคล้ายน้ำซาวข้าว กลิ่นเหม็นคาวจัด อาจมีอาเจียนร่วมด้วยมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่ อาจทำให้เกิดภาวะช็อก หมดสติรายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ป้องกันและรักษษได้โดยดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่โอ อาร์ เอส เพื่อป้องกันการขาดน้ำและเกลือแร่รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนอาการคือมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลืองร่วมด้วยสามารถหายได้เองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ป้องกันและรักษาโดยรับประทานอาหารสุก ดื่มน้ำสะอาดรักษาอนามัยพื้นฐาน และฉีดวัคซีนป้องกันโรค

โรคมือ เท้า ปาก
เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสพบมากในทารกและเด็กเล็ก ติดต่อโดยการได้รับเชื้อทางปากอาการเริ่มด้วยมีไข้อ่อนเพลีย เจ็บปาก เบื่ออาหาร มีแผลออักเสบ ที่ลิ้นเหงือก และกระพุ้งแก้ม อาจเกิดผื่นแดงไม่คันที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก้นหรือหัวเข่า การป้องกันและรักษาทำได้โดย รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ล้างมือด้วยน้ำและสบู่เด็กที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ควรหยุดพัก รักษาตัวที่บ้านประมาณ 1สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ

โรคเลปโตสไปโรซิส
ติดต่อจากสัตว์มาสู่คนเชื่อจะออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ และสุนัขแล้วปนเปื้อนในแม่น้ำ ลำคลอง พื้นที่ที่มีน้ำขังชื้นแฉะผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฉี่หนู ได้แก่ ผู้ที่ลุยน้ำหรือแช่น้ำนานๆเชื่อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือเยื่อบุอ่อนๆ ขณะที่แช่น้ำหรือรับประทานอาหาร ดื่มน้ำที่มีเชื้อ อาการคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะน่องและโคนขา มีเยื่อบุตาแดง เจ็บคอเบื่ออาหาร ท้องเดิน ไอมีเลือดปน หรือตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึมสับสน เนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเสียชีวิตได้ ป้องกันโดยหลีกเลี่ยงการแช่น้ำย้ำโคลนนานๆ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้ว ต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดซับให้แห้งโดยเร็วที่สุดควรสวมรองเท้าหรือรองเท้าบู๊ทที่เหมาะสมดูแลที่พักให้สะอาดไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู

ทั้งนี้วิธีป้องกันการเจ็บป่วยในช่วงฤดูฝนที่ดีที่สุด คือดูแลสุขภาพให้แข็งแรงรักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงอากาศหนาวเย็นหรืออากาศเปลี่ยนแปลงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน อากาศถ่ายเทไม่สะดวกไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการป่วย และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือก็จะสามรถลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อต่างได้ๆนอกจากนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทีสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422 หรือ สำนักโรคติดต่ดทั่วไป โทรใ 02 590 3183


ที่มา //likezara.blogspot.com/2016/09/6.html

ดูเรื่องเด็ดก่อนใครได้ที่ https://www.facebook.com/youlike18up




 

Create Date : 28 กันยายน 2559    
Last Update : 28 กันยายน 2559 9:01:54 น.
Counter : 862 Pageviews.  

ดูดเสมหะให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธี



วันนี้ผู้ช่วยคุณแม่จะมาแนะนำวิธีดูดเสมหะออกจากลูกน้อยกันค่ะ เวลาลูกน้อยไม่สบายแล้วน่ากังวลใช่ไหมล่ะคะ มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่าวิธีที่ถูกต้องนั้นควรเป็นอย่างไร !!!

>>ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูดเสมหะ

>>ในกรณีเด็กที่ไม่ให้ความร่วมมือ ให้ใช้ผ้าห่อตัวเพื่อเก็บแขนทั้ง 2 ข้างป้องกันไม่ให้เด็กเอามือมาปัดและดันขณะดูด ทำให้ดูดเสมหะได้สะดวกและนุ่มนวล

>>ก่อนดูดเสมหะให้ตรวจเครื่องดูดเสมหะว่าทำงานดีหรือไม่

>>ใช้สายดูดเสมหะขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป และใช้แรงดูดในขนาดพอที่จะดูดเสมหะได้ดี

>>ขณะดูดเสมหะให้จับหน้าเด็กหันเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสะบัดหน้าไปมาขณะดูด และป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเสมหะหรือเศษอาหารลงปอด

>>ทำการดูดเสมหะจนกระทั่งไม่มีเสมหะในปอด

>>สังเกตลักษณะ จำนวน และสีของเสมหะ

เป็นอย่างไรบ้างคะกับการดูดเสมหะ ยากใช่ไหมล่ะคะ เวลาทำก็ต้องระมัดระวังดี ๆ นะคะ

ที่มา : MUMHELPER




 

Create Date : 23 กันยายน 2559    
Last Update : 23 กันยายน 2559 8:55:04 น.
Counter : 1854 Pageviews.  

เช็คด่วนเลย! 20 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่คุณผู้หญิงไม่ควรมองข้าม รู้ก่อนรักษาทัน




เชื่อว่าหลายๆคนมักจะมองข้ามสิ่งที่ตัวเองกำลังเป็นอยู่เพราะคิดว่าเป็นแค่นี้เดี๋ยวก็หายเองไม่ต้องสนใจหรอก แต่คุณรู้ไหมว่าเราควรจะคอยเช็คและสังเกตุสิ่งที่ร่างกายเราเป็นเพื่อเป็นการป้องกันโรคร้ายอย่างเช่นมะเร็งได้นะ

โดยเฉพาะคุณผู้หญิงทั้งหลาย เพราะโลกเราเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อนนะ ทั้งมลพิษที่เพิ่มขึ้น และสารเคมีต่างๆ ที่เราต้องเผชิญอยู่ เรามาดูกันว่า 20 สัญญาณเตือนเหล่านี้ คุณมีอาการไหนบ้างรึเปล่า ถ้ามีรีบไปหาคุณหมอเลยนะจ๊ะ กันไว้ดีกว่าแก้
1. มีเสียงหวีดขณะหายใจ หรือ หายใจไม่อิ่ม

นี่เป็นหนึ่งในสัญญาณแรกๆ ของมะเร็งปอด ผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวนมาก จำได้ว่า เริ่มแรกพวกเขาจะมีอาการแบบนี้

2. ไอเรื้อรังหรือเจ็บหน้าอก

ผู้ป่วยโรคมะเร็งบางอย่าง รวมทั้ง ลูคีเมีย และเนื้องอกในปอด จะมีอาการไอเรื้อรังหรือเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะมีอาหารเจ็บหน้าอกไปจนถึงไหล่ หรือใต้แขนท่อนบน

3. เป็นไข้ หรือติดเชื้อบ่อยๆ

นี่อาจเป็นสัญญาณลูคีเมีย หรือ มะเร็งในเม็ดเลือด ที่ลุกลามมาจากไขกระดูก

4. กลืนอาหารลำบาก

การกลืนอาหารลำบาก เป็นสัญญาณ ของมะเร็งในลำคอ และบางครั้งอาจเป็นสัญญาณของ มะเร็งปอด ด้วยเช่นกัน

5. ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีก้อนที่คอ, ใต้รักแร้ ,หน้าขา

ถ้าหากพบว่ามีก้อนโต ตามตำแหน่งเหล่านี้ แสดงถึงความผิดปกติในการทำงานของต่อมน้ำเหลือง ให้พึงระวังว่า อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งได้เช่นเดียวกัน

6. มีร้อยช้ำ หรือเลือดออกไม่หยุด

สัญญาณนี้บอกให้เรารู้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นเกี่ยวกับเกล็ดเล็ด และเม็ดเลือดแดง อาจเป็นสัญญาณของ ลูคีเมีย

7. อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า

การอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าง่ายๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นสัญญาณของมะเร็งหลายชนิดซึ่งต้องใช้การสังเกตประกอบร่วมกับอาการอื่นๆ แต่หากว่าคุณมีเหนื่อยล้า ถึงแม้ว่าจะนอนหลับพักผ่อนแล้วก็ยังไม่หาย ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

8. ท้องอืด หรือลงพุง

ผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งจำนวนมากบอกว่าอาการท้องอืดโดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งเกิดขึ้นโดยฉับพลันและเป็นๆ หายๆ เป็นเวลานานคือหนึ่งในอาการที่เตือนว่ามีบางสิ่งผิดปกติ (ซึ่งต่างจากอาการที่เกิดขึ้นเพียงเดือนละไม่กี่วันของภาวะก่อนมีประจำเดือน)

9. รู้สึกอิ่ม และไม่อยากรับประทานอาหาร

การรู้สึกอิ่ม และไม่อยากรัปประทานอาหาร ถึงแม้ว่ายังไม่ได้รับประทานอะไรเลย (เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคอยู่ที่ 13 ครั้งในเวลาหนึ่งเดือน) อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งรังไข่

10. ปวดกระดูกเชิงกราน หรือปวดท้องน้อย

อาการปวดท้องน้อยเพียงอย่างเดียวอาจหมายถึงได้ทั้งภาวะพังผืดในมดลูก ซีสต์ในรังไข่ และความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์อื่นๆ แพทย์จึงมักไม่สงสัยเรื่องโรคมะเร็ง ดังนั้นคุณจึงควรขอให้แพทย์ตรวจร่างกายโดยละเอียด เนื่องจากอาการปวดและตะคริวที่ท้องน้อยหรือช่องท้องอาจเกิดร่วมกับอาการท้องอืดซึ่งเป็นอาการของโรคมะเร็งรังไข่ได้ นอกจากนี้การขยายตัวของม้ามในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องเช่นกัน

11. ถ่ายเป็นเลือด

หลายคนอาจคิดว่าอาการถ่ายปนเลือดเป็นแค่ริดสีดวง แต่อย่าประมาท อาจจะเป็นสัญญาณมะเร็งลำไส้ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

12. น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

ถ้าพบว่าน้ำหนักตัวลดลงทั้งที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงการกินอาหารหรือการออกกำลังกาย ก็อาจสงสัยได้ว่าเป็นอาการเบื้องต้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งอื่นๆ ในทางเดินอาหาร และยังอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ามะเร็งได้ลามไปถึงตับแล้ว จึงส่งผลต่อความอยากอาหารและความสามารถในการขจัดของเสียออกจากร่างกาย

13. ท้องเสียบ่อย หรือปวดท้องบ่อย

อาจจะเป็นสัญญาณมะเร็งลำไส้ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

14. เต้านม แดง เจ็บ บวม

อาจบ่งชี้ถึงโรคมะเร็งเต้านมชนิดอักเสบ (inflammatory breast cancer) ซึ่งมีอาการบวม ร้อนที่เต้านม สีที่เปลี่ยนไปเป็นแดงหรือม่วงก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่ควรระวังไม่ต่างจากพบรอยบุ๋มคล้ายผิวส้มที่ผิวเต้านม นอกจากนี้โรคมะเร็งเต้านมชนิดอักเสบยังอาจก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ที่หัวนม เช่น อาการคัน ผิวลอกเป็นแผ่น หรือแตกเป็นสะเก็ดได้อีกด้วย

15. ลักษณะของหัวนมเปลี่ยนไป

หนึ่งในสัญญาณหลักๆ ของมะเร็งเต้านมคือ จู่ๆ หัวนมก็เริ่มบอด หรือบิดเอี้ยงไปด้านข้าง

6. ความผิดปกติของประจำเดือน

ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะรูปแบบใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งในมดลูกได้

17. มีอาการบวมบริเวณใบหน้า

ผู้ป่วยมะเร็งปอดบางคน มีสัญญาณเริ่มต้น คือใบหน้าบวม แดง เนื่องจากมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดในปอด ทำให้การไหลเวียนของเลือดในช่วงใบหน้าและศรีษะผิดปกติ

18. แผลหรือตุ่มที่ผิวหนังซึ่งไม่ยอมหาย ตกสะเก็ด หรือเลือดออกง่าย

เราส่วนใหญ่รู้เพียงว่าการเปลี่ยนแปลงของไฝฝ้าอาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคมะเร็งผิวหนัง แต่การที่มีตุ่มซึ่งดูเงามัน หรือสะเก็ดแห้งที่ผิวหนัง ก็เป็นลักษณะของมะเร็งผิวหนังชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งที่เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสีหรือมะเร็งไฝ (melanoma) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นฐานของหนังกำพร้า (basal cell carcinoma) มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า (squamous cell carcinoma)

19. การเปลี่ยนแปลงของเล็บมือเล็บเท้า

เล็บมีสีคล้ำต่างไปจากเดิม หรือมีจุดใต้เล็บ อาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง ขณะที่อาการ "นิ้วปุ้ม" ซึ่งปลายนิ้วมือพองนูนและปลายเล็บงุ้มลงเข้าหานิ้ว อาจเป็นอาการของโรคปอด เล็บขาวซัดผิดปกติ อาจมีสาเหตุมาจากการทำงานของตับที่ลดลง ซึ่งอาจหมายถึงโรคมะเร็งตับได้

20. อาการปวดหลังหรือบั้นเอวด้านขวา

อาจเป็นสัญญานของมะเร็งตับ หรือมะเร็งเต้านม
ขอบคุณที่มา://www.rak-sukapap.com/2016/09/20_40.html
ขอบคุณที่มา...//likedee.com




 

Create Date : 23 กันยายน 2559    
Last Update : 23 กันยายน 2559 8:53:41 น.
Counter : 1043 Pageviews.  

วิธีดับกลิ่นตัวง่ายๆ แต่ได้ผล ลองทำตามนี้เลย



สาวๆบางคนมีกลิ่นตัวที่ค่อนข้างรุนแรง แล้วก็สงสัยว่าเอ๊ะ!…มันเกิดขึ้นได้ยังไงในเมื่อเราก็ใช้ชีวิตเหมือนคนอื่นๆ กลิ่นตัวนั้นเกิดจากเหงื่อนั่นเอง

เหงื่อมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นน้ำใสๆไม่มีกลิ่น ชนิดที่ 2 เป็นของเหลวที่มีสีคล้ายน้ำนม แต่เหงื่อชนิดที่ 2 นี้จะเกิดขึ้นบ้างจุดเท่านั้น เช่น รักแร้ รอบหัวนม ทวารหนัก รอบอวัยวะเพศ ซึ่งล้วนแต่เป็นจุดอับชื้นทั้งนั้น

ดังนั้นกลิ่นจึงเกิดจากเหงื่อชนิดที่ 2 นี้นั่นเอง การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกลิ่นตัวจึงต้องดูแลจุดอับชื้นอันเป็นที่เกิดของเหงื่อชนิดที่ 2 นี้

วิธีง่ายๆก็คือ การอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้สบู่อ่อนขัดถูตามชอกมุมต่างๆ ของร่างกายด้วย และเสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ควรชักให้สะอาด ตากแดดให้แห้งสนิท การโกนขนรักแร้ก็จะช่วยลดกลิ่นตัวได้อีกทางค่ะ

นอกจากนี้ควรลดอาหารบางชนิด เช่น หัวหอม กระเทียม และหนอไม้ฝรั่ง งดดื่มชา กาแฟ และน้ำอัดลม ไม่ควรสูบบุหรี่เพียงเท่านี้กลิ่นตัวก็ไม่มีแล้วค่ะ

ส่งต่อเรื่องนี้ซิ !! เผื่อจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ของคุณ

เครดิต...ความรู้รอบตัว.com

ขอบคุณที่มา: //www.rak-sukapap.com/2016/09/blog-post_773.html




 

Create Date : 23 กันยายน 2559    
Last Update : 23 กันยายน 2559 8:49:43 น.
Counter : 756 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  69  70  71  72  73  74  75  76  77  78  79  80  81  82  83  84  85  86  87  88  89  90  91  92  93  94  95  96  97  98  99  100  101  102  103  104  105  106  107  108  109  110  111  112  113  114  115  116  117  118  119  120  121  122  123  124  125  126  127  128  129  130  131  132  133  134  135  136  137  138  139  140  141  142  143  144  145  146  147  148  149  150  151  152  153  154  
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.