ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
ดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) วิธีบำบัดอาการติดโซเชียลแนวใหม่

แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีประโยชน์กับชีวิตเราพอสมควร แต่เทคโนโลยีบางชนิดก็เป็นโทษกับเราไม่น้อยเช่นกัน ยืนยันด้วยผลการวิจัยจากหลายสถาบันที่บอกไว้ว่า เทคโนโลยีล้ำ ๆ อย่างสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตทั้งหลาย หากติดแบบงอมแงมและเล่นก่อนนอนทุกคืน รังสีจากเทคโนโลยีเหล่านี้จะไปรบกวนเมลาโธนิน ฮอร์โมนที่ช่วยให้เรานอนหลับสบาย จนทำให้เรานอนไม่ค่อยหลับ หรือหลับก็จะกระสับกระส่ายไม่สนิทดีนัก

และทั้งหมดนี้ก็เป็นเหตุผลให้เกิดแนวทางบำบัดอาการติดโซเชียลอย่าง ดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) ขึ้นมา เพื่อบำบัดอาการติดโซเชียลของคนรุ่นใหม่อย่างเรา ๆ ซึ่งหากใครอยากรู้จักดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) ให้มากกว่านี้ เราก็มีข้อมูลจากเว็บไซต์ Huffington Post มาให้ศึกษากันแล้วค่ะ

ดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) คือ การหลีกเลี่ยงการใช้งานสมาร์ทโฟน ไม่สนใจโซเชียลเน็ตเวิร์กทุกชนิด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ ปิดโทรศัพท์มือถือของคุณเป็นเวลา 1 วันนั่นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญก็อธิบายว่า ดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) เป็นกระบวนการพื้นฐานของการเริ่มต้นห่างจากสมาร์ทโฟนอย่างถาวร สร้างยุทธวิธีให้คนชินกับการไม่มีโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่ในชีวิตบ้าง

ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเกือบจะเรียกได้ว่า ยกให้ ดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) เป็นวาระแห่งชาติกันเลยทีเดียว เพราะมีผลสำรวจออกมาว่าประชากรในสหรัฐอเมริกากว่า 44% ติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก และสมาร์ทโฟนกันงอมแงม ถึงกับขนาดหลับไปพร้อม ๆ กับวางสมาร์ทโฟนไว้ข้างกายเลยล่ะ เป็นสาเหตุให้ตื่นเช้ามาด้วยอาการงัวเงีย ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า คุณภาพชีวิต และสภาพจิตใจก็ถดถอยลงเรื่อย ๆ

แต่ครั้นจะให้หักดิบเมินสมาร์ทโฟน และไม่สนใจโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กในทันทีทันใดอาจจะทำใจยากหน่อย ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้เตรียมใจก่อนเริ่มทำดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) ตาม 9 ข้อนี้ค่ะ


1. ทำให้เหมือนแบบทดสอบ

ปกติเราเช็กโทรศัพท์แทบจะทุก ๆ 15 นาที ยิ่งถ้ามีเสียงติ๊งร้องเตือนก็จะหยิบขึ้นมาดูโดยทันที ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่พอห่างจากโทรศัพท์เพียงแค่ชั่วระยะเวลาเดียว ความรู้สึกกระวนกระวายก็เริ่มเข้ามาก่อกวน แต่ในเมื่อตั้งใจจะลดอาการติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นแล้ว เราก็ควรต้องใส่ความมุ่งมั่นให้เต็มเปี่ยม

ง่าย ๆ ก็แค่คิดว่า ตอนนี้เรากำลังเล่นเกม หรือแบบทดสอบอยู่ โดยมีกติกา คือ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ต้องไม่หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดู แต่ถ้าจะเผลอเช็กทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก หรืออินสตาแกรมบ้าง ก็พอหยวน ๆ กันได้ เพียงแต่อย่าทำบ่อย ๆ ก็พอค่ะ


2. แค่เวลาสั้น ๆ อดทนให้ได้

ทุกวันนี้เราอยู่กับสังคมก้มหน้ามาจนชิน และเกือบลืมสนใจคนรอบข้างกันแล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไรเลยว่าไหมคะ กับการที่เราเทความสำคัญให้เพื่อนในเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือโซเชียลเน็ตเวิร์กอื่น ๆ มากกว่าคนในครอบครัว และเพื่อนที่นั่งข้าง ๆ เรา ดังนั้นเมื่อมีโอกาสได้เงยหน้าจากจอโทรศัพท์แล้ว ก็อดทนให้ได้ตลอดรอดฝั่ง และอย่าลืมว่า การทำ ดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) ใช้เวลาแค่ 24 ชั่วโมงเองนะ เวลาสั้น ๆ แค่นี้ โลกโซเชียลเน็ตเวิร์กของเราคงไม่สั่นคลอนหรอกเนอะ


3. จิ้มให้น้อย มิตรภาพแน่นแฟ้นขึ้น

ถ้าคุณใส่ใจที่จะพูดคุยกับคนรอบข้างให้มากขึ้น สบตาเขาให้บ่อยกว่าเดิม แทนที่จะก้มหน้าจิ้มโทรศัพท์เพลินทั้งวัน คุณจะรู้เลยว่า การสื่อสารกันแบบตัวต่อตัวดีกว่าสื่อสารผ่านตัวอักษรตั้งเยอะ แถมยังช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นขึ้นได้ง่ายกว่ามาก ๆ เลยด้วย


4. ใส่ใจประสบการณ์ดีกว่า

หลายคนคิดว่า รูปภาพในอินสตาแกรมช่วยเปิดโลกกว้างให้คุณได้เห็นอะไรหลายต่อหลายอย่าง และโซเชียลเน็ตเวิร์กก็ช่วยเปิดโลกกว้างให้คุณได้มากมาย โดยที่ลืมนึกไปว่า เพียงแค่เราเงยหน้ามองสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา สำรวจสิ่งแวดล้อมทุกตารางนิ้วด้วยสองตาของเราเอง มันให้ประสบการร์ชีวิตที่เจ๋งกว่ารูปที่ดูผ่านหน้าจอเป็นไหน ๆ


5. ฝึกสมาธิกับการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า

ไม่ปฏิเสธว่า โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีความฉับไวสูงมาก เราสามารถรับรู้ข่าวสารผ่านจอสี่เหลี่ยมได้แบบเร็วทันใจ แต่ภายใต้ความคล่องตัวนั้นเราต้องยอมแลกกับความเร่งรีบในชีวิต จนบางทีก็แอบรู้สึกเหนื่อยเหมือนกันใช่ไหมล่ะ

ถ้าอย่างนั้นอาจจะดีแล้วที่เราปิดการรับรู้ข่าวสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก แล้วหันมารับข่าวสารด้วยวิธีเดิม ๆ อย่าง การอ่านหนังสือพิมพ์ หรือดูข่าวจากทีวีแทน เพราะคนที่เคยทำดิจิตอล ดีท็อกซ์ (Digital Detox) มาแล้วก็ได้ให้ข้อมูลว่า การใช้ชีวิตแบบเชื่องช้า ย้อนกลับไปรับข่าวสารด้วยวิธีที่เคยเป็นมา ช่วยให้เขามีสมาธิ และจิตใจนิ่งขึ้นมากเลยทีเดียว

6. เต็มที่กับความสนุกสนานที่แท้จริง

โลกในโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่มีอะไรมากไปกว่าการแชร์ข้อมูล หรือรูปภาพสวย ๆ มาอวดกัน ความสุขของเราก็เลยถูกจำกัดขอบเขตเอาไว้กับรูปในจอสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นั้นด้วย ทั้งที่จริง ๆ แล้วรอบกายของเรามีสิ่งที่เห็น และจับต้องได้จริง ๆ ให้สัมผัส และซึมซับความสุขเอาไว้กับตัวได้มากกว่าเยอะเลย

7. โฟกัสสิ่งที่ต้องการให้ชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเคยกล่าวเอาไว้ว่า อาการติดโซเชียลก็คล้าย ๆ กับอาการอยากอาหาร ที่แม้ว่าเราจะกินอาหารจานหลักจนอิ่มแล้ว แต่ปากก็ยังอยากกินของหวาน หรือผลไม้ล้างปากต่ออีกนิด และถ้าตามใจปากมาก ๆ คงไม่แคล้วกลายเป็นคนอ้วนโดยไม่ได้ตั้งใจ โซเชียลเน็ตเวิร์กก็เช่นกัน ถ้าเราเสพข่าวสารจากแหล่งอื่นมาเรียบร้อยแล้ว หรือพบปะเพื่อนฝูงจนพอใจ ก็ไม่จำเป็นต้องเช็กสังคมออนไลน์ให้เมื่อยมือหรอกเนอะ

8. มีเวลาในชีวิตอีกเพียบ

เคยสังเกตไหมคะว่า ตั้งแต่มีเทคโนโลยีอย่างสมาร์ทโฟนเข้ามา เราห่างหายจากงานอดิเรกอย่างการอ่านนิยาย ปลูกต้นไม้ เข้าครัวลองทำเมนูใหม่ ๆ กับคนรักไปเลย แต่ถ้าคุณลองชัตดาวน์สมาร์ทโฟนสัก 24 ชั่วโมง คุณจะมีเวลาว่างไปทำกิจกรรมที่เคยโปรดปรานเหล่านี้อีกเพียบเลยล่ะ

9. คืนชีวิตที่เปี่ยมสุข

ก่อนหน้าที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขนาดนี้ เชื่อว่าหลายคนใช้ชีวิตในอัตราที่เรียบเรื่อย ชิล ๆ กว่าตอนนี้ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะไม่ต้องคอยกังวลว่าใครจะไลน์มาหา หรือทวีตมาแซว มีธุระอะไรก็นัดเจอ หรือโทรคุยกันแป๊ปเดียวก็รู้เรื่อง ดังนั้นหากคุณลองตัดโซเชียลเน็ตเวิร์กออกจากชีวิต แล้วกลับมาใช้ชีวิตเหมือนตอนก่อนมีสมาร์ทโฟนเข้ามา คุณจะรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจ แถมร่างกายก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าอีกมากเลยล่ะค่ะ

ลองห่างจากเทคโนโลยีสักพัก เพื่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นสักหน่อยก็ไม่เลวนะคะ อย่างน้อย ๆ ก็ถนอมสายตาของคุณไปได้มากแล้ว แถมยังมีเวลาได้ขยับร่างกาย และทำกิจกรรมอื่น ๆ ในชีวิตที่ไม่เคยได้ลองทำอีกสารพัดเลยด้วย


ที่มา:
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


Create Date : 19 มีนาคม 2557
Last Update : 19 มีนาคม 2557 23:53:24 น. 0 comments
Counter : 970 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.