ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
คุยกับหมอพิณ มันแน่นอก ต้องพบแพทย์

คอลัมน์ คุยกับหมอพิณ
โดย พ.ญ.พิณนภางค์ ศรีพหล
email:doctorpin111@gmail.com

มันแน่นอก ต้องยกออก (พบแพทย์) ปล่อยเอาไว้นานไป หัวใจถลอก (อาจเป็นปัญหา)

ทำอย่างไรดี เมื่อมีอาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านม มีได้ตั้งแต่เจ็บนิด ๆ จนถึงเจ็บมาก เจ็บไม่กี่วันก่อนประจำเดือนจะมา หรือเจ็บตลอด ส่วนใหญ่มักจะพบบ่อยในวัยเจริญพันธุ์ 20-40 ปี ในคนวัยหมดประจำเดือนจะไม่ค่อยเจ็บเต้านมกันแล้ว

อาการเจ็บเต้านม ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็ง อาการเจ็บเต้านม อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.อาการเจ็บที่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน มักพบในกลุ่มอายุช่วงจะเป็นอาการปวดแบบแน่น ๆ ตื้อ ๆ เพราะช่วงก่อนมีประจำเดือน เต้านมของคุณผู้หญิงจะมีการขยายใหญ่ขึ้น อาการปวดมักเป็นทั้งสองข้างของเต้านม บางคนปวดจนร้าวไปใต้แขน

2.อาการปวดที่ไม่สัมพันธ์กับรอบประจำเดือน อาจมีอาการเจ็บแบบแสบร้อน มันเป็นตลอด หรือ เป็น ๆ หาย ๆ มักมีอาการเจ็บเพียงข้างเดียว มักจะอยู่ในกลุ่มที่หมดประจำเดือนไปแล้ว

แล้วเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ แม้อาการเจ็บเต้านมจะพบน้อยในโรคมะเร็งเต้านม แต่ถ้ามีอาการเหล่านี้ ก็ควรพบแพทย์นะคะ

- อาการปวดเป็นยาวนานเกิน 2 อาทิตย์
- เจ็บบริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านมโดยเฉพาะ (คือ เจ็บเฉพาะที่ ไม่ได้เจ็บทั่ว ๆ)
- อาการเจ็บรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
- อาการเจ็บส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

สาเหตุของอาการเจ็บเต้านม

- ส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนที่มีในวัยเจริญพันธุ์
- เกิดจากถุงน้ำหรือซีสต์ในเต้านม
- เกิดจากการกระแทก
- ความไม่สมดุลของกรดไขมัน
- ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาภาวะมีบุตรยาก ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาฮอร์โมนทดแทนวัยทอง
- ขนาดเต้านมในคนที่มีเต้านมขนาดใหญ่ อย่าคิดว่าอิจฉานะคะ เพราะทุกข์ของคนหน้าอกใหญ่ คืออาจมีอาการเจ็บเต้านม ปวดหลัง ปวดไหล่ได้

การรักษา ถ้าเจ็บทั่วไป ไม่ได้ร้ายแรง ทานยาแก้ปวด อาจพอช่วยได้ค่ะ ในคนที่ทานยาคุมกำเนิดแล้วเจ็บเต้านม อาจต้องเปลี่ยนยาหรือเปลี่ยนวิธีคุมกำเนิด

วิธีป้องกัน รักษาอาการเจ็บเต้านมเบื้องต้น ได้แก่

- การใส่ชุดชั้นในที่พอดีกับเต้านม ไม่รัดจนเกินไป
- ใช้ sport bra หรือชุดชั้นในสำหรับออกกำลังกาย เวลาที่ออกกำลังกาย
- ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณที่ปวด
- ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ
- รับประทานอาหารไขมันต่ำ
- รับประทานยาแก้ปวด

ไปพบแพทย์เถอะค่ะ อย่าอาย คุณหมอจะตรวจเต้านมให้ ถ้ามีความผิดปกติอื่นเพิ่ม อาจจะทำอัลตราซาวนด์ หรือทำแมมโมแกรมให้ และก็อย่าลืมตรวจเต้านมตัวเองทุกเดือนด้วยนะคะ



ขอบคุณภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต, //www.photos.com/


  • สนับสนุนเนื้อหา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ




Create Date : 13 สิงหาคม 2556
Last Update : 13 สิงหาคม 2556 7:49:21 น. 0 comments
Counter : 1612 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.