### ขนมกระยาสารท ###













ขนมกระยาสารท

 ...............

ขนมโบราณ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย

มีความพิเศษตรงที่เป็น ขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย

“ถึงเดือนสิบเห็นกันเมื่อวันสารท ใส่อังคาสโภชนากระยาหาร
กระยาสารทกล้วยไข่ใส่โตกพาน พวกชาวบ้านทั่วหน้าธารณะ
เจ้างามคมห่มสีชุลีนบ แล้วจับจบทัพพีน้อมศีรษะ
หยิบข้าวของกระยาสารทใส่บาตรพระ ธารณะเสร็จสรรพกลับมาเรือน”

พระยาอนุมานราชธน ได้เล่าเรื่องเทศกาลสารทไว้ว่า

 เป็นการทำบุญกลางปีของไทย ตรงกับวันสิ้นเดือน 10

 หรือ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

สารทเป็นนักขัตฤกษ์ ถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณว่า

 เทศกาลทำบุญสิ้นเดือน 10 คือ วัน เวลา เดือน และปี

ที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษยชาติ

ดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรม เป็นหลักสำคัญ

 เมื่อกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนม

 จึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกว่า กวนข้าวทิพย์

 หรือ ข้าวปายาส ข้าวยาคู

และขนมชนิดหนึ่งเรียกว่า “กระยาสารท”

แล้วประกอบการบำเพ็ญกุศล ถวายพระสงฆ์

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา

 ทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน ผู้มีพระคุณ

และแจกสมนาคุณญาติมิตร

 ตามคติที่ชาวไทยพุทธศาสนิกชน

แม้จะเป็นประเพณี ที่มีส่วนมาจากลัทธิพราหมณ์

ชาวไทยก็นิยมรับพระเป็นประเพณี

 ในส่วนที่มีคุณธรรมอันดี พึงยึดถือปฏิบัติ


ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ

มีความพิเศษตรงที่เป็นขนม

สำหรับงานบุญประเพณีของไทย

 เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี

และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว

แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทย

ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย

แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้ว

เป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง

 หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว

ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูกาล

ผลิ ดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณ

จึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้น

มาถวายแด่สิ่งศักสิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ

 และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี

และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีน

และตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้ว

ประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย

พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย

แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย

เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย

 ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ

และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่ว

แล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ

เรียกว่า ข้าวเม่าแทน

ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารท

มีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน

ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคน

ชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง

ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลี

บนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่า

ข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย

ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์

จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย

มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน

 เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้

จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า

แล้วต้มกับน้ำนมสด ใส่เนยใส

 น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด

เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์

เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์

จุลกาลได้ทูลความปราถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า

 ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร

 และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้น

ออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม

จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์

อยู่อย่างนั้นตลอดไป

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า

สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์

มีเปรตตนหนึ่งปลอมตัวเป็นพระสงฆ์

เข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู

เปรตตนนั้นได้เผยความจริงว่า

 ตนเคยเป็นพระสงฆ์แต่มีความโลภ

จึงต้องชดใช้กรรมเป็นเปรต

แล้วเปรตตนนั้นก็ขอให้พระองค์พระราชทาน

กระยาสารท ซึ่งปรุงแต่งด้วยของ 7 อย่าง ได้แก่

 น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเม่า น้ำนมวัว

 เพื่อประทังความหิวโหย

ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นตรงซึ่งกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทำขนมกระยาสารท

แล้วกรวดน้ำอุทิศให้แก่เปรตตามที่ขอไว้

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10

ซึ่งตรงกับเดือนกันยายน

ชาวบ้านจะกวนกระยาสารทมาทำบุญ

อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว

 จนกลายเป็นประเพณีสารทไทย

หรือเทศกาลกวนขนมกระยาสารท

จนถึงทุกวันนี้นั่นเอง



การทำบุญในเทศกาลสารทนี้ ทั่วทุกภูมิภาคของไทย

 จะทำบุญวันสารทไทยเหมือนกัน

แต่เรียกชื่อต่างกันไป

ในภาคใต้เรียก "ประเพณีชิงเปรต"

 ภาคอิสานเรียก "ทำบุญข้าวสาก"

ภาคเหนือเรียก "ตานก๋วยสลาก"

คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา คือ

ทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญให้ปู่ย่าตายาย

 และญาติมิตรทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว

งานสารทไทยกล้วยไข่ เมืองกำแพงเพชร

เป็นงานประเพณีประจำปี ที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด

ที่มุ่งสืบทอดมรดก ทางวัฒนธรรมไทย

โดยมีการทำอาหาร โบราณแบบเก่าแก่ คือ

การกวนกระยาสารท มธุปายาสหรือข้าวทิพย์

ข้าวยาคู น้ำผึ้ง และน้ำตาล

 มีพิธีกวนข้าวทิพย์และกล้วยไข่

ซึ่งกำลังออกผลในช่วงวันสารท

 แต่ก่อนนี้เมื่อใกล้วันสารท ชาวบ้านกวนขนม

เรียกว่า “กระยาสารท” กันทุกบ้าน

เมื่อกวนเสร็จจัดแบ่งเป็นส่วน ๆ ห่อใบตอง

 เพื่อนำไปตักบาตรถวายพระในวันสารทที่วัด

เมื่อฉันจังหันเสร็จ ก็ฉันกระยาสารท กับกล้วยไข่

เป็นของหวาน






















ขอบคุณเจ้าของข้อมูลและเจ้าของภาพทุกภาพ




Create Date : 21 มีนาคม 2558
Last Update : 21 มีนาคม 2558 11:38:09 น.
Counter : 3110 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด