### ขนมกลอย ### กลอย ...... กลอยเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกับเผือก ต้องรู้วิธีปรุงที่ถูกวิธีด้วย กลอยจัดเป็นพืช จำพวกคาร์โบไฮเดรท คนในชนบทหรือชาวป่าชาวเขา มักขุดหัวกลอย มาต้มกิน หรือหุงรวมกับข้าว ส่วนคนเมืองนิยม นำไปปรุงเป็นของหวานหลากหลายชนิด เช่น กลอยคลุกน้ำตาล กับมะพร้าว กลอยนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยา หรือโรยน้ำตาลปนเกลือและงา เป็นส่วนผสมของ แป้งชุบกล้วยแขก กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย แกงบวดกลอย และที่ขาดกลอย เป็นส่วนผสมเสียมิได้เลยคือถั่วทอด ขนมขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย พิษชนิดนี้มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งมีผลต่อการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัสทางกาย ดังนั้น คนที่รับประทานกลอย ที่มีสารพิษเข้าไป จึงมักมีอาการคันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน และเมื่อประสาทส่วนกลางบีบหัวใจ จะทำให้เกิดอาการมึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด และเป็นลมได้ในที่สุด ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการรุนแรง ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษ และความต้านทานของแต่ละคน ปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น แต่ละแว่นหนาประมาณ 1 1.5 ซม. ให้นำชิ้นกลอยที่หั่นแล้ว ลงไปในภาชนะหนาประมาณ 10 ซม. โรยเกลือให้ทั่ว ทิ้งไว้ 1-2 ซม. แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไป ทำสลับกับเกลือ จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืน วันรุ่งขึ้นให้นำกลอย ที่หมักออกมาล้างน้ำจนสะอาด จากนั้นใส่ชิ้นกลอย ที่ล้างแล้ว ลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้ เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอย ออกให้หมด ต่อไปให้นำชิ้นกลอย จากถุงผ้าเทกลับลงไป ในภาชนะเดิม แล้วใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืน รุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอย มาล้างให้สะอาด และทำซ้ำเช่นเดิม ประมาณ 5- 7 วัน จึงจะปลอดภัยจากสารพิษ และนำมาบริโภค หรือปรุงอาหารได้ หรือจะผึ่งแดดให้แห้ง เก็บตุนไว้ เมื่อจะบริโภค จึงนำชิ้นกลอยมาแช่น้ำ สมัยก่อนชาวบ้านนิยมนำกลอย ไปแช่ในลำธารประมาณ3 4 คืน และในระหว่างแช่ไว้ ต้องหมั่นคนกลอย ที่แช่เอาไว้ จนกว่ากลอย จะรสชาติจืด จึงนำไปนึ่งหรือปรุงอาหาร กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบสีเขียว ส่วนกลอยข้าวเหนียว เถาเป็นสีน้ำตาลอมดำ เมื่อนำหัวกลอยมาปอกเปลือก และหั่นเป็นแว่นบาง ๆ กลอยข้าวเจ้ามีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียว ซึ่งมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว และรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า ดังนั้นคนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่า กลอยทั้งสองมีพิษ พอๆกันใช้เป็นยาฆ่าแมลง คือช่วงหน้าฝนประมาณเดือนสิงหาคม ตุลาคม และจะลดลงเมื่อกลอย เริ่มลงหัวในช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนเมษายน" |
บทความทั้งหมด
|