### ข้าวแช่ชาววัง ###



ข้าวแช่ชาววัง


................








ข้าวแช่ชาววัง

 อาหารคลายร้อน วันสงกรานต์ ......

 ข้าวแช่ มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญ

ที่ถือเป็นอาหารสำคัญ ในประเพณีวันสงกรานต์

 โดยวันที่ 13 เมษายนของทุก ๆ ปี หรือวันมหาสงกรานต์

จะต้องจัดข้าวแช่ครบชุด ไปถวายพระ

 และถวายแด่เทพีสงกรานต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล

 และเมื่อชาวมอญอพยพเข้ามา

 ประเพณีข้าวแช่ในวันสงกรานต์

จึงตามติดมายังประเทศไทยด้วย

ข้าวแช่ หรือข้าวสงกรานต์ ชาวมอญเรียกว่า “เปิงด้าจก์”

 แปลว่า “ข้าวน้ำ” เปิง หมายถึงข้าว และ ด้าจก์ หมายถึงน้ำ

 ข้าวแช่มอญ เข้ามาวังเพราะ

สตรีมอญที่ เป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน

 ปรุงข้าวแช่ขึ้นถวายเป็นอาหารเสวย

จึงกลายมาเป็น “ข้าวแช่ชาววัง”

ข้าวแช่ตำรับชาววังที่มีชื่อมาก เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์

ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้น สมัยรัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดเมนูข้าวแช่เสวยมาก

แต่ในช่วงนั้นข้าวแช่ยังเป็นอาหารชาววัง

ที่ชาวบ้านยังไม่รู้จักกันนัก

ถือเป็นคนแรกๆ ที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด

 และทำให้ข้าวแช่ชาววัง มีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน

“รำพันพิลาป” ของสุนทรภู่ รัตนกวีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

 ได้กล่าวถึง “ข้าวแช่”

“ฤดูร้อนก่อนเก่าทำข้าวแช่

น่าชมแต่เครื่องกับสำรับฉัน

ช่างทำเป็นดอกจอก และดอกจันทน์

งามจนชั้นกระชายทำเหมือนจำปา

มะม่วงดิบหยิบดูจึ่งรู้จัก

ช่างน่ารักทำเป็นเช่นมัจฉา”

ข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือ ข้าวแช่เสวย อาหารชาววัง

 จะเป็นข้าวแช่ที่กับข้าวหลายอย่างด้วยกัน

 มีกะปิทอด ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ

ของกับข้าวแช่ชาววัง จะดูกันว่าข้าวแช่ของใคร

 ที่มีฝีมือ ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง

ถัดมาก็มีพริกหยวกสอดไส้ ปลายี่สนผัดหวาน

 เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้

 ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน

หมูสับกับปลากุเลา กับข้าวเหล่านี้ ถือว่าเป็นเครื่องเคียง

ที่นิยมรับประทาน กับข้าวแช่

การทำข้าวแช่ สูตรชาววัง

ต้องเลือกสรรพันธุ์ข้าวสารที่ดีที่สุด

นำไปซาวล้างถึง 7 ครั้งให้สะอาดบริสุทธิ์

 จากนั้นจึงนำมาแช่ กับน้ำเย็นลอยดอกไม้ให้กลิ่นหอม

ใส่ไว้ในหม้อดิน แล้วค่อยตักมาใช้

 หรือไม่ก็จัดข้าวแช่ ใส่สำรับกระเบื้องเคลือบ

 วิธีนี้จะทำให้น้ำเย็นชื่นใจ

และเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่

 คือผักสดแกะสลัก อย่างสวยงาม

ข้าวแช่ตำรับเมืองเพชรบุรี...... เป็นที่รู้จักกันอย่างมาก

 เนื่องมาจากการแปรพระราชฐาน

ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4

ที่ทรงเสด็จมาประทับ ที่พระราชวังพระนครคีรี (เขาวัง)

 ในครั้งนั้นมีเจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น)

เชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)

 ที่หลบหนีพม่า มาครั้งกรุงธนบุรี

ได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไปถวายราชการ

ข้าวแช่ของเจ้าจอมมารดากลิ่น ได้รับการถ่ายทอด

 ไปยังห้องเครื่อง บ่าวไพร่สนมกำนัลได้เรียนรู้

 และแพร่หลายไปยังสามัญชน ย่านเมืองเพชรบุรีในที่สุด

ข้าวแช่ชาววัง กับข้าวแช่เพชรบุรี มีความแตกต่างกัน

 ในเรื่องของความปราณีต และความสวยงาม

 ข้าวแช่เพชรบุรี มีเอกลักษณ์เฉพาะ

ที่จะมีแค่ 3 อย่าง ไชโป้ว ปลาหวาน และกะปิ

 โดยกะปิของเพชรบุรี จะต่างจากชาววัง

ตรงที่กะปิของเพชรบุรี จะมีความแข็ง กรอบเพราะใส่ถั่วลิสง

 และจะไม่มีผักแบบตำรับชาววัง

ซึ่งผักก็มีส่วนสำคัญ ทานกะปิก็ต้องมีกระชายกินแนม





















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill - New
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 10 เมษายน 2559
Last Update : 10 เมษายน 2559 12:12:50 น.
Counter : 3029 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด