### ข้าวเม่าคลุก ###

1781992_610875929046646_8513474888378475896_n

ข้าวเม่าคลุก


ขนมโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หาทานยากแล้วค่ะ

ส่วนประกอบไม่มีอะไรมาก

มีแค่ข้าวเม่ากับมะพร้าว ข้าวเม่าใช้ข้าวเม่าที่ใหม่

จะทำให้ขนมที่ได้หอมน่าทานมาก


10419987_610876009046638_7734626559565058144_n

เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำอาหารพื้นบ้าน

ข้าวเม่าคลุกนิยมทานกับกล้วยไข่

บางคนก็ชอบ กล้วยหอม

10942639_610876185713287_4618437116496343948_n

สมัยโบราณ การจะได้รับประทานข้าวเม่า

จะต้องรอให้ถึงเดือน 10 จึงได้รับประทาน

เนื่องจากต้นข้าวที่ปักดำไว้ จะออกรวง

ให้ทำข้าวเม่าได้ ในช่วงเดือนนี้

ปัจจุบันมีการพัฒนาปรังปรุงการทำข้าวเม่า

มาเป็นข้าวเม่าคลุกเพื่อจะมีรับประทานตลอดปี

หลังทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง

ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้า นั่นเอง

หรือขึ้นอยู่กับ ข้าวที่แก่พอทำข้าวเม่า นั่นแหละ

ข้าวเม่า คือข้าว ที่ถูกตำ หรือทุบ จนเม็ดข้าวแบน

ซึ่งทำจากข้าวเหนียว ที่ไม่อ่อนเกินไป ไม่แก่เกินไป

ข้าววัยแรกรุ่น ที่เลยระยะน้ำนมแล้ว

ข้างในเปลือกข้าว เริ่มแข็งตัวเป็นเม็ด มีสีขาว

และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ สีเขียว

ซึ่งเยื่อสีเขียวนี่แหละเมื่อข้าวแก่

จะกลายเป็นสีน้ำตาล และกลายเป็นรำ

อันเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด

 ในสมัยก่อนการตำข้าวเม่า ก็จะใช้ครกตำข้าว

ช่วยกันฝัด ช่วยกันตำ

ประเพณีการตำข้าวเม่า เป็นประเพณี

ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

มีทั้งการร้องรำ แข่งขันการตำข้าวเม่า

อย่างสนุกสนานรื่นเริง

เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง

จนลมเหนือล่อง เข้าทำนองออกพรรษา

ก็ประมาณช่วง เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน

ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้านั่นเอง

หรือขึ้นอยู่กับ ข้าวที่แก่พอทำข้าวเม่า

ข้าวเม่าเป็นอาหารหวานอย่างหนึ่งของคนไทย

ที่ประกอบอาชีพทำนา

ชาวนารู้จักทำข้าวเม่า กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

โดยใช้เมล็ดข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว

ที่มีรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ นำมาคั่ว ตำ

แล้วนำไปรับประทานได้เลย ถ้าทำสุกใหม่ๆก็จะนิ่ม

หรือบางคนก็จะนำไปคลุกเคล้า

ด้วยน้ำตาลทราย มะพร้าวและเกลือ

รับประทานแทนขนมหวาน

10929928_610875975713308_8219200860199268190_n

ปัจจุบัน การตำข้าวเม่า

กำลังจะสูญหายไปจากชาวนาไทย

การตำข้าวเม่ามักจะทำ ในเวลากลางคืน

ในระหว่างคั่วข้าวเม่าบนเตาไฟ

จะมีประเพณีการเล่นของหนุ่มสาว

โดยนำเอามะพร้าวทึนทึกขว้างไปที่เตาไฟ

ทำให้ภาชนะที่ใช้คั่วข้าวเม่าแตกกระจายหรือบุบบู้บี้

จะทำให้บรรยากาศสนุกสนาน

คนขว้างที่แอบอยู่ในมุมมืด จะวิ่งหนี

ผู้ที่กำลังทำข้าวเม่าก็จะช่วยกัน

วิ่งไล่จับเอาตัวมาทำโทษ โดยเอาดินหม้อทาหน้า

หลังจากนั้น ก็จะช่วยกันตำข้าวเม่า

โดยใช้ครกไม้ตำข้าวเปลือก และสากไม้

มาช่วยกันตำให้เป็นข้าวเม่า

ในปัจจุบัน การตำข้าวเม่า เปลี่ยนจากตำ

เป็นสีข้าวจากโรงสี สำหรับสีข้าวแทนครกกระเดื่อง

จึงกลายเป็น วิธีทำข้าวเม่าแบบใหม่

ที่เสร็จเร็วกว่า ใช้ครกกระเดื่อง

โดยเมื่อคั่วข้าวเม่าเสร็จแล้ว

ก็นำไปฝากทางโรงสีข้าวให้สีให้ก็ได้ข้าวเม่าแล้ว

ซึ่งทำให้ประเพณีการตำข้าวเม่าลดความสำคัญลง

ดังนั้นจึงควรอนุรักษ์ประเพณีตำข้าวเม่า

ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญ

ของประเพณีที่มีมาช้านาน

ซึ่งประเพณีการตำข้าวเม่าถือเป็นประเพณีหนึ่ง

ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน

เป็นประเพณีที่เชื่อมความสัมพันธ์อันดี

ของคนในครอบครัว ให้มีความอบอุ่น

เกิดความสามัคคีกันในชุมชน

ขอบคุณที่มา  fb.  Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก...ตังเก ศรีราชา




Create Date : 17 มกราคม 2558
Last Update : 17 มกราคม 2558 13:05:22 น.
Counter : 1652 Pageviews.

0 comments
กะหล่ำปลีเขียว - ม่วง ผัดน้ำปลาใส่วุ้นเส้น ฟ้าใสวันใหม่
(30 มิ.ย. 2568 09:11:25 น.)
ร้านอาหารอีสานในวัดหลวงพ่อพระพยอม กลฺยาโณ กับร้านครัวสวนแก้ว นายแว่นขยันเที่ยว
(20 มิ.ย. 2568 21:01:12 น.)
นายฮุย ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา @ ซอยเยาวราช 6 ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร Emmy Journey พากิน พาเที่ยว
(18 มิ.ย. 2568 13:51:42 น.)
🩷 ทุเรียนเชื่อม Ananya Amy_1994
(16 มิ.ย. 2568 08:15:00 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Poungchompoo.BlogGang.com

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]

บทความทั้งหมด