กาารแปลในประวัติศาสตร์ กรณีศึกษาจากจีน
วันเสาร์ที่ 25 เมษายน ตอนบ่ายเราไปฟังสัมนาหัวข้อ “From Macartney mission (1792-93) to the First Opium War (1840-42): Historical approach to translation studies บรรยายโดย Prof.Lawrence Wong Wang-Chi จาก The Chinese University of Hong Kong

ทีแรกหวั่นใจ ว่าฟังๆ ไป จะรู้เรื่องมั้ย แต่พอฟังจนจบผิดคาด เนื้อหาน่าสนใจนะ

อาจารย์วอง เกริ่นให้ฟังเบื้องต้นเกี่ยวกับแปลสมัยก่อนเมื่อพูดถึงการแปลแล้ว มักจะหมายความถึงการแปลที่เน้นต้นฉบับและวิจารณ์การแปลโดยการเปรียบเทียบกับต้นฉบับต่อมาเมื่อมีวิชา Translation Studies เกิดขึ้น หลักที่ใช้มองการแปลก็เปลี่ยนเป็นการแปลที่เน้นผลงานแปลและเน้นกรณีศึกษาด้านการแปลที่ผ่านมา อาจารย์แสดงผัง Translation Studies ให้ดู (//jaltranslation.com/2013/04/08/getting-to-grips-with-translation-theory-a-very-brief-introduction/) ซึ่ง Translation Studies อยู่ในสาขา “applied” ทางด้านขวาของผัง

ในส่วนขององค์ประกอบของงานแปลอาจารย์วองบอกว่ามีปัจจัยหลายอย่าง ตั้งแต่ ต้นฉบับ นักแปล ผู้ว่าจ้าง ผู้อ่านผู้จัดพิมพ์ เท่าที่ฟังก็คล้ายกับ discourse analysis ที่นักแปลต้องวิเคราะห์ก่อนลงมือแปล

อาจารย์วองเน้นเรื่องประวัติศาสตร์การแปลในบริบททางการเมืองของจีน socio-political เป็นตัวกำหนดประเภทของต้นฉบับที่นำมาแปล(สาส์นทางการ ข้อความที่สื่อสารกันระหว่างกองทัพ) การประเมินฉบับแปล (ใครประเมินมีทัศนคติยังไง) ใครเป็นนักแปล(ภูมิหลังของนักแปลส่งผลต่อลักษณะการใช้ภาษาในฉบับแปล) เป็นต้น

ทางด้านเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากความขัดแย้งในระบบ Canton Trade System ซึ่งเป็นระบบของจีนสำหรับการค้าขายกับชาวต่างชาติ ที่มีข้อห้ามหลายอย่างและหนึ่งในนั้นคือ ห้ามชาวต่างชาติสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ราชการจีนโดยตรง จึงทำให้ต้องมีล่ามเป็นตัวกลาง

การที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ขยายเข้าไปในประเทศจีนในช่วงปลายศตวรรษที่19 ทำให้มีการฝึกอบรมนักแปลสองภาษาหรือสองวัฒนธรรม

การแผ่ขยายของศาสนาคริสต์ก็ทำให้มีนักแปลพระคัมภีร์เกิดขึ้น คือ Jesuit Missionaries ในช่วงศตวรรษที่17-18 และมีการแปลพระไตรปิฎกด้วย

ตัวอย่างที่อาจารย์วองเล่าให้ฟังคือการแปลรายการเครื่องบรรณาการ (ราชบัณฑิต ให้ความหมายว่า สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพนับถือหรือด้วยไมตรี แต่หลายๆ คนอาจจะนึกถึงเมืองขึ้นที่ต้อง "ส่วย" ให้ประเทศอื่น มิฉะนั้นจะถูกรุกราน)

ช่วงที่ประเทศอังกฤษกำลังล่าอาณานิคม อังกฤษส่งของขวัญให้ประเทศจีนซึ่งรูปที่แสดงในสไลด์ ก็เป็นเครื่องทองแต่ส่วนใหญ่จะเป็นศาสตราวุธ ตรงนี้อังกฤษเขาคิดไว้แล้วว่าส่ง fire arms มาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ตนมีอำนาจ

ปรากฏว่า นักแปลฝ่ายจีน แปลรายการของขวัญ(อาจารย์น่าจะหมายถึง สาส์นนำส่งบรรณาการ) ในทำนองที่ว่าประเทศอังกฤษยอมตนตกเป็นเบื้องล่างของประเทศจีน รายการของขวัญอันน่าเกรงขาม จึงกลายเป็นของเล่นไปเลย

สำหรับหน้าที่ของนักแปลและล่ามในยุคที่อาจารย์นำมาบรรยาให้ฟังนั้นนักแปลและล่ามมีหน้าที่คือ แปลเอกสารหรือข้อความของราชการ รวบรวมข้อมูลเจรจาสงบศึก ส่วนนักแปลและล่ามที่อาจารย์พูดถึงคือ นักแปลคือ Paulo Cho และ Jacobus Li (1760-1828) คนหลังนี้เป็นชนกลุ่มน้อยของจีน หน้าตาเลยไม่เหมือนชาวจีนทำให้รัฐบาลจีนไม่คิดว่าเป็นคนจีน (เลยทำเนียน เป็นล่ามแปลให้ฝ่ายอังกฤษได้) ที่สำคัญ Jacobus เป็นนักบวชในอิตาลี อังกฤษต้องจ้างล่ามจากที่อื่นเพราะทั่วทั้งประเทศอังกฤษไม่มีใครสื่อสารภาษาจีนได้เลย (อ่านประวัติเพิ่มเติมได้ที่ //sandbox.chinacentre.ox.ac.uk/?page_id=338) ล่าม 2 คนนี้เป็นคนที่กองทัพอังกฤษจัดหามา แต่เวลาแปลก็แปลให้ฝ่ายจีนด้วย สิ่งที่น่าสงสัยคือเรื่องความเป็นกลาง

อาจารย์วอง อธิบายว่าในการแปลเอกสารเพื่อการสื่อสารทางการทหารระหว่างกองทัพอังกฤษและกองทัพจีนฝ่ายอังกฤษนั้นมีนักแปลที่มีอำนาจในการให้คำแนะนำและข่าวกรองทางทหารที่มีค่ามากแต่ทางฝ่ายจีนนั้น นักภาษาศาสตร์ยังไงก็ทำงานไม่บรรลุผลตามที่ต้องการ (สื่อสารให้ตรงต้นฉบับได้ใจความถูกต้องครบถ้วน)เพราะผู้จ้างซึ่งก็คือรัฐบาลจีนมีทัศนคติในทางลบต่อนักแปลอยู่แล้วเนื่องจากนักแปลมีการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ(ขณะนั้นเป็นข้อห้ามที่รัฐบาลกำหนด)

กรณีศึกษาอีกอย่างหนึ่งที่อาจารย์วองยกตัวอย่างคือการแปลสาสน์ (letter of credence) จาก King George ถึงจักพรรดิจีนเนื้อหาที่รัฐบาลอังกฤษสื่อมาแสดงถึงอำนาจของประเทศอังกฤษซึ่งขณะนั้นกำลังล่าอาณานิคมแต่เวลานักแปลจีนแปลสาส์น กลับถ่ายทอดให้ประเทศอังกฤษมีภาพลักษณ์เป็นรัฐในอาณัติเป็นประเทศเล็กๆ ที่มาขอความช่วยเหลือจากประเทศจีน (ซะงั้น) ระหว่างที่อาจารย์ทำวิจัยเรื่องนี้ก็พบว่าสาส์นฉบับนี้มีการแปลไว้ 2 เวอร์ชั่น แล้วก็มีผู้ฟังถามว่า สรุปว่าอาจารย์รู้หรือไม่ว่าตกลงจักพรรดิจีนอ่านเวอร์ชั่นไหน อาจารย์วองตอบว่า รู้ว่าอ่านฉบับไหนเพราะอ่านจดหมายที่ส่งตอบสาส์นฉบับนั้น

ที่อาจารย์บรรยายมานี้ ประเด็นอยู่ที่ความสำคัญของวิชา Translation Studies และอาจารย์แนะนำให้นักเรียนแปลที่สนใจ ลองทำวิจัยเรื่อง Translation Studies ในบริบทของประเทศไทยว่าการแปลและล่ามมีบทบาทอย่างไรในประวัติศาสตร์ไทย 




Create Date : 27 เมษายน 2558
Last Update : 28 เมษายน 2558 11:13:44 น.
Counter : 2406 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
เมษายน 2558

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
All Blog