สารพัดวิธีทวงค่าแปล

สารพัดวิธีทวงค่าแปล

เมื่อวานจัดเอกสารพลันเห็นเช็คฉบับเก่า เป็นค่าแปลหนังสือแนวแฟนตาซีตั้งแต่ปี 2547 มูลค่า 25,000บาทที่สำนักพิมพ์ ก จ่ายมา แล้วปรากฏว่าเช็คเด้ง คนสลักหลังเป็นนักการเมืองใหญ่ของภาคใต้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่านักการเมืองท่านนี้มาเกี่ยวอะไรด้วย ตอนนั้นยังไม่เจนโลก ไม่รู้ต้องทำยังไง โทรทวงกับฝ่ายบัญชีก็แล้ว ให้พี่ บ.ก.ช่วยทวงก็แล้ว ทำจดหมายทวงหลายฉบับก็แล้ว ไม่คืบหน้า ไม่ได้ปรึกษาใครเป็นเรื่องเป็นราวเพราะยุ่งๆเรื่องปัญหาที่บ้าน จนตอนหลังมาอ่านเจอกระทู้ในเว็บหนึ่งว่าให้แจ้งความเพราะเป็นคดีอาญา และฟ้องทางแพ่งด้วย พอกลับไปดูวันที่แล้ว หมดอายุความ ทำอะไรไม่ได้เวร

โดนเบี้ยวค่าแปลครั้งที่สองบริษัทแปลจากนิวซีแลนด์ส่งไฟล์มาให้แปล สั้นๆ แต่ก็หลักพันบาทตอนแปลไม่ได้ตกลงว่าต้องจ่ายภายในกี่วันไม่ได้บอกด้วยว่าใครรับภาระค่าธรรมเนียมธนาคาร (ตอนนั้นยังไม่มี Paypal) ส่งงานเสร็จก็ทวงตังค์เลยทวงอยู่ 3-4 สัปดาห์ จนตัวเองลืม นึกได้แล้วก็เจ็บใจทำงานกับบริษัทแปลต่างชาติอย่าไว้ใจ ให้คิดว่าก่อนว่าโดนเบี้ยวแน่ๆจะได้ขอหลักฐานบริษัท เช่น เลขทะเบียนธุรกิจ (ABN) ที่อยู่เว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ ต่อให้บริษัทแปลรายนี้ส่งเงินมาค่าธรรมเนียมธนาคารก็หลายร้อย ได้เงินมาก็ไม่คุ้มแน่ๆ เลยจำใส่ใจไว้ว่าต้องตกลงเรื่องพวกนี้ให้เรียบร้อยก่อน แล้วถ้างานมูลค่าน้อยมากๆที่ได้จากลูกค้าใหม่ พยายามจะไม่รับ

โดนไป 2 รอบ นึกว่าจะจำเอ้า โดนอีกรอบ คราวนี้เป็นฝรั่งเยอรมันจ้างแปลเนื้อเพลงภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ อ่านแล้วรู้เลยว่าสงสัยจะทะเลาะกับแฟน เพลงลูกทุ่งที่แปลมันบอก แปลเสร็จส่งงาน แทนที่มันจะโอนเงินมาให้ทาง Paypalมันหายไปเลย เฮ้ยเนื้อเพลงไม่ถูกใจแล้วมันเกี่ยวกับอะไรกับคนแปลด้วยฟะ งานนี้ทุเรศกว่าครั้งก่อนๆ อีก รู้แต่ชื่อนามสกุล และอีเมล ที่อยู่ก็ไม่มี เบอร์โทรก็ไม่มี ไม่รู้จะตามยังไง ว่าแล้วก็ปล่อยไป ไม่อยากเสียเวลาทำมาหากินมานั่งตามเงินที่ทำท่าจะไม่ได้

สรุปใครไม่เคยโดนโกงค่าแปลนี่ไม่อินเทรนด์นะจ๊ะ

แต่ถ้าทำงานไปแล้วเจอปัญหาลูกค้าไม่จ่ายเงินจริงๆ จะทำยังไง

รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของนักแปลอิสระจัดทำโดย Common Sense Advisory Inc. เมื่อเดือนธันวาคม 2555มีข้อมูลเรื่องการจัดการกรณีโดนเบี้ยวค่าแปลที่น่าสนใจไว้หลายข้อเช่น

- ถ้าโดนเบี้ยวค่าแปลหรือลูกค้าจ่ายช้า ให้เข้าไปใส่คะแนนใน Blue Board ใน proz.com มีนักแปลคอมเมนต์ไว้ 2รอบ บริษัทเจ้าปัญหารีบจ่ายเงินแบบเงียบๆ เลย เออ ดี อันนี้เราเคยทำ เข้าไปเขียนว่าจ่ายเงินช้า ให้คะแนนไม่เต็ม 5 นักแปลรายอื่นจะได้รู้ว่าอาจจะเกิดอะไรกับเงินที่จะได้บ้าง(แต่ สังเกตดู บริษัทอินเดีย มีคนให้คะแนนสูงมากโดยนักแปลให้คะแนนหลายคน เราไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นนักแปลจริงๆที่เข้าไปให้คะแนน หรือเป็นพรรคพวกกันเขาไปเขียนช่วยให้โพรไฟล์ดูดี ก็สำหรับคนไทยแล้ว รู้ๆกันอยู่ว่าลำบากใจกับการทำธุรกิจกับคนอินเดียแค่ไหน ใครก็ไม่อยากเสี่ยง)

- นักแปลขู่ลูกค้าว่าจะแบล็กลิสต์ถ้านักแปลโพรไฟล์ดีจริง บริษัทแปลก็ไม่อยากเสียผู้ร่วมงานที่ดี ก็จะต้องจ่ายเงิน(แต่ก็เสียความรู้สึกกันไปแล้วน่ะนะ)

- นักแปลบางรายบอกว่าจะโพสต์ลงFacebook ของบริษัทนักแปลและลูกค้าจะได้เห็นกันให้หมดว่าพฤติกรรมของบริษัทเป็นอย่างนี้ (เขาเรียกประจาน) นี่ก็ได้ผล บอกปั๊บ เงินลอยมาเลย

- บางกรณีนักแปลก็ต้องทำหน้าที่นักสืบไปสืบว่าทำไมบริษัทแปลหาว่าเราแปลไม่ดีแล้วไม่ยอมจ่ายตังค์ มีคนสืบแล้วปรากฏว่านักแปลคนอื่นก็โดนอ้างเหตุผลเดียวกันนี่แหละพอรู้อย่างนี้แล้วก็รู้วิธีว่าจะทวงเงินยังไงดี

- สำหรับนักแปลที่แปลภาษาที่หายากในตลาดมีนักแปลภาษานี้นับหัวได้ บอกไปเลยว่า ถ้าไม่จ่าย จะไม่ทำงานให้อีก แล้วนักแปลภาษานี้ในวงการจะไม่มีใครรับงานจากคุณอีกเลย นี่ก็ใช้วิธีจำกัดทรัพยากรเพื่อบังคับให้บริษัทจ่ายเงิน (เสียดายภาษาไทยไม่ใช่ภาษาที่หานักแปลยาก)

- วิธีเด็ดๆอีกวิธีหนึ่งคือ บอกลูกค้าที่เป็น end-user เลยว่าบริษัทแปลรายนี้โกงค่าแปลขาดจรรยาบรรณในการทำธุรกิจ ทำอย่างนี้กับซัพพลายเออร์แล้วกับลูกค้าจะทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์ได้ยังไง วิธีนี้เราเห็นด้วย เราเคยคิดจะทำนะถ้าโดนเบี้ยว ยิ่งงานแปลของเรา end-userเป็นหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลีย ถ้าเป็นเรื่องเป็นราว น่าจะได้เงินค่าแปลไม่ยาก

- นักแปลบางรายความอดทนสูง ขยันส่งอีเมลทวง ทวงไปเรื่อยๆ นานๆเข้าบริษัทแปลรำคาญก็จ่ายมาเอง ถ้าส่งแล้วไม่ค่อยเกิดผลก็อาจสำเนาอีเมลให้ผู้จัดการของลูกค้า สำเนาไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็สำเนา CEO ซะเลย จะได้รู้ว่าลูกน้องโกงกันอย่างนี้ คนเป็นนาย อายบ้างมั้ย

- กรณีที่ระยะเวลาเครดิต30 วัน ถูกยืดเป็น 60 วันนักแปลบางรายอาจจะคิดค่าแปลที่แพงขึ้นกว่าปกติเพราะต้องรอชำระเงินนานเป็นสองเท่า (จะจำไว้ใช้มั่ง)

-ส่วนลูกค้าที่จ่ายเงินแต่จ่ายช้ากว่าระยะเวลาเครดิตที่ตกลงกันไว้ ต่อไปให้คิดดอกเบี้ยมันซะเลย(สงสัยว่าปกติก็จ่ายช้า คิดดอกเบี้ยไป มันจะจ่ายหรือ ถ้ามันไม่จ่ายนักแปลจะทำอะไรได้ แจ้งความข้ามประเทศหรือแจ้งหน่วยงานควบคุมธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะคุ้มกับค่าโทรศัพท์ ค่าเสียเวลาหรือเปล่า)

- บางคนเก็บงานแปลไว้เป็น“ตัวประกัน” วิธีนี้ได้ผลต่อเมื่อยังไม่ได้ส่งงานแปล ปกติถ้าทำงานกับบริษัท ก็ต้องส่งงานแปลก่อนแล้วออกใบแจ้งหนี้แล้วรอค่าแปลทั้งนั้น ฉะนั้นวิธีตัวประกันอาจจะใช้ไม่ได้

- หลายๆ ทีเข้านักแปลก็บ้าเลือด ไปทวงที่ออฟฟิสซะเลย ถ้านักแปลไม่ได้อยู่ประเทศนั้น ก็ส่งเพื่อนเข้าไปทวงแทน บริษัทคิดว่าถ้ามันกล้าขนาดนี้อีกหน่อยมันอาจไปฟ้องศาลได้ รีบๆ จ่ายมันดีกว่า

แล้วจะป้องกันไม่ให้ลูกค้าเบี้ยวค่าแปลได้ยังไง

- กรณีบริษัทใหม่ให้ขอชื่อและรายละเอียดการติดต่อนักแปล 2-3 รายเพื่อให้เราเช็คว่าบริษัทนี้ทำงานด้วยแล้วเป็นยังไง ดีนะ บริษัทตรวจสอบนักแปลได้ นักแปลก็ต้องตรวจสอบบริษัทได้

- อาจจะเก็บเงินมัดจำค่าแปลก่อนครึ่งหนึ่งไม่ว่าจะงานเล็กงานใหญ่ พอเป็นลูกค้าขาประจำแล้ว ก็ไม่ต้องมีเงินมัดจำ

- ถ้าเป็นงานโครงการใหญ่ๆให้แบ่งเป็นส่วนๆ ทำงานส่งเป็นชุดๆ แล้วทยอยเก็บเงิน เป็นการกระจายความเสี่ยงได้บ้าง

ปีใหม่นี้ ขอให้เพื่อนๆนักแปลมีงานหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย รายได้ดี มีเงินเป็นกอบเป็นกำ ที่สำคัญขอให้ได้รับค่าแปลครบทุกบาททุกสตางค์ตรงเวลานะคะ

สนใจพูดคุยเรื่องการแปล อีเมลมาที่ natchaon@yahoo.com

ณัชชาอร ชูเชิดศักดิ์ NAATI No. 67061 ออสเตรเลีย




Create Date : 08 มกราคม 2556
Last Update : 29 กรกฎาคม 2556 22:15:48 น.
Counter : 5612 Pageviews.

2 comments
  
หลงเข้ามาอ่าน เนื้อหาถูกใจม๊ากกกกค่ะ
ไม่เคยรับงานแปลจริงๆ จังๆ แต่กำลังเล็งๆ ไว้เหมือนกัน ไว้มีอะไรจะขอรบกวนความคิดเห็นบ้างนะคะ

โดย: YuZuPoN วันที่: 23 มกราคม 2556 เวลา:9:33:35 น.
  
หลงมาเลยเหรอ ยังดีที่อ่านแล้วชอบ ไว้ตามอ่านบล็อกได้เรื่อยๆ นะคะ จะเขียนอยู่ประจำ เป็นคนบ้างานน่ะ พอไม่มีงานแปล ก็ต้องหาอย่างอื่นทำ ไม่ให้เบื่อ

มีอะไรอีเมลมานะคะ
โดย: แน้ท (ณัฎฐินี ) วันที่: 26 มกราคม 2556 เวลา:22:49:26 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]



Sawaddee ka. My name is Nat. I am a certified translator. I have been in the translation industry since 2004.

I graduated a master degree in English-Thai translation from Chulalongkorn University, Thailand.

I have the following accreditation:
- NAATI Accreditation for EN < > TH translation (Australia)
- Court Expert Registration for EN < > TH translation (Thailand)
- Member (MCIL), Chartered Institute of Linguists (U.K.)

See details about my services here https://www.nctranslation.net
https://www.expertthai.net

For a quick quote, email your document to natchaon@yahoo.com.

รับแปลเอกสารวีซ่าออสเตรเลียพร้อมประทับตรา NAATI ปรึกษาฟรีที่ natchaon@yahoo.com หรือ Line: Natchaon.NAATI

See below my locations:
- Bangkok: 1 Dec 2018 - 12 Jan 2019

NAATI ออสเตรเลีย, NAATI เมลเบิร์น, NAATI ประเทศไทย, NAATI กรุงเทพ, แปลเอกสารพร้อมประทับตรา NAATI, แปลเอกสารโดยนักแปล NAATI, NAATI Australia, NAATI Melbourne, NAATI Thailand, NAATI Bangkok, NAATI translation, NAATI accredited translation, Australia Visa, Partner Visa, Fiance Visa, Prospective Visa, Skilled Migrant, Student Visa, Work Visa, Work and Travel Visa, Online Visa, วีซ่าออสเตรเลีย, วีซ่าแต่งงาน, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าทำงาน, วีซ่านักเรียน, วีซ่าทำงานและท่องเที่ยว, วีซ่าออนไลน์
Thai – English translation, English – Thai Translation, แปลอังกฤษเป็นไทย, แปลไทยเป็นอังกฤษ

*บทความทั้งหมดในบล็อกนี้ สงวนลิขสิทธิ์ทุกประการ*
มกราคม 2556

 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
27
29
30
31
 
 
All Blog