5 โรคที่มากับภัยน้ำท่วม และ วิธีป้องกัน



ฝนตก



 1. โรคติดต่อทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง บิด ทัยฟอยด์ อาหารเป็นพิษและตับอับเสบจากไวรัสเอ
การป้องกัน น้ำท่วมเป็นน้ำที่อาจมีเชื้อโรคปนอยู่ จึงควรระวังอย่าให้เข้าปากและไม่ควรนำมาล้าง ภาชนะ ถ้วยชาม หรือผักผลไม้ ควรดื่มน้ำต้ม น้ำฝน หรือน้ำที่ใส่คลอรีนแล้ว รับประทานอาหารสุก ใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม ถ่ายอุจจาระในส้วมหรือในหลุมแล้วกลบ ไม่ถ่ายลงในน้ำ ขยะหรือของ เสียที่เปียกแฉะควรใส่ถุงพลาสติกผูกให้แน่น แล้วทิ้งในถังรองรับ ล้างมือให้สะอาดหลังการถ่ายอุจจาระและก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง หากมีอาการอุจจาระร่วงควรดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ (โออาร์เอส ) จนอาการเป็นปกติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น มีไข้ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ควรปรึกษาแพทย์
2. โรคผิวหนัง ที่สำคัญคือโรคน้ำกัดเท้าหรือเท้าเปื่อย ในระยะแรกผิวหนังอักเสบจากความเปียกชื้นและการ ระคายเคืองจากความสกปรก ต่อมาเมื่อผิวลอกเปื่อยนานๆ มักจะมีสาเหตุมาจากเชื้อรา เชื้อ นี้เจริญงอกงามได้ดีบริเวณซอกผิวหนังที่อับชื้น อาการจะเริ่มด้วยตุ่มใสบริเวณง่ามเท้า มีอาการคันมากจนแตกเป็นแผล ซึ่งจะทำให้มีอาการอักเสบจากการติดเชื้อแทรกซ้อน
การป้องกัน  หลังจากย่ำน้ำแล้วควรล้างเท้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งโดยเฉพาะตามง่ามเท้า อาจโรยด้วยแป้งฝุ่น ถ้าเป็นไปได้ควรสวมรองเท้ายางหุ้มข้อเมื่อจะย่ำน้ำ หากมีอาการเท้าเปื่อยควรทาด้วยขี้ผึ้งรักษาน้ำกัดเท้า หากอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์
3. ภัยจากสัตว์มีพิษกัดต่อย งู และสัตว์มีพิษต่างๆ เช่นแมลงป่อง ตะขาบ อาจหนีน้ำขึ้นมาบนบ้านโดยเฉพาะบริเวณที่มืด
การป้องกัน  หากย้ายสิ่งของหรือเดินในที่มืดหรือเวลากลางคืนต้องมีแสงสว่างพอและระวังเป็นพิเศษ ถ้าถูกสัตว์เหล่านี้กัดหรือต่อยควรรัดเหนือบริเวณแผลด้วยผ้าหรือสายยางให้แน่นแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที คลายผ้าหรือสายยางที่รัดออกเป็นระยะๆ ทุก 10 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนบ้าง
4. โรคติดต่อทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยเข้าไป หรือใช้สิ่งของภาชนะร่วมกับผู้ป่วย ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย ตรากตรำ และอยู่รวมกันอย่างแออัด จะมีโอกาสติดเชื้อและป่วยเป็นโรคนี้ได้ง่าย ผู้ป่วยมักจะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อาจมีอาการไอร่วมด้วย
การป้องกัน ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงและอบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าและรองเท้าที่เปียกชื้นนานเกินไป
5. โรคตาแดง เกิดจากน้ำที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่เข้าตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ มีอาการตาแดง ปวดแสบตา น้ำตาไหลมาก
การป้องกัน เมื่อน้ำสกปรกเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาด เนื่องจากเชื้อโรคจะอยู่ในน้ำตา ขี้ตา และน้ำมูกของผู้ป่วย จะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ที่อาจปนเปื้อนเชื้อร่วมกับผู้ป่วย เช่นผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอน ผู้ป่วยควรรีบปรึกษา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  โรงพยาบาลพระพุทธชินราช


 ที่มา://women.mthai.com/health/87692.html








Free TextEditor



Create Date : 15 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2554 12:14:06 น.
Counter : 1335 Pageviews.

2 comments
  
Kobkhunka
โดย: deco_mom วันที่: 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา:12:24:07 น.
  
ดีจังค่ะสำหรับข้อมูลในวันนี้
เพราะตอนนี้กำลังติดเกาะอยู่ค่ะ
น้ำล้อมบ้านอยู่ตั้งแต่วันที่ 31
ฮิๆๆ เหมือนเข้าค่ายเลยค่ะ...
โดย: กระป๋องแป้งฝุ่น วันที่: 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา:16:03:14 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bobobull
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Fight.. Fight !!
พฤศจิกายน 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
 
 
All Blog