รัสเซียพบสาเหตุส่งจรวดไปสถานีอวกาศล้มเหลว
รัสเซียพบสาเหตุส่งยานลำเลียงไปสถานีอวกาศล้มเหลวครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ เหตุเกิดจากความผิดพลาดที่เครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าแบบใช้ก๊าซที่จรวดท่อนบน ซึ่งข้อสรุปจากอุบัติเหตุครั้งนี้จะช่วยในการแก้ปัญหาการส่งจรวดโซยุซต่อไปในอนาคต 


       หลังจากยานขนลำเลียงสัมภาระโปรเกรส (Progress) ของรัสเซียประสบอุบัติเหตุตกในไซบีเรียเมื่อวันที่ 24 ส.ค.54 เนื่องจากการทำงานของจรวดโซยุซ (Soyuz) ที่ผิดพลาด ล่าสุดสเปซด็อทคอมรายงานว่าทางการของรัสเซียได้พบสาเหตุของอุบัติเหตุที่ไม่พบในบ่อยนักในการส่งจรวดชุดนี้ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา


       จากคำแถลงของ อเลกเซย์ คุซเนตซอฟ (Alexei Kuznetsov) โฆษกองค์การอวกาศสหพนธรัฐรัสเซีย (Russian Federal Space Agency) หรือรอสคอสมอส (Roscosmos) ที่เผยต่อสื่อท้องถิ่นรัสเซียระบุว่า วิศวกรขององค์การได้พบสาเหตุที่ทำให้จรวดทำงานผิดพลาดในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบใช้ก๊าซในจรวดท่อนที่ 3 ของจรวดโซยุซ


       ข้อสรุปของสาเหตุอุบัติเหตุนี้จะช่วยให้ทางการรัสเซียเดินหน้าแก้ปัญหาเพื่อการส่งจรวดโซยุซต่อไปในอนาคตอีกหลายเที่ยวบิน ซึ่งรวมถึงการใช้งานเพื่อขนส่งนักบินอวกาศของชาติอื่นและของรัสเซียเองไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station)


       ทางด้านองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ซึ่งต้องพึ่งพารัสเซียในการขนส่งเสบียงและนักบินอวกาศสู่สถานีอวกาศหลังจากยุติโครงการกระสวยอวกาศลงประกาศว่า จะไม่มีการส่งมนุษย์ไปกับจรวดโซยุซจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสสูงที่จะต้องทิ้งร้างสถานีอวกาศโดยไม่มีลูกเรือประจำอยู่ชั่วคราว


       “เรามีทางเลือกมากมาย โดยเราจะให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของลูกเรือเหมือนที่เราทำมาตลอด” ไมค์ ซัฟเฟรดินี (Mike Suffredini) ผู้จัดการโครงการสถานีอวกาศของนาซากล่าวหลังจากจรวดส่งยานขนส่งเสบียงของรัสเซียประสบอุบัติเหตุไม่นาน


       บนสถานีอวกาศมีลูกเรือประจำอยู่มาตั้งแต่ปี 2000 และมีเป้าหมายที่ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนถึงปี 2020 แต่เอพีระบุว่าการทิ้งร้างสถานีอวกาศชั่วคราวอาจทางเลือกสุดท้ายที่ไม่น่าพึงพอใจแก่ 5 องค์การอวกาศของโลกที่ร่วมกันลงขันสร้างสถานีอวกาศนี้ขึ้นมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ


       ซัฟเฟรดินีกล่าวอีกว่า ผู้ควบคุมเที่ยวบินสามารถสั่งการสถานีอวกาศที่ทิ้งร้างได้อย่างต่อเนื่อง ตราบเท่าที่ระบบหลักทั้งหมดยังทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็จะมีความเสี่ยงต่อสถานีอวกาศหากไม่มีลูกเรือประจำอยู่เพื่อซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหาย


       ขณะนี้มีนักบินอวกาศ 3 ชาติประจำอยู่บนสถานีอวกาศ 6 คน โดย 3 คนมีกำหนดกลับโลกในเดือนก.ย.นี้ ส่วนอีก 3 คนที่เหลือจะสิ้นสุดการประจำอยู่ยนสถานีอวกาศกลางเดือน พ.ย.นี้ พวกเขาทั้งหมดไม่สามารถประจำอยู่บนสถานีอวกาศได้นานเพราะข้อจำกัดในกิจการส่งยานอวกาศและนำกลับโลก


       เพื่อให้สถานีอวกาศเดินหน้าต่อไปโดยมีลูกเรือประจำเต้มอัตรา นักบินอวกาศสหรัฐ 1 รายและนักบินอวกาศรัสเซียอีก 2 ราย ซึ่งมีกำหนดกลับโลกในวันที่ 8 ก.ย.นี้จะต้องประจำอยู่ในวงโคจรต่อไปอีกหลายสัปดาห์ ส่วนกำหนดส่งลูกเรือชุดใหม่ในวันที่ 22 ก.ย.นี้ซึ่งจะเป็นเที่ยวบินแรกหลังยุคกระสวยอวกาศของนาซาได้เลื่อนออกไปก่อน


       ส่วนเสบียงบนสถานีอวกาศนั้นซัฟเฟรดินีกล่าวว่ามีตุนไปจนถึงเดือน ก.ค.ปีหน้า โดยยานแอตแลนติส (Atlantis) ซึ่งเป็นกระสวยอวกาศลำสุดท้ายของนาซาที่ปฏิบัติภารกิจเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาได้ทิ้งเสบียงและสัมภาระเพียงพอที่จะใช้ต่อไปนาน 1 ปี



       ทั้งนี้ ในการสืบหาสาเหตุของอุบัติเหตุทางการรัสเซียพยายามกู้ซากชิ้นส่วนยานซึ่งตกในบริเวณเทือกเขาอัลไตแถบไซบีเรีย แต่มีเฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงเหตุฉุกเฉินรัสเซียเพียงลำเดียวที่รับหน้าที่ดังกล่าว แต่คาดว่าทางการรัสเซียจะเพิ่มจำนวนเฮลิคอปเตอร์เพื่อปฏิบัติภารกิจดังกล่าวในเร็ววันนี้



จรวดโซยุซของรัสเซียทำงานผิดพลาด ทำให้ยานขนส่งเสบียงโปรเกรสไปไม่ถึงสถานีอวกาศ (สเปซด็อทคอม/RSC Energia)




ที่มา://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000109918







Free TextEditor



Create Date : 04 กันยายน 2554
Last Update : 4 กันยายน 2554 13:05:43 น.
Counter : 1210 Pageviews.

4 comments
  
นอนหลับฝันดีนะค่ะ..^^


โดย: Lika ka วันที่: 4 กันยายน 2554 เวลา:20:41:35 น.
  
แวะมาทักทายค่ะ
โดย: p.n_jin วันที่: 4 กันยายน 2554 เวลา:23:06:52 น.
  
อรุณสวัสดิ์ วันทำงานวันแรกของสัปดาห์ค่ะ..^^

โดย: Lika ka วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:7:41:29 น.
  
โดย: กระป๋องแป้งฝุ่น วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:21:03:03 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bobobull
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Fight.. Fight !!
กันยายน 2554

 
 
 
 
7
9
12
13
15
17
18
19
20
23
24
25
26
27
30
 
 
All Blog