อาหารต้องห้ามในงานแต่งงาน
พิธีแต่งงานแบบไทย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          งานแต่งงาน คืองานมงคลสำหรับคู่บ่าวสาวที่จะเริ่มต้นชีวิตคู่อย่างมั่นคงและมีความสุข ดังนั้น ในงานแต่งงานแบบไทย จึงมักมีแต่สิ่งของที่เป็นมงคลปรากฏอยู่ โดยเฉพาะกับอาหารและขนมต่าง ๆ ก็ต้องมีชื่อและความหมายที่เป็นมงคลด้วย ซึ่งการเลี้ยงอาหารในงานวิวาห์นั้น แต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกัน ทั้งเรื่องการจัดวาง การเลือกเมนูอาหาร ทั้งนี้ มักจะสอดคล้องกับวัฒนธรรมและคตินิยมประจำท้องถิ่นนั้น ๆ

          อย่างไรก็ตาม ในเมื่อมีอาหารที่สื่อถึงความหมายที่เป็นมงคลในงานแต่งงาน เช่น ห่อหมก (จะได้ไม่มีเรื่องขัดข้องหมองใจกัน), ขนมจีบ (รักกันหวานชื่นเหมือนตอนจีบกันใหม่ ๆ), ลาบ (มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง) และขนมจีนน้ำยา (ครองรักกันยาวนาน) ฯลฯ ก็ย่อมต้องมี "อาหารต้องห้าม" หรืออาหารที่ไม่ควรจะมีในงานแต่งเลยก็ว่าได้ โดยมักเป็นอาหารที่มีกลิ่น มีชื่อไม่เป็นมงคล หรือสื่อถึงความหมายที่ไม่ดีเช่นกัน

          อาจเพราะใน "ความเชื่อของคนไทยสมัยโบราณ" หากชื่อไม่เป็นมงคล ตลอดจนวิธีการทำที่ผิดพลาด จนทำให้รูปลักษณ์ภายนอกที่เห็น ถูกตีความได้ถึงความไม่เป็นมงคล อาหารประเภทนั้นก็จะถูกกล่าวหาไปโดยปริยายว่าเป็นอาหารที่ไม่เป็นมงคล

อาหารไทย

สำหรับงานแต่งงานอาหารที่ไม่เป็นมงคล ได้แก่...

          ต้มยำต่าง ๆ เพราะถือว่าเป็นของเผ็ดร้อน เชื่อว่าจะทำให้ชีวิตคู่ของบ่าวสาวเกิดการทะเลาะกันจนเผ็ดร้อนเหมือนกับรสชาติของต้มยำนั่นเอง

          ยำผัก เพราะมีชื่อไม่เป็นมงคล อีกทั้งยังไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น

          แกงบอน เพราะเปรียบได้กับปากบอน ปากเสีย ปากไม่ดี ซึ่งอาจกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ทะเลาะกันจนเลิกรา

          ปลาร้า หรือ ปลาเจ่า เพราะเป็นของหมักดอง มีกลิ่นที่เหม็นโอ่ เชื่อว่าจะทำให้ความรักของทั้งคู่โดนดอง จนเกิดการเหม็นเบื่อหน้าซึ่งกันและกัน

          ตีนไก่ เพราะเชื่อว่าคู่บ่าวสาวจะเกิดการทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นเลือดตกยางออก

          หอยขม เพราะชื่อไม่เป็นมงคล อีกทั้งยังสื่อถึงความรักที่มีแต่ความขมตามชื่อของหอยนั่นเอง

          หมี่กรอบ เพราะมีลักษณะหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ง่าย ซึ่งสื่อถึงความหมายที่ถึงการบั่นทอนความรักให้สั้นลง

          ข้าวต้ม เพราะเชื่อว่าเป็นอาหารที่ใช้ในงานอวมงคลหรืองานศพ คนโบราณจึงไม่นิยม

          ตลอดจนอาหารชนิดอื่นที่ชื่อและลักษณะไม่เป็นมงคล เช่น ต้มโคล้ง ต้มเปรต ผัดสะตอ ผักกระถิน แกงร้อน แกงดอกงิ้ว แกงกะหรี่ น้ำพริก แมงดา ต้มยำโป๊ะแตก รวมถึงขนมบ้าบิ่นและขนมถังแตก อีกทั้งผลไม้ เช่น ละมุด มังคุด น้อยหน่า น้อยโหน่ง มะเฟือง และมะไฟ เป็นต้น

          ทั้งนี้ อาหารในงานมงคล ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงความละเมียดละไมในการดำเนินชีวิตของคนไทยมาช้านาน ในรุ่นลูกรุ่นหลานจึงต้องช่วยรักษาและถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมอันดีนี้ ให้อยู่กับคนรุ่นหลังต่อไป


**หมายเหตุ : แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 13.45 น. วันที่ 18 ตุลาคม 2555

ขอขอบคุณข้อมูลจาก



ที่มา : //wedding.kapook.com/




Create Date : 24 ตุลาคม 2555
Last Update : 24 ตุลาคม 2555 20:58:30 น.
Counter : 2566 Pageviews.

1 comments
  
โยนิโสสํวิธาเนน สุขํ ปปฺโปติ ปณฺฑิโต

ด้วยการจัดการอย่างแยบคาย บัณฑิตก็ลุสุขสมหมาย

ประกอบทุกกิจการด้วยสัมมาสติและปัญญา ตลอดไป...นะคะ



โดย: พรหมญาณี วันที่: 25 ตุลาคม 2555 เวลา:13:32:52 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

bobobull
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Fight.. Fight !!
ตุลาคม 2555

 
1
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
21
23
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog