happy memories
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
 
20 กุมภาพันธ์ 2559
 
All Blogs
 
เสพงานศิลป์ ๒๔๖





ภาพจากเวบ deviantart.com





"ฉันได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยไม่เสียใจ

เพราะฉันได้อุทิศชีวิตของฉันให้กับ

บางสิ่งที่เป็นประโยชน์

ในฐานะเป็นผู้รับใช้ที่ต่ำต้อย

ในงานศิลปของฉัน

ชีวิตนั้นสั้น....แต่ศิลปะยืนยาว


ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี





Romance - Yuhki Kuramoto










หอจดหมายเหตุฯ คลองห้า จัดนิทรรศการพลังงานฯ
เฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์ ๗o ปี



เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวภูมิพลอดุลยเดช ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ รองอธิบดีกรมศิลปากร (ศก.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เรื่อง “พลังงาน : พระราชดำริด้วยพระปรีชายิ่ง” ว่า เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๗o ปี หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ในฐานะที่เป็นหน่วยงานเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และคลังปัญญาของมรดกทางวัฒนธรรมด้านเอกสาร ที่แสดงถึงประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย จึงจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ในด้านต่าง ๆ






นายสหภูมิกล่าวต่อว่า ส่วนของการจัดเสนา และนิทรรสการเฉลิมพระเกียรติ ได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริด้านการพัฒนาพลังงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเผยแพร่สู่สาธารณชน ให้เกิดจิตสำนึกในการประหยัด และใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ตามพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน ทั้งยังเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประหยัดพลังงาน เพื่อให้ทุกส่วนร่วมกันน้อมนำแนวพระราชดำริไปปฏิบัติต่อไป






น.ส.นัยนา แย้มสาขา ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กล่าวว่า การจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ไฟฟ้าพลังน้ำ ส่วนที่ ๒ พลังงานทดแทน ส่วนที่ ๓ อนาคตแห่งการพัฒนาพลังงานที่มั่นคง และส่วนที่ ๔ พระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาพลังงานของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวนประชาชนเข้าชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ เรื่อง พลังงาน : พระราชดำริด้วยพระปรีชายิ่ง ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม เวลา ๙.oo-๑๖.oo น.วันจันทร์-วันศุกร์ เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์



ภาพและข้อมูลจาก
matichon.co.th














กว่าจะเป็นโขนพระราชทาน



ในโอกาสที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนม พรรษา ๗ รอบ ๘๔ พรรษา วันที่ ๑๒ ส.ค. ๒๕๕๙ พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดกิจกรรมเสวนาเรื่อง “กว่าจะเป็นโขนพระราชทาน” ณ ห้องประชุมพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยและเครื่องแต่งกายโขน ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ที่ปรึกษาพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ให้ความรู้ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชประสงค์ให้อนุรักษ์และสืบสานนาฏกรรมโขนให้อยู่คู่แผ่นดินไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโขน และงานหัตถศิลป์แขนงต่าง ๆ เพื่อรื้อฟื้นการแสดงโขนตามโบราณราชประเพณี เริ่มต้นจากการจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนขึ้นใหม่ สำหรับใช้ในการแสดงโขนพระราชทาน ทรงกำชับให้ยึดถือรูปแบบเครื่องแต่งกายโขนแบบโบราณ แต่มีความคงทนและสวยงามยิ่งขึ้น โดยมี อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นผู้ควบคุมดูแลเรื่องการออกแบบ และดูแลช่างที่เป็นสมาชิกของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ที่ช่วยกันตัดเย็บเครื่องแต่งกายและทอผ้าเพื่อใช้ในการแสดงโขนโดยเฉพาะ

การฟื้นฟูโขนไม่ใช่แค่การฟื้นฟูนาฏศิลป์ แต่เป็นการพลิกฟื้นฝีมือช่างหัตถศิลป์หลายแขนง หลายสาขาที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานประณีตศิลป์ของไทยนับร้อยคนให้คืนกลับมา ทำให้เกิดสกุลช่างในรัชกาลปัจจุบัน ทั้งงานด้านวิจิตรศิลป์ โดย อ.สุดสาคร ชายเสม นำรูปแบบที่ปรากฏเป็นองค์ประกอบของหนังใหญ่ชุดพระนครไหวมาเป็นแรงบันดาลใจสร้างฉากอันอลังการวิจิตรตระการตาในการแสดงโขนพระราชทาน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญของเครื่องโขนคือ สัดส่วนที่ลงตัว โขนพระราชทานจึงมีพัสตราภรณ์หรือเครื่องแต่งกายที่แตกต่างไปจากพัสตราภรณ์ของโขนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินทรธนู ห้อยหน้า ห้อยข้าง รวมทั้งความกว้างของผ้า สนับเพลา ตลอดจนองค์ประกอบของถนิมพิมพาภรณ์ต่าง ๆ ที่ล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระเครื่องต้นของพระมหากษัตริย์ ความรุ่มรวยของสีไทยทำให้เกิดความละลานตาอยู่บนเวที ผู้ชมได้ซึมซับทั้งเรื่องฉาก, พัสตราภรณ์ และระบบสีไทย

ด้าน ดร.สุรัตน์ จงดา ศิลปินและครูนาฏศิลป์ เผยว่า การแสดงโขนเป็นหนึ่งในการแสดงเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะเป็นประจำทุกปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถึงสถานการณ์การแสดงโขน ซึ่งมีคนชมน้อยลงทุกทีและหานักแสดงได้ยาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีรับสั่งว่า “ถ้าไม่มีใครดู แม่จะดูเอง” และทรงนำการแสดงโขนไปแสดงเพื่อเป็นการขอบคุณ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน ในโอกาสเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งพระราชทานเงินจำนวน ๓ แสนบาท ให้กรมศิลปากรนำไปจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนตามแนวพระราชดำริ เพื่อปรับปรุงให้เครื่องแต่งกายโขนมีความงดงามประณีตมากยิ่งขึ้น ในปี ๒๕๔๗ มีพระราชเสาวนีย์ให้ฟื้นฟูการแสดงโขน และในปีนั้นกรมศิลปากรได้ทำนิทรรศการเรื่องเครื่องแต่งกายโขน ตามพระราชเสาวนีย์ที่พิพิธภัณฑ สถานแห่งชาติ






หลังจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ฟื้นฟูการแสดงโขน อ.สมิทธิ ศิริภัทร์ ที่ปรึกษาส่วนพระองค์ด้านศิลปะ ขอพระราชทานพระราชานุญาตสร้างเครื่องแต่งกายโขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพอีกทางหนึ่ง และตั้งคณะกรรมการเรื่องแนว ทางสร้างเครื่องแต่งกายโขนขึ้นมาใหม่ พร้อมกำหนดแนวทางการแสดงเฉลิม พระเกียรติ ตอนพรหมาศ โดยเชิญ อ.สุดสาครมาออกแบบฉาก ส่วน อ.วีรธรรม เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย ทำการแสดงครั้งแรกในเดือน ธ.ค. ๒๕๕o เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานเฉลิมพระชนมพรรษา ๘o พรรษา โดย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรเป็นปฐมฤกษ์

ต่อมาปี ๒๕๕๒ จัดแสดงโขนตอนพรหมาศ ฉบับปรับปรุงใหม่เป็นครั้งที่ ๒ โดยมีวงดนตรีสากล และวงดนตรีไทยเล่นประกอบโขน จัดแสดง ๖ รอบ และได้มีการเพิ่มรอบในภายหลังตามคำเรียกร้องของผู้ชม และในเดือน ส.ค. ปีเดียวกัน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงเปิดนิทรรศการโขนพระราชทาน ในงานเปิดหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร และเป็นครั้งแรกที่ได้พระราชทานการแสดงโขนในปีต่อไปคือ ตอนนางลอย จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อจากโขนเฉลิมพระเกียรติ เป็น “โขนพระราชทาน” อันเป็นการแสดงที่พระราชทานลงมาให้แก่ปวงชนชาวไทยได้ชมนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวความรู้เกี่ยวกับโขนอีกมากมายให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา โดยจะมีการจัดนิทรรศการเครื่องโขนผ่านการนำเสนอในรูปแบบใหม่ จัดแสดงชุดสะสมส่วนบุคคลของผู้ที่เชี่ยวชาญด้านโขน รวมทั้งมีการใช้สื่อกึ่งมัลติมีเดียต่าง ๆ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น รวมทั้งมีการนำเสื้อผ้าอาภรณ์ รวมทั้งพัสตราภรณ์ของหลวงที่เก็บรักษามาเป็นระยะเวลาหลายร้อยปีนำมาจัดแสดงควบคู่ แสดงถึงวิวัฒนาการเครื่องแต่งกายโขนซึ่งมีที่มาจากเครื่องต้น ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ในเวลาที่มีพระราชพิธีต่าง ๆ ชมได้ที่ห้องจัดแสดงที่ ๓ และห้องจัดแสดงที่ ๔ พิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ใน มิ.ย. นี้.



ภาพและข้อมูลจาก
dailynews.co.th














ศิลปินแห่งชาติสัญจรมากกว่าถ่ายทอดงานศิลป์



นับเป็นโอกาสอันดีสำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน ได้เปิดประสบการณ์ใหม่พร้อมกับสร้างสรรค์งานศิลป์ไปกับศิลปินแห่งชาติที่มากไปด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตกว่า ๒๒ ท่าน จาก ๓ สาขา ได้แก่ สาขาทัศนศิลป์ สาขาวรรณศิลป์ และสาขาศิลปะการแสดง โดยมีศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านงานศิลป์เฉพาะทางอย่าง ดร.กมล ทัศนาญชลี, ปรีชา เถาทอง, ธงชัย รักปทุม, ชมัยภร แสงกระจ่าง, ชลธี ธารทอง ฯลฯ มาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับเหล่าเยาวชน ในโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรถ่ายทอดงานศิลป์สู่เยาวชนภาคกลางตอนบน ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๕๙ ณ โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม จ.พิจิตร

โครงการศิลปินแห่งชาติสัญจร เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการมาอย่างสม่ำเสมอทุกปี นับเป็นการศึกษานอกห้องเรียนของเด็กและเยาวชนที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก รวมทั้งยังได้สัมผัสผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติทั้ง ๓ สาขา ที่จัดแสดงนิทรรศการให้ผู้ที่สนใจได้ชมและศึกษาผลงานอย่างใกล้ชิด

พิมพ์รวี วัฒนวรางกูร อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการที่ผ่านมายังคงมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในปี ๒๕๕๙ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงกำหนดจัดโครงการศิลปินแห่งชาติสัญจรขึ้นอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลปะในด้านทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง ระหว่างเด็ก เยาวชน ครู อาจารย์ กับศิลปินแห่งชาติที่สละเวลาให้เกียรติมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ หวังว่าผู้ที่มีโอกาสได้เข้ารับการอบรมในโครงการนี้ จะได้ใช้เวลาอันมีค่าเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ฝึกฝนทักษะ สร้างแรงบันดาลใจ และมีความภูมิใจในงานศิลปวัฒนธรรมของตนเอง พร้อมสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญของไทย

ในค่ายศิลปินแห่งชาติสัญจร นักเรียนโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม และเยาวชนในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน จะได้เข้าเรียนศิลปะจำนวน ๙ ฐานตามความสนใจเพื่อเรียนรู้เฉพาะทางกับศิลปินแห่งชาติแต่ละสาขา ได้แก่ ฐานเทคนิคจิตรกรรม ฐานเทคนิคสร้างสรรค์สื่อผสม ฐานเทคนิคภาพพิมพ์ ฐานเทคนิคประติมากรรม ฐานเทคนิคผ่านเลนส์ ฐานการสร้างงานวรรณศิลป์ ฐานการสร้างงานศิลปะการแสดง ฐานสถาปัตยกรรมศิลป์ และฐานการแสดงพื้นบ้านลิเก

ชมัยภร แสงกระจ่าง ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ กล่าวว่า ในค่ายศิลปินแห่งชาติสัญจร เด็กจะได้เรียนรู้ศิลปะทุกสาขาจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะนำความรู้มาถ่ายทอด รวมทั้งนำผลงานศิลปะมาแสดงให้รับชมกัน ว่างานแต่ละแบบมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร หรือเกี่ยวข้องกันอย่างไร การแบ่งแยกฐานออกเป็น ๙ ฐาน จะทำให้เด็กรู้ลึกถึงศิลปะในด้านนั้น ๆ ซึ่งมันคือความพิเศษกว่าค่าย อื่น ๆ ที่เด็กไม่ได้เรียนรู้เพียงแค่ศิลปะด้านเดียว แต่ได้เปิดโลกทัศน์ออกไปอย่างกว้างขวาง

"ค่ายนี้จะทำให้เด็กรู้ว่าศิลปะแต่ละอย่างมันเป็นอย่างไร เราจะแสดงให้เห็นว่าเมื่อจะคิดอะไรเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา มันก็คล้ายกับภาพภาพหนึ่งที่สามารถนำไปปะเป็นเส้น เป็นสี เพิ่มเติมให้มันเป็นเรื่องราว อย่างเช่นในด้านของศิลปะการแสดง ความเป็นตัวอักษรในวรรณศิลป์ หรือความเป็นภาพของจิตรกรรม มันสามารถเข้าไปอยู่ในศิลปะการแสดงได้อย่างไร ซึ่งเชื่อว่างานศิลป์แต่ละอย่างสัมพันธ์กันหมด และเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์อยู่ด้วย อีกอย่างคือเราสังเกตเห็นว่าเด็ก ๆ ที่นี่มีความตื่นตาตื่นใจที่ได้พบกับศิลปินแห่งชาติตัวจริง ซึ่งก็ขอบอกว่าคนที่ยังไม่มีโอกาสได้เจอก็ไม่เป็นไร เพราะว่าการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้โดยตัวบุคคลก็ได้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่น เด็กที่สนใจด้านวรรณศิลป์ควรจะเริ่มเรียนรู้ที่การอ่าน เพราะเรามีครูอยู่ในหนังสือที่สามารถเคลื่อนที่ไปไหนก็ได้" ชมัยภรกล่าว

ขณะที่ ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ผู้อบรมความรู้ด้านจิตรกรรม กล่าวว่า การสอนครั้งนี้เป็นการพยายามดึงสมองซีกขวาของเด็กไทยออกมาให้งอกงาม เติบโตควบคู่ไปพร้อมกับสมองซีกซ้าย เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การใช้มโนทัศน์ มโนคติ รวมถึงการเรียนรู้ที่จะทำให้เด็กลืมหลักและเหตุผลที่มนุษย์เป็นอยู่ และยังเป็นการดึงเอากฎธรรมชาติในตัวของเขาออกมา ไม่ว่าจะเป็นความสุข ความทุกข์ ความเชื่อ ความศรัทธา ในความรู้สึกเหล่านั้นให้สะท้อนออกมาเป็นผลงานหนึ่งชิ้น

"เราสอนให้เด็กรู้ว่าศิลปะทุกแขนงที่ถ่ายทอดออกมาต้องมีความจริงใจ บ้านเมืองเรามักจะสอนเยาวชนไทยว่าเห็นอย่างไร ให้เขียนอย่างนั้น เช่น วาดภาพต้องวาดให้เหมือน ร้องเพลงก็ต้องทำเสียงให้คล้าย เหมือนการนั่งลอกหรือก๊อบปี้ บ้านเราไม่สอนให้เด็กเป็นคนช่างคิด ช่างรู้สึก ช่างฝัน โครงการนี้มีประโยชน์ตรงที่มันช่วยให้เด็กได้แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองออกมา เขาจะได้รู้ว่าเขาชอบอะไร และได้แสดงออกในสิ่งที่เขาชอบด้วย" อาจารย์ปรีชากล่าว

ในกิจกรรมเข้าฐานนั้น เด็ก ๆ สร้างสรรค์ผล งานด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ โดยแสดงออกผ่านทางสี หน้าและท่าทาง พวกเขากำลังถ่ายทอดจินตนาการที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งบางฐานที่พวกเขาสนใจนั้นมีความเป็นศิลปวัฒน ธรรมไทยผสมผสานอยู่ด้วย เช่น ศิลปะการแสดง ทั้งด้านลิเก และการขับร้องเพลงลูกทุ่ง ถือเป็นศิลปะที่เริ่มจะหดหาย ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก การเรียนรู้ในฐานนี้ถือเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเด็ก ๆ เปรียบเสมือนต้นกล้าที่ต้องค่อย ๆ ปลูกฝัง เพื่อที่จะได้เป็นผู้สืบทอดมรดกทางศิลปะดั้งเดิมของไทยต่อไป

นอกจากนี้ ฐานเทคนิคผ่านเลนส์ หรือฐานเรียนรู้การถ่ายภาพ ได้สอดแทรกศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวพิจิตรเอาไว้เช่นกัน ด้วยการพาเด็กๆ ลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้านลิเก ศิลปะการแสดงท้องถิ่นอันขึ้นชื่อของพิจิตรที่ อ.ตะพานหิน เพื่อให้เด็กได้ไปเรียนรู้เทคนิคถ่ายภาพวิถีชีวิตของลิเกให้ภาพออกมาสวยงามและมีความหมาย ส่วนงานศิลป์ด้านอื่น ๆ ทั้งปั้น ประดิษฐ์ หรือขีดเขียน เด็กๆ ก็แต่งแต้มจินตนาการลงบนผลงานอย่างประณีต ซึ่งหลายคนบอกว่าพวกเขาสร้างผลงานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และค้นหาแรงบันดาลใจจากเรื่องใกล้ตัว นับเป็นผลงานที่มีคุณค่าทางจิตใจเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าแต่ละคนจะได้เทคนิคในการสร้างผลงานเช่นกัน แต่ก็สร้างสรรค์ผลงานออกมาในมุมมองที่แตกต่างกัน

ด้านอาจารย์พูลทรัพย์ ศิริกุล อาจารย์โรง เรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม แสดงความคิดเห็นว่า เด็กได้รับความรู้อย่างหลากหลายจากผู้ที่มีทักษะโดยตรงในวิชาชีพนั้นๆ เป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าภูมิใจแทนเด็ก โดยเฉพาะเด็กต่างจังหวัด ถือเป็นโอกาสอันดียิ่งที่ได้รับประโยชน์แบบนี้ เป็นโอกาสยากที่จะได้เข้าถึงศิลปินแห่งชาติ ทั้งยังช่วยส่งเสริมทักษะของเด็กและสามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย.



ภาพและข้อมูลจาก
ryt9.com














'กะดีจีน-คลองสาน'ต้นแบบฟื้นฟูย่านเก่าแก่



ย่านกะดีจีน-คลอง สาน ยังได้รับการผลักดันให้เป็นต้นแบบย่านแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมริมน้ำและแหล่งท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ต่อไปอีก เพราะพื้นที่ย่านนี้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ดังปรากฏในหลักฐานว่ามีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยา จึงอุดมไปด้วยวัฒนธรรม ๓ ศาสนา ๔ ความเชื่อ กระจายในพื้นที่จนเป็นที่กล่าวขาน

นับจากวันนั้นถึงวันนี้ก็เกือบ ๑o ปีของการขับเคลื่อนกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชน ล่าสุดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับประชาคมย่านกะดีจีนคลองสาน จัดงานเปิดตัว "ศูนย์ข้อมูลย่านกะดีจีน-คลองสาน" และ "มูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีนคลองสาน" เรียกได้ว่าการฟื้นฟูย่านเป็นรูปธรรมมากขึ้น งานคึกคักไปด้วยกลุ่มภาคีครบทั้งผู้นำศาสนา ชาวย่าน ครู นักเรียน นักวิชาการจากหลายสถาบันการศึกษา ส่วนศูนย์ข้อมูลจะก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี ๒๕๖o เฉลิมฉลองครบรอบ ๒๕o ปี กรุงธนบุรี

ศูนย์ข้อมูลชุมชนกะดีจีน-คลองสานที่จะเปิดปีหน้า ตั้งอยู่บนที่ดินริมน้ำ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และครอบครัวจงรุ่งเรือง เจ้าของอู่เรือธนบุรีที่มีชื่อเสียงในอดีต มีการระดมทุนแบบผ้าป่าสร้างด้วยงบประมาณ ๖ ล้านบาท สู่ศูนย์ข้อมูลที่มีชีวิต

ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กล่าวว่า การอนุรักษ์ฟื้นฟูกลุ่มย่านประวัติศาสตร์ธนบุรีให้คงบรรยากาศย่านวัฒนธรรม วัดอรุณฯ วัดกัลยาณมิตร โบสถ์ซางตาครู้ส วัดประยุรวงศาฯ และกำลังขยับขยายไปย่านคลองสาน จาก ๖ ชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน นำมาสู่แนวคิดสร้างศูนย์ข้อมูลที่ชุมชนจัดตั้งขึ้น สามารถเข้ามาปรึกษาหารือกัน เรียนรู้และทำงานร่วมกันแบบหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง ผู้นำ ๓ ศาสนา ๔ ความเชื่อจับมือกัน วางแผนพัฒนาชุมชนไม่ให้เติบโตแบบรกรุงรัง

"ศูนย์ข้อมูลไม่ได้มีหน้าที่เพียงให้ข้อมูลและคำแนะนำกับนักท่องเที่ยว แต่จะรวบรวมข้อมูลมรดกวัฒนธรรมของทั้งสองย่านเผยแพร่ให้คนรู้จัก รวมถึงใช้เป็นที่ประชุม เปิดต้อนรับทุกคนที่จะเข้ามาฟื้นฟูพื้นที่นำร่องแก่ชุมชนอื่นในกรุงเทพฯ ขนาดย่านกุฎีจีน-คลองสาน หลายศาสนายังทำได้ ทำไมย่านอื่นจะทำไม่ได้ เราส่งสัญญาณแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่เรียนรู้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ" ผู้นำศาสนาพุทธกล่าว

เช่นเดียวกับคุณพ่อยอห์น วรวุฒิ กิจสกุล เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส เห็นด้วยว่า ศูนย์ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นแกนกลางประสานงานกับทุกองค์กรในการพัฒนาพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาที่เปรียบเสมือนสายเลือดคนกรุง ปีนี้วัดครบ ๒๔๗ ปี ขณะที่โบสถ์ซางตาครู้สหลังที่ ๓ หนึ่งในเอกลักษณ์ย่านกะดีจีนครบ ๑oo ปี ก็จะจัดเฉลิมฉลองเช่นกัน อยากชักชวนให้นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศมาเยี่ยมเยือน ที่ผ่านมามีการปรับปรุงลานซางตาครู้ส ลานพระแม่มารี ตรอกวัดประยุรวงศาฯ ดูงามตา

ไม่เพียงผู้นำศาสนาที่จับมือกันร่วมพัฒนา แต่ชาวย่านก็ร่วมแรงร่วมใจ อย่างป้าสมจิตร จงรุ่งเรือง อดีตดาวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เช่ากรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งใจเสียสละให้จัดผังที่ดินใหม่ ให้รื้อถอนอาคารเพื่อก่อสร้างศูนย์ข้อมูล

ป้าสมจิตรเผยความรู้สึกว่า ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพราะครอบครัวจงรุ่งเรืองได้อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยคุณพ่อ ใช้ผืนดิน ผืนน้ำ ประกอบกิจการ "อู่เรือธนบุรี" บริการดูแล ซ่อมแซมเรือแก่คนที่ใช้ทางน้ำสัญจรเป็นหลัก แม้เลิกกิจการ ปัจจุบันยังมีร่องรอยโครงเรือมารีรุ่งเรือง ก็มอบทั้งเรือ รูปภาพ และสิ่งของที่สื่อเรื่องราวของย่านกะดีจีนคลองสาน ไว้จัดแสดงในศูนย์ข้อมูล อยากให้คนรุ่นหลังได้รับรู้และตระหนักในคุณค่าของย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ ไม่เคยคิดเสียดายที่ดินเลย

สำหรับศูนย์ข้อมูลย่านกะดีจีน-คลองสาน หมุดหมายคือเป็นพื้นที่ศูนย์กลางระดับย่าน ทำหน้าที่เป็นประตูสู่ย่าน จุดเริ่มต้นให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว และจัดแสดงสิ่งน่าภาคภูมิใจ ทั้งมรดกวัฒนธรรมหรือสินค้าชุมชน รวมทั้งเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนมาพบปะพูดคุยกัน สถานที่ติดกับลานริมน้ำเทศกิจ สะพานพุทธฯ เป็นจุดเชื่อมสองย่าน เข้าถึงได้ง่ายโดยทางรถ น้ำ จักรยาน เท้า และระบบรางในอนาคต ทั้งยังเป็นพื้นที่นำร่องในการฟื้นฟูย่านของโครงการ "กรุงเทพฯ ๒๕o" ด้วย.



ภาพและข้อมูลจาก
ryt9.com
haaksquare.com














เชิญกันมาชมนิทรรศการภาพพิมพ์ไม้ชุด
ทัศนียภาพ ๙ วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่



คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญชมนิทรรศการผลงานภาพพิมพ์และจิตรกรรมต้นแบบ โครงการ “ภาพพิมพ์ไม้” ชุด “ทัศนียภาพ ๙ วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่” ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ ๙-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และขอเรียนเชิญชวน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันเสาร์ที่ ๒o กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๘.oo น. พร้อมเชิญชวนร่วม Work Shop การทำภาพพิมพ์ไม้ ในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑o.oo-๑๕.oo น.

นิทรรศการ “ภาพพิมพ์ไม้” ชุด “ทัศนียภาพ ๙ วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่” ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสร้างสรรค์วิชาการ สาขาทัศนศิลป์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดทำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธงชัย ยุคันตะพรพงษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มช.โดยเป็นผลงานจากศิลปินผู้ออกแบบจำนวน ๒๓ คน จากภาพวัดสำคัญในจ.เชียงใหม่รวม ๙ วัด อันได้แก่ วัดเชียงมั่น วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดพันเตา วัดโพธารามหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) วัดสวนดอก วัดอุโมงค์ วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) และวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

สำหรับผลงานที่จัดแสดงทั้งหมดรวม ๒๖ ชิ้น โดยศิลปินทั้ง ๒๓ ท่าน อย่างเช่น ศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุศุภนิมิต ผู้รังสรรค์ภาพจิตรกรรมต้นแบบที่วัดต้นเกว๋น (ภาพโปสเตอร์และหน้าปกสูจิบัตร) อาจารย์พิชัย นิรันดร์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ เสาคงผู้ช่วยศาสตราจารย์ลิปิกร มาแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรีใจ กันทะวัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธงชัย ยุคันตะพรพงษ์อาจารย์เทพศิริ สุขโสภา อาจารย์จรูญ บุญสวน อาจารย์สงัด ปุยอ๊อก อาจารย์วัฒนะ วัฒนาพันธ์ พร้อมทั้งศิลปินชาวญี่ปุ่น โยชิสุเกะ ฟุนะชะกะ และยังมีศิลปินทางด้านจิตรกรรมและภาพพิมพ์อีกหลายท่าน

ภายในงาน นอกจากจะเป็นการแสดงนิทรรศการผลงานภาพพิมพ์และจิตรกรรมต้นแบบโดนศิลปิน แล้ว ยังเปิดจำหน่ายให้กับผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของผลงานภาพพิมพ์ที่จัดแสดงในครั้งนี้ พร้อมทั้งมีการจำหน่ายของที่ระลึกในโครงการ เช่น กระเป๋าผ้า เข็ดกลัด สูจิบัตร ฯลฯ ในราคาย่อมเยา อีกด้วย โดยรายได้จะนำไปจัดสร้างห้องปฏิบัติการภาพพิมพ์เพิ่มเติม พร้อมทั้งซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนในสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มช.

จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่รักในงานศิลปะ และศิลปะภาพพิมพ์ ร่วมชื่นชมนิทรรศการ “ภาพพิมพ์ไม้” ชุด “ทัศนียภาพ ๙ วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่” ณ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ชั้น ๒ (ศาลากลางหลังเก่า หลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์) ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ และในวันเปิดนิทรรศการ เสาร์ที่ ๒o กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๖.oo น. เชิญชวนร่วมสุนทรียสนทนาในหัวข้อ “ความสำคัญด้านภูมิทัศน์ของวัดในเชียงใหม่” ก่อนเริ่มพิธีเปิดงานในเวลา ๑๘.oo น. โดยผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี นิทรรศการนี้สามารถเข้าชมได้ทุกวันอังคาร – อาทิตย์ (ยกเว้นวันจันทร์) ดูข้อมูลโครงการและรายละเอียดของการจัดนิทรรศการเพิ่มเติมได้ที่ //www.facebook.com/9 Chiang Mai Temples in Woodblock Print



ภาพและข้อมูลจาก
chiangmainews.co.th














บ้านต้นไม้ "แห่งชีวิต...ผู้แสวงหาจิตรอิสระ



นิทรรศการ:
" บ้านต้นไม้ "แห่งชีวิต...ผู้แสวงหาจิตรอิสระ (The Wandering Tree House)

ศิลปิน:
(Ellen Chia)

ลักษณะงาน:
จิตรกรรม วาดเส้น สื่อผสม

ระยะเวลาจัดแสดง:
วันที่ ๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

พิธีเปิดนิทรรศการ:
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๘.๓o น.

ห้องนิทรรศการ:
ห้องนิทรรศการชั้น ๒

ติดต่อศิลปิน:
Ellen Chia: o๙-๔๖๘-๗๗๕๙

แนวความคิด:
The Wandering Tree House (" บ้านต้นไม้ "แห่งชีวิต...ผู้แสวงหาจิตรอิสระ)

The Wandering Tree House เป็นคำศัพท์ที่ดิฉันประดิษฐ์ขึ้นมาเองเพื่อใช้เรียกและอธิบายผลงานชุดนี้

......นานมาแล้ว ดิฉันเคยใช้ชีวิตที่คล้อยตามกับกระแสบริโภคนิยมของสังคมในแบบอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ดังทุกวันนี้และยังใช้ชีวิตเดินตามแบบสูตรสำเร็จของชีวิตที่ถูกออกแบบทำตามกันมายาวนาน

.......เวลาผ่านไป เมื่อช่วงเวลาหนึ่งมาถึง พร้อมจุดเปลี่ยน ทางแยกของความคิด

ช่วงเวลาที่ดิฉันถอยห่างจากความคุ้นชินของหน้าที่การงานที่ทำ ละวางปลดแอกตนเองออกจากสิ่งที่บีบรัดกดดันตัวเองที่ต้องเผชิญอยู่แทบตลอดเวลา...

และการได้มีช่วงเวลาที่สงบ การได้ให้เวลากับความคิดคำนึงถึงสิ่งรอบตัว การได้สนทนากับท้องฟ้าท้องทะเล ป่าเขา ธรรมชาติ การได้ถอยห่างจากความรีบเร่ง ถอยห่างจากระบบสูตรสำเร็จที่วัดกันด้วยการถือครองทรัพย์สินทั้งหลาย ดิฉันได้พบเห็นคนที่ใช้ชีวิตในแบบสวนทางกับวิถีส่วนใหญ่ของโลก ได้อ่านหนังสือที่มีแนวคิดดี ๆ ที่ไม่เคยมีคนรอบข้างคนใดแนะนำให้อ่านมาก่อน...มันทำให้ดิฉันได้พบกับโลกใบใหม่ โลกที่ไม่อึดอัดเหมือนกับที่เคยรู้สึกเหมือนกับที่เป็นอยู่ในโลกแบบเก่าครั้งก่อน คล้ายกับว่าดิฉันได้เกิดใหม่ทางความคิดครั้งสำคัญ ซึ่งดิฉันได้ถ่านทอดเรื่องราวออกมาเป็นงานศิลปะสื่อผสมด้วยวัสดุโบราณและของเล่นเก่าที่ผ่านกาลเวลาและมีเบื้องหน้าเบื้องหลังมาแล้วทั้งสิ้น ในแนว Alternative Indie และงานเพ็นท์ติ้งบนรูปถ่ายโบราณ แนว Quirky อันเป็นรูปแบบกลวิธีใหม่ ( สำหรับดิฉัน ) ซึ่งดิฉันเชื่อมั่นว่าดีงามและเป็นกลวิธีการที่เหมาะสมกับแนวคิดที่สุดในงานชุดนี้

The Wandering Tree House จึงเปรียบเสมือนคนที่มุ่งมั่น เชื่อในวิถีที่ตนเลือก มีความฝัน ชอบค้นในสิ่งใหม่ๆแนวคิดดีๆที่เป็นมิตรกับทุกชีวิตบนโลก เป็นมิตรและชื่นชมผู้ก่อการดีทางความคิดทุกคน แต่ The Wandering Tree House ก็ไม่ได้คิดอะไรไกลถึงขนาดที่จะเปลี่ยนโลก และไม่ลืมที่จะเว้นพื้นที่ไว้ให้โลกในอุดมคติเสมอ

และนี่จึงเป็นที่มาของการจัดนิทรรศการศิลปะชุดนี้ " The Wandering Tree House " อันเป็นนิทรรศการเดี่ยวลำดับที่สาม ของ จิตรกร เอเลน เชีย ที่รวบรวมผลงาน ทั้ง ภาพเขียนสีอะคลายลิก,วาดเส้นด้วยปากกา,และสื่อประสมด้วยวัสดุย้อนยุค ที่ใช้เวลากว่าสามปีในการรวบรวมผลงานชุดนี้มานำเสนอ โดยจัดขึ้นที่ หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๗ ถึง ๒๘ กุมภาพันธ์ ศกนี้...โดยมีปาร์ตี้เปิดนิทรรศการ ในวันศุกร์ ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๘.๓๐ น.















ภาพและข้อมูลจาก
chamchuriartgallery.chula.ac.th














นิทรรศการวาดเส้น



ขัวศิลปะเป็นองค์กรทางสังคมที่ก่อตั้งขึ้นโดยศิลปินชาวจังหวัดเชียงราย และคณะผู้สนับสนุนกองทุนศิลปินเชียงราย เพื่อจะเป็นดั่งสะพานที่เชื่อมศิลปะสู่สังคม เผยแพร่ผลงานศิลปะและสนับสนุนส่งเสริม การสร้างสรรค์งานศิลปะของศิลปินไทย ขัวศิลปะมีห้องแสดงผลงานศิลปะ แบบหมุนเวียนของศิลปินเชียงราย และ ศิลปินไทย รวมถึงศิลปินในระดับนานาชาติ

นิทรรศการที่จะจัดในครั้งนี้ ชื่อนิทรรศการวาดเส้น Drawing Exhibitionโดย ศิลปินขัวศิลปะ

จะได้ร่วมสร้างสรรค์งานในเทคนิคการวาดเส้น โดยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลากหลายรูปแบบ


นิทรรศการจะจัดแสดงในวันที่ ๑๓ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ ห้องแสดงงานชั้น ๒ ขัวศิลปะเชียงราย โดยมีพิธีเปิดงานนิทรรศการในวันเสาร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๑o.oo - ๑๙.oo น. โดยไม่มีค่าเข้าชม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร o๘๘-๔๑๘-๕๔๓๑
//www.facebook.com/artbridgechiangrai,
https://www.facebook.com/events/1693168324288004/,
artbridgechiangrai.cr@gmail.com

นิทรรศการวาดเส้น โดย ศิลปินขัวศิลปะ
เปิดนิทรรศการวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๘.oo น
วันที่ ๑๓ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
ณ ห้องแสดงงานชั้น ๒ ขัวศิลปะ
เปิดให้เข้าชมวันอังคาร ถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) เวลา ๑o.oo - ๑๙.oo น. ไม่มีค่าเข้าชม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม o๘๘-๔๑๘-๕๔๓๑



















ภาพและข้อมูลจาก
chiangraifocus.com
FB นิทรรศการวาดเส้น














นิทรรศการ “ทะเว้นตี้ เซ็นจูรี่ปริ้น” (20 Century Print 4 FLOWS)



คอศิลปะไม่ควรพลาดนิทรรศการศิลปะชุด ละเมอรัก จัดแสดงวันที่ ๖ ก.พ.-๓๑ มี.ค. ๒๕๕๙ ที่สาทร ๑๑ อาร์ต สเปซ เชิญสัมผัสบรรยากาศละเมอรักที่สะท้อนผ่านผลงานศิลปะ โดยศิลปิน 34 คน ดร.ช่วง มูลพินิจ ศิลปินแห่งชาติ, ดินหิน รักพงษ์อโศก, ประทีป คชบัว, เริงศักดิ์ บุญยวาณิชย์กุล, รศ.ดร.สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์, อ.สมยศ คำแสง, เสงี่ยม ยารังษี, สุวิทย์ ใจป้อม, ผศ.ธณฤษภ์ ทิพย์วารี, ชัชวาล รอดคลองตัน, สุริยา นามวงษ์, แคทลียา พันธ์โตดี, มีชัย สุวรรณสาร, เพชร เชิดกลิ่น ฯลฯ ศิลปินผนึกกำลังกันประสานความรักในมุมมองที่แตกต่าง มีบริการจอดรถ Valet Parking เวลาทำการ ๑๑.oo-๑๙.oo น. สาทร ๑๑ Art Space 404 ซอยสาทร ๑๑ //www.sathorn11.com หรือคลิก //www.facebook.com/sathorn11artspace



ภาพและข้อมูลจาก

note.taable.com














Scene from a Wake



Scene from a Wake
วันที่ : ๔ กุมภาพันธ์ - ๖ มีนาคม ๒๕๕๙
สถานที่: สตูดิโอ ชั้น ๔
โดย อานูป แมทธิว โทมัส ผู้ชนะรางวัล Han Nefkens Foundation - BACC Award for Contemporary Art ครั้งที่ ๒
พิธีเปิดวันพฤหัสบดีที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๑๘.oo น.

สำหรับ Scene from a Wake อานูป แมทธิว โทมัส ได้นำเสนอผลงานที่ถ่ายทอดเรื่องราวของพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษตัวละครของเขาประกอบไปด้วยนักเคลื่อนไหวทางสังคม, คนงานในไร่, หมอฟัน, เจ้าของร้านอาหาร,บิชอป และศิลปิน โทมัสได้เดินทางไปรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๆ หนึ่งและบันทึกภาพเหตุการณ์ซึ่งมีรากฐานจากประวัติศาสตร์ที่แตกต่าง แต่บางเรื่องราวก็มีความเชื่อมโยงกัน รูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนใครของเขาทำให้งานที่ออกมาน่าสนใจและทรงพลัง Scene from a Wake คือนิทรรศการภาพถ่ายที่สะท้อนการพังทลายของแผนการผลลัพธ์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง และอนาคตที่ยากต่อการคาดเดา

อานูป แมทธิว โทมัส (เกิดเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒o) ใช้ชีวิตและทำงานที่เมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ผลงานของเขาเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันผ่านชุดภาพถ่ายที่ก้ำกึ่งระหว่างการเป็นภาพถ่ายสารคดีและงานศิลปะ โทมัสใช้วิธีการเล่าเรื่องที่ผสมผสานระหว่างความรู้สึกส่วนตัวกับการนำเสนอความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา ผลที่ได้คือภาพถ่ายบุคคลที่ผ่านการจัดวางอย่างรอบคอบ แนวทางการถ่ายภาพของเขาแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการบันทึกภาพและความรู้สึกในชั่วขณะนั้นของศิลปะการถ่ายภาพและความน่าทึ่งของภาพถ่ายในฐานะสื่อศิลปะที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างไร้ขีดจำกัดและกระตุ้นให้เกิดความคิดและความรู้สึกต่าง ๆ ได้มากมาย

เมลานี โพค็อก ภัณฑารักษ์และนักเขียนได้กล่าวถึงอานูป แมทธิว โทมัสว่า "ผลงานของโทมัสนำเสนอรายละเอียดและความเป็นจริงอันน่าสะเทือนใจด้วยภาพถ่าย... ที่ผ่านการวางแผนอย่างถี่ถ้วน การคัดเลือก และความบังเอิญภาพถ่ายของเขาคือผลลัพธ์ของปัจจัยและขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ที่ผสมปนเปกันจนเกือบจะไม่สามารถแยกแยะได้ แม้ว่าภาพถ่ายเหล่านี้จะมาพร้อมกับข้อความอธิบายที่ศิลปินเขียนขึ้นเองก็ตาม"

รางวัล Han Nefkens Foundation - BACC Award for Contemporary Art

เป็นรางวัลที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่างมูลนิธิฮานเนฟเก้นส์และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) โดยต้องการสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ ไม่จำกัดสัญชาติ มีอายุไม่เกิน ๔o ปี และสร้างผลงานอยู่ในทวีปเอเชียกรรมการสรรหา ๑o ท่านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะจากประเทศในทวีปเอเชียจะนำเสนอรายชื่อศิลปินให้คณะกรรมการตัดสินคัดเลือกศิลปินผู้ได้รับรางวัล1ท่าน

รางวัลนี้จัดขึ้นทุกสองปี ผู้ที่ได้รับรางวัลจะต้องมีอาชีพเป็นศิลปินเต็มตัว แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างระดับสากล ผู้ชนะจะได้รางวัลมูลค่า ๑๕,ooo ดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นเงินรางวัล ๓,ooo ดอลลาร์สหรัฐ และ ๑๒,ooo ดอลลาร์สหรัฐสำหรับการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ และรวมถึงการได้มาเป็นศิลปินพำนักอยู่ที่กรุงเทพฯ และได้แสดงผลงานที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพ

รางวัล Han Nefkens Foundation - BACC Award for Contemporary Art เป็นการร่วมมือกันระหว่างมูลนิธิฮานเนฟเก้นส์และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

มูลนิธิฮานเนฟเก้นส์เป็นองศ์กรที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัยโดยศิลปินรุ่นใหม่ ด้วยการให้ความสนับสนุนด้านการเงินและการช่วยเหลือต่าง ๆ ผ่านการร่วมมือกับสถาบันและองค์กรด้านศิลปะทั่วโลก

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) มีเป้าหมายในการเป็นหอศิลปวัฒนธรรมของประชาชน เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน โดยมีพันธกิจหลักในการรณรงค์ให้ประชาชนและชุมชนรู้รักศิลปะ สนับสนุนกระบวนการสร้างการศึกษา ให้เกิดการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างศิลปินและประชาชน


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ไลลา บุนนาค ฝ่ายกิจกรรมเครือข่ายต่างประเทศ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โทร. o๒-๒๑๔-๖๖๓o-๘ ต่อ ๕๒๘ โทรสาร o๒-๒๑๔-๖๖๓๙
Email: laila.b@bacc.or.th
//www.bacc.or.th / Facebook baccpage



ภาพและข้อมูลจาก
bacc.or.th














รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง



หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ขอเชิญชมนิทรรศการ ‘รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง’ นำเสนอผลงานจิตรกรรมที่งดงามด้วยเส้นสีฝีแปรงเฉียบคม และเต็มไปด้วยการแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรัก ความผูกพัน ระหว่างชายหนุ่มหญิงสาว โดยศิลปินสาว ลำพู กันเสนาะ ได้ใช้เวลาทบทวนสอบทานความรู้สึกของตนเองกับคนรักหนุ่มที่คบหากันมาเนิ่นนาน สายใยแห่งความสัมพันธ์ที่ถักทอหล่อหลอมให้ทั้งคู่ยังคงปรารถนาที่จะอยู่เคียงข้างกันและกัน จึงถูกสื่อแสดงภายใต้บทบาทสมมุติที่ศิลปินจินตนาการถึงตนเองและชายหนุ่มคนรักในอาชีพต่าง ๆ บ่งบอกถึงความรักอันแนบแน่นอ่อนหวานที่ชายหญิงคู่หนึ่งพร้อมจะเดินเคียงข้างกันไปไม่ว่าจะพบเผชิญกับสถานการณ์ใด ๆ


นิทรรศการเปิดให้ชมถึงวันที่ ๒o มีนาคม ๒๕๕๙ นี้ ที่ หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ๙๙/๔๕ หมู่ ๑๘ หมู่บ้านเบลเลอวิลล์ กม.ที่ ๑o.๕ ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ

เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-วันเสาร์ ๑o.๓o-๑๙.oo น. วันอาทิตย์ ๑o.๓o-๑๗.๓o น. สอบถามรายละเอียด โทร. o๒-๔๒๒-๒o๙๒

Facebook: ARDEL Gallery of Modern Art





ช่วยกันตากผ้า-My Beloved Assistant House Wife





จำเลยรัก-My Beloved Lawyer





มีความต้องการทางแพทย์สูง-My Beloved Doctor





กรีดยางอยู่ใต้ไม่ปลอดภัย-My Beloved Rubber-man





เป่าดีๆ!-My Beloved Hair Stylist



ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














ชมผลงานศิลปินระดับโลกชาวญี่ปุ่นในงาน Japanese Contemporary Art Show



เมื่อพูดถึง “ศิลปะ” ก่อนนั้นเรามักจะนึกถึงผลงานของศิลปินในแถบยุโรป แต่ช่วงหลังมานี้บรรดาศิลปินจากเอเชีย รวมถึงศิลปินชาวญี่ปุ่นได้มีผลงานออกสู่สายตาประกาศศักดาโด่งดังไปทั่วโลก จนคนที่รักศิลปะทุกคนต่างกระหายใคร่ชม จึงนับเป็นโอกาสดี ที่ศูนย์การค้าสถาปัตยกรรมสุดล้ำกลางมหานครอย่าง “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี” ได้จับมือ “ละลานตา ไฟน์อาร์ต” หอศิลป์ร่วมสมัยจัด “Japanese Contemporary Art Show” (เจแปนีส คอนเทมโพรารี อาร์ต โชว์) นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ผลงานศิลปินจากแดนอาทิตย์อุทัยคัดสรรผลงานทรงคุณค่าจาก ๑๑ ศิลปิน มากกว่า ๕o ชิ้น มาให้ผู้ที่รักศิลปะและบุคคลทั่วไปได้ชม ณ บริเวณ ชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี ถึงวันที่ ๒๑ ก.พ. ๒๕๕๙ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

บรม พิจารณ์จิตร เปิดเผยว่า “เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ในฐานะศูนย์การค้าที่โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรม ได้จับมือกับละลานตาไฟน์อาร์ต หอศิลป์ร่วมสมัยชื่อดัง จัดนิทรรศการนี้ขึ้น เพื่อมอบเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ความสุขแก่ลูกค้า พร้อมตอกย้ำอัตลักษณ์ของ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี และห้างเซ็นทรัลชิดลม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “One Life Infinite Possibilities” (วัน ไลฟ์ อินฟินิท พอสสิบิลิตี้ส์) “ชีวิตหนึ่ง...ทุกสิ่งเป็นไปได้ อย่างไร้ขีดจำกัด” ที่ตอบสนองทุกไลฟ์สไตล์ รวมถึงจุดหมายปลายทางของผู้ที่รักศิลปะ และผู้ที่ต้องการรับแรงบันดาลใจ โดยนำผลงานของศิลปินระดับโลกชาวญี่ปุ่น มาจัดแสดงให้ชม ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ





บรม พิจารณ์จิตร



ด้าน สุคนธ์ทิพย์ ออสติค ผู้อำนวยการหอศิลป์ ละลานตา ไฟน์อาร์ต เล่าว่า หอศิลป์นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อแสดงงานศิลปะร่วมสมัย โดยทำหน้าที่เป็น “สะพาน” เชื่อมผลงานศิลปะของศิลปินชาวไทยออกแสดงสู่สาธารณชน รวมทั้งนานาประเทศ โดยนำผลงานไปจัดแสดงในเมืองใหญ่ที่มีอิทธิพลทางด้านศิลปะ เป็นต้นว่า นิวยอร์ค, ไมอามี่ (สหรัฐอเมริกา), บาเซิล (สวิตเซอร์แลนด์) รวมทั้งประเทศ สิงคโปร์ และฮ่องกง ขณะเดียวกันยังหมายถึง “สะพาน” เชื่อมนำผลงานของศิลปินต่างชาติที่มีแง่มุมและการสร้างสรรค์ที่น่าสนใจ มาจัดแสดงในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ที่รักศิลปะในประเทศไทย ได้รับรู้ถึงพัฒนาการทางศิลปะร่วมสมัยที่เกิดขึ้น

“การจัดนิทรรศการ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์การเดินทางของศิลปะร่วมสมัยจากแดนอาทิตย์อุทัย ครั้งสำคัญนี้ เราได้ร่วมงานกับแกลเลอรีโคกูเระ ที่กรุงโตเกียว และวายโอดี แกลเลอรี ที่โอซาก้า คัดสรรผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินชาวญี่ปุ่นจำนวน ๑๑ ท่าน มาจัดแสดง และที่เราสนใจจับมือกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซี จัดนิทรรศการครั้งนี้ขึ้นนั้น เพราะศิลปินหลายท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลก มีผลงานภาพเขียน ประติมากรรม และภาพสื่อผสมต่าง ๆ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญของโลกหลายแห่ง”

สุคนธ์ทิพย์ เผยต่อไปว่า “ผลงานที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ ประกอบด้วยผลงานของ ๓ ศิลปินรุ่นใหญ่ที่ไม่ควรพลาดชม ได้แก่ ยาโยอิ กุซามา และทากาชิ มูรากามิ ซึ่งโด่งดังจากการร่วมงานกับแบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง หลุยส์ วิตตอง ที่นำงานศิลปะไปผสมผสานกับแฟชั่น และอีกหนึ่งท่าน คือ โยชิโตโม นาระ ก็มีผลงานก้องโลกเป็นที่คุ้นตาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา นอกจากศิลปินรุ่นใหญ่แล้ว เรายังเล็งเห็นความสำคัญที่จะนำเสนอมุมมองและผลงานศิลปะของศิลปินรุ่นหลังในญี่ปุ่น จึงได้รวบรวมผลงานของศิลปินดาวรุ่งอีก ๘ ท่าน มาร่วมจัดแสดงด้วย โดยจะมีผลงานนำมาจัดแสดง มากกว่า ๕o ชิ้น ซึ่งล้วนแต่มีความน่าสนใจทั้งสิ้น”






สำหรับ 3 ศิลปินรุ่นใหญ่ ที่ผู้จัดงานนำผลงานมาจัดแสดง ประกอบด้วย ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) ศิลปินดังระดับตำนานแห่งแดนอาทิตย์อุทัย วัย 87 ปี (1929) เธอได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าแม่ศิลปะแนวป๊อปอาร์ตสุดเฟมินิสต์ และศิลปินแถวหน้าของญี่ปุ่น โดยสร้างชื่อเสียงโด่งดังจากลวดลายจุดสารพัดจินตนาการ “ดอตส์ อินฟินิตี้” ฮิตฮอตไปทั่วโลกหลังจับมือกับแบรนด์ระดับโลก “หลุยส์ วิตตอง” ออกแบบคอลเลกชั่นพิเศษ “Louis Vuitton-Yayoi Kusama” ที่นำเอกลักษณ์งานศิลป์ของเจ้าแม่ลายจุดมาตีความใหม่ และถ่ายทอดเป็นผลงานแฟชั่นสุดหรู นอกจากนี้ ยาโยอิ ยังได้รับการบันทึกให้เป็นหนึ่งในศิลปินแนว อาว็อง-การ์ด (Avant-garde) ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในบรรดาศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ และทำสถิติศิลปินหญิงยุคปัจจุบัน ที่ขายผลงานได้มูลค่าสูงที่สุดในโลก จากการจัดประมูลของคริสตี้ส์ ด้วยสนนราคา 5.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ





ยาโยอิ กุซามา



ทากาชิ มุราคามิ (Takashi Murakami) ศิลปิน วัย ๕๗ ปี (๑๙๖๒) ผู้มีผลงานหลากหลายแขนง ทั้งงานจิตรกรรม ประติมากรรม โปสเตอร์ บิลบอร์ด งานออกแบบภายใน ของแต่งบ้าน ฯลฯ และขยายขอบเขตของงานศิลปะของเขาออกไปทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็น การร่วมมือกับองค์กรทางศิลปะอย่าง GEISAI ไปจนถึงการร่วมมือกับองค์กรพาณิชย์อย่าง Roppongi Hills หรือ Yuzu แม้กระทั่งแบรนด์ระดับโลกอย่าง “หลุยส์ วิตตอง” (Louis Vuitton) ผลงานของมูราคามิ มีสีสันสดใสดึงดูดและเข้าถึงเสน่ห์ความน่ารักของตัวการ์ตูน มูราคมิ ได้ใช้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศิลปะตะวันตกของเขา ผนวกกับความรู้อย่างลึกซึ้ง เกี่ยวกับงานจิตรกรรมโบราณของญี่ปุ่น สร้างภาพลักษณ์ในแบบ ‘ความเป็นญี่ปุ่นลูกผสมอันพิลึกพิลั่น’ แต่ก็น่าดึงดูดเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิวัติโลกศิลปะ





ทากาชิ มูรากามิ



โยชิโตโม นะระ (Yoshitomo Nara) ศิลปินวัย ๕๗ ปี (ค.ศ.๑๙๕๙) ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และทรงอิทธิพลมากที่สุดอีกคนหนึ่งของญี่ปุ่น ในช่วงกระแส Pop Art ในยุค 90's ทั้งภาพวาดและประติมากรรมของ

นาระจะมีบุคลิกแบบการ์ตูนเด็ก หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 'มังงะ' (manga) รวมถึงสัตว์ โดยเฉพาะสุนัข ที่กลับแสดงอารมณ์ในทางตรงข้าม (ผิดกับคน) คือดูอบอุ่น อ่อนโยน และเป็นมิตร ซึ่งล้วนเป็นแรงบันดาลใจมาจากความทรงจำในวัยเด็ก อย่างไรก็ตามงานของนาระยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะในสมัยเรเนซอง งานป๊อปอาร์ตของญี่ปุ่น และงานสไตล์มินิมอลลิซึ่ม งานของเขาไม่ได้มีแค่การวาดภาพสีน้ำมัน หรือสีอะคริลิคเท่านั้น แต่ยังมีทั้งศิลปะจัดวางที่ทำจากไฟเบอร์ และพลาสติก ชื่อเสียงของนาระเป็นที่จับตามาตั้งแต่มีการแสดงนิทรรศการเดี่ยวมากกว่า ๔o งาน ตั้งแต่อายุเพียง ๒๕ ปี เท่านั้น





โยชิโตโม นะระ



สำหรับ 8 ศิลปินรุ่นใหม่มาแรง ที่มีผลงานมาร่วมจัดแสดงในครั้งนี้ ได้แก่ อาคาอิเกะ เรียวโตะ (Akaike Ryoto), อาราตะ ฮิกุจิ (Arata Huguchi), ฮานาเอะ ซาซาโอเกะ (Hanae Sasaoka), ฮิโรยูกิ มัตสึอูระ (Hiroyuki Matsuura), โมโตโนริ อุวาสุ (Motonori Uwasa), ริวโซะ ซาตาเกะ (Ryuzo Satake), ชินอิจิ วาซากะ (Shinichi Wasaka) และ สติช ด็อก (Stitch Dog)

ขอเชิญชม “Japanese Contemporary Art Show” (เจแปนีส คอนเทมโพรารี อาร์ตโชว์) นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ผลงานสุดตื่นตาจากศิลปินระดับโลกชาวญี่ปุ่น ที่ไม่ควรพลาดชม ณ บริเวณชั้น G ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เอ็มบาสซีถึง ๒๑ ก.พ. ๒๕๕๙ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ



























































ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th














ด้วย "ดินสอ” ด้วย "หัวใจ” Mariusz Kędzierski ศิลปินโปแลนด์ ไร้แขน วัย ๒๓ ปี


“ความพิการ ไม่ได้หมายความว่า เราจะไม่สามารถอยู่ด้วยตัวเองได้ หรือมีชีวิตที่ดีไม่ได้”

ไม่ใช่คำพูดของนักให้กำลังใจผู้มีร่างกายสมบูรณ์พร้อม ที่เมื่อได้ฟังเราอาจต้องหยุดคิด และตั้งคำถามไปด้วยว่า “จริงหรือ”

แต่คือคำพูดของ Mariusz Kędzierski หนุ่มโปแลนด์วัย ๒๓ ปี ที่ชีวิตถูกทดสอบ ด้วยการไม่มอบมือและแขนที่สมบูรณ์ให้กับเขามาตั้งแต่เกิด

นอกจากจะผ่านบททดสอบได้อย่างสวยงาม สามารถทำได้ดีในสิ่งที่โดยปกติต้องอาศัยมือ นั่นก็คือ “การวาดรูป”

เรื่องราวของเขายังเป็นแรงบันดาลใจให้คนพิการอีกจำนวนมาก รวมถึงทำให้ผู้มีร่างกายสมบูรณ์พร้อม(แต่ใจไม่สู้) ต้องหยุดทบทวนตัวเอง










Mariusz Kędzierski ฝึกวาดรูปมาตั้งแต่อายุ ๓ ปี เคยหยุดวาดไปชั่วคราว ตอนออายุ ๑๒ ปี เพราะมีเหตุให้ต้องเข้ารับการผ่าตัด แต่หลังจากนั้น (ประมาณ ปี ค.ศ. ๒oo๘) เขาก็กลับมาฝึกวาดรูปอีก และวาดอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบัน

กว่า ๑๕.ooo ชั่วโมงที่ใช้ไปกับการวาดรูป เขามีผลงานภาพวาดที่วาดเสร็จสมบูรณ์มากกว่า ๗oo ภาพ รวมถึงเคยเข้าร่วมกิจกรรมด้านศิลปะและส่งผลงานเข้าประกวดในหลายประเทศทั่วยุโรป ในปี ๒o๑๓ เคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศ Best Global Oxford ที่เวียนนา

นอกจากจะฝึกฝนวาดภาพด้วยตัวเอง ที่ผ่านมา Mariusz Kędzierski เพิ่มพูนทักษะให้ตัวเอง ด้วยการเข้าไปเรียนวาดภาพเพิ่มเติมในวิทยาลัย ขณะที่ผลงานส่วนใหญ่ของเขาเป็นภาพวาดพอร์เทรตที่วาดด้วยดินสอ เขายังฝึกวาดภาพหุ่นนิ่ง (still Life) ไปด้วย

ทั้งเพื่อน สมาชิกในครอบครัว คนมีชื่อเสียง ฯลฯ เหล่านี้คือผู้ที่เป็นแบบให้เขาวาดภาพพอร์เทรต และตื่นเต้นเสมอที่จะได้ทดสอบฝีมือตัวเองด้วยการวาดผู้คนและเรื่องราวใหม่ ๆ

สังคมออนไลน์ทำให้หลายคนได้มีโอกาสเห็นผลงานของเขา ทำให้เขามีแฟนผลงานที่คอยติดตามอยู่ทั่วโลก และภาพวาดบางภาพของเขาเคยถูกนำไปทำเป็นปกซีดีเพลงในอเมริกา

Mariusz Kędzierski ไม่เคยรู้สึกอายกับสภาพที่ตัวเองเป็นอยู่ ระหว่างท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป บ่อยครั้งที่เราจะได้พบเขานั่งวาดภาพอยู่ท่ามกลางฝูงชน บนถนนของลอนดอน, ปารีส, เวนิซ ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Mariusz Draws ที่เขาริเริ่ม โครงการวาดรูปตามท้องถนนระหว่างท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ ที่ทำเช่นนี้เพราะต้องการเป็นแรงบันดาลใจและแสดงให้กับคนอื่น ๆ ได้เห็นว่า “ความฝันของคนเราไม่มีขีดจำกัด”























































ภาพและข้อมูลจาก
manager.co.th




บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ Hawaii_Havaii

Free TextEditor





Create Date : 20 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 20 กุมภาพันธ์ 2559 22:34:48 น. 0 comments
Counter : 4671 Pageviews.

haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.