Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
17 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 

▷▷ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหายไป......◁◁

สยามรัฐฯฉบับนี้ ผมนำเรื่องปะวัติศาสตร์ชัยนาทยุคโบราณมานำเสนอ

ข้าพเจ้าชอบวิชาประวัติศาสตร์ แม้จะไม่ค่อยแน่ใจว่ามันเป็น “ศาสตร์” หรือเป็น “ศิลป์” ก็ตาม


ในวันนี้ที่ต้องยุ่งอยู่ในคลีนิคทันตแพทย์เกือบทั้งวัน จึงขอเสนอความเห็นของข้าพเจ้าคนเดียว ไม่ได้อ้างอิงข้อเขียนของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช สักวันนะครับ

พูดถึงวิชาประวัติศาสตร์ ทุกคนบอกว่าเรื่องประวัติศาสตร์นั้นสำคัญ เป็นวิชาหนึ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้ ต้องเรียนกันตั้งแต่ชั้นประถม มีคนบอกว่าวิชาประวัติศาสตร์ดี ต้องเรียนรู้ ประวัติศาสตร์คืออดีต ต้องเรียนรู้อดีตเพื่อที่จะเข้าใจปัจจุบัน แล้วจึงจะรู้ว่าควรสร้างสรรค์อนาคตอย่างไร?

ข้อดีของวิชาประวัติศาสตร์ มีคนพูดถึงไว้มากแล้ว วันนี้ขอพูดถึงข้อเลวข้อเสีย หรือด้านลบของประวัติศาสตร์บ้าง

ข้อเสียของประวัติศาสตร์มีอย่างน้อย 4 ข้อ แต่เดือนนี้จะวิจารณ์ข้อเดียว คือประเด็น “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น”

โดยจะยกปัญหาเกี่ยวกับประวัติศษสตร์เจนละ –อีสานใต้ เป็นกรณีตัวอย่าง

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมันหายไป วิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นในยุคที่มีรัฐ มีพรมแดนประเทศเกิดขึ้นแล้ว เวลาเราศึกษาประวัติศาสตร์ก็เลยมักจะมุ่งแต่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ของอาณาจักร สำหรับประเทศเรา เรามีประวัติศาสตร์สยาม หรือประวัติศาสตร์ไทย โดยมีศูนย์กลาง เช่น สุโขทัย , อโยธยา, อยุธยา เป็นต้น ประวัติศาสตร์ลาว ก็มีศูนย์กลางอยู่เวียงจัน หลวงพระบาง คือเราถูกกรอบของพรมแดนกำหนดมิติในการศึกษา แต่คนสมัยโบราณที่เขาอยู่กันมันไม่ได้มีพรมแดนขีดแบ่งกันอย่างปัจจุบันนี้

ในวงวิชาการประวัติศาสตร์โลก เขาศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ประวัติศาสตร์ลาว ประวัติศาสตร์กัมพูชา เท่านั้น แล้วประวัติศาสตร์อีสานใต้ ประวัติศาสตร์บุรีรัมย์ มันหายไปมันไม่มีที่ยืน เวลามองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานใต้ เขาก็จัดไปรวมไว้ในประวัติศาสตร์กัมพูชา วัฒนธรรมเขมร หรือไม่ก็จัดอยู่ในประวัติหัวเมืองในประวัติศาสตร์ไทย

แต่ที่จริงแล้ว อีสานใต้ มีประวัติศาสตร์และอารยธรรม ของตนเองที่ยิ่งใหญ่ ที่ผ่านมาเรารับรู้ตามฝรั่ง เราหลงเชื่อฝรั่ง ว่าความเจริญต่างๆ ของอีสานใต้ อารยธรรมของอีสานใต้ เรารับมาจากเขมรยุคพระนคร (นครวัด)

แต่ถ้าหากเราไปศึกษาดูประวัติศาสตร์กัมพูชาก่อนยุคพระนคร เราจะพบว่าประวัติศาสตร์ก่อนยุคพระนครคือก่อนสร้างนครวัดนั้นมันสับสนยุ่งเหยิงมาก ประวัติศาสตร์ก่อนยุคนครวัดนั้นได้ถูกชำระเปลี่ยนแปลง รวบเอาประวัติของแคว้น “เจนละ” ไปเป็นประวัติศาสตร์กัมพูชา

ข้าพเจ้าขอย้อนอธิบายก่อนว่า ก่อนที่จะเกิดนครวัดนั้นแคว้นในดินแดนกัมพูชาและอีสานใต้มีอยู่อย่างไร

เมื่อประมาณหนึ่งพันเจ็ดร้อยกว่าปีมาแล้ว มีแคว้น “ฟูนัน” นักวิชาการเชื่อว่าอยู่ในดินแดนกัมพูชาทางตอนล่างใกล้ทะเล ในยุคสามก๊ก ซุนกวนประมุขของง่อก๊ก เคยส่งราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับแคว้นฟูนัน แคว้นฟูนันเจริญรุ่งเรืองอยู่หลายร้อยปี

ต่อมาถูกแคว้นเจนละ ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่เหนือขึ้นไปบุกโจมตีและยึดครองฟูนัน สมัยก่อนฝรั่งบอกว่าเจนละคือ เขตประเทศกัมพูชา แต่ตอนนี้นักวิชาการไทยคือ ดร.ธิดา สารยา อาจารย์ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ท่านได้เสนอมุมมองใหม่ ซึ่งจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ของภูมิภาคนี้ จากการศึกษาค้นคว้าทั้งเอกสารประวัติศาสตร์และหลักฐานโบราณคดี ท่านเห็นว่าศูนย์กลางของเจนละอยู่ในเขตอุบลราชธานี (อีสานใต้) ปราสาทหินแถบนั้นเป็นศิลปะก่อยยุคนครวัดเกือบทั้งสิ้น พระเจ้าจิตเสน กษัตริย์แคว้นเจนละในอีสานใต้เป็นวีรกษัตริย์เจนละที่ยกทัพไปรบชนะฟูนัน เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม ภาษา ศิลปะ การปกครอง ฯลฯ ตั้งศูนย์การปกครองขึ้นใหม่ทางตอนเหนือของแดนกัมพูชา จากนั้นพระเจ้าจิตเสนขยายอำนาจขึ้นมา ทางบุรีรัมย์ไปโคราชและในรัชสมัยโอรสของพระองค์ ได้ขยายต่อไปจนถึงทะเลภาคตะวันออกของไทยปัจจุบัน

ราชวงศ์ของเจนละใช้คำลงท้ายว่า “เสนะ” ส่วนของฟูนันใช้คำว่า “วรมัน” หลังจากได้ชัยชนะต่อฟูนันแล้ว พระเจ้าจิตเสนมีสมัญญานามใหม่ว่า “อีสานวรมัน”

การรวมประสานวัฒนธรรมเจนละกับฟูนัน คือต้นตอของอาณาจักรกัมพูชา หรือนครวัด ในสมัยต่อมา

ดังนั้นหากเปลี่ยนความเชื่อที่เคยเชื่อกันว่าอารยธรรมในอีสานใต้ได้รับต้นแบบจากกัมพูชา มาเป็นว่าอีสานใต้เคยมีอารยธรรมของตน (เจนละ) จากนั้นได้ขยายลงไปผสมผสานกับอารยธรรมฟูนัน พัฒนาขึ้นเป็นอารยธรรมนครวัด

ประวัติศาสตร์อีสานใต้ก็จะมีที่ยืนขึ้นมาในวงการประวัติศาสตร์โลก

ที่อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ มีโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งคือ ถ้ำเป็ดทอง น่าเสียดายที่น้ำท่วมไปแล้ว ที่นั่นมีจารึกของพระเจ้าจิตเสน อายุเกือบพันห้าร้อยปี เป็นจารึกของพระเจ้าจิตแสนผู้ตีได้ฟูนันนั่นเอง นั่นเป็นหลักฐานว่าพระเจ้าจิตเสนขยายอำนาจขึ้นมาจาก “ไผทสะมัน” ผ่านด่านส้มป่อย ขึ้นไปตามลำมาศสู่ที่ราบสูงโคราช

นอกจากจารึกถ้ำเป็ดทอง ก็ยังมีพระทองคำที่วัดโพธิ์ย้อย ปะคำ ,นางรอง เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานพันห้าร้อยปี ช่องทางด่านส้มป่อยใกล้ๆ นั้น เป็นเส้นทางสำคัญของติดต่อปะคำ,ไผทสะมัน มันเป็นเส้นทางมรดกหลายพันปีก็เดินผ่านตรงนี้ และที่นี่เราจะสร้างเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เรามีความภูมิใจในท้องถิ่น เราสามารถจะบอกกับคนไทยในทุกภูมิภาคได้ว่าเรามีประวัติศาสตร์เก่าแก่ ที่น่าภาคภูมิเช่นเดียวกับพี่น้องภาคอื่นๆ ภาคเหนือ มีหริภุญชัย ล้านนา , สุราษฎรธานีมีศรีวิชัย ,นครศรีธรรมราช มีตามพรลิงค์

ที่นี่ เรามีเจนละ มีจารึกถ้ำเป็ดทอง เก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 11 ที่ผ่านๆ มาประวัติศาสตร์มีข้อเสียอยู่ที่ละเลยประวัติของท้องถิ่น ละเลยประวัติศาสตร์ภูมิภาค ประวัติเมืองบุรีรัมย์ย้อนไปได้แค่สมัยพระยาจักรี ยกทัพไปตีเมืองอัตตะปือ ได้มาตั้งทัพที่เมืองแปะ ซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองเดิมของบุรีรัมย์ ประวัติก็มีเพียงเท่านี้

แต่ถ้าเราค้นคว้าอย่างมีวิสัยทัศน์ เราก็สามารถร่างภาพประวัติศาสตร์ของอีสานใต้ ของอำเภอปะคำ อำเภอนางรอง ให้เห็นว่ามันเกี่ยวพันกับการพัฒนาแว่นแคว้นบ้านเมืองของภูมิภาคนี้อย่างไร? การตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นขึ้นที่อนุสรณ์สถานประชาชน – อีสานใต้ วัดโคกเขา อ.ปะคำ และมีโครงการต่อไปว่าจะสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ขึ้นด้วย เป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก องค์กรต่าง ๆ ควรสนับสนุนโครงการดี ๆ อย่างนี้.

credit : siamratnews




 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2555
0 comments
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2555 16:40:11 น.
Counter : 1070 Pageviews.


Rain_sk
Location :
Upper Midwest United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 68 คน [?]





"ตลอดเวลาที่บาปยังไม่ส่งผล
คนพาลสำคัญบาปเหมือนน้ำผึ้ง
เมื่อใดบาปให้ผล คนพาลย่อมเข้าถึงทุกข์เมื่อนั้น"
ขุ.ธ. 25/15/24
เวลา 4.57PM :sat,Mar 29,2557



BlogGang Popular Award # 9


BlogGang Popular Award # 10


BlogGang Popular Award # 11


BlogGang Popular Award # 12


Friends' blogs
[Add Rain_sk's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.