Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
28 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
ฝึกลูกคิด.. อย่างวิศวกร




มุมมองและการคิดแบบ "วิศวกร"
ตลอดจนการสอนให้เด็กคิดแบบวิศวกรเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และน่าสนใจไม่ใช่น้อย
ยิ่งในยุคที่การศึกษาไทยเกิดปัญหา มีความล้มเหลวมากมายได้รับการเผยแพร่ออกมาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าเด็กไทย "คิดไม่เป็น" ด้วยแล้ว การฝึกลูกให้คิด และคิดอย่างไรจึงจะเรียกว่า "คิดเป็น"
คงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองต่าง ๆ ล้วนให้ความสนใจใช่ไหมคะ

ทีมงาน Life & Family มีโอกาสพบกับ รองศาสตราจารย์ ประดนเดช นีละคุปต์
รองผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หนึ่งในผู้จัดค่ายเยาวชนสมองแก้ว ซึ่งอาจารย์ได้เผยถึงแนวทางในการสอน
ให้ลูกคิดอย่างเป็นระบบสไตล์วิศวกรว่าประกอบด้วย ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ
การคิดเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์เหตุผลได้ และสามารถกระตุ้นให้เด็กแสวงหาความรู้ต่อไป

"การสอนให้เด็กหัดคิด ต้องสอนผ่านกิจกรรม หาโจทย์ให้เด็ก ๆ คิดและลงมือทำร่วมกัน
ซึ่งโจทย์หรือกิจกรรมเหล่านั้น จะเป็นตัวสร้างคุณสมบัติของวิศวกรให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็ก

นอกจากนี้ คุณสมบัติของผู้ที่เป็นวิศวกรที่ดีนั้นจะไม่คิดเฉย ๆ แต่ต้องมีผลิตผล คือต้องลงมือทำด้วย
ข้อดีที่เด็กจะได้รับจากการฝึกคือ เด็กจะเป็นคนกล้าพูดกล้าทำ อีกทั้งคำพูดคำจาของเด็กเปลี่ยนไป
เป็นการพูดเรื่องจริง พูดจากสิ่งที่ได้ทดลอง และมีผลการทดลองยืนยันด้วย"

"นอกจากนี้ ในการทดลองโครงงานต่าง ๆ ทางวิศวกรรม มักจะมีการกำหนดทรัพยากรให้เท่าเทียมกัน
เช่น สมมติว่าถ้าให้ถั่วเขียวมาทดลองก็ให้มาเท่า ๆ กัน
เด็กจะได้ฝึกการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และจะติดเป็นคุณสมบัติที่ดีของเขาต่อไปในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากร ไม่ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างฟุ่มเฟือย
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการรักษาสมดุลโลกในอนาคตด้วย"

นอกจากนั้น สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับเด็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการฝึกคุณสมบัติวิศวกรก็คือ "การท่องจำ"

ร.ศ.ประดนเดชกล่าวว่า "การท่องจำไม่ใช่คุณสมบัติของวิศวกร
หากแต่เป็นการเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจจากผลการทดลองหรือเข้าใจโดยสภาพของตนเอง"
ร.ศ.ประดนเดชกล่าว พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมในค่ายเยาวชนสมองแก้วที่เคยจัดมาให้ฟังว่า

"เราจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมด้านวิชาการ เช่น
มีการประกอบหุ่นยนต์ (Mobile Robot) ควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรลแบบบลูทูธ
เด็กจะได้รับกล่องหุ่นยนต์กันคนละ 1 ตัว ประกอบเอง เขียนโปรแกรมควบคุมเอง
ซึ่งผู้ใหญ่อาจไม่เชื่อว่าเด็ก ๆ เขาทำได้ แต่เขาทำได้จริง ๆ แต่เราก็ทำกิจกรรมให้สนุกขึ้น ด้วยการจัดการแข่งขัน
หาโจทย์มาให้เด็ก ๆ ได้แข่งกันหรือใครมีฝีมือด้านศิลปะ จะตกแต่งหุ่นยนต์ของเขาให้สวยงามด้วยก็ได้"

"กิจกรรมเหล่านี้ นอกจากจะสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการทำงานอย่างเป็นระบบแล้ว
ยังทำให้เยาวชนมีความชำนาญด้านเทคโนโลยี
ตลอดจนมีความสนใจในการประกอบอาชีพ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตมากขึ้น"
รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณกล่าวเสริม


ที่มา //www.saranair.com/article.php?sid=17516


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




Create Date : 28 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2552 19:28:35 น. 1 comments
Counter : 1236 Pageviews.

 
วิศวกรมาแอบอ่าน


โดย: วิศวกรแม่ลูกอ่อน IP: 125.24.190.57 วันที่: 28 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:29:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.