Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 
มหัศจรรย์การเรียนรู้...กับทารกในครรภ์



คุณต้องการพัฒนาสมองให้ลูกเกิดการเรียนรู้ที่ก้าวหน้า ตั้งแต่ในครรภ์หรือไม่
........ ใช่
..........ไม่ใช่


ถ้าตอบว่า ‘ใช่’ โปรดอ่านต่อที่หัวข้อ A
ถ้าตอบว่า ‘ไม่ใช่’ โปรดอ่านต่อที่หัวข้อ B
. . . . . . .



A ตอบว่า ‘ใช่’
สมอง คือ สิ่งมหัศจรรย์ ที่ทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้ตั้งแต่ในครรภ์

คุณแม่ทราบดีว่าสมองลูก สามารถพัฒนาให้เกิด การเรียนรู้ที่ดีได้ตั้งแต่ในครรภ์
จากการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เห็นความมหัศจรรย์ล้ำลึกของสมอง
ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่น่าเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่าสมองลูกแรกคลอดมีเส้นใยประสาทครบถ้วน เช่น
สมองส่วนกลาง แกนสมอง หรือก้านสมอง ที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์
อีกทั้งยังมีข้อมูลมากมายเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมของแม่ สุขภาพร่างกายและจิตใจแม่ขณะตั้งครรภ์
ล้วนมีผลต่อการเจริญเติบโตของสมอง และการเรียนรู้ของทารกในครรภ์ทั้งสิ้น



B ตอบว่า ‘ไม่ใช่’
ทราบหรือไม่ ว่าคุณสามารถพัฒนาให้ลูกเกิดการเรียนรู้ได้ตั้งแต่ในครรภ์

การคำนึงถึงการเจริญเติบโต ของสมองตั้งแต่ลูกยังเป็นทารกในครรภ์เป็นสิ่งสำคัญ
เพราะระยะตั้งครรภ์เป็นช่วงที่เซลล์สมองกำลังแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
และอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนาอวัยวะสำคัญทั้งหมด
จึงเป็นช่วงที่มีความไวต่อสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้ามาในตัวคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรค สารพิษ เช่น
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ สารเคมี หรือแม้แต่ยาบางชนิด และนักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบว่ายาเสพติด รังสี
ก็มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือการเดินทางของเซลล์ประสาทของทารก
ขณะที่ สมองกำลังเจริญเติบโตอยู่ในครรภ์อีกด้วย
..............


แม่ สำคัญต่อการพัฒนาสมองลูก
ไม่ว่าคำ ตอบในใจจะเป็นใช่หรือไม่ใช่ก็ตาม สมองของทารก ก็ยังคงต้องการการพัฒนาจากแม่ตั้งแต่ในครรภ์
เพราะครรภ์ของแม่ คือ สิ่งแวดล้อมแรกที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสมองลูก
ทั้งสภาพแวดล้อมภายในถุงน้ำคร่ำ ตัวแม่ และสิ่งแวดล้อมนอกตัวแม่
ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ทารกได้รับการพัฒนาระบบประสาทสัมผัสต่างๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เพื่อให้ทารกเตรียมพร้อมใช้ระบบประสาทสัมผัสด้านต่างๆ หลังคลอดได้ทันที เช่น

การรับรู้ด้านความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ทารกได้รับการพัฒนาระบบประสาทสัมผัสตั้งแต่ในครรภ์โดยอาศัย
น้ำหนักตัว
ระยะแรกน้ำหนักตัวทารกจะน้อย ทารกจะลอย อยู่ในน้ำคร่ำ เคลื่อนไหวแขนขาได้สะดวก
ต่อมาน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการสัมผัสระหว่างผิวของทารกกับผิวด้านในของมดลูก
จะกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสรับความรู้สึก พร้อมใช้งานได้ทันทีหลังคลอด

ถุงน้ำคร่ำ
การเคลื่อนไหววนเวียนของน้ำคร่ำรอบตัวทารก อยู่ตลอดเวลา
จะช่วยพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกของทารก ให้ใช้งานได้ดีขึ้น

การเคลื่อนไหวของแม่
เมื่อแม่เคลื่อนตัวไปมา ทารกจะเอนเอียงตัวไปตามจังหวะการเคลื่อนไหว
ผิวทารกจะได้รับการสัมผัสกับผนังด้านในของมดลูก ทำให้เกิดการพัฒนาระบบประสาทรับความรู้สึกได้เช่นกัน

การส่งเสริม
ลูบสัมผัสลูกผ่านหน้าท้องเบาๆ วนเป็นรูปวงกลมรอบสะดือ พร้อมกับนั่งเก้าอี้โยกตัวไปมาช้าๆ
เป็นจังหวะนิ่มนวล เล่นกับลูกผ่านทางหน้าท้อง เช่น ทุกครั้งที่ลูกดิ้นให้ตบหน้าท้องเบาๆ
เพื่อฝึกให้ลูกรู้จักนึกคิด และใช้สติปัญญาตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากภายนอก



การรับรู้รส
การกลืนน้ำคร่ำ
ทารกจะกลืนน้ำคร่ำตลอดเวลา ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้มีการพัฒนาของขากรรไกรและ
กล้ามเนื้อบริเวณแก้ม และการ กลืนน้ำคร่ำจะมีรสขมเล็กน้อย ถือเป็นการกระตุ้นให้ปุ่มรับรสบนลิ้นเกิดการพัฒนา


การดูดนิ้ว
เป็นการกระตุ้นประสาทการรับรส ทั้งผสมผสาน การมองและการรับรส การเคลื่อนไหวมือด้วย
เพราะทารกจะเอามือ เข้าปาก ต้องอาศัยการมองและการเคลื่อนไหวของมือ หลังคลอดทารกจึงดูดนมได้ทันที



การรับรู้ด้านการได้ยินเสียง
เสียง การเต้นของหัวใจแม่ การบีบตัวของลำไส้ การเคลื่อนไหวกระแสโลหิต
เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เสริมระบบการได้ยิน โดยเฉพาะเสียงหัวใจเต้นมีผลต่อการพัฒนาสมอง
รวมทั้งเสียงแม่ที่ทารกได้ยินและจดจำได้

การส่งเสริม
พบว่า 95% ของการเรียนรู้สมองทารกสามารถ เกิดขึ้นได้โดยที่แม่ไม่รู้ตัว เช่น
แม่ที่พูดคุยกับลูกในท้องบ่อยๆ เสียงพูดจะไปกระตุ้นและสร้างเส้นใยประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ซึ่งส่งผลดีต่อการพูดของทารก ดังนั้น ควรพูดคุยกับลูกด้วยระดับเสียงสูงๆ ถามย้ำกับลูกบ่อยๆ
หรือจะเล่านิทานให้ลูกฟัง ร้องเพลงกล่อมเด็ก หรือเปิดดนตรีเย็นๆ เช่น เพลงบรรเลง เพลงไทยเดิม เ
พลงคลาสสิกเดิมซ้ำๆ ตอนเย็น หรือหลังอาหารเย็นครั้งละ 5-10 นาทีทุกวันสม่ำเสมอ



การรับรู้ด้านการมองเห็น
ตั้ง ครรภ์ช่วงแรก ทารกจะลืมตาเมื่ออายุ 29 สัปดาห์ และเริ่ม มองเห็นผนังภายในมดลูกช่วงท้าย
ซึ่งผนังมดลูกเริ่มบาง ทำให้แสงผ่านเข้ามาได้ จึงเกิดกระบวนการกระตุ้นการมองเห็น
ทำให้ทารกรู้จักกลางวัน กลางคืน

การส่งเสริม
ให้คุณแม่อยู่ในที่ที่มีแสงจากธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งความสว่างในเวลากลางวันและ
ความมืดในเวลา กลางคืน เช่น เดินออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าทุกวัน
หรือ อยู่นอกบ้านดูดวงอาทิตย์กำลังตกดิน หรือปิดไฟในห้องให้มืดสลัว ก่อนเข้านอน


ที่มา Mother&Care



สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 03 สิงหาคม 2552
Last Update : 6 เมษายน 2555 23:28:19 น. 0 comments
Counter : 813 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.