Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
9 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
เหตุใดเด็กเล็กๆชอบพูดกับตนเอง



พ่อ แม่ ครู หรือพี่เลี้ยงเด็กมักจะสังเกตเห็นเด็กเล็กแทบทุกคน ชอบพูดกับตนเอง
เด็กบางคนพูดกับตนเองบ่อยครั้งกว่าที่จะพูดกับบุคคลอื่น นักจิตวิทยาสำรวจพบว่า เด็กที่มีอายุ
ต่ำกว่า 10 ขวบ ใช้ 20-60 เปอร์เซ็นต์ของเวลาในการพูดทั้งหมดพูดพึมพำกับตนเอง
ผู้ใหญ่หลายคนมีความคิดเห็นว่า การพูดของเด็กลักษณะนี้เป็นนิสัยที่ไม่มีความหมายใดๆ
เป็นพฤติกรรมที่ส่อแสดงความไร้สถียรภาพของอารมณ์ของเด็กนั้นๆ หลายคนจึงออกปากสั่ง
ห้ามมิให้เด็กพูดกับตนเอง แต่วงการจิตวิทยาปัจจุบันได้พบหลักฐานหลายประการที่ส่อแสดงว่า
การพูดกับตนเองเป็นพฤติกรรมธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับเด็กที่กำลังพัฒนา และการเข้าใจต่างๆ
ในความสำคัญของพฤติกรรมลักษณะนี้กำลังมีบทบาท ช่วยแก้ไขเด็กที่มีปัญหาในการเรียน
หนังสือให้ทุเลาเบาบางได้

Lev. S. Vygotsky นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย เป็นบุคคลแรกของโลกที่ได้ตระหนักใน
ความสำคัญของการที่เด็กพูดกับตนเอง แต่ผลงานของเขาถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ยุค Stalin
ประณามและห้ามเผยแพร่ เขาเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2477 โดยมิได้ล่วงรู้แม้แต่น้อยว่า
ผลการวิจัยของเขาจะเป็นที่ยอมรับในอีก 60 ปีต่อมา ความล่าช้าในการยอมรับความคิดของ
Vygotsky เกิดจากการที่วงการจิตวิทยาในสมัยนั้น ยึดมั่นในคำสอนของ Piaget
นักจิตวิทยาชาวสวิส Piaget เชื่อว่า การพูดกับตนเองของเด็กเล็กๆไม่มีความสำคัญและไม่มี
บทบาทในการพัฒนาเด็กแต่อย่างใด เมื่อเด็กเติบใหญ่ขึ้น เขาสามารถมีความสัมพันธ์ทางคำพูด
กับบุคคลรอบข้างได้ อุปนิสัยชอบพูดกับตนเองของเขาจะหมดไปเอง แต่ในเวลาต่อมา
Kohlberg นักจิตวิทยา อีกท่านหนึ่ง กลับมีความคิดเห็นพ้องกับความคิดของ Vygotsky
ในประเด็นความสำคัญของการชอบพูดกับตนเองของเด็ก Kohlberg คิดว่า การเข้าใจ
พฤติกรรมลักษณะนี้ของเด็กจะช่วยให้ผู้ใหญ่สามารถพัฒนาขีดความสามารถของเด็กเล็กๆ ได้
เพราะเวลาเด็กเล็กๆ พูดกับตนเอง เด็กคนนั้นกำลังพยายามจะ ติดต่อกับสังคมรอบข้าง
การพูดบ่อยและพูดซ้ำ เพราะคำพูดของเด็กสามารถจุดประกายความคิดของเขา
และชี้นำให้เขารู้จักคิด ที่จะทำกิจกรรมต่างๆ จนชำนาญ ตามแนวคิดของตน

เมื่อเร็วๆ นี้ L.E Berk แห่ง Illinois State Univ. ในสหรับอเมริกา
ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Child Development สนับสนุนความคิดของ Vygotsky
และ Kohlberg เธอกับคณะได้พบว่า ขณะอยู่ท่ามกลางสังคมที่สับสน
เด็กเล็กๆ มักจะ ใช้ วิธีการพูดกับตนเองในการแก้ปัญหาที่เขากำลังเผชิญอยู่
การพูดกับตนเองจะเกิดบ่อยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของกิจกรรมที่เด็กคนนั้นกำลังทำอยู่
และขึ้นอยู่กับการที่เขาเข้าใจความมุ่งหมายของงานที่เขากำลังทำอีกด้วย
นอกจากนี้อุปนิสัยส่วนตัวของเด็กก็เป็นปัจจัยสำคัญในการชักนำให้เด็กพูดกับตนเอง

ดังนั้นเมื่อครู หรือผู้ปกครองเห็นเด็กกำลังพูดกับตนเอง นั่นก็คือสัญญาณการชี้บอกให้ผู้ใหญ่
แสวงหาหนทางสร้างสภาพแวดล้อมของเด็ก ให้เขาใช้กระบวนการพูดกับตนเองได้อย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น เวลาเด็กเล็กพยายามทำงานที่เขาไม่เคยมีประสบการณ์ทำมาก่อน
เด็กคนนั้นจะพูดกับตนเองบ่อย แสดงว่าเขากำลังต้องการคำพูดสนับสนุนจากผู้ใหญ่และต้องการ
การประคับประคอง เวลาที่เขาไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายในการทำกิจกรรมใดๆ เขาก็มักจะพูดกับตน
เองบ่อยเช่นกัน ผู้ใหญ่ก็อาจจะบอกวิธีทำจุดมุ่งหมายที่เกิดขึ้น ให้เขาเห็นอย่างชัดเจนก่อน
เมื่อสังเกตเห็นว่า เขาเข้าใจแล้ว ผู้ใหญ่จึงค่อย ถอนตัวออกมาทีละน้อย
เพื่อให้เด็กรู้จักทำกิจกรรมตามแนวความคิดของตัวเด็กเอง
เด็กที่ถูกสั่งห้าม หรือถูกตำหนิเวลาที่เขาพูดกับตนเอง มักจะเกิดอาการไม่ชอบเรียนหนังสือ
และเด็กเหล่านี้มักจะไม่รู้จักควบคุมอารมณ์เวลาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในภายหน้า

เมื่อเป็นเช่นนี้ Berk และคณะจึงสรุปว่า
การพูดกับตนเองเป็นพฤติกรรมที่ปกติของเด็กเล็กซึ่งผู้ใหญ่ควรสนใจ เพื่อจะได้เข้าใจ
ความคิดฝัน และความยุ่งยากในจิตใจของเขา อันจะนำไปสู่การหาหนทางช่วยเหลือ
หรือชี้แนะให้เขาสามารถแก้ปัญหา ที่เขากำลังประสบอยู่ให้ลุ่ล่วงด้วยตัวเขาเองได้

ขณะนี้ทฤษฎีของ Vygotsky กำลังมีบทบาทมาก
ในการช่วยนักการศึกษาสอนเด็กเล็กที่มีปัญหาในการเรียนหนังสืออีกด้วย
เสียดายที่ทฤษฎีนี้พลาดโอกาสช่วยผู้ใหญ่รุ่นเราให้เรียนได้ และเรียนดีกว่านี้

ที่มา //www.ipst.ac.th


Create Date : 09 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2552 15:25:22 น. 0 comments
Counter : 702 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.