Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 
3 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ทดสอบการได้ยินของทารก

ทดสอบการได้ยินของทารก


ข้อมูลทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ทารกปกติ 1,000 คน จะมีปัญหาการได้ยิน 1.5-3 คน
ส่วนทารกคลอดก่อนกำหนด 100 คน จะมีปัญหาการไดเยิน 2-4 คน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยเลย

การสูญเสียการได้ยินนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด
และหากไม่ได้รับการตรวจแต่เนิ่นๆ จะทำให้มีผลต่อพัฒนาการต่างๆ ที่สำคัญสำหรับเด็กในขวบปีแรก
โดยเฉพาะการออกเสียงและการพูด ตลอดจนอาจก่อให้เกิดผลเสียทางด้านอื่นๆ ตามมาอีกหลายประการคือ

1. ทารกมีพัฒนาการช้าในบางเรื่อง
เช่น ทารกจะเริ่มเข้าใจความหมายของการเรียกชื่อ รวมถึงการชี้บอกสิ่งที่เราถามได้ถูกต้อง
แต่หากทารกมีปัญหาการได้ยิน อาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว มากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาการได้ยิน
อาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เรื่องดังกล่าว มากกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหาการได้ยิน
โดยจะเริ่มเมื่ออายุ 2-4 ปีขึ้นไป ซึ่งควรจะได้เรียนรู้เรื่องอื่นๆ แล้ว

2. เสียบุคลิกภาพ
เนื่องจากทารกไม่ได้ยิน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารเพื่อบอกถึงความต้องการของตัวเอง
และตอบสนองความต้องการของผู้อื่นได้ อาจทำให้ทารกเกิดความหงุดหงิด และกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้าย

3. ได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เนื่องจากการวินิจฉัยล่าช้า


ดังนั้น จะเห็นได้ว่าปัญหาการได้ยินนั้นเป็นปัญหาต่อเนื่อง
ปัจจุบันมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ใช้ในการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของทารกเรียกว่า OAE
(Otoacoustic emission) ซึ่งจะช่วยในการตรวจวินิจฉัยปัญหา การได้ยินของทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด
ทำให้เราทราบและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการได้ยินของเด็กเร็วขึ้น ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป

วิธีการทดสอบการได้ยิน
การทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของทารกทำได้ 2 วิธีคือ

วิธีที่ 1. การทดสอบการได้ยินโดยการใช้ OAE (Otoacoustic emission) เป็นวิธีการตรวจที่ดีมากสำหรับทารก
ทารกจะได้ยินเสียงจากหูฟังเล็กๆ และคอมพิวเตอร์ จะทำการวัดระดับความดังของเสียงที่หูทารกสะท้อนกลับมา
การทดสอบด้วยวิธีนี้จะทำในขณะที่ทารกหลับ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้ ก่อนส่งไปให้กุมารแพทย์วินิจฉัยอีกครั้ง

วิธีที่ 2. การทดสอบการได้ยินด้วยวิธี ABR (Auditory Brainstem Response Test)
เป็นวิธีการทดสอบเพื่อยืนยันผลการตรวจการทดสอบด้วยวิธีนี้
ทารกจะได้ยินเสียงผ่าน Head Phone และผู้ทดสอบจะสามารถวัดการได้ยินของทารก

“การทดสอบทั้งสองวิธีนี้ เป็นการทดสอบที่ปลอดภัย และไม่ทำให้ทารกเจ็บปวดแต่อย่างใด”


สำหรับการรักษา หลังการตรวจพบว่าทารกมีความผิดปกติ สามารถเริ่มรักษาได้ภายในขวบปีแรก
ด้วยวิธีที่เหมาะสมกับอาการ เช่น ใช้วิธีใส่เครื่องขยายเสียง โดยเริ่มใส่หูฟังได้อายุ 6 เดือนขึ้นไป
การสอนให้ทารกพูดหากว่าทารกได้ยินอยู่บ้าง หรือใช้การผ่าตัด เป็นต้น



ทดสอบการได้ยินของลูกอย่างง่ายๆ

อายุ 0-3 เดือน พฤติกรรมตอบสนองต่อเสียง:
ตอบสนองต่อเสียงดังมีอาการเงียบลงเมื่อได้ยินเสียงคุณแม่

อายุ 3-6 เดือน พฤติกรรมตอบสนองต่อเสียง:
หันศีรษะหรือมองหาเสียงที่คุ้นเคย ทำเสียงดังหรือมีเสียงจากลำคอ เช่น เสียงคราง

อายุ 6-10 เดือน พฤติกรรมตอบสนองต่อเสียง:
ตอบสนองเมื่อได้ยินเสียงเรียกชื่อตนเองเริ่มเข้าใจความหมายของคำว่า “ไม่”และ“บ๊ายบาย”

อายุ 10-15 เดือน พฤติกรรมตอบสนองต่อเสียง:
ทำเสียงซ้ำๆ กัน และเลียนแบบเสียงที่คุณทำสามารถชี้ หรือเข้าหาสิ่งของที่คุ้นเคยเมื่อคุณถาม


ขอขอบคุณ นิตยสาร บันทึกคุณแม่
ที่มา : //women.sanook.com


สารบัญแม่และเด็ก




Create Date : 03 มิถุนายน 2553
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 21:33:55 น. 0 comments
Counter : 1579 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.