Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
5 สิงหาคม 2552
 
All Blogs
 

ใช้ฮีโร่เป็นประโยชน์ เสริมอิทธิพลด้านบวกต่อลูก

ใช้ฮีโร่เป็นประโยชน์ เสริมอิทธิพลด้านบวกต่อลูก

ฮีโร่ นอกจากจะเกิดในกรณีฮือฮา เมื่อเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่สวมชุดสไปเดอร์แมนเข้าไปช่วยเหลือเด็กน้อย
ในเหตุการณ์เมื่อเร็วๆ นี้แล้ว ในโลกแห่งความฝันและจินตนาการของเด็กๆ มีผลดีผลเสียต่อเด็กอย่างไร

ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
กล่าวถึงการที่ เด็กคนหนึ่งมีฮีโร่ในใจว่า เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะฮีโร่ก็คือต้นแบบของเด็ก
ทำให้เด็กมีขวัญใจ มีกำลังใจ อันจะส่งผลต่ออิทธิพลในการใช้ชีวิต

เด็ก คนหนึ่งย่อมมีฮีโร่ไม่เหมือนกัน มันก็เหมือนกับความประทับใจที่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
พ่อแม่มีส่วนอย่างยิ่งที่จะช่วยเลือกสรรเรื่องราวดีๆ โดยเฉพาะสื่อต่างๆ ควรเน้นภาพที่เคลื่อนไหว มีภาพประกอบ
เด็กจะถูกกระตุ้นและทำให้อินไปกับเรื่อง ราวของฮีโร่ที่อยู่ในสื่อนั้นๆ
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสื่อการ์ตูนในโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ พ่อแม่จึงต้องเลือกและให้โอกาสเด็กๆ ได้สัมผัสกับฮีโร่
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงแค่สื่อเพียงอย่างเดียว ตัวพ่อ แม่ ครูเองก็เป็นฮีโร่ของเด็กๆ ได้
โดยทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งต้องแสดงออกมาทางพฤติกรรม ไม่ใช่แสดงออกเพียงแค่คำพูด
แต่ต้องเน้นออกมาทางการแสดง หรือพฤติกรรมเพื่อให้เด็กๆ ชื่นชมและอยากเอาเป็นแบบอย่าง

ดร.ฉัฐวีณ์ สิทธิศิรอรรถ อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)
กล่าวว่าการมี ฮีโร่ถือเป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่เชื่อว่า คนเราจะทำสิ่งที่ดีงามจำเป็นต้อง มีฮีโร่ที่ดีงามเป็นต้นแบบ
ซึ่งจะนำพาไปถึงความคิด พฤติกรรม เหมือนอย่างเช่น เด็กคนหนึ่งชอบสไปเดอร์แมน ชอบซูเปอร์แมน
ไม่ได้เพียงแค่ชอบที่สไปเดอร์แมนปีนตึกสูง หรือมีชุดที่เท่เพียงแค่นั้น
แต่เด็กๆ เข้าถึงคำว่า การช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ ผู้เดือดร้อน

พ่อแม่มีส่วนสำคัญมากที่จะให้โอกาสเด็กๆ ได้เข้าถึงและรู้จักกับฮีโร่ หากแต่ต้องไม่ให้เขาหลงผิด เช่น
ไม่ใช่อยากกระโดดตึก หรือปีนป่ายในที่สูงเหมือนสไปเดอร์แมนหรือซูเปอร์แมน
แต่ต้องบอกให้เขาเห็นถึงการช่วยเหลือคนอื่น โดยไม่จำเป็นต้องไปปีนป่ายบนที่สูง

หากเราไม่ช่วยกันบอก แต่ให้เด็กหลงไปกับพฤติกรรมของฮีโร่ที่เขาชื่นชอบ จะทำให้เด็กๆ ที่ยังขาดเหตุผล
ขาดการไตร่ตรอง อยากเอาเป็นเยี่ยงอย่าง
หากเด็กๆ ดำเนินรอยตามต้นแบบหรือฮีโร่ในทางที่เป็นไปได้ก็จะเกิดข้อดี
แต่หากเลียนแบบพฤติกรรมอยากไต่ที่สูง อยากปีนป่ายตึกก็จะเกิดข้อเสียขึ้นมา

หรือ เด็กผู้หญิงหลงใหลในเจ้าหญิงผู้มีสิริโฉมงดงาม เด็กก็จะเอาแต่แต่งตัว รักสวยรักงามมากเกินไป

พ่อแม่ ครูจึงต้องคอยบอกให้เด็กเข้าใจ และอยู่ในความเป็นจริง
ทำให้เด็กเห็นว่าการเป็น เจ้าหญิงหรือเป็นนางฟ้านั้นต้องเป็นคนดี ไม่จำเป็นต้องเหาะได้หรือเสกสิ่งนั้นสิ่งนี้
แต่ทำให้เด็กๆ เห็นว่าถึงเด็กๆ จะเสกอะไรไม่ได้แต่เขาก็เป็นนางฟ้า เจ้าหญิงที่ดีได้ หากเขาขยันเรียน เป็นเด็กดี
เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่และคุณครู สิ่งเหล่านี้ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันบอกเด็กๆ

“เด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย อาจมีฐานคิดเกี่ยวกับฮีโร่ ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อลองคลี่ฮีโร่ของแต่ละคนออกมา
เราจะเห็นว่าฮีโร่ของเด็กๆ ล้วนแต่เป็นบุคคลที่มีศีลธรรม พิทักษ์ความดีขจัดความชั่ว รู้จักการเสียสละ
ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม หากเราช่วยกันชี้ให้เด็กๆ เห็นแก่นในตัวของฮีโร่ที่อยู่ในจินตนาการของเด็กๆ
ฮีโร่ที่เด็กเชื่อมั่นและศรัทธาจะเกิดประโยชน์ต่อตัวของเด็กๆ เองและจะเป็นเชื้อที่ดีให้กับเขาในอนาคต”

นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ ผอ.มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าวว่า การคลั่งไคล้หรือมีฮีโร่ในดวงใจ
ส่วนมากจะเกิดในช่วงเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชายวัยไม่เกิน 9 ขวบ โดยจะแยกความฝันกับความจริงไม่ได้
ช่วงวัย 9-12 ปี อาจมีเพ้อฝันถึงฮีโร่ไปสักระยะหนึ่ง
หลังจากอายุ 12 ปีแล้วจะลดและเลิกไปเอง แล้วไปคลั่งไคล้ดารานักร้องนักแสดงแทน
การที่เด็กหลงใหลฮีโร่ เนื่องจากพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาพาลูกไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น เล่นกีฬา ไปเที่ยว
ปล่อยให้เด็กหมกมุ่นเพ้อฝันกับการ์ตูน ฮีโร่หรือติดเกม

การที่เด็กคลั่งไคล้ฮีโร่จะทำให้เด็กเกิดความสับสนเรื่องคุณธรรมความดี เพราะฮีโร่จะใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา
เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิตที่ไม่ดีนัก ไม่ใช้กลไกเหตุผลในการแก้ปัญหา มีแต่การใช้กำลังในการจัดการปัญหา
และมีแนวโน้มจะใช้ความรุนแรงจัดการปัญหาในอนาคต จะแยกคุณธรรมไม่ออก
เพราะตัวเอกหรือฮีโร่บางเรื่อง มีความสับสนในประเด็นศีลธรรมกฎหมาย เช่น ให้พระเอกข่มขืนนางเอกได้
และแต่งงานกันตอนจบ เด็กจะสับสนเรื่องคุณธรรมมาก

หากชั่งน้ำหนักดูผลดีจากการที่เด็กมีฮีโร่ในใจ พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนเกี่ยวข้อง
หากพ่อแม่สนับสนุนซื้อตุ๊กตาข้าวของฮีโร่ให้กับลูก ต้องทำความเข้าใจให้เรียนรู้การพัฒนา
ส่งเสริมจินตนาการในทางสร้างสรรค์ พูดคุยกับเด็กจะได้ผลดีมาก
แต่ถ้าพ่อแม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับฮีโร่ตามลำพังอาจจะพัฒนาไปในทางไม่ถูกต้อง

พ่อแม่ควรใช้เวลาทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เป็นแบบอย่างที่ดีด้านจริยธรรมคุณธรรม
เพื่อเป็นภูมิต้านทานละครหรือสื่ออื่นๆ ที่จะเป็นเกราะไม่ให้เด็กถูกครอบงำได้

พ.ญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.ศูนย์สุขภาพจิตที่ 13 กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า
การคลั่งไคล้ชื่นชมต้นแบบเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 3 ขวบ
จากคนใกล้ตัวที่รัก เช่น พ่อแม่ จะเห็นเด็กเอาเนกไท รองเท้าคุณพ่อมาใส่แอ๊กท่าเลียนแบบ
และมีจินตนาการต่อไปโดยเริ่มชื่นชอบสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ซูเปอร์แมน สไปเดอร์แมน
และส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมเลียนแบบ ทำให้เด็กมีค่านิยมหลายอย่าง เช่น
ค่านิยมทางเพศ จากความเป็นสุภาพบุรุษของซูเปอร์แมน ค่านิยมคุณธรรมในการช่วยเหลือคนอื่น
และน่าเป็นห่วงในด้านไม่ดี เช่น ความเจ้าชู้ของขุนแผน การทุบตีทำร้าย เพราะฮีโร่ก็มีข้อเสีย
ดังนั้นต้องอาศัยการกล่อมเกลาจากพ่อแม่ที่อยู่ใกล้ตัวมาช่วยดูแล

ความชื่นชอบฮีโร่หรือพระเอกในดวงใจที่พอเหมาะของเด็กไม่ถือเป็นปัญหา อย่าเพิ่งไปตกใจ
แต่ควรใช้การคลั่งไคล้ฮีโร่ของเด็กให้เป็นประโยชน์ทางบวก เช่น
เด็กไม่กินผักเราตะล่อมเด็กได้ว่าไอ้มดแดงชอบกินผัก
หรือจูงใจเด็กให้ออกกำลังกาย เล่นกีฬา บอกว่าเป็นเหมือนอุลตร้าแมน

หลายเรื่องดีๆ นำมาสอนเด็กได้ อย่าปล่อยให้เด็กถูกเลี้ยงดูโดยฮีโร่ แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองห่างเหินลูก
เด็กจะก๊อบปี้พฤติกรรมด้านลบ เช่น โดดจากที่สูง การใช้ความรุนแรง ซึ่งจะเป็นผลลบกับเด็กเอง

ข้อมูลจาก ข่าวสด



สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 05 สิงหาคม 2552
0 comments
Last Update : 5 เมษายน 2555 22:23:03 น.
Counter : 852 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.