Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
14 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
ทำอย่างไร เมื่อลูกชอบร้องอาละวาด?

 ทำอย่างไร เมื่อลูกชอบร้องอาละวาด

* ครอบครัว แนะพ่อแม่เบี่ยงเบนความสนใจ-ไม่เกรี้ยวกราดต่อเด็ก

หากลูกน้อยของคุณร้องดิ้นอาละวาด เวลาอยากได้หรืออยากทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ห้าม
อาจเป็นสิ่งที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ เป็นกังวลเวลาพาลูกๆ ออกไปนอกบ้าน
แล้วนิสัยเหล่านี้จะติดตัวหนูๆ ไปจนโตรึเปล่า

มีวิธีการจัดการกับพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่
พ.ญ.นันทกรณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กุมารแพทย์ ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม โรงพยาบาลปิยะเวท
ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า Tantrum หรือ การร้องดิ้นอาละวาด เป็นปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อย
โดยเฉพาะช่วงวัยเตาะแตะ (1 - 3 ขวบ) มักเกิดเมื่อหนูต้องการจะเอาชนะหรืออยากได้อยากทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ห้าม

บ้าง ก็ทุ่มตัวลงกับพื้น กรีดร้องปานว่าจะขาดใจ จนพ่อแม่รวมทั้งผู้ใหญ่รอบข้างมักจะต้องยอมแพ้ด้วยการตามใจ
เพราะทนฟังเสียงร้องไห้ของแก้วตาดวงใจไม่ไหว
เมื่อหนูทำสำเร็จซักครั้งหนูก็จะเรียนรู้ว่ามันได้ผลและพฤติกรรมนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกบ่อยๆ

หลัก ในการจัดการเวลาเด็กร้องดิ้นอาละวาด ก็ไม่ต่างกับหลักการปรับพฤติกรรมที่มีปัญหาอื่นๆ
เมื่อเราไม่ต้องการให้หนูทำพฤติกรรมใด เราก็ต้องไม่ให้ความสนใจกับพฤติกรรมนั้น
แต่ขณะที่เราแสดงให้หนูเห็นว่าผู้ใหญ่ไม่สนใจ ก็ต้องแน่ใจว่าเด็กอยู่ในที่ๆ ปลอดภัย ไม่เกิดการบาดเจ็บ

ถ้า เกิดอาการนี้ที่บ้านคุณพ่อคุณแม่ก็คงสามารถจัดการได้ไม่ยาก
แต่หากเกิดในที่อื่นๆ เช่น ในห้าง ในร้านอาหาร ก็คงไม่สามารถแสดงความไม่สนใจหรือเดินหนีตรงนั้นได้
แต่สามารถจัดการได้โดยอุ้มเด็กไปที่ๆ เงียบสงบและให้หนูได้ร้องจนเต็มที่จนหนูเหนื่อยและหยุดเอง

ผู้ใหญ่ อาจบอกว่า "แม่รู้ว่าหนูโกรธ หนูร้องออกมาได้ลูก พอลูกร้องพอแล้วเราจะเข้าไปเที่ยวในห้างต่อ
แต่ถ้าหนูไม่หยุดร้องก็ไม่เป็นไร เราก็กลับบ้านกันเลย”
โดย ไม่ใช้น้ำเสียงที่เกรี้ยวกราดหรืออ่อนโยนเกินไป
แต่เลือกใช้น้ำเสียงที่นิ่งไม่แสดงอารมณ์และมั่นคง เพื่อให้หนูรู้ว่าร้องยังไงผู้ใหญ่ก็ไม่เปลี่ยนใจ

นอกจากวิธีพื้นฐานดังกล่าวแล้ว ยังมีเคล็ดลับอีกหลายข้อ คือ ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม
อย่างเช่น พยายามเก็บสิ่งที่เราไม่ให้เล่นให้พ้นสายตาเด็ก หรือจะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของหนูไปหาสิ่งอื่น
การจัดการกับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์นั้นไม่ใช่เรื่องยากที่จะเข้าใจ
เพียงแต่เมื่ออยู่ในเหตุการณ์จริง ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักใช้อารมณ์เป็นตัวนำ ทำให้พลาดโอกาสที่จะแก้ไข

ดังนั้น ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่มองให้ออกว่าหนูร้องดิ้นอาละวาดเพราะอะไร
และจะสงบอารมณ์นั้นของลูก (รวมทั้งระงับอารมณ์โกรธของตัวเราเอง) ได้อย่างไรโดยไม่ต้องตามใจ
และลูกรับรู้ว่าเราเข้าใจอารมณ์ของเขา แต่ไม่ยอมเปลี่ยนใจกับสิ่งที่เราห้าม
สุดท้ายพฤติกรรมนั้น ก็จะหายไปและความรู้สึกของทั้งเราและลูกก็ยังดีต่อกัน อยู่

แต่ หลังจากนั้นแน่นอนว่า เจ้าตัวน้อยแสนฉลาดของคุณก็อาจจะคิดหาวิธีเอาชนะคุณใหม่ๆ มาอีกเรื่อยๆ
ซึ่งคุณก็คงต้องเตรียมหาวิธีรับมือเช่นกัน

ที่มา: ไทยโพสต์



สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




Create Date : 14 กรกฎาคม 2552
Last Update : 14 กรกฎาคม 2552 19:47:54 น. 1 comments
Counter : 958 Pageviews.

 
เข้ามาอ่าน เตรียมรับมือเด็กน้อยอาละวาดค่ะ ^0^

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับเรื่องดี ๆ ข้อมูลดี ๆ มาเล่าสู่กันฟัง


โดย: phety talon วันที่: 15 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:41:53 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.