Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 
หลากวิธี "บอกรัก" สื่อสายใยแม่สู่ลูก



ทุกวันนี้ มีคุณแม่มือใหม่จำนวนมากพากันขวนขวายหาความรู้ใหม่ๆ
จากสื่อและเวทีต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก
แต่ผลอาจไม่เป็นไปตามที่หวัง จนต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองอีกครั้งว่า
จะทำอย่างไรให้การเลี้ยงดูลูกของตนได้มาตรฐานและสมบูรณ์แบบที่สุด

มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก วิเคราะห์สาเหตุที่แม่เลี้ยงดูลูกไม่ได้มาตรฐานไว้ 2 ประการ
หนึ่ง รักแต่ไม่แสดงให้ลูกเห็น
และสอง คือ รักลูกแต่เลี้ยงลูกไม่เป็น

พร้อมมีคำแนะนำให้คุณแม่ลองนำไปคิดและปฏิบัติ

การที่แม่รัก แต่ไม่แสดงให้ลูกเห็น เพราะคิดว่าทำทุกอย่างด้วยความรักแล้ว ลูกจะเข้าใจเองเมื่อโตขึ้น
จะทำให้การสื่อสารระหว่างแม่ลูกขาดตอน เช่น การที่แม่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับลูกในโรงเรียน
ก็จะทำให้ไม่รู้ว่าชีวิตความเป็นไปของลูกที่โรงเรียนเป็นอย่างไร
สุดท้ายจะไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของลูก ที่มีสาเหตุมาจากสังคมแวดล้อมที่โรงเรียน

แม่บางคนไม่รู้จักหรือเข้าไปพูดคุยกับเพื่อนๆ ของลูก ทำให้ไม่รู้ว่าลูกมีเพื่อนสนิทเป็นใคร
ทั้งที่กลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลและมีบทบาทต่อลูก ตามพัฒนาการที่มากขึ้น
โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่น แม่ควรให้โอกาสลูกได้พบปะเพื่อนในช่วงวันหยุดบ้าง
หรือถ้าอยากดูแลลูกใกล้ชิด ควรชวนเพื่อนลูกมาเที่ยวที่บ้าน เพื่อจะได้รู้จักชีวิตอีกส่วนหนึ่งของลูก

นอกจากนี้การเลี้ยงดูที่ขาดทักษะการจัดการปัญหา อาจทำให้แม่ใช้ความรุนแรงกับลูก ลงโทษด้วยการตี ด่า
แม้จะเกิดจากความหวังดี แต่กลับทำให้ลูกรู้สึกว่าแม่ไม่รัก

จะทำอย่างไรให้ลูกรู้ว่าแม่รัก
การแสดงออกว่ารักลูก คือการทำให้ลูกรู้ว่าลูกมีคุณค่า และมีความหมาย
ทำได้หลายวิธี ทั้งชมเชย เมื่อลูกทำสิ่งที่ดีหรือทำสำเร็จ (ไม่ชมจนเกินความพอดี)
จำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวลูกได้ เช่น วันเกิด ความสนใจของลูก สนับสนุนให้ลูกพัฒนาสิ่งที่ชอบและสนใจ
ไม่กำหนดลูกให้เป็นไปตามความต้องการของแม่ เช่น ลูกอยากเล่นดนตรี แต่แม่เลือกให้ไปเรียนพิเศษแทน
แม่ควรมีส่วนร่วมในชีวิตลูก ใช้ชีวิตร่วมกัน เช่น พาลูกไปเที่ยว ทำกิจกรรมร่วมกับลูก เป็นต้น

แม่ต้องแก้ไขปัญหาของลูกที่สาเหตุเป็นสำคัญ เช่น หากลูกไม่ยอมช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน
ไม่ควรใช้วิธีดุด่าว่ากล่าว เพราะเมื่อย้อนกลับมาดูสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงนั้น
อาจเป็นเพราะแม่ไม่ได้กระตุ้นให้ลูกรับผิดชอบตั้งแต่แรก
ดังนั้นต้องค่อยๆ ให้ลูกมีส่วนรับผิดชอบทีละนิด ตามศักยภาพของเด็กอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ไม่ควรก้าวกระโดดให้รับผิดชอบงานที่เกินศักยภาพของลูกทันทีทันใด

การแสดงออกว่ารักลูก อาจเป็นการแสดงท่าทีทางร่างกายให้ลูกรู้ว่ารัก
เช่น การกอดหรือการสัมผัสในจังหวะที่เหมาะสม การพูดคุยด้วยความรัก
การให้ความสนใจเมื่อลูกต้องการสื่อสารด้วย
การรับฟังความรู้สึกที่ไม่ดีที่ลูกต้องการระบาย หรือขอความช่วยเหลืออย่างเต็มใจ


สำหรับสาเหตุของการรักลูก แต่เลี้ยงลูกไม่เป็น
เกิดจากแม่ไม่เข้าใจพัฒนาการของลูก มักเห็นว่าลูกเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ตลอดเวลา
ใช้วิธีเลี้ยงลูกแบบตายตัวด้วยวิธีการเดียวกันหมด ไม่ปรับเปลี่ยนไปตามพัฒนาการ
เข้าไปยุ่งเกี่ยวในรายละเอียดการดำเนินชีวิตของลูก ทุกย่างก้าวจนกระทั่งลูกโต

การแสดงออกของแม่เช่นนี้ จะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างแม่กับลูกไม่สู้ดีนัก
เช่น ทำให้ลูกรู้สึกรำคาญ มีท่าทีถอยห่าง ไม่ยอมรับความรักความมีไมตรีจากแม่
จนในที่สุดลูกอาจหาทางสร้างเงื่อนไขที่จะไม่อยู่กับแม่
โดยเฉพาะลูกชาย ซึ่งแม่มักลงรายละเอียดในเรื่องส่วนตัว ที่เห็นได้ชัดคือการช่วยลูกเลือกคบเพื่อนต่างเพศ

การสอนที่ได้ผลคือ การเป็นแบบอย่างด้วยการดำเนินชีวิตจริงของพ่อแม่
เช่น ถ้าแม่เป็นคนที่ไม่มีวินัยในตนเอง เห็นว่าลูกไม่ควรดูละครที่มีความรุนแรง (ไม่เฉพาะเรื่องทำร้ายร่างกาย
ฆ่าฟันกัน แต่รวมถึงการทะเลาะเบาะแว้ง ขึ้นเสียง ประชดประชัน ด่าทอกันด้วย) แต่แม่กลับติดละคร
ก็จะทำให้ลูกต้องการดูตาม จนกลายเป็นคนชอบดูละครและสื่อความรุนแรงประเภทต่างๆ ได้
หรือการพัฒนาสัมพันธภาพทางเพศอย่างเหมาะสม
พ่อแม่ก็สามารถเป็นตัวอย่างในการแสดงออก ซึ่งความรักและความปรารถนาดีที่มีต่อกัน


แบบอย่างของแม่ มีอิทธิพลต่อลูกมาก
เพราะความใกล้ชิดระหว่างแม่กับลูก เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์มารดา
หลังจากคลอดลูกแล้วความผูกพันของแม่กับลูกก็ยิ่งเพิ่มขึ้น จากวันเวลาที่แม่ทุ่มเทเลี้ยงดู ให้ความรักแก่ลูก
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเด็กที่อยู่ช่วงปฐมวัยส่วนใหญ่จะสนิทกับแม่
เหตุผลอีกประการคือแม่จะมีความละเอียดอ่อนทางอารมณ์จิตใจมากกว่าพ่อ
เมื่อลูกมีการเปลี่ยนแปลง แม่จะรับรู้อารมณ์ความรู้สึกลูกได้ไวกว่าคนอื่น
แม่จึงเป็นแบบอย่างที่มีผลต่อลูกมากกว่าใครทั้งสิ้น


สนใจข้อมูลการเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย หรือปรึกษาปัญหาพฤติกรรมเด็ก
ติดต่อได้ที่ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 0-2412-0738, 0-2412-9834 //www.thaichildrights.org


ข้อมูลโดย : //matichon.co.th/khaosod/
ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //www.fotosearch.com


สารบัญ แม่และเด็ก


Create Date : 27 พฤษภาคม 2554
Last Update : 27 พฤษภาคม 2554 14:23:05 น. 0 comments
Counter : 5808 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.