Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
21 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
นิสัยติดของ ของลูกน้อย



การติดของของลูกน้อยนั้นจะเริ่มต้นแต่อายุ 8 – 10 เดือน
โดยก่อนหน้านี้ หากเด็กเล่นของสิ่งใดอยู่ เขาก็จะสนใจมัน
แต่เมื่อมีอะไรมาบังไม่ให้เขาเห็นหรือของสิ่งนั้นหายไปจากสายตา
เขาจะเลิกสนใจมัน เพราะเข้าใจว่ามันอันตรธานหายไปจากโลกนี้เสียแล้ว

แต่ เมื่ออายุ 8 – 9 เดือน (บางคนอาจเร็วกว่านี้ 1 – 2 เดือนได้)
เขากลับค้นพบว่าสิ่งของที่ตกไปจากโต๊ะ มันไม่ได้หายไปไหน แต่ตกไปอยู่ที่พื้นนั่นเอง
เด็กค้นพบว่า เมื่อตื่นขึ้นมา คุณแม่ไม่ได้หายไปไหน แต่พอเขาส่งเสียงเรียกคุณแม่ก็จะเกิดประตูกลับมาหาเขา
และในวัยนี้เองที่เขาเริ่มเคยชินกับวัตถุสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว ที่เขาใช้ในชีวิตประจำวัน และมีความสุขกับมัน
เช่น ผ้าห่มผืนนิ่ม ๆ หมอนใบโปรด ตุ๊กตาหรือของเล่นที่เขาชอบ
เพราะเขาได้ใช้มันมาระยะหนึ่งและคุ้นเคยกับมันพอสมควรแล้ว และรู้ว่าแม้ไม่เห็นมัน แต่มันก็ยังอยู่ที่ใดสักแห่ง
เมื่อเริ่มติดของที่คุ้นเคยนี้แล้ว เขาก็อาจติดมันไปจนกระทั่งอายุ 3 – 4 ปี หรือบางคนอาจนานกว่านั้นบ้างเล็กน้อย


ทำไมลูกน้อยจึงติดของ
ของที่ลูกน้อยติดนี้ในทางจิตวิทยาพัฒนาการเราเรียกว่า transitional object
หรือวัตถุที่ช่วยในการเปลี่ยนแปลงในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเขา
ในวัย เด็กนี้เดิมทีในขวบปีแรกที่เขาถูกเลี้ยงดูโดยคุณแม่ พี่เลี้ยงหรือคุณย่าคุณยาย ที่รักและเอาใจใส่เขาเป็นอย่างดี
ในบ้านที่เขาอบอุ่นและคุ้นเคย ต่อมาเมื่อเขาโตขึ้น เขาก็ต้องเผชิญกับความกลัว (ซึ่งเป็นปกติ)
และสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาที่เปลี่ยนแปลงอีกมากมาย

ความ กลัวนี้ก็มีต่าง ๆ กัน เช่น กลัวคนแปลกหน้าที่เขาไม่คุ้นเคย กลัวการพลัดพรากจากคนที่เขารัก
กลัวเสียงดัง กลัวความสูง กลัวที่มืด ๆ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เด็กเกิดความเครียดขึ้น
เขาก็จะใช้ของที่เขาติดนี้เป็นทางหนึ่ง ในการบรรเทาความเครียดเหล่านี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความกลัวการพลัดพราก
ฉะนั้นเมื่อเขาเหนื่อย ของที่เขาติดนี้จะช่วยให้เขาหลับได้อย่างสงบมากขึ้น
เมื่อคุณแม่ไม่อยู่ ของที่ติดนี้ก็จะช่วยปลอบประโลมให้เขาสบายใจขึ้นได้
มันจึงเป็นสิ่งของที่ช่วยเขาทางด้านอารมณ์ให้เขาค่อย ๆ พัฒนา จากภาวะที่ต้องพึ่งพิงคุณแม่คุณพ่อ
หรือพี่เลี้ยงตลอดเวลา ไปยังภาวะที่เขาสามารถอยู่ได้ด้วยตัวของเขาเองมากขึ้น
เพราะความที่มันนิ่ม มันน่ากอด กอดแล้วสบาย และเขาคุ้นเคยกับมัน จึงยิ่งทำให้เขารู้สึกดียิ่งขึ้น
เมื่อได้สัมผัสสิ่งของเหล่านี้ มันจึงสามารถช่วยให้เขาดียิ่งขึ้น

เมื่อได้สัมผัสสิ่งของเหล่านี้ มันจึงสามารถช่วยให้เขาสามารถนอนหลับได้ด้วยตัวเอง
โดยไม่มีใครเอานอน (ในเด็กบางคน) บรรเทาความเครียดจากความกังวลทั้งหลายที่สะสมมาตลอดทั้งวัน
หรือช่วยให้เขาปรับตัวได้ดีขึ้นในสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เขาไม่คุ้นเคย
เช่น เมื่อไปโรงเรียนใหม่ ๆ หรือไปเที่ยวค้างคืนที่แปลก ๆ


ติดของเป็นอาการผิดปกติหรือธรรมชาติของวัย
เราพบว่ามีเด็กจำนวนถึง 2 ใน 3 ของเด็กในวัยกระเตาะกระแตะหรือ 2 – 3 ขวบนี้ที่ติดส่งของบางอย่าง
และเด็กเหล่านี้ก็เป็นเด็กที่ปกติดีทุกอย่าง ไม่ได้มีปัญหาทางจิตใจใดใดเลย
มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กที่เมื่อวัย 2 – 3 ขวบ ติดของและไม่ติดของ
โดยดูผลลัพธ์เรื่องผลการเรียน และพฤติกรรมเปรียบเทียบกันระหว่างสองกลุ่มนี้ ที่อายุ 10 ปี
เราพบว่าเด็กทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเลย

ผู้ใหญ่เองเมื่อเราจะนอน เราก็ยังเลือกหมอนใบนั้น ใบที่รู้สึกสบายกว่า แต่หากไม่มี เราก็ยังนอนได้
เพราะเรามีความสามารถในการปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กเล็กมาก


พ่อแม่ควรชักนำให้ลูกติดของอะไรดี
ของอะไรก็ได้ที่คุณพ่อคุณแม่คิดว่าสะดวกมากที่สุด ในการนำติดตัวไปยังสถานที่ต่าง ๆ
หากจะเป็นหมอนก็น่าจะเป็นหมอนใบเล็ก ๆ
หากเป็นผ้าห่ม จะเป็นผืนเล็ก ๆ ก็พอ ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดที่คลุมได้ทั้งเตียง

มี ผู้รู้บางท่านแนะนำว่า หากเราพบว่าผ้าที่เด็กติดนั้นมีขนาดใหญ่พอ เราอาจตัดมันออกให้เหลือเท่า ๆ กันก็ได้
ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการพกพาและเพื่อง่ายในการซักและทำความสะอาด
เมื่อผืนหนึ่งไม่อยู่ก็จะได้อีกผืนหนึ่งมาแทน

แต่วิธีการแบ่งแบบนี้จะทำสำเร็จในขวบปีแรก หรือในช่วงที่เด็กยังติดมันไม่มาก เท่านั้น
ถ้าติดมากแล้วจะทำลำบากมาก เพราะถึงแม้มันจะเก่า จะเหม็นอย่างไร เขาก็ยังต้องการมันอยู่ดี
หากจะเป็นตุ๊กตา นอกจากจะไม่ใหญ่โตเกินไปแล้ว ควรเป็นชนิดที่ถอดซักได้ เพื่อสุขอนามัยที่ดีในระยะยาวด้วย

ของอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่ transitional object ในความหมายที่เราพูดถึงกันอยู่นี้
แต่คุณพ่อคุณแม่มักเข้าใจผิดคิดว่าใช่ นั่นคือจุกดูดปลอม (pacifier)
เด็กทุกคนต้องการความสุขจากปาก จากการกินและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขวบปีแรก
ฉะนั้นพ่อแม่ควรสนองความต้องการนี้ให้เต็มที่ในระยะ 0 – 1 ปี
เมื่อเลยช่วงอายุดังกล่าวแล้วพ่อแม่ควรค่อย ๆ ลดการดูดลง

พ่อแม่จึงไม่ควรไปขัดขวางการที่เด็กทารกดูดนิ้วหรือดูดจุกนมปลอม แต่ควรให้เขาได้มีความสุขกับการดูด
ไม่ว่าจะเป็นดูดนิ้ว ดูดนมจากเต้ามารดา ดูดนมจากขวด ดูดจุกดูดปลอม หรือดูดเลียของเล่นที่สะอาด ฯลฯ
ให้เต็มที่ แต่เมื่อผ่านวันเกิดขวบปีแรกไปแล้ว ก็ค่อย ๆ ลดสิ่งเหล่านี้ลง จนเลิกไปในที่สุด


วัยที่เหมาะสมในการติดของของลูก
เมื่อ เด็กโตขึ้นจนถึงอายุประมาณ 3 – 4 ขวบ
โดยทั่วไปเขาจะรู้เรื่องมากพอที่เราจะทำความเข้าใจกับเด็ก ด้วยการพูดคุยแล้ว
แต่ เราต้องพูดคุยกับเขาให้สั้น ตรงไปตรงมาและเป็นรูปธรรมมากที่สุด เช่น
“วันนี้เป็นวันที่ต้องเอาผ้าไปซัก ผ้าเปียกอยู่ เอามานอนกอดไม่ได้ค่ะ”

สิ่งที่จะช่วยให้เด็กยอมรับได้ง่ายขึ้นก็มีหลายอย่าง เช่น บอกให้เขารู้ตัวล่วงหน้าก่อน
ทำสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นกิจวัตรที่สม่ำเสมอ เช่น จะซักผ้าทุก ๆ 3 วัน
หรือหากคืนไหน ทั้งครอบครัวไปนอกบ้านมา เขาง่วงมากจะเคลิ้มหลับในรถแล้ว
คืนนั้นเราอาจไม่ต้องเอาของที่เขาติดให้เขาก็ได้ แล้ววันรุ่งขึ้นก็กล่าวชมเชยเขาที่ไม่ต้องพึ่งมันเมื่อคืนนี้

หากคุณพ่อคุณแม่มีเป้าหมายและพยายามค่อย ๆ ลดการติดของของลูกแบบนี้โดยไม่ใช้วิธีรุนแรงและทำสม่ำเสมอ
เมื่อ เขาพร้อมแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะติดของสิ่งนั้นจนโตเป็นผู้ใหญ่
เพราะการที่ดาราดังคนโน้นคนนี้ติดของชิ้นนี้มาก ต้องนอนกอดทุกคืน
มีเฉพาะแต่การกล่าวอ้างในงานประมูลขายของการกุศลของดารา เท่านั้นเอง


ขอขอบคุณ บันทึกคุณแม่
ที่มา //women.sanook.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2553 20:47:17 น. 0 comments
Counter : 707 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.