Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
2 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
แฝด ความเหมือนที่แตกต่าง



บ้านไหนมีลูกแฝดอย่างดิฉันบ้างค่ะ ?
นอกจากเรื่องสุขภาพกายของลูก ที่ดิฉันเป็นห่วงเหมือนคุณแม่บ้านอื่นแล้ว ก็เป็นเรื่องการเลี้ยงดูนี่ล่ะค่ะ
ที่ดิฉันไม่แน่ใจว่าจะเลี้ยงดูเขาอย่างไรดี ควรจะเลี้ยงเหมือนกับเด็กทั่วๆ ไป
หรือมีเรื่องที่ต้องดูแลเป็นพิเศษหรือเปล่า ถ้าใครกำลังกังวลใจเหมือนดิฉันอยู่ล่ะก็ อ่านต่อสิคะ
เพราะดิฉันน่ะไปขอคำแนะนำดีๆ จาก นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ มาแล้วค่ะ
และอยากจะแชร์ให้แม่ๆ ที่มีลูกแฝดเหมือนอย่างดิฉันได้รู้ด้วย


พฤติกรรมของฝาแฝด
พฤติกรรมของเด็กแฝดในช่วงวัยนี้ไม่ต่างจากเด็กคนอื่นหรอกค่ะ
ขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางอารมณ์ประสบการณ์ที่ผ่านมา
โดยพฤติกรรมต่างๆ จะเป็นไปตามพัฒนาการของช่วงวัยเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นช่วงแห่งการต่อต้านความกังวล จากการแยกจากคุณพ่อคุณแม่ การเลียนแบบ
หรือแม้แต่ช่วงวัยป่วนที่เรามักได้ยินกันว่า เทอร์ริเบอร์ทู (Terrible Two)

สิ่งที่มีความแตกต่างกันสำหรับเด็กแฝด และเด็กคนอื่นจนคุณพ่อคุณแม่รู้สึกได้คือ ต้องรับศึกหนัก
เพราะมีลูกป่วนพร้อมกันเลยทีเดียวมากกว่า 1 คน อย่างที่ดิฉันหรือคุณๆ กำลังประสบอยู่นี่แหละค่ะ

และโดยลึกๆ แล้วเด็กแฝดจะมีการแข่งขันกันตลอดเวลา
แต่ผลจากการแข่งขันนั้นจะแสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น ในลักษณะของการเลียนแบบกัน
แต่การแข่งขันกันเป็นประโยชน์ข้อหนึ่งของการมีคู่แฝดค่ะ
เพราะเป็นเสมือนแรงจูงใจให้เด็กอีกคน พัฒนาตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น
คนหนึ่งเริ่มควบคุมการขับถ่ายได้แล้ว คู่แฝดอีกคนก็จะพยายามพัฒนาตัวเองให้ทำได้บ้าง เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ต้องควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูของครอบครัวด้วยนะคะ
ที่จะไม่ใช้จุดนี้ไปเปรียบเทียบกดดัน จนกลับตาลปัตรกลายเป็นเกิดผลเสียกับลูกไป


ในความเหมือน มีความต่าง
ความเหมือนกันมากที่สุดสำหรับคู่แฝดคือ สิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เขาเกิดมาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ ที่หล่อหลอมคู่แฝดให้มีความเหมือนกันได้มากขึ้น
เพราะเขาอยู่ในช่วงเวลาและสิ่งแวดล้อมเดียวกัน

หลักการข้อหนึ่งของการเลี้ยงลูกแฝดคือ ต้องให้เขามีความเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุดค่ะ
คุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับความต่างของเขาตั้งแต่เล็ก
และควรตอบสนองตามความรู้สึกของลูกที่แตกต่างหรือเหมือนกัน โดยไม่บังคับให้เขาต้องเหมือนกันในทุกเรื่อง

และแม้คู่แฝดจะมีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันในบางเรื่องไม่ต่างจากพี่น้องทั่วไป
เช่น หน้าตาก็ไม่ได้เหมือนกันแบบพิมพ์ขนม อุปนิสัยใจคอก็ต่างกัน ความชอบ ไม่ชอบ เช่น
ลูกคนหนึ่งอาจชอบรับประทานไอศกรีม อีกคนชอบหวานเย็น ขณะที่ทั้งสองชอบสีแดงเหมือนกัน เป็นต้น


ปัญหาของฝาแฝด
ปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กแฝดคือ พัฒนาการด้านภาษาค่ะ
คุณหมอบอกว่าเคยมีการศึกษาพบว่า ในช่วงเล็กๆ ก่อนพูดได้คล่องเหมือนเด็กโต
เด็กแฝดอาจมีพัฒนาการทางด้านภาษาล่าช้ากว่าเด็กทั่วไปจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่เด็กแฝดอาจคลอดก่อนกำหนด
มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย พ่อแม่พูดคุยด้วยน้อยกว่าการเลี้ยงลูกทีละคน
หรือเขาอาจมีภาษาของตนเองซึ่งเรียกว่า “ภาษาเด็กแฝด” ซึ่งสามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้โดยที่คนอื่นไม่เข้าใจ
ทำให้การเรียนรู้ภาษาเพื่อใช้ในสังคมกับคนอื่นอาจช้าไปบ้าง

แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยลูกได้ไม่ยากคือ ต้องพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ผ่านกิจวัตรประจำวัน
เช่น ชี้แล้วบอกให้ลูกดูนกที่บินมา พูดคุยกับลูกให้สังเกตสุนัขที่เดินผ่านไป
เล่านิทานก่อนนอนพูดคุยระหว่างมีกิจกรรม หรือปฏิบัติกิจวัตรประจำวันร่วมกัน ฯลฯ
หากสักขวบครึ่ง เขายังไม่พูดคำที่มีความหมาย หรือ 2 ขวบแล้วยังรู้คำที่มีความหมายไม่กี่คำ
ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อประเมินพัฒนาการและให้ความช่วยเหลือต่อค่ะ



เลี้ยงแบบนี้ ไม่มีปัญหา

1. คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจนะคะว่า ลูกมีทั้งความต่างและความเหมือน
ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเขาไม่ต่างจากพี่น้องทุกคน คุณพ่อคุณแม่จะเข้าใจลูกแต่ละคนได้
ต้องมีเวลาใกล้ชิดและสังเกตลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตอบสนองอย่างเหมาะสม
ไม่พยายามทำให้ลูกเหมือนกันโดยไม่จำเป็น

2. ไม่เปรียบเทียบระหว่างคู่แฝด เช่น คนนี้พูดเก่ง คนนี้ฉลาดกว่าคนนี้ คนนี้ซนกว่า ทำไมไม่ทำอย่าง...ล่ะ

3. มีเวลาอยู่กับลูกแต่ละคนตามลำพังบ้าง โดยอาจแบ่งและสลับสับเปลี่ยนกันระหว่างคุณพ่อกับคุณแม่
เพื่อให้เขารู้สึกว่าได้รับความสนใจเท่าๆ กัน

4. หากต้องให้รางวัล ควรให้กับลูกทีละคนอย่างเท่าเทียมกัน
ไม่เฉพาะสิ่งของเท่านั้นนะคะแม้แต่กอด หอมหรือชมกันก็สำคัญค่ะ

5. เลี้ยงลูกอย่างมีอารมณ์ขัน การเลี้ยงลูกแฝดมักทำให้คุณพ่อคุณแม่เหน็ดเหนื่อยมากกว่าปกติ
แต่หากมองให้ดีจะเห็นว่า เด็กๆ ช่วงวัย 1-3 ปี มีเรื่องชวนให้ขำขันจนหายเหนื่อยอยู่มากมายเลยค่ะ
ยิ่งมีลูก 2 คนในวัยเดียวกัน ก็ยิ่งมีเรื่องราวสนุกสนานประทับใจเกิดขึ้นได้มากกว่า
ถ้ามองอย่างนี้ความเครียดก็ไม่กระทบถึงตัวลูกค่ะ

6. แม้จะต้องการส่งเสริมความเป็นตัวของตัวเองให้กับเขา
แต่ต้องยอมรับความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้อง ซึ่งสนิทสนมกันมากเป็นพิเศษ
ด้วยการไม่พยายามแยกเขาออกจากกันหากลูกยังไม่พร้อม เช่น แยกคนหนึ่งไปเนิร์สเซอรี่ อีกคนให้พี่เลี้ยงดูที่บ้าน
ควรรอให้เขามีความพร้อมก่อน เมื่อเขาโตขึ้นกว่านี้ เขาอาจพร้อมมากขึ้นกับการแยกจากกัน เช่น
สามารถไปโรงเรียนโดยอยู่คนละห้องได้ เป็นต้น

การเป็นลูกแฝดเป็นโอกาสดีสำหรับเด็ก ในการฝึกทักษะด้านสังคมกับผู้อื่นได้ดีและเร็วกว่าพี่น้องคนอื่น
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่เลี้ยงดูให้เหมือนเด็กทั่วไป เขาจะพัฒนาทักษะได้ดีกว่าเด็กคนอื่นในวัยเดียวกัน
ใครที่กังวลก็เลิกกังวล และหันไปมีความสุขกับจอมป่วนตัวน้อยของคุณ เหมือนอย่างดิฉันตอนนี้กันเถอะค่ะ


ข้อมูลจาก รักลูก
ที่มา : //www.elib-online.com/doctors49/child_twin001.html
ภาพจาก : //www.thefrisky.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 02 เมษายน 2553
Last Update : 2 เมษายน 2553 20:32:00 น. 0 comments
Counter : 4525 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.