Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 
28 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
เลี้ยงลูกอย่างไร สูงใหญ่แข็งแรง



* จะทราบอย่างไรว่าลูกตัวเตี้ย

การเจริญเติบโตของเด็กต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานค่ะ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง การวัดรอบศีรษะ รอบเอว
กระทั่งความยาวแขน ขา ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานนี้กุมารแพทย์ทุกคน จะมีไว้ประเมินเด็กไทย
เนื่องจากมีการศึกษากันมาเป็นสิบๆ ปี
โดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และมีการตรวจเช็กทุก 10 ปีว่าโดยเฉลี่ยแล้วเด็กไทยจะสูงขึ้น
ดังนั้น ถ้าไปพบกุมารแพทย์ แพทย์จะวัดน้ำหนักและส่วนสูงจดลงในกราฟการเจริญเติบโต
พร้อมทั้งจะบอกว่า ลูกคุณอยู่ในค่าเฉลี่ยเหมาะสมสำหรับเพศและอายุนั้นๆ หรือไม่ ทั้งน้ำหนักและส่วนสูง
ส่วนอัตราการเจริญด้านความยาวหรือความสูงโดยปกติมีเกณฑ์ดังนี้ค่ะ

- แรกเกิดถึงอายุ 1 ปีแรก ความยาวจะเพิ่มจาก 50 เป็น 75 ซม. โดยเฉลี่ย
- อายุ 1 ปี ถึง 2 ปี ความสูงเพิ่มจาก 75-80 ซม. โดยเฉลี่ย
- อายุ 2 ปี ถึง 4 ปี ความสูงจะเพิ่มอีก 6-8 ซม.ต่อปี
- อายุ 4-10 ปี ในเพศหญิง และ 4-12 ปี ในเพศชาย จะสูงอีก 5 ซม.ต่อปี
- ช่วงวัยรุ่นสู่วัยเจริญพันธุ์ สูงได้อีกปีละ 7-8 ซม.

จะเห็นได้ว่าตอนเข้าสู่วัยรุ่นเด็กจะสูงเร็วมาก
ต้องการอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มนม ออกกำลังกาย และพักผ่อนเพียงพอ เขาจะสูงได้ปีละ 7-8 ซม.
แต่เมื่อเด็กหญิงมีประจำเดือน (โดยเฉลี่ยจะมีเมื่ออายุ 12 ปีครึ่ง) เด็กจะถูกกำหนดว่าจวนจะหยุดสูงแล้ว
นั่นคือหลังเด็กหญิงมีประจำเดือนนาน 3 ปี เด็กหยุดสูง
เช่นเดียวกับเด็กชายที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นหนุ่ม และเสียงแตกแล้วนาน 3 ปี ก็จะหยุดสูงเช่นกัน

ดังนั้นถ้าลูกเติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ในแต่ละอายุ ควรจะปรึกษากุมารแพทย์ค่ะ



* การเจริญเติบโตของเด็กต้องอาศัยปัจจัยอะไรบ้าง

1. พันธุกรรม
ดีเอ็นเอกำหนดไว้ตามพืชพันธุ์ เช่น ปลูกมะพร้าวพันธุ์เตี้ยได้ต้นเตี้ย ปลูกพันธุ์สูงได้ต้นสูง
จึงมีสูตรคำนวณความสูงของเด็กเมื่อเติบโตเต็มที่ดังนี้
ความสูงของลูกชายเมื่อโตเต็มที่ = ความสูงพ่อ + ความสูงแม่ + 13 (+ -) 8 ซม. / 2
ความสูงของลูกสาวเมื่อโตเต็มที่ = ความสูงพ่อ + ความสูงแม่ – 13 (+ -) 8 ซม / 2

เช่น พ่อสูง 175 ซม. แม่สูง 155 ซม. คำนวณตามสูตรนี้
ลูกชายมีโอกาสสูง 172 (+ -) 8 ซม. = 164-180 ซม.
ลูกสาวมีโอกาสสูง 159 (+ -) 8 ซม. = 151-167 ซม.

ดังนั้นลูกจึงมีโอกาสสูงกว่าพ่อแม่ได้ ถ้าเลี้ยงดูอย่างถูกต้องตลอดตั้งแต่วัยเล็กถึงวัยสำคัญคือวัยรุ่น
เน้นเรื่องอาหาร 5 หมู่ ดื่มนม ได้อากาศบริสุทธิ์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนเพียงพอ

2. โรคภัยไข้เจ็บ
เด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคตับ โรคไต โรคเลือดทาลัสซีเมีย โรคพยาธิ
โรคขาดอาหาร โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ล้วนแต่ทำให้เติบโตช้า
ซึ่งถ้าสงสัยควรให้กุมารแพทย์ตรวจ เพราะสามารถแก้ไขได้และเติบโตทันเพื่อนภายหลัง

3. ด้านอารมณ์
เด็กขาดรักถูกแม่ทอดทิ้ง จะเป็นเด็กเศร้าและเบื่ออาหาร และยังมีสารกดการหลั่ง growth hormone ทำให้ไม่โตได้

4. สาเหตุจากฮอร์โมน
มีฮอร์โมนหลายชนิดที่ช่วยให้เด็กเติบโต เช่น growth hormone, thyroid hormone ฯลฯ
การขาดฮอร์โมนทำให้เด็กตัวเตี้ย
ถ้าขาด growth hormone เด็กจะตัวเตี้ยมาก แต่สติปัญญาดี หน้าตาน่ารัก เสียงแหลมใส มือเท้าเล็ก ลำตัวอ้วน
ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอยด์ไปจะเป็นโรคเอ๋อ คือตัวเตี้ยและปัญญาอ่อน
ซึ่งทั้งสองภาวะนี้แพทย์สามารถรักษาได้ค่ะ



* ถ้าพ่อแม่ไม่สูง เด็กมีโอกาสสูงหรือไม่

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่าพันธุกรรมกำหนด
แต่ยีนควบคุมความสูงนี้การวิจัยพบว่า มีอยู่หลายตำแหน่งที่สามารถช่วยลูกได้
ดังตัวอย่างเด็กญี่ปุ่นในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เด็กชายอายุ 14 ปี โดยเฉลี่ยสูง 145 ซม.
20 ปีต่อมาเขารณรงค์เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย อากาศดี การพักผ่อนเพียงพอ
เขาสามารถทำให้เด็กชายอายุ 14 ปี โดยเฉลี่ยสูง 165 ซม. ซึ่งเมื่อโตเป็นหนุ่มเต็มที่จะสูงถึง 170 ซม.
และสูงกว่านั้นได้ ทั้งนี้เพราะเด็กชายยังสูงต่อได้ถึงอายุ 16-18 ปี ในขณะที่เด็กหญิงมักชะลอตั้งแต่อายุ 15 ปีแล้ว
ดังนั้นเด็กไทยควรมีการรณรงค์เรื่องเหล่านี้
โดยความร่วมมือกับพ่อ-แม่-ครู และสังคม มีการตื่นตัวทำให้เด็กไทยรูปร่างสง่างาม
เห็นได้จากการแข่งฟุตบอลโลกเมื่อเร็วๆ นี้ ทีมเกาหลีมีความสามารถมากและรูปร่างไม่แพ้ฝรั่ง
ทีมเรายังห่างไกล จึงต้องเร่งพัฒนาเด็กไทยทั้งร่างกาย จิตใจ ไอคิว อีคิว และส่วนสูงให้สู้ประเทศพัฒนาแล้ว



* การนอน การออกกำลังกาย อาหารและแคลเซียม มีส่วนสำคัญอย่างไร

ร่างกายจะเติบโตดี ต้องการอาหารครบ 5 หมู่ และเกลือแร่ ซึ่งนมเป็นแหล่งอาหารเสริมที่ดี
นอกจากกินข้าวกินกับแบบไทยๆ ควรให้ลูกดื่มนมเป็นแหล่งของแคลเซียม วิตามิน โปรตีน และอื่นๆ
การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้น growth hormone
ขณะออกกำลังกายพอเหมาะ จะมีการตึงตัวของเส้นเอ็นและยืดกระดูกให้ยาวขึ้น
ซึ่งทำให้จิตใจชื่นบานจากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (ENDORPHIN) ทำให้เจริญอาหาร หลับสบาย
การนอนหลับสนิทและเพียงพอกระตุ้นการหลั่ง growth hormone ซึ่งจากการวิจัยพบว่า
เมื่อหลับสนิท 90 นาที จะมีการหลั่ง growth hormone มาร้อยละ 75 ของทั้งหมด ทำให้เด็กเติบโตดี


วัยวิกฤตคือวัยรุ่น เด็กกำลังต้องการพลังงานอย่างมาก เพื่อเพิ่มศักยภาพของร่างกาย
ทั้งความสูง การเจริญของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งสมอง พ่อแม่จึงไม่ควรละเลยลูกในวัยวิกฤตนี้
ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจอย่างมาก
ยังต้องการความใกล้ชิด สนใจ ให้กำลังใจและคำแนะนำจากพ่อแม่


ข้อมูลจาก : นิตยสารรักลูก ปีที่ 21 ฉบับที่ 244
ที่มา : //www.elib-online.com
ภาพจาก : //www.shutterstock.com


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 28 มิถุนายน 2553
Last Update : 28 มิถุนายน 2553 11:31:45 น. 0 comments
Counter : 888 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.