Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
ไขปริศนาคาใจเหตุใดพี่คนโตฉลาดกว่าน้อง



เอเจนซี – นักวิจัยนอร์เวย์เฉลยปริศนาที่คาใจนักวิทยาศาสตร์มากว่าศตวรรษ
แจงเหตุที่พี่ชายคนโตฉลาดเฉลียวกว่าน้องๆ สืบเนื่องจากวิธีการเลี้ยง ไม่ใช่ลำดับการเกิดที่แท้จริง

นอกจากนั้น แม้ระดับไอคิวไม่ได้ห่างกันมากมาย
แต่เพียงพอที่จะทำให้เส้นทางชีวิตระหว่างพี่กับน้องแตกต่างกัน

เปเตอร์ คริสเตนเซน และทอร์ บีเจอร์เคดัล 2 นักวิจัยจากนอร์เวย์รายงานไว้ในวารสารไซนส์ฉบับวันศุกร์ (22) ว่า
ปัจจัยที่ทำให้ลูกชายคนโตมีระดับไอคิวสูงกว่าน้องๆ ไม่ใช่ลำดับการเกิด
ซึ่งอาจผกผันตามคุณค่าทางโภชนาการที่ได้รับขณะอยู่ในครรภ์มารดา แต่มาจากลำดับชั้นทางสังคมในครอบครัว

ประเด็นนี้เป็นที่สงสัยของผู้คนมาตั้งแต่ปี 1874 เป็นอย่างน้อย
เมื่อเซอร์ฟรานซิส แกลตัน ที่ใช้เวลาถึง 2ทศวรรษศึกษาว่า การเลี้ยงดูมีผลต่อบุคลิกลักษณะของคนเราอย่างไร
ซึ่งในที่สุดได้ข้อสรุปว่า ผู้ชายที่มีตำแหน่งโดดเด่นในสังคมมักเป็นลูกคนหัวปี

ช่วงต้นทศวรรษ 1970 นักวิจัยเนเธอร์แลนด์แสดงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่า
ลำดับการเกิดเกี่ยวข้องกับระดับสติปัญญา กล่าวคือลูกคนหัวปีมีแนวโน้มทำคะแนนทดสอบไอคิวได้ดีกว่า
กระนั้น นักวิชาการบางคนเชื่อว่า รายงานดังกล่าวเป็นภาพลวงตาที่เกิดจากความแตกต่าง
ซึ่งไม่อาจควบคุมได้ภายใน ครอบครัว เช่น ขนาด สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับไอคิวของพ่อแม่
และปัจจัยซับซ้อนอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาล่าสุดของ 2 นักวิจัยนอร์เวย์บ่งชี้ว่า มีความแตกต่างทางสถิติในระดับสำคัญในเรื่องนี้

คริสเตนเซนจากสถาบันอาชีวอนามัยแห่งชาติของนอร์เวย์ และบีเจอร์เคดัลจากกรมการแพทย์ทหาร
ร่วมกันศึกษาจากผลทดสอบไอคิวของชายนอร์เวย์ 241,310 คน
ที่ถูกเกณฑ์เข้าเป็นทหารระหว่างปี 1967-1976 ขณะอายุ 18-19 ปี

ทั้งคู่พบว่า ไอคิวเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกชายคนแรกอยู่ที่ 103.2

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกชายคนที่ 2 ระดับไอคิวเฉลี่ยอยู่ที่ 101.2
ทว่า ผู้ชายที่เป็นลูกคนที่ 2 ที่พี่คนโตเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ทำคะแนนทดสอบไอคิวได้ 102.9

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกคนที่ 3 ได้คะแนนเฉลี่ย 100.0
แต่หากพี่ชายทั้ง 2 คนของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มนี้เสียชีวิตแล้วทั้งคู่ คะแนนเฉลี่ยกลับอยู่ที่ 102.6

การค้นพบนี้นำเสนอหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างลำดับการเกิด
กับคะแนนการทดสอบสติปัญญานั้น อิงกับการถูกเลี้ยงแบบลูกคนโตมากกว่าลำดับการเกิดที่แท้จริง

แฟรงค์ เจ. ซัลโลเวย์ นักจิตวิทยาจากสถาบันวิจัยบุคลิกภาพ และสังคมของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ,
เบิร์กเลย์ ยกย่องผลงานของ 2 นักวิจัยนอร์เวย์ว่า เป็นการวิเคราะห์ที่มีการออกแบบอย่างยอดเยี่ยม

“นักวิจัยคู่นี้แสดงให้เห็นว่า
กลุ่มตัวอย่างได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างไร ไม่ใช่ว่าเกิดมาอย่างไร ซึ่งมีผลต่อระดับไอคิวของพวกเขา”

ซัลโลเวย์เสริมว่า การที่พี่คนโตฉลาดกว่า
อาจเป็นผลจากการเรียนรู้จากกระบวนการสอนน้อง การจัดระเบียบความคิดและอธิบายแก่น้อง
ขณะที่น้องคนเล็กไม่มีน้องให้ถ่ายทอดความรู้และสั่งสมประสบการณ์ต่อ

นักจิตวิทยาผู้นี้ยังบอกอีกว่า แม้พี่คนโตกับน้องคนรองมีระดับไอคิวต่างกันแค่ 2 จุด
แต่ก็มากพอที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในชีวิต เช่น หากมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งให้เลือก
แห่งแรกสำหรับนักศึกษาที่มีไอคิวสูงกว่ามาตรฐาน ขณะที่อีกแห่งสำหรับนักศึกษาทั่วไป
มีแนวโน้มมากขึ้น 13% ที่พี่คนโตจะเลือกสถาบันแห่งแรกมากกว่าแห่งที่ 2


ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //bajenny.pixnet.net/blog/post/22610748


Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 20:30:28 น. 0 comments
Counter : 711 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.