Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
27 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
เปลี่ยนลูกขี้กลัว..ให้ใจกล้า


* ครอบครัวใส่ใจ ลดข่มขู่ ฝึกเผชิญหน้า เสริมความมั่นใจเด็ก

“แม่อุ้มฉี่หน่อย น้องไม้กลัวแดร็กคิวลาโผล่หน้ามาในชักโครกคร้าบบ...”
“เสียงใครมาเคาะประตูคะคุณแม่...นางนาคอ่ะ...กรี๊ด”

หลากหลายเรื่องราวในจินตนาการที่น่ากลัวของเด็ก
มักจะตามมาด้วยเสียงร้องกรี๊ดหรือนอนขดตัวอยู่ในผ้าห่ม จนแทบไม่ยอมจะขยับเขยื้อนตัวลุกไปไหน
หลายๆ บ้านที่มีลูกวัยอนุบาลคงอาจเริ่มรู้สึกว่า เอ....รึลูกเราจะมีปัญหาเข้าแล้ว
เพราะเจ้าความกลัวไร้เหตุผลที่ว่า มันมีผลกระทบมากมายต่อกิจวัตรประจำวันของเจ้าตัวน้อย
จนแทบจะเกิดศึกภายในบ้านกันเลยทีเดียว

ลูกขี้กลัวมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คุณพ่อคุณแม่คิดหรอกค่ะ แท้จริงแล้วความกลัวของเด็กพบได้ตามธรรมชาติ
จะกลัวสูงสุดในช่วงวัย 3-5 ขวบ ส่วนใหญ่เด็กจะกลัวความมืด เสียงดังๆ ที่สูง และผี เป็นต้น

สัญชาตญาณมีไว้ให้คนคนนั้นเกิดความระมัดระวังต่อสิ่งต่างๆ
แต่ถ้าสัญชาตญาณนี้ขาดหาย จะทำให้ชีวิตเกิดอันตรายได้
หรือถ้ามีมากไปก็จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองต่อไปได้ดี
ซึ่งสาเหตุที่ลูกน้อยในบ้านกลายเป็นเด็กขี้กลัว คุณพ่อคุณแม่ลองพิจารณาดูก็จะพบสาเหตุหลักๆ คือ
1. มีแบบอย่างของคนขี้กลัว วิตกกังวลหรือเป็นโรคประสาทวิตกกังวลอยู่
2. ถูกข่มขู่ ถูกหลอก ทำให้ตกใจกลัวอยู่บ่อยๆ
3. มีประสบการณ์ที่ทำให้ตกใจอย่างรุนแรงมาก่อน เช่น ถูกทิ้งให้อยู่คนเดียว ถูกตี ดุว่าอย่างรุนแรง
4. ขาดคนประคับประคอง ขาดการฝึกฝนทักษะ ทำให้ขาดความมั่นใจ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้ดี


ซึ่งมีวิธีการแก้ไขที่จะแนะนำไว้ เพื่อคุณพ่อคุณแม่นำไปช่วยเหลือเพื่อปรับพฤติกรรมลูก ดังนี้

1. ลดท่าทีข่มขู่ หรือแสดงความโกรธที่ทำให้ไปเพิ่มความหวาดกลัวของเด็กโดยไม่จำเป็น
ผู้ใหญ่นี้ก็แปลก ยิ่งเห็นเด็กกลัวแล้วยิ่งแสดงท่าข่มขู่เพิ่มขึ้น
แต่กับเด็กหลายคนที่ไม่สนใจในท่าทีข่มขู่หรือบีบบังคับจากแม่
แม่ก็จะลดท่าทีลง แถมบอกว่าทำไปเหนื่อยเปล่าๆ เด็กเขาไม่สนใจ เป็นเสียแบบนี้ล่ะค่ะ

การหลอกทุกรูปแบบให้เด็กหวาดกลัว เช่น หลอกว่าตุ๊กแกกินตับ เดี๋ยวจะให้หมอฉีดยา
ถ้าส่งเสียงดังเดี๋ยวผีได้ยินจะมาดูดเอาเสียงไปหมด เป็นต้น ผู้ใหญ่มักนึกสนุกที่หลอกเด็กได้
แต่หารู้ไม่ว่าเท่ากับไปเพิ่มความวิตกกังวล และความกลัวให้แก่เด็กโดยไม่มีความจำเป็น

2. แสดงท่าทีที่อบอุ่น ปลอบประโลม เข้าใจความรู้สึกของเด็ก
บอกความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และเบี่ยงเบนความสนใจไปยังสิ่งอื่น ทำซ้ำๆ สม่ำเสมอ และอยู่ใกล้ชิดกับเด็กนานพอ

3. หาต้นแบบของความวิตกกังวล หรือคนขี้กลัวภายในบ้าน
เพราะพฤติกรรมของเด็กส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการเลียนแบบ
แม่ที่เห็นจิ้งจกแล้วกระโดดขึ้นเก้าอี้ร้องกรี๊ดๆ อยู่ยาวนาน จะทำให้เด็กเกิดความตกใจและหวาดกลัวตามได้
นั่นเป็นเพราะแม่คือโลกที่มั่นคงที่สุดในชีวิตของเด็กยังตกใจ หวาดกลัว
แสดงว่าสถานการณ์รอบตัวนี้อันตรายแน่นอน

การลดต้นแบบของความหวาดกลัว วิตกกังวลและแสดงท่าทีที่เชื่อมั่นในสิ่งต่างๆ รอบตัว
เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่เด็ก

4. เพิ่มทักษะในการช่วยเหลือตนเอง การตัดสินใจ และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นบ่อยๆ
จะส่งผลทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง และมั่นใจสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น

5. ฝึกให้เผชิญกับสิ่งที่น่ากลัวทีละน้อย ค่อยเป็นค่อยไป
และคอยให้กำลังใจเป็นระยะ จนเด็กสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัวได้เพิ่มขึ้น


เรื่องโดย : //www.posttoday.com
ที่มา : //www.thaihealth.or.th


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 27 กรกฎาคม 2552
Last Update : 15 มิถุนายน 2553 22:12:46 น. 0 comments
Counter : 928 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.