Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 
2 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

นิทาน 1 เล่ม + 6 ขั้นตอนง่าย ๆ พัฒนาลูกน้อย

 แม่และเด็ก,ขั้นตอนง่าย ๆ พัฒนาลูกน้อย
นิทาน 1 เล่ม + 6 ขั้นตอนง่าย ๆ พัฒนา“ความเข้าใจภาษา”ลูกน้อย

หากเอ่ยถึงแนวทางการปลูกฝังให้ลูกรักการอ่านผ่านการเล่านิทานนั้น
ถือได้ว่า เป็นกิจกรรมที่ครอบครัวในปัจจุบัน เห็นความสำคัญมากขึ้น
และมีหลายครอบครัวเลือกที่จะหาเวลาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
โดยเชื่อว่ามีผลต่อการพัฒนาศักยภาพในหลาย ๆ ด้านของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม
การเผชิญหน้ากับปัญหาได้อย่างเหมาะสมในเด็ก ฯลฯ

อย่างไรก็ดี หากถามถึงมุมมองของนักวิจัยแล้ว การอ่านนิทานให้ลูกฟัง
ยังสามารถปรับให้เป็นกิจกรรมสำหรับฝึก“พัฒนาการทางภาษา” ให้กับเด็กได้อีกด้วย

ซึ่ง รศ.ดร.เสาวลักษณ์ รัตนวิชช์ อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เจ้าของงานวิจัย โครงการประภาคารการรู้หนังสือด้วยแนวทฤษฎี การสอนแบบมุ่ง
ประสบการณ์ภาษา (Lighthouse Literacy Project Through Concentrated Language Encounter Instruction
หรือชื่อย่อว่า CLE) เปิดเผยว่า

“การเรียนรู้หนังสือด้วยแนวทฤษฎีการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษาเป็น กระบวนการเรียนการสอน
โดยอาศัยธรรมชาติในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก ร่วมกับการใช้กิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้แบบธรรมชาติ
ให้ผู้เรียนได้ทดลองใช้ภาษา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นภาษาแม่ หรือภาษาที่สอง ที่สาม ก็สามารถนำหลักการเหล่านี้
ไปใช้ฝึกร่วมได้ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้สนุกกับการเรียนรู้ได้ค้นคว้า
และได้ลงมือปฏิบัติทางภาษาด้วยตัวเอง”

 แม่และเด็ก,ขั้นตอนง่าย ๆ พัฒนาลูกน้อย

สำหรับ แนวทางในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีให้สัมฤทธิ์ผลนั้น รศ.ดร.เสาวลักษณ์ ระบุว่า
พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปรับทฤษฎีไปสู่กิจกรรมการอ่านนิทานได้หลายรูปแบบ
พร้อมยกตัวอย่างแนวทางง่าย ๆ ที่ทำได้เอาไว้ 6 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นที่ 1 อ่านหนังสือให้เด็กฟัง
โดยให้เด็กนั่งตัก หรือนั่งในท่าสบาย ๆ ใกล้ๆกับคนเล่า อ่านนิทานให้เด็กฟังทีละหน้าอย่างช้า ๆ
และอาจมีการชี้ชวนให้ดูภาพประกอบไปด้วย

ขั้นที่ 2 เมื่อเล่าจบ ตั้งคำถามกับเด็กว่านิทานที่อ่านไปนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรและให้เด็กเล่ากลับมา
โดยผู้ปกครองสามารถช่วยได้ หากเด็กนึกคำไม่ออก หรือใช้คำไม่ถูก

ขั้นที่ 3 ให้เด็กทำท่าทางประกอบ เลียนแบบตัวละครในนิทาน
การทำท่าทางประกอบนี้เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้เด็กเข้าใจความหมายของ ภาษาได้ดียิ่งขึ้น

ขั้นที่ 4 ให้กระดาษเด็ก 1 แผ่น เด็กอยากเขียน อยากวาดอะไร ก็ให้เขียนออกมาเลย
การวาดภาพจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้เด็กได้แสดงออกในสิ่งที่คิด หรือจินตนาการอยู่
หรือถ้าเด็กยังวาดไม่ได้ พ่อแม่ก็สามารถเขียนหรือวาดให้ลูกดู และให้ลูกอ่านตามได้

ขั้นที่ 5 เล่นบทบาทสมมติกับพ่อแม่ เกี่ยวกับเรื่องราวในนิทาน
ซึ่งประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากข้อนี้ คือ การฝึกสมาธิ และฝึกกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ

ขั้นที่ 6 เล่นเกมเสียง เหมาะสำหรับเด็กที่โตขึ้นมาอีกหน่อย ที่สามารถเล่นเกมภาษาได้
โดยอาจนำประโยคที่เด็กเคยได้ยินจากในนิทาน มาทำเป็นเกมต่าง ๆ ให้เด็กได้เลียนเสียง
หรือสังเกตตัวอักษรที่ตรงตามเสียงนั้น

ทั้งนี้ การประยุกต์ใช้ให้เกิดผลนั้น รศ.ดร. เสาวลักษณ์ระบุว่า จะต้องไม่ตีกรอบกับเด็กมากเกินไป
และต้องเฟ้นหาเรื่องที่เด็กสนใจขึ้นมาอ่านแทนการบังคับอ่านตามหัวข้อที่พ่อ แม่ หรือคุณครูกำหนดขึ้น
เนื่องจาก การพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษานั้นก็คือการสร้างและสะสมประสบการณ์ของเด็กเอง
หาใช่การเรียนแบบท่องจำไม่ เด็กจะมีความสุขที่ได้เรียนในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ
และจะเป็นผู้คิดเองว่า เขาจะใช้ทักษะทางภาษาเหล่านี้ไปเพื่ออะไร และสุดท้าย จะทำให้เขาเปลี่ยนจากการเรียน
แบบท่องจำไปสู่การเรียนรู้การใช้ ภาษาตามความต้องการของตนเองได้ในที่สุด

ที่มา ผู้จัดการ


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 02 กรกฎาคม 2552
2 comments
Last Update : 2 กรกฎาคม 2552 18:35:41 น.
Counter : 1511 Pageviews.

 

ปกติอ่านนิทานให้ลูกฟังทุกวัน เดี๋ยวนี้ลูก 2 ขวบกว่า เริ่มเล่าให้แม่ฟัง สลับกันได้แล้วค่ะ ..

 

โดย: ลูกกีวี่ 3 กรกฎาคม 2552 13:28:28 น.  

 

ไปเจอมาดีเหมือนกัน เลยเก็บมาฝาก
//creativitybaby.blogspot.com/2009/07/top-10-baby-to-kid-creative-plays.html

 

โดย: คุณแม่น้องอะตอม IP: 202.60.207.15 11 กรกฎาคม 2552 10:59:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.