Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
25 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

8 วิธีช่วยเด็ก ที่มีความสามารถพิเศษให้โดดเด่น



จริงๆ แล้วเด็กกลุ่มนี้มีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าเด็กปกติธรรมดาทั่วไป ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาด้านการเรียน
แต่สิ่งที่เราต้องยอมรับก็คือ สำหรับแวดวงการศึกษาของเรา เด็กที่ถูกเรียกว่าเรียนเก่ง (สอบได้คะแนนสูง)
ไม่ได้เกิดจากปัจจัยทางสติปัญญาเป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ขยัน... (ท่อง)
ส่วนเด็กที่สติปัญญาดีนั้น ถ้าเรียนได้ดีก็ดีไป แต่ถ้ามีปัญหาก็สอบตกเอาได้ง่ายๆ อย่างไม่น่าเชื่อ

เรามาดูกันว่าสาเหตุของปัญหาด้านการเรียนของเด็ก ที่มีความสามารถพิเศษคืออะไร
แล้วพ่อแม่จะช่วยได้อย่างไร

สติปัญญาดี แต่ทำไมเรียนแย่เหลือเกิน ?

สาเหตุหลักที่เป็นต้นเหตุจริงๆ ของปัญหานี้ก็คือ หลักสูตรและการเรียนรู้ไม่เหมาะกับเด็ก
ก็เลยทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่สนใจเรียน
แล้วเมื่อถูกครูว่าก็ทำให้ปัญหาบานปลาย แต่โดยสรุปแล้วสาเหตุหลักมีดังนี้

* เด็กขาดโอกาสที่จะแสดงความรู้ความเข้าใจของเขา (ซึ่งบ่อยครั้งมีมากกว่าเนื้อหาที่ครูกำลังสอน)
* เด็กมีวิธีการเรียนรู้ต่างกับวิธีการสอนของครู และวิธีการรับข้อมูลของเด็กคนอื่นๆ
* กฎของโรงเรียนเคร่งครัดเกินไปสำหรับเขา
* เด็กถูกบังคับให้เรียนในสิ่งที่ไม่อยู่ในความสนใจ และทำให้เกิดความรู้สึกกดดัน
* งานหรือแบบฝึกหัดในการเรียนง่ายหรือยากเกินไป หรือไม่ก็เป็นงานที่ไม่มีประโยชน์ในสายตาเด็ก


แนวทางการให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กมีปัญหาด้านการเรียน
แนวทางการให้ความช่วยเหลือเหล่านี้ เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นเท่านั้น
แต่ถ้าหากว่าเด็กมีปัญหามากๆ จนรู้สึกว่า ควบคุมหรือดูแลไม่ไหว
ก็ควรจะหาผู้เชี่ยวชาญหรือปรึกษาคุณหมอจะดีกว่าค่ะ
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจว่าเหล่าบรรดาอาการ หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาจากภาวะใด
ก็คงต้องปรึกษาทั้งคุณหมอหรือนักวิชาการทั้งสองฝั่ง คือทางด้านภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)
หรือว่าเป็นอาการของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เพราะทั้งสองกรณีนี้ทำให้เด็กมีปัญหาด้านการเรียนได้ แต่อาการที่แสดงออกจะต่างกัน

วิธีการช่วยเหลือในเบื้องต้นสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ มีดังนี้ค่ะ

1. มองโลกในแง่ดี
มีเด็กจำนวนมากที่มีปัญหาและขาดความมั่นใจที่จะทำอะไร เพราะว่ากลัวผิดพลาด ยิ่งโดยเฉพาะสำหรับ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษแล้วยิ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นบุคคลประเภท Perfectionist (สมบูรณ์แบบหาที่ติไม่ได้)
ก็ยิงทำให้บางครั้งไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวล้มเหลว
เพราะฉะนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรทำก็คือ การให้กำลังใจ การกล่าวคำชมเชยอย่างสม่ำเสมอ
และที่สำคัญคือเมื่อเด็กทำผิดหรือพลาด ไม่ควรใช้คำพูดซ้ำเติม หรือถ้าหากเด็กไม่กล้าทำก็ให้ใช้คำพูดในแง่บวก
หลีกเลี่ยงคำพูดประเภท “ทำไม่ได้ก็บอกมาเถอะ ไม่ต้องมาฟอร์มหรอก”

2.ตั้งกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นกฎเกณฑ์อะไรก็ตาม ทั้งที่บ้านและเรื่องที่โรงเรียน แล้วอธิบายให้ลูกฟังว่า
สิ่งเหล่านี้เป็นข้อตกลงระหว่างคุณกับลูก หรือเป็นกฎเกณฑ์ของบ้าน
รวมทั้งฝึกให้ลูกรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ในการทำงานบ้านบ้าง
นอกจากนี้แล้ว ควรอธิบายให้ลูกฟังเพื่อให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นด้วย ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นใช้ได้หรือใช้ไม่ได้อย่างไร
เพื่อให้เด็กรู้ข้อบกพร่องของตัวเอง และปรับปรุงแก้ไข
นอกจากนี้แล้วยังเป็นวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เด็กรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้นอีกด้วย

3.ปล่อยให้ลูกลำบาก (บ้าง)
เด็กกลุ่มนี้จะขาดความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างไม่น่าเชื่อ
เพราะฉะนั้นหากลูกต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์ที่ยุ่งยาก
แล้วพ่อแม่รีบให้ความช่วยเหลือ โดยที่ไม่ได้ปล่อยให้ลูกได้ลองหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
จะยิ่งเป็นเหมือนการตอกย้ำให้เด็กรู้สึกว่าเขาไม่เก่งพอ พ่อแม่จึงต้องเข้ามาทำสิ่งนั้นแทน

4.ฝึกให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับความพยายาม
กิจกรรมบางอย่างที่ดูเหมือนยุ่งยากสำหรับเด็ก ลองให้เด็กทำดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ
หรือเรื่องใหญ่ก็ตาม เช่น งานบ้าน หรือจะเป็นการเย็บปักถักร้อย ล้วนแต่เป็นการฝึกให้เด็กมีสมาธิ มีความมุ่งมั่น
แล้วก็ได้เรียนรู้ถึงเรื่องความพยายาม และความสำเร็จที่ได้จากความพยายามด้วย
แต่สิ่งสำคัญคือ ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะกับเด็ก อย่าให้ง่ายหรือยากไป หรือจะให้เด็กเป็นคนเลือกเองก็ได้ค่ะ

5.จัดระบบการเรียน
ปัญหาในการเรียนบางครั้งก็เกิดจากการจัดระบบเวลาไม่ดี หรือไม่เหมาะสมกับลักษณะการเรียนรู้
ถ้าสังเกตดูเด็กส่วนใหญ่ (ผู้ใหญ่เองก็เหมือนกัน)
มักจะกังวลหรือเครียดกับงานที่ค้างคา มากกว่างานที่กำลังทำอยู่ตรงหน้า
เพราะฉะนั้นเราสามารถช่วยเด็กได้ โดยการจัดการตารางเวลาในเรื่องการเรียนให้เด็ก เช่น
จัดช่วงเวลาทำการบ้าน และช่วงเวลาในการอ่านหนังสือ โดยเลือกช่วงเวลาที่เป็นเวลาสงบของบ้าน
หรือไม่ก็จัดให้สมาชิกทุกคนทำกิจกรรมเบาๆ ในช่วงนี้
เพราะคงไม่ดีแน่ถ้าเด็กต้องทำการบ้าน ในขณะที่คุณพ่อหรือคุณแม่ดูทีวีเสียงดัง

6.พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ
บรรยากาศในบ้านควรจะเป็นบรรยากาศ ที่ทุกคนสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้
และปรึกษากันได้ทุกเรื่อง นอกจากพ่อแม่รับฟังปัญหาของลูกแล้ว
บางครั้งการนำปัญหาของพ่อแม่มาเล่าให้ลูกฟัง เพื่อถามความคิดเห็น ว่าถ้าเป็นเขาจะแก้อย่างไร
นอกจากจะเป็นการแสดงความไว้วางใจแล้ว ยังทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจ
และทำให้ครอบครัวมีความใกล้ชิดสนิทสนมมากขึ้นด้วย

7.ส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งที่เด็กสนใจ
ถ้าหากคุณรู้ว่า เด็กชอบหรือสนใจด้านไหนเป็นพิเศษ ก็ควรหาทางสนับสนุนทั้งในเรื่องของข้อมูล
และการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นมากขึ้น

8.ทำให้เด็กเกิดความภูมิใจในตัวเอง
เด็กทุกคนต้องการโอกาสในการแสดงความสามารถที่มี และต้องการโอกาสในการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เคยทำ
เพราะฉะนั้นควรคำนึงอยู่เสมอในการให้ “โอกาส” แก่เด็ก ทั้งโอกาสในการแสดงความสามารถและการแก้ไข


สิ่งที่ไม่ควรทำ
* ไม่ควรแสดงความคาดหวังในตัวเด็ก
* หลีกเลี่ยงการออกคำสั่งและการใช้อารมณ์
* หลีกเลี่ยงการเลี้ยงดูแบบทะนุถนอม
* ไม่ควรแสดงความหงุดหงิดไม่พอใจ กับผลการเรียนที่แย่ลงของเด็ก
(และผลการเรียนที่ไม่ดีพอในสายตาคุณด้วยค่ะ)
* หลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการใช้กำลัง


ที่มา //www.elib-online.com/doctors48/child_autistic002.html


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 25 พฤศจิกายน 2552
1 comments
Last Update : 1 ธันวาคม 2552 19:26:39 น.
Counter : 1092 Pageviews.

 

ตอนนี้คิดว่ามีปัญหาประมาณนี้น่ะค่ะ นั่งปวดหัวมาพอสมควร พยายามหาทางแก้อยู่ เค้าก็ดูเป็นเด็กหัวดี เพราะก็พาไปลองเรียนพิเศษ ปรึกษาคุณครู คุณครูบอกว่างงๆ เหมือนกัน เค้าหัวดีแต่เรียนแย่มาก เป็นเด็กดีไม่เกเรเลย แต่อยู่ดีๆ 1 ปีที่ผ่านมาก็การเรียนก็แย่ลงแบบตกใจมาก อยากปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญ รู้จักบ้างไหมค่ะ เครียดมากค่ะ เลี้ยงลูกคนเดียวด้วย

 

โดย: Estella dream 17 กุมภาพันธ์ 2553 12:05:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.