Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
 
26 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

เลี้ยงลูกให้ได้ดีด้วยอีคิว



เมื่อเรื่อง " อีคิว" กลายเป็นคาถาฮิตติดลมบนในการเลี้ยงลูกสมัยนี้ไปแล้ว
พ่อแม่อย่างเราก็ต้องตามติดกันหน่อยล่ะ

อีคิว…เรื่องจำเป็นของลูก

EQ (Emotional Quotient) บางทีก็เรียกว่า EI (Emotional Intelligence) คนละชื่อแต่เรื่องเดียวกันค่ะ
โดย ปีเตอร์ ซัลโลเวย์ (Peter Salovey) นักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ สหรัฐอเมริกา
ได้อธิบายไว้ในปี 1990 ว่า

" EQ คือความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ความคิด ความรู้สึกและภาวะอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น
และสามารถนำข้อมูลความรู้เหล่านั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการชี้นำความคิดและการกระทำของตนเองได้"

อีก 5 ปีต่อมา แดเนียล โกลแมน (Daniel Goleman) นักข่าวดีกรีปริญญาเอกของ นิยอกร์ก ไทม์
ก็ได้เขียนหนังสือเผยแพร่แนวคิดนี้จนฮิตกันต่อๆ มาถึงบ้านเรานี่แหละ ด้วยวรรคทองที่ว่า
"…ความสำเร็จของบุคคลมาจาก IQ เพียงร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นเรื่องของอีคิวทั้งสิ้น…"

สำหรับน้องหนูวัยนี้เริ่มใช้ภาษาคล่องแคล่ว และสามารถสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้ดี
จึงเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมที่จะปลูกฝัง และพัฒนาอีคิวกันตั้งแต่ตอนนี้เลย
เพราะอีคิวเป็นเรื่องจำเป็น ที่ช่วยให้ลูกสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
พร้อมจะเผชิญและแก้ปัญหา ไม่เอาแต่คิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหา

ยิ่งอยากให้เห็นผล ก็ยิ่งต้องเริ่มปลูกฝังกันตั้งแต่เล็กๆ
อย่างที่โบราณเขาว่าไว้ ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก แต่ไม้ผุ ไม่ต้องดัดก็พังนั่นแหละจ้ะ


อย่างนี้สิ…อีคิวดี
เรื่องนี้ แพทย์หญิงสุธิรา ริ้วเหลือง จิตแพทย์ประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น
อธิบายไว้ง่ายๆ โดยแยกลักษณะของเด็กที่มีอีคิวดีเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ

1. ดี สามารถควบคุมอารมณ์ได้เป็นอย่างดี รู้ความต้องการของตนเอง รวมทั้งเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

2. เก่ง ไม่ใช่เก่งแค่เรื่องเรียนนะคะ
แต่หมายถึงความสามารถในการสร้างกำลังใจให้ตนเอง แก้ปัญหาต่างๆ ได้
รวมทั้งเก่งในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับคนนอกครอบครัว อย่างคุณป้าข้างบ้านได้ด้วยค่ะ

3. มีความสุข เด็กๆ ควรจะมีอารมณ์ขัด สดชื่น ร่าเริง เห็นคุณค่าและความสำคัญของตัวเอง
รู้ตัวเองว่ามีความหมายสำหรับพ่อแม่และคนใกล้ชิด

ซึ่งน้องหนูวัย 2-3 ขวบ เขายังมีพัฒนาการด้านอีคิวจำกัดค่ะ อย่าเพิ่งรีบร้อนหรือยัดเยียดให้ลูกจนเกินไป
เพราะต้องให้เหมาะกับวัยของลูกด้วย เพียงแต่ลองพิจารณาพฤติกรรมการแสดงออกคร่าวๆ เหล่านี้ดูค่ะ


อีคิวดี อยู่ที่…

พัฒนาการทางสมอง
ยิ่งอายุมากขึ้น พัฒนาการของเด็กจะมากขึ้นด้วย ทำให้การเรียนรู้ทางอีคิวดีตามไปด้วย
ความฉลาดและความสามารถของสมองจึงเป็นส่วนที่สำคัญ
คือ ถ้าความฉลาด (ในที่นี้หมายถึง IQ นะคะ) สูง การเรียนรู้ อีคิว จะดี

พื้นฐานอารมณ์
หมั่นสังเกตลูกๆ สิคะว่า แต่ละคนมีพื้นฐานอารมณ์หรือนิสัยอย่างไร
เลี้ยงง่าย อารมณ์ดี ปรับตัวง่าย ขี้หงุดหงิด ปรับตัวยาก โดยดูรวมๆ ว่าค่อนไปทางไหน
ซึ่งถ้าลูกมีพื้นฐานอารมณ์ที่เลี้ยงง่าย เขาก็พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ๆ ปรับตัวเข้ากับคนอื่นง่าย
เป็นเด็กที่ดูมีความสุข หรือที่เขาเรียกว่าอีคิวนั่นแหละ

การอบรมเลี้ยงดู
อย่าเพิ่งหนักใจไปค่ะ ถ้าเจ้าหนูของคุณเป็นเด็กเลี้ยงยาก
เพราะคุณสามารถเลี้ยงลูกให้มีอีคิวดีได้ โดยการปรับการเลี้ยงดู
และเข้าใจลูกก่อนว่าเป็นเด็กนิสัยอย่างไร มีความสามารถมากน้อยแค่ไหน


สร้างอีคิว พ่อแม่ช่วยได้
พัฒนาการวัย 2-3 ขวบ เป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวและภาษาคือ เริ่มเดิน วิ่ง กระโดด ไปที่ไหนๆ ตามใจต้องการ
ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น แถมยังจ้อเป็นต่อยหอยอีก และเริ่มมีหลากหลายอารมณ์ เช่น โกรธ ดีใจ เสียใจ

แต่ก็อยากเป็นตัวของตัวเอง อยากเป็นอิสระ ถ้าคุณเป็นคนชอบบังคับลูกล่ะก็
มีหวังเกิดการต่อต้าน อาละวาด ร้องตะโกนใส่หรือเอาแต่พูดคำว่า "ไม่" ท่าเดียวแน่
มาช่วยกันพัฒนาอีคิวลูกตั้งแต่ตัวเล็กๆ ด้วยวิธีง่ายๆ กันดีกว่าค่ะ

1. ฝึกพัฒนาการด้านอื่นไปพร้อมกัน จะมีอีคิวดีได้ ควรมีพัฒนาการที่ดี
ดังนั้นจึงควรฝึกให้แกช่วยเหลือตัวเอง เช่น แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว ทานข้าว ยกของเก็บ
โดยที่พ่อแม่คอยช่วยได้บ้าง และควรให้กำลังใจหรือชมบ้าง แต่อย่ามากเกินไปนะคะ

2. ฝึกเรียนรู้การแก้ปัญหา จะได้รู้จักหาทางออกให้ตัวเอง
เช่น ถ้าทะเลาะกับพี่น้อง คุณควรเบี่ยงเบนความสนใจลูก
แต่ถ้าออกกำลังอาละวาด คงต้องจับแยกพักยกก่อน
วิธีง่ายๆ แบบนี้ช่วยให้ลูกเรียนรู้และซึมซับกับวิธีแก้ปัญหาไปเองค่ะ


ที่มา //www.elib-online.com/doctors45/child_eq001.html
ภาพจาก //www.ehow.com/


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2552 20:14:27 น.
Counter : 1086 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.